ขุดเบาๆ ...
สุริยุปราคา 1 สิงหาคม 2551http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/200808tse.htmlวันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2551 เป็นวันเดือนดับ ตรงกับแรม 15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ และเป็นเวลาก่อนพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ปักกิ่งประมาณหนึ่งสัปดาห์ วันนั้นจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง แนวคราสเต็มดวงซึ่งเป็นเส้นทางแคบ ๆ บนพื้นผิวโลก ลากผ่านด้านตะวันออกของประเทศแคนาดา ตอนเหนือของกรีนแลนด์ มหาสมุทรอาร์กติก รัสเซีย มองโกเลีย และตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมตอนเหนือของยุโรปและแคนาดา เกือบทั้งหมดของทวีปเอเชีย ยกเว้นญี่ปุ่นและพื้นที่ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ในทะเลจีน ใต้
ประเทศไทยอยู่ในพื้นที่ที่สามารถมองเห็นสุริยุปราคาครั้งนี้ได้โดยต้อง ใช้แผ่นกรองแสงหรือการสังเกตการณ์ทางอ้อมเพื่อป้องกันอันตรายจากแสงอาทิตย์ ดวงจันทร์เข้าบังบางส่วนของดวงอาทิตย์ในช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์อยู่ต่ำใกล้ ขอบฟ้าจนกระทั่งตกลับขอบฟ้า ขณะที่ดวงอาทิตย์หายไปที่ขอบฟ้าก็ยังคงเกิดสุริยุปราคาอยู่ บริเวณที่มีโอกาสเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุดในประเทศไทยคือภาคเหนือและภาค อีสานตอนบน ส่วนเวลาที่เกิดปรากฏการณ์จะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น กรุงเทพฯ เริ่มเวลา 18.02 น. ดวงอาทิตย์ถูกบังเต็มที่ขณะดวงอาทิตย์ตกด้วยสัดส่วน 54% ของเส้นผ่านศูนย์กลาง
ว่าแต่ว่า มันเกิดตอนเย็น จะมองเห็นเหรอ ...
///
แถมๆ
จันทรุปราคาบางส่วน 17 สิงหาคม 2551จันทรุปราคาครั้งนี้สามารถมองเห็นได้ในประเทศไทย เกิดขึ้นในช่วงหลังเที่ยงคืนของคืนวันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม 2551 เข้าสู่เช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ได้แก่ทวีปยุโรป แอฟริกา เอเชีย และตะวันตกของออสเตรเลีย ทวีปเอเชียและออสเตรเลียเห็นปรากฏการณ์ก่อนดวงจันทร์ตกในเช้ามืดของวันที่ 17 สิงหาคม ขณะที่ยุโรปและแอฟริกาเห็นในคืนวันที่ 16 สิงหาคม ขณะที่ดวงจันทร์ขึ้นในเวลาหัวค่ำถึงช่วงเที่ยงคืน
ประเทศไทยเริ่มเห็นดวงจันทร์แหว่งในเวลา 2.36 น. ขณะดวงจันทร์มีมุมเงยประมาณ 60 องศา หรือ 2 ใน 3 ของระยะทางระหว่างขอบฟ้ากับจุดเหนือศีรษะ เงามืดของโลกเข้าบังดวงจันทร์ลึกที่สุดในเวลา 4.10 น. ด้วยอัตราส่วน 81% วัดตามแนวเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ ขณะนั้นดวงจันทร์อยู่สูงประมาณ 30 องศาจากขอบฟ้า ดวงจันทร์เคลื่อนออกจากเงามืดจนกลับมาสว่างเต็มดวงในเวลา 5.45 น. คนในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงจะเห็นดวงจันทร์มีมุมเงย 6 องศาในขณะสิ้นสุดคราสบางส่วน รวมเกิดจันทรุปราคาบางส่วนเป็นระยะเวลานาน 3 ชั่วโมง 9 นาที
http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/2008eclipses.html