หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ลง font PSL-Display ในword,excel  (อ่าน 19147 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
ถ้าจะแปลงไฟล์ font PSL-Display ไปลงใน word หรือ excel เพื่อใช้งานไม่ทราบทำอย่างไรคะ
แล้ว font นี้สามารถใช้กับภาษาไทยได้มั้ยค่ะ รบกวนด้วยคาะ ต้องใช้งานด่วน
บันทึกการเข้า
www.fontpsl.com ครับ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ฟอนต์ psl คิดตังค์ไม่ใช่เหรอครับ  จะทำอะไรระวังเรื่องลิขสิทธิ์นะครับ
บันทึกการเข้า

แม่จะมองเราจากดาวดวงไหนน๊าาาาา
คำแนะนำที่ 13
ห้ามเก็บค่าลิขสิทธ ิ์ "Font ภาษาไทย" ใครถูกจับ แจ้งความกลับได้เลย !

พาณิชย์บี้พ่อค้าหัวใส ตัดสิทธิ์อักษรไทย
ข่าว : ไทยโพสต์ อิสระภาพแห่งความคิด

"พาณิชย์" สรุปพ่อค้าหัวใสไม่มีสิทธิ์ในตัวอักษรไทย สั่งห้ามแอบอ้าง แจ้งจับผู้ประกอบการโรงพิมพ์ ร้านพิมพ์นามบัตร แนะผู้เสียหายแจ้งความกลับฐานแจ้งความเท็จ โทษอาญาติดคุก

นายเนวิน ชิดชอบ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้หารือกับนายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กรณีนายพัลลภ ทองสุข ขอยื่นจดลิขสิทธิ์แบบตัวอักษรภาษาไทยในตระกูลต่างๆ และแจ้งความจับกุมผู้ประกอบการโรงพิมพ์ ร้านพิมพ์นามบัตรในแถบภาคเหนือ ผู้ที่นำตัวอักษรแบบต่างๆ ไปใช้ โดยยืนยันว่าผู้ประกอบการไม่มีสิทธิ์ในตัวอักษรไทย เพราะถือเป็นสิทธิสาธารณะ ใครจะอ้างเป็นเจ้าของไม่ได้

"ตัวอักษรไทยเป็นทรัพย์สินของประเทศชาติ ใครจะอ้างสิทธิ์ไม่ได้ แต่สามารถเอาตัวอักษรไทยไปทำธุรกิจได้ เช่น แต่งหนังสือแล้วนำหนังสือที่แต่งได้ไปขาย โดยมีสิทธิ์ในหนังสือที่แต่งขึ้น ซึ่งกรมฯ ได้บอกไปแล้วว่าไม่มีสิทธิ์ในแบบตัวอักษรตามที่อ้าง และไม่มีสิทธิ์แจ้งความดำเนินคดีกับผู้นำตัวอักษรเหล่านั้นไปใช้" นายเนวินกล่าว

ทั้งนี้ นายพัลลภแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่นำตัวอักษรเหล่านั้นไปใช้แล้วประมาณ 100 ราย ถ้าไม่ยอมความก็ต้องถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ โทษปรับสูงถึง 8 แสนบาทเหมือนกรณีค่าลิขสิทธิ์คาราโอเกะ แต่เท่าที่ทราบมีการยอมความบ้างแล้ว ส่วนจะให้นายพัลลภคืนเงินให้ผู้เสียหายหรือไม่นั้น เป็นการตกลงกันสองฝ่าย แต่ผู้เสียหายสามารถแจ้งความกลับฐานแจ้งความเท็จ อ้างสิทธิ์ในแบบตัวอักษร ซึ่งมีโทษทางอาญา

"แบบตัวอักษรและลิสต์รายชื่อตัวอักษรไม่มีใครสามารถอ้างเป็นเจ้าของสิทธิ์ได้ แต่ซอฟต์แวร์ที่ใช้เลือกแบบตัวอักษรในการพิมพ์นั้น ผู้ผลิตซอฟต์แวร์มีสิทธิ์ในซอฟต์แวร์นั้นได้ และการประดิษฐ์ตัวอักษรไม่ถือเป็นงานสร้างสรรค์พอที่จะอ้างเป็นเจ้าของสิทธิ์ได้" นายเนวินกล่าว

นายพัลลภได้ยื่นขอจดลิขสิทธิ์แบบตัวอักษรเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2542 แต่กรมฯ ปฏิเสธ ซึ่งนายพัลลภได้ทำหนังสือลงวันที่ 5 ก.ย. 2542 ขอหารือว่าเขามีสิทธิ์ในตัวอักษรที่ยื่นขอจด ซึ่งกรมฯ ตอบกลับไปเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2542 ยืนยันไม่มีสิทธิ์.


โดยคุณ : No - [ 15 ต.ค. 2002 , 09:56:44 น.]
บันทึกการเข้า
ผมตอบให้ในอีกกระทู้นึงแล้วนะครับเรื่อง PSL
อ่านให้รู้ อ่านให้กระจ่างนะครับคุณอรุณ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
PSL ชนะคดีไปชาตินึงแล้วครับ

บันทึกการเข้า

นักเขียนการ์ตูนรายปี
หน้า: [1]
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!