หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
 
ผู้เขียน หัวข้อ: คนไทยที่หนึ่งในโลก  (อ่าน 25817 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
ไหว้ ไหว้ ไหว้

ขอจงทรงพระเจริญ
บันทึกการเข้า

นานๆ จะเข้ามาที
แอบอ้าง
“ศิริราชประสบความสำเร็จผ่าตัดแยกแฝดสยามที่มีหัวใจและตับติดกัน รอดชีวิตทั้งคู่เป็นครั้งแรกของโลก”

โดย ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกลกล่าวว่า ขณะนี้ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับประเทศไทย เนื่องจากทีมแพทย์ของศิริราชได้ผ่าตัดช่วยชีวิตเด็กฝาแฝดเพศหญิงที่มีลำตัว หัวใจ และตับติดกันเป็นผลสำเร็จ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะที่ผ่านมาการผ่าตัดในลักษณะของฝาแฝดส่วนใหญ่มักจะไม่รอดชีวิต หรือรอดชีวิตเพียงคนเดียว ที่สำคัญไม่ได้มีกรณีที่มีหัวใจ ตับติดกัน และจากการสืบค้นรายงานทางการแพทย์ที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ที่มีอยู่ในโลกปัจจุบันพบว่ายังไม่เคยมีการยืนยันความสำเร็จเหมือนกับกรณีที่คณะแพทย์โรงพยาบาลศิริราชได้ผ่าตัดเด็กแฝดที่มีหัวใจ ตับติดกัน แล้วรอดชีวิตทั้งคู่สำเร็จ ดังนั้น ความสำเร็จครั้งนี้จึงถือเป็นครั้งแรกของโลก

ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกลกล่าวต่อว่า โรงพยาบาลศิริราชได้รับการส่งต่อคนไข้คือนางอุษา ทิเย็นใจ มาจากโรงพยาบาลสมุทรสาคร เมื่อต้นปี 2549 หลังจากที่ตรวจพบว่าการตั้งครรภ์ของนางอุษา ซึ่งขณะนั้นมีอายุครรภ์ประมาณ 26 สัปดาห์ เป็นทารกฝาแฝดที่มีตัว หัวใจ และตับติดกัน ซึ่งไม่เคยพบมาก่อนในประเทศไทย กรณีดังกล่าวถือว่าพบได้น้อยมาก ประมาณ 1 : 50,000-1 : 100,000 ของการตั้งครรภ์ปกติ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น และน่าสนใจ ไม่เฉพาะวงการแพทย์เท่านั้น แต่ยังเป็นที่สนใจของประชาชนโดยทั่วไปอีกด้วย เนื่องจากแฝดที่มีลำตัวติดกัน ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันทั่วโลกคู่แรก คือ แฝดอิน-จัน ซึ่งเกิดในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2354 หรือเกือบ 200 ปีที่ผ่านมา และได้รับฉายาว่าแฝดสยามนั้น มีแต่เฉพาะตับที่ติดกันเท่านั้น

คณบดีคณะแพทยศาสตร์กล่าวอีกว่า นางอุษามารดาของเด็กแฝด ได้คลอดเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2549 โดยการผ่าตัดเมื่ออายุครรภ์ได้ 36 สัปดาห์ แฝดทั้งคู่มีน้ำหนักแรกคลอดรวมกันประมาณ 3,570 กรัม มีลำตัวด้านหน้าติดกันตั้งแต่บริเวณทรวงอกลงมาถึงผนังหน้าท้อง จากการตรวจโดยละเอียดพบว่ามีตับติดกันเป็นบริเวณกว้างและยังมีหัวใจเชื่อมต่อกันด้วย หลังคลอดทารกได้รับการตั้งชื่อว่า ด.ญ.ปานวาด และ ด.ญ.ปานตะวัน และได้รับการดูแลรักษา จนกระทั่งทีมแพทย์ได้ตัดสินใจผ่าตัดแยกร่างเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2550 ในขณะที่ทารกทั้งคู่อายุได้ 8 เดือน มีน้ำหนักตัวรวมกัน 10.9 กิโลกรัม หลังจากผ่านการตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยเฉพาะตับที่ติดกันเป็นบริเวณกว้างแล้ว ยังมีหัวใจเชื่อมต่อกันด้วย โดยหัวใจห้องบนขวาของแฝดพี่คือ ด.ญ.ปานตะวัน เชื่อมกับหัวใจห้องบนซ้ายของแฝดน้องคือ ด.ญ.ปานวาด และมีเลือดจาก ด.ญ.ปานตะวันไหลผ่านมายัง ด.ญ.ปานวาด ตลอดเวลา ทำให้คณะแพทย์ไม่แน่ใจว่าหัวใจทั้งสองดวงมีการทำงานโดยพึ่งพากันหรือไม่ และการแยกร่างโดยการตัดรอยเชื่อมต่อของหัวใจ อาจเป็นอันตรายต่อฝาแฝดคนหนึ่งคนใดได้ จนในที่สุดกุมารแพทย์ต้องสวนหัวใจด้วยสายสวนติดบัลลูน เข้าไปปิดบริเวณรอยเชื่อมต่อของหัวใจ เสมือนเป็นการแยกหัวใจชั่วคราว ปรากฏว่าไม่เกิดผลเสียต่อทารกทั้งสองแต่อย่างใด

สำหรับขั้นตอนการผ่าตัด เริ่มจากการผ่าตัดแยกหัวใจ ด้วยการหนีบปิดส่วนเชื่อมต่อของหัวใจ จากนั้นจึงตัดรอบเชื่อมต่อของหัวใจ ซึ่งเป็นรูขนาดประมาณ 1 ซม. และมีเลือดไหลผ่านตลอดเวลากระทั่งสำเร็จ จากนั้นจึงผ่าตัดแยกตับ ซึ่งมีระบบท่อน้ำดีแยกกัน และต้องทำด้วยความระมัดระวังในการควบคุมไม่ให้มีเลือดออก เพราะทารกทั้งคู่ยังอ่อนแอและเพิ่งผ่านการผ่าตัดหัวใจมาใหม่ๆ แต่ในที่สุดก็ผ่านไปได้ กระทั่งถึงขั้นตอนสุดท้าย คือการแยกร่างทารกทั้งคู่ออกจากกันโดยสิ้นเชิงสำเร็จ จากนั้นนำทั้งคู่ ไปเย็บแผลปิดโดยทีมศัลยแพทย์ตกแต่ง เพื่อให้แผลดูดีและสวยงามที่สุด กระบวนการผ่านตัดใช้เวลาทั้งสิ้น 12 ชั่วโมงเศษ ใช้ทีมงานทั้งสิ้น 61 คน เป็นวิสัญญีแพทย์ 14 คน ศัลยแพทย์หัวใจ 5 คน ศัลยแพทย์ ตกแต่ง 7 คน กุมารศัลยแพทย์ 5 คน และพยาบาลห้องผ่าตัด 30 คน

“หลังการผ่าตัด ทารกทั้งคู่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในห้องไอซียู ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นก็หายใจเองได้ และกลับมาเป็นเด็กปกติ 2 คน ที่แยกร่างกายจากกัน ขณะนี้เป็นเวลาประมาณ 7 สัปดาห์หลังผ่าตัด ทารกทั้งคู่แข็งแรงดี ปัจจุบัน ด.ญ.ปานตะวัน มีน้ำหนัก 5,735 กรัม ด.ญ.ปานวาด 4,900 กรัมและอยู่ในขั้นการฝึกพัฒนาการบางอย่างที่ช้าไปในช่วงที่ลำตัวติดกัน เช่น การให้อาหาร และจะได้รับอนุญาตให้กลับบ้านได้ในเร็วๆนี้ สำหรับค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทั้งหมด โรงพยาบาลศิริราชเป็นผู้รับผิดชอบ หากคิดเป็นมูลค่าในการใช้จ่าย ตั้งแต่เด็กคลอดออกมาจนถึงปัจจุบันตกประมาณ 1.5 ล้านบาทต่อคน” ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกลกล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า ทารกที่เติบโตขึ้นและมีหัวใจที่แบ่งกันมามีข้อควรระวังอย่างไร ผศ.นพ.มงคล เลาหเพ็ญแสง กุมารศัลยแพทย์ หัวหน้าทีมผ่าตัดกล่าวว่า หัวใจที่มีความผิดปกติคือ ด.ญ.ปานวาดซึ่งห้องหัวใจบนมีช่องรั่วแต่ไม่รุนแรง เมื่อเด็กโตขึ้นสามารถมาปิดช่องที่รั่วได้ภายหลัง ส่วน ด.ญ.ปานตะวันไม่มีปัญหา ในส่วนของตับก็ไม่มีข้อที่น่ากังวล เพราะมีขนาดใหญ่และเติบโตได้

ในการแถลงข่าวครั้งนี้ นายถาวรและนางอุษา ทิเย็นใจ พ่อแม่ของเด็กแฝด ได้อุ้ม ด.ญ.ปานตะวันและ ด.ญ.ปานวาดมาร่วมแถลงข่าวด้วย โดยนายถาวร กล่าวว่า ดีใจที่ลูกรอดชีวิตมาได้ ตอนที่แพทย์ผ่าตัดรู้สึกรอนานมาก รอจนกลัวว่าลูกจะเป็นอะไร แต่เมื่อสำเร็จก็ดีใจมาก ขอขอบคุณแพทย์ทุกคนที่ช่วยชีวิตลูก ขณะที่นางอุษากล่าวว่า ครั้งแรกเมื่อทราบว่าลูกเป็นแฝดและตัวติดกันตั้งแต่ทั้งคู่อยู่ในท้อง ตอนนั้นเสียใจมากที่ลูกไม่เหมือนเด็กคนอื่นและสงสารมาก ร้องไห้ไม่กินข้าวอยู่หลายวัน แต่เมื่อมาตรวจที่โรงพยาบาลศิริราช มีหมอ พยาบาลดูแลอย่างดี เมื่อคลอดแล้วคณะแพทย์ก็ดูแลโดยตลอด และแจ้งให้ทราบว่าระยะห่างของหัวใจตั้งแต่คลอด จนถึงช่วงเวลาก่อนผ่าเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง จึงตัดสินใจให้แพทย์ผ่าทั้งคู่ เพราะสงสารลูก เช่น เวลานอน แฝด คนน้องคือ ด.ญ.ปานวาด ซึ่งตัวเล็กกว่า จะตัวลอยจากที่นอนมาก และหัวของลูกมีลักษณะแบนมาก เพราะนอนได้ข้างเดียว เมื่อปรึกษาแพทย์แน่ใจแล้วจึงให้ผ่าตัดแยก ตอนแรกแพทย์ให้ทำใจไว้บ้างว่าผลการผ่าตัดอาจทำให้ต้องเสียทั้งคู่หรือเสียคนใดไป แต่เมื่อผลการผ่าตัดออกมาสำเร็จก็ดีใจมาก ที่ทั้งคู่มีชีวิตรอด ขอขอบคุณแพทย์ พยาบาล ที่ให้กำลังใจมาโดยตลอด ตอนนี้รักลูกมากและอยากอยู่กับทั้งคู่ตลอดเวลา
http://www.thairath.com/offline.php?section=hotnews&content=42658

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 เม.ย. 2007, 17:04 น. โดย Buob Marley » บันทึกการเข้า

<a href="http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf" target="_blank">http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf</a>

A Long Patience: Wish Us Luck (and Happy Anniversary)


ทีมแพทย์สุดยอดมาก 61 คน  เจ๋ง
บันทึกการเข้า

Las Noches Rubicundior
งานยักษ์เลย
ดูในข่าวเขาว่าต้องลองตัดการทำงานว่าถ้าแยกหัวใจกันจะรอดมั้ย ง่ะ น่ากลัว
บันทึกการเข้า

<a href="http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf" target="_blank">http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf</a>

A Long Patience: Wish Us Luck (and Happy Anniversary)



ยังมีงานต้องผ่าหัวใจแฝดน้่องอีกรอบ แต่ตอนนี้คาดว่า

ทีมแพทย์นี้จะดังไปทั่วโลก
บันทึกการเข้า

Las Noches Rubicundior
แต่ชื่อน้องสองคนนี้น่ารักอะชอบ ปลื้ม
บันทึกการเข้า

<a href="http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf" target="_blank">http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf</a>

A Long Patience: Wish Us Luck (and Happy Anniversary)


ตอนเห็นหน้านึกว่า เด็กชาย  กร๊าก
บันทึกการเข้า

Las Noches Rubicundior
เอออันนี้ สุดยอดจริงๆ
บันทึกการเข้า

i'll walk until i find u.
ชื่อคล้ายเพื่อนนานาเลย มันชื่อวาดตะวัน(ช) พี่ชื่อวาดจันทร์  หมีโหดดดด


แต่ทีมแพทย์เก่งอะค่ะ เยี่ยมมากๆ  เจ๋ง
บันทึกการเข้า

ยิ้มน่ารัก น้องดำ
สุดยิดชิดโลกครับ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
หมอเก่งมากๆ (แจ๋ว แจ๋ว)
บันทึกการเข้า

นานๆ จะเข้ามาที
ขุดครับ หมีโหดดดด

แอบอ้าง
หมอศิริราชเจ๋งผลิตนมเนื้อไก่
   

ครั้งแรกของโลกใช้สำหรับ ‘ทารก’ที่กินนมวัวไม่ได้
สร้างชื่อให้ประเทศไทยอีกครั้งแพทย์ศิริราชประกาศผลิตนมสำหรับทารกจาก "เนื้อไก่" สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก ช่วยแก้ปัญหาเด็กแพ้นมวัวที่นับวันจะรุนแรงขึ้น ทีมแพทย์ใช้เวลาศึกษาวิจัยนานกว่า 10 ปี ใช้เนื้อส่วน "อกไก่" เข้ากระบวนการป่นจนเป็นของเหลว เติมสารอาหารจำเป็น แต่ไม่แต่งสีแต่งกลิ่นใด ๆ เตรียมต่อยอดเป็นสูตรอาหารสำหรับเด็กโต-ผู้สูงวัย หัวหน้าทีมวิจัย เผย จดสิทธิบัตรเรียบร้อย ภาคธุรกิจติดต่อมาเพื่อนำไปผลิตเป็นอุตสาหกรรมแล้ว
 
ที่ห้องประชุมตึกอำนวยการ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เมื่อวันที่ 10 ส.ค. มีการแถลงข่าว "ครั้งแรกของโลก ศิริราชผลิตนมจากเนื้อไก่ รักษาทารกแพ้นมวัว" โดยมี ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร คณบดีคณะแพทย ศาสตร์ เป็นประธานการแถลงข่าว ร่วมด้วย รศ. นพ.ธราธิป โคละทัต หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ และ ศ.นพ.พิภพ จิรภิญโญ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โดย ศ.คลินิกนพ.พิภพ หัวหน้าคณะวิจัย กล่าวว่า คณะวิจัยได้ที่ศึกษาเรื่องนี้มานานกว่า 10 ปี จนประสบผลสำเร็จ การผลิตนมจากเนื้อไก่ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของโลก เป็นความสำเร็จในการแก้ปัญหาการแพ้โปรตีนนมวัวในเด็กทารก ด้วยการผลิตนมจากเนื้อไก่ส่วนอก ซึ่งมีโปรตีนคงที่ มีไขมันน้อย ให้คุณค่าทางอาหารครบถ้วนสำหรับเด็ก ย่อยง่าย และดูดซึมได้เร็ว ที่สำคัญทางผู้วิจัยยังได้เติมสารพรีไบโอติก ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายลงไปในนมที่ผลิตจากเนื้อไก่ด้วย 
 
ศ.คลินิก นพ.พิภพ กล่าวต่อว่า ปัจจุ บันเด็กไทยแพ้นมวัวมากขึ้น อาการแพ้จะเกิดขึ้นทันทีที่รับประทาน และเกิดหลังจากที่รับประทานแล้วประมาณ 14 วัน อาการแพ้ที่พบจะมีทั้งเป็นผื่น ลมพิษ อาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เด็กร้องกวนโยเย ท้องอืด ท้องเสีย บางคนถึงขั้นอุจจาระออกมาเป็นเลือด และบางคนยังมีอาการแพ้ในระบบทางเดินหายใจ หอบหืด ส่วนการแก้ไขเมื่อแพ้นมวัว แพทย์ก็จะให้ไปรับประทานนมถั่วเหลืองแทน แต่บางรายก็แพ้นมถั่วเหลืองอีก จึงต้องมีนมพิเศษให้เด็กรับประทาน "จากผลจากการวิจัยในทารกที่แพ้โปรตีนนมวัว โดยเปรียบเทียบการกินนมจากเนื้อไก่ 20 ราย และนมถั่วเหลือง 18 ราย เป็นเวลา 14 วัน พบว่า ทารกมีอาการแพ้นมจากเนื้อไก่น้อยกว่านมจากถั่วเหลืองถึง 8 เท่า นอกจากนี้ใน 3 ปี ที่ผ่านมา มีทารกอีกจำนวนหนึ่งที่กินนมจากเนื้อไก่มากกว่า 3 เดือนขึ้นไป เนื่องจากแพ้นมทุกชนิดที่มีจำหน่ายในประเทศไทย แต่กินนมจากเนื้อไก่ได้ดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ มีการเจริญเติบโตเป็นปกติ และภายใน 1-2 ปี ทารกที่แพ้โปรตีนนมวัวกว่าร้อยละ 70 จะกลับไปกินนมวัวได้โดยไม่มีอาการแพ้"
 
หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวอีกว่า ความสำเร็จในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากทั้งในแวดวงวิชาการ และอุตสาหกรรมอาหาร มีบริษัทเอกชนติดต่อเข้ามาเพื่อขอผลิตนมจากเนื้อไก่นี้ในระดับอุตสาหกรรมแล้ว และยังได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ "Asia Pacific Journal of Clinical Nutrition-(เอเชีย แปซิฟิก เจอร์นัลออฟคลินิคอล นูทรีชั่น)" นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังได้จดสิทธิบัตรสูตรนมจากเนื้อไก่แล้วเมื่อเดือน ก.ย. 2549 ส่วนโครงการต่อไปจะศึกษาเปรียบเทียบการกินนมวัว และนมจากเนื้อไก่ในระยะยาว รวมทั้งจะพัฒนาต่อยอดเป็นสูตรอาหารสำหรับเด็กโต และผู้สูงอายุด้วย
 
"สำหรับวิธีการทำนมจากเนื้อไก่นั้น จะใช้เนื้อส่วนหน้าอกไก่ที่ผ่านการตรวจรับรองคุณภาพจากโรงงานส่งออกไก่รายใหญ่ของไทย ซึ่งส่งออกไก่ไปขายทั่วโลก จึงมั่นใจได้ว่าไม่มีสารตกค้างที่เป็นอันตราย และไม่มีฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต นำมาต้มให้สุก จากนั้นใช้วิธีพิเศษที่จะทำให้เนื้อไก่กลายเป็นของเหลว ละเอียดคล้ายนม เติมสารอาหารที่จำเป็น ไม่มีการแต่งสี ไม่แต่งกลิ่น และไม่ปรุงรส แล้วนำมาแช่แข็งที่อุณหภูมิลบ 72 องศาเซลเซียส เมื่อจะรับประทานก็นำมาละลาย และควรรับประทานให้หมดภายใน 1 วัน" ศ.คลินิก นพ.พิภพ กล่าว
 
ศ.คลินิก นพ.พิภพ กล่าวด้วยว่า นมจากเนื้อไก่ที่ศิริราชผลิตนั้นจะใช้เนื้อส่วนอกไก่ 1 กิโลกรัม ผลิตเป็นนมได้ประมาณ 24-30 ลิตร หรือประมาณ 100 แก้ว ราคาประมาณ 300 บาท ต่อปอนด์ (400 กรัม) ในขณะที่นมชนิดพิเศษสำหรับเด็กแพ้โปรตีนนมวัวที่นำเข้าจากยุโรปจะมีราคาประมาณ 1,500 บาท ต่อปอนด์ จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มาก โดยคาดว่ามีทารกที่แพ้โปรตีนนมวัวประมาณ 20,000-40,000 รายต่อปี และในกลุ่มนี้มีประมาณ 1,000 ราย ที่แพ้นมทุกชนิด ต้องรับประทานนมชนิดพิเศษ และมีข้อมูลที่น่าสนใจคือ หากพ่อหรือแม่ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ ลูกที่เกิดมาจะแพ้โปรตีนจากนมวัวประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ แต่หากทั้งพ่อและแม่เป็นภูมิแพ้ ลูกที่เกิดมา 70-80 เปอร์เซ็นต์ จะแพ้โปรตีนจากนมวัว
 
ด้าน นางชลาลัย ถาวรโลหะ วัย 67 ปี ยายของ ด.ญ.เปมิกา ณ ลำพูน หรือ น้องหยก วัย 3 ขวบ และ ด.ญ.ปาณิศา ณ ลำพูน หรือน้องพลอย วัย 2 ขวบ ที่แพ้โปรตีนนมวัว ต้องรับประทานนมจากเนื้อไก่ กล่าวว่า หลานทั้งสองแพ้โปรตีนจากนมวัวอย่างรุนแรง โดยเฉพาะน้องหยก เมื่อให้รับประทานนมวัวผ่านไป 1 เดือน กลับมีอาการแพ้อย่างหนัก ปวดท้อง กรีดร้อง หลานทนทุกข์ทรมานมาก พออายุ 1 เดือน ก็เป็นผื่นขึ้นทั้งตัว ก่อนที่ผื่นจะแตกเป็นน้ำเหลืองเยิ้ม พยายามรักษา และเปลี่ยนนมไปเรื่อย ๆ แต่ก็ไม่ได้ผล จนเมื่อมารับประทานนมจากเนื้อไก่ อาการก็ดีขึ้น จนน้องหยกหายจากแพ้โปรตีนนมวัวตอนอายุ 2 ขวบ ส่วนน้องพลอยหายตอนอายุ 1 ขวบ ปัจจุบันหลานทั้งสองคน สามารถรับประทานนมวัวได้แล้ว.

http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=136344&NewsType=1&Template=1
บันทึกการเข้า

<a href="http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf" target="_blank">http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf</a>

A Long Patience: Wish Us Luck (and Happy Anniversary)
โอ้ว ตูก็อ่านในหนังสือพิมพ์เหมือนกัน แล้วก็ตื่นเต้นเหมือนกัน
แต่นึกภาพไม่ออก+ไม่กล้านึกจริงๆ แฮะว่ารสมันจะเป็นยังไง ง่ะ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
นมวัวก็ว่าคาวแล้วนะ  ง่ะ
บันทึกการเข้า

หนุ่มอักษรรักแน่ รักแท้ตลอดกาล~
นมไก่ก็คงชิกเก้น เจ๋ง
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!