ตัวลายมือหางตวัดงดงามยิ่งนัก ชาตินี้ผมคงเขียนแบบนั้นไม่ได้ (สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำแทนก็คงไม่ได้) แต่เห็นตัวริบบิ้นหนาๆ แล้วเกิดแรงบันดาลใจทางคณิตศาสตร์ ผมคิดว่าใช้ตัวเลขคำนวณความหนาและมุมเอียงเพื่อทำฟอนต์ริบบิ้นหลายน้ำหนักได้ เลยทดลองซะ ขออนุญาตแชร์เคล็ดลับที่ผมเพิ่งค้นพบเมื่อกี้หน่อยนะครับ เผื่อใครอยากทำฟอนต์แนวนี้ (เพราะคงอีกนานกว่าผมจะมีเวลาทำเอง)
ผมเขียนตัวหนังสือแนวริบบิ้นไม่เป็นเลยหาวิธีโกงโดยการขึ้นโครงด้วยเส้นเดี่ยว (path) เพราะวาดง่ายกว่าเส้นคู่ (outline) ซึ่งคนทำฟอนต์ส่วนใหญ่จะคุ้นกับการวาดเส้นคู่ ฟอนต์แนวนี้ต้องฝึกวิชา calligraphy มาเป็นอย่างดีจนสายตาวัดองศาเส้นตัวอักษรแม่นยำจึงจะวาดได้เนียน แต่ผมเชื่อว่าอะไรก็ตามที่อธิบายเป็นตัวเลขได้ย่อมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำแทนได้ แล้วก็พบว่า FontForge ทำได้!
จากภาพ บรรทัดแรกคือเส้นเดี่ยวที่ผมทดลองวาดเป็นโครงต้นแบบ บรรทัดต่อๆ มา ใช้เครื่องมือ Expand Stroke ของ FontForge ทำโดยปรับความหนาและมุมเอียงปากกาจากต้นแบบเดียวกัน (ฝีมือ FontForge ล้วนๆ ไม่ได้แก้รายละเอียดอะไรทั้งสิ้น) การเปลี่ยนน้ำหนักฟอนต์ก็คือการเปลี่ยนหัวปากกานั่นเอง อันนี้ต้องทดลองหลายรอบกว่าจะปรับขนาดและองศาปากกาให้ลงตัว แต่พอได้สูตรเป็นตัวเลขแล้วเราจะเปลี่ยนน้ำหนักได้ง่ายมาก แค่ปรับสเกลหัวปากกาก็พอ งานที่เหลือคือเก็บรายละเอียด (ถ้าจะทำต่อนะ)
ส่วนเรื่องยากสำหรับผมคือทิศทางและการต่อเส้นเป็นตัวอักษร ถ้าไม่มีตัวอย่างวิธีเขียนให้เห็นผมก็วาดไม่เป็นซักตัว
ถึงแม้ว่าตัวนี้จะเป็นฟอนต์ธรรมดาๆ ไม่มี Ligature ประติดประต่อตัวอักษรกัน แต่ผมว่ายังไงมันก็สุดยอดอยู่ดี
ผมเห็นแบบอักษรแบบเส้นบางๆ แบบนี้ในสื่อเก่าๆ หลายสื่อ เช่น ปกแผ่นเสียง
แต่ปัจจุบันยังไมพบเห็นว่ามีใครนำปลายพู่กันแบบเส้นบางๆ น้ำหนักสม่ำเสมอ มาทำเลย
มีแต่แบบสโตรกที่นำมาทำเป็นฟอนต์