หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 7 8 9 10 ... 79
 
ผู้เขียน หัวข้อ: สีน้ำ  (อ่าน 602737 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
กำลังทำงานสีน้ำไปส่งครู
ครูบอกว่าให้ระบายสีน้ำแล้วโรยเกลือเพื่อให้ภาพมันนูน
เกลือหมอไปเยอะเลย
บันทึกการเข้า

เราเป็นนัก(อยาก)เขียน
ที่โรงบาลเคยสอนให้ฟรีหลายปีดีดักมาแล้วสำหรับพนักงานและบุตรหลาน

สีเป็นสีหลอดใหญ่ๆ บีบเป็นก้อนๆ ใส่จานสี แล้วเก็บไว้ใช้ได้นานมากๆ ปัจจุบันยังอยู่เลย
พอวาดซักพักก็มีจัดนิทรรศการ โชว์ภาพกัน ให้คนไข้+ญาติคนไข้ดู ปลื้ม

ปัจจุบัน จำไม่ได้แล้วว่าวาดยังไง รู้แต่ตอนแรกให้เอาฟองน้ำลูบกระดาษให้ชื้นหน่อย แล้วลงท้องฟ้ากับวิวไกลๆ ก่อนเป็นอันดับแรก สีมันจะฟุ้งเข้าหากันโดยอัตโนมัติ ดูไม่หลอกตา ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า

อุปกรณ์ (เสริม)
-ผ้าไว้เช็ดทั้งน้ำและสี
-ฟองน้ำ บางคนที่เค้าจะแนะนำให้เอาฟองน้ำลูบที่กระดาษ เพื่อเช็ดความมันที่เคลือบกระดาษออกก่อน
-ถังน้ำ เปลี่ยนน้ำบ่อยๆอย่าให้น้ำสกปรก
-กระดาษที่พอซื้อหาก็ได้ก็ 300ปอนด์
-พู่​กัน มีซัก4-5ขนาดก็น่าจะพอ(อันที่ด้ามเป็นสีไม้ ขนขาวๆนุ่มๆ)

อย่างที่หลายๆท่านบอก สีน้ำระบายจากสีอ่อนไปเข้ม
มองทุกอย่างเป็นสีสัน เงาไม่ใช่ดำ แสงไ่ม่ใช่ขาว
บันทึกการเข้า

กำลังโหลดข้อมูล .....
อ่านแล้วอยากเล่นดูมั่ง แต่ ฮือๆ~
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
เล่นเลยครับ สีน้ำบีบบออกมามากมันก็ไม่เสียหายขอเพียงเก็บไว้ดีๆหน่อย พอจะใช้ก็เอาพู่กันมาจุ่มน้ำจุ่มสีใช้ได้อีก

เริ่มที่ของง่ายๆก่อนเช่นกระถางดอกไม้ (ที่รายละเอียดไม่เยอะ)
สีน้ำเสน่ห์มันอยู่ที่การผสานกันของสี ระวังดีๆ วาดไปวาดมาจะเป็นอาการที่เรียกว่า"สีเน่า"






จาก : siamartthailand.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 ธ.ค. 2006, 11:24 น. โดย Sub-Zero™ » บันทึกการเข้า

กำลังโหลดข้อมูล .....
 กรี๊ดดดดด

มีเคยอยากลองระบายแบบนั้นบ้าง
ก็เลยหลับตา จินตนาการ
แล้วก็ละเลง..................




พอเสร็จ ... เน่า  ฮือๆ~
บันทึกการเข้า

<3.
 (แจ๋ว แจ๋ว)  ตรบมือให้กระจู้ตั้งใจจริง ดูแต่ละคน ตั้งใจกันมากๆ

ตอนป้าเรียน ป้าใช้สีวินเซอร์ เหตุเพราะเนื้อสีแน่นดี แล้วก็เวลาผ่านไปก็ยังคงคุณภาพสีไว้ได้ ประกอบกับคนใช้กันเยอะ

ส่วนพู่กันเนี่ย สมัยเรียน ปวช. ใช้ สง่ามยุระ ธรรมด๊าธรรมดา
สมัย มหาลัย ก็ซื้อไอ้ด้ามที่เป็นอะครีลิค ใสๆ เพิ่มขึ้นมา 3ด้าม เล็ก กลางใหญ่ (พู่กันกลม) ส่วนพู่กันแบน ป้าใช้แค่เบอร์ใหญ่เกือบใหญ่( แปลว่า ไม่ใหญ่มาก )ด้ามเดียว สีดำ เอาไว้ปาดพื้นที่กว้างๆ

กระดาษ ถ้าวันไหนไม่มั่นใจเท่าไหร่ จะใช้ ร้อยปอนด์เรียบ ป้าว่ามันคุมสีได้ง่าย
แต่ถ้าวันไหนต้องการสีชุ่มๆ วาดอะไรง่ายๆ ป้าจะใช้ ร้อยปอนด์แบบผิวขรุขระ  มีพื้นผิวหน่อยป้าว่ามันสวยดี
แต่เรื่อง คุมสี ยาก-ไม่ยาก ไม่รู้ว่า ป้าคิดไปเองรึเปล่านะ

เทคนิคสีน้ำป้าไม่ค่อยมี ส่วนใหญ่เป็นการทำเยอะๆวาดเยอะ พยายามเข้าใจธรรมชาติของสี ของกระดาษและอุปกรณ์ แต่ละอย่างก็พอ

เดี๋ยวรอดูผลงานต่อจากนี้ของน้องๆหลานๆดีกว่า  ยิ้มน่ารัก
บันทึกการเข้า

เราแก้ไขอดีตไม่ได้ แต่เราทำปัจจุบันให้ดีได้
กรี๊ดดดดด

มีเคยอยากลองระบายแบบนั้นบ้าง
ก็เลยหลับตา จินตนาการ
แล้วก็ละเลง..................




พอเสร็จ ... เน่า  ฮือๆ~



ก็ลืมตาระบายสิครับ  เอือม เอือม
บันทึกการเข้า

กินรอบวง
(แจ๋ว แจ๋ว)  ตรบมือให้กระจู้ตั้งใจจริง ดูแต่ละคน ตั้งใจกันมากๆ

ตอนป้าเรียน ป้าใช้สีวินเซอร์ เหตุเพราะเนื้อสีแน่นดี แล้วก็เวลาผ่านไปก็ยังคงคุณภาพสีไว้ได้ ประกอบกับคนใช้กันเยอะ

ส่วนพู่กันเนี่ย สมัยเรียน ปวช. ใช้ สง่ามยุระ ธรรมด๊าธรรมดา
สมัย มหาลัย ก็ซื้อไอ้ด้ามที่เป็นอะครีลิค ใสๆ เพิ่มขึ้นมา 3ด้าม เล็ก กลางใหญ่ (พู่กันกลม) ส่วนพู่กันแบน ป้าใช้แค่เบอร์ใหญ่เกือบใหญ่( แปลว่า ไม่ใหญ่มาก )ด้ามเดียว สีดำ เอาไว้ปาดพื้นที่กว้างๆ

กระดาษ ถ้าวันไหนไม่มั่นใจเท่าไหร่ จะใช้ ร้อยปอนด์เรียบ ป้าว่ามันคุมสีได้ง่าย
แต่ถ้าวันไหนต้องการสีชุ่มๆ วาดอะไรง่ายๆ ป้าจะใช้ ร้อยปอนด์แบบผิวขรุขระ  มีพื้นผิวหน่อยป้าว่ามันสวยดี
แต่เรื่อง คุมสี ยาก-ไม่ยาก ไม่รู้ว่า ป้าคิดไปเองรึเปล่านะ

เทคนิคสีน้ำป้าไม่ค่อยมี ส่วนใหญ่เป็นการทำเยอะๆวาดเยอะ พยายามเข้าใจธรรมชาติของสี ของกระดาษและอุปกรณ์ แต่ละอย่างก็พอ

เดี๋ยวรอดูผลงานต่อจากนี้ของน้องๆหลานๆดีกว่า  ยิ้มน่ารัก

เอางานป้ามาโชว์หน่อยสิคะ
อยากดู กรี๊ดดดดด กรี๊ดดดดด กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

ป้าโชว์เลย ....... หื่น
บันทึกการเข้า

ล้ำลึกคนึงหาในดวงจิต ใจเคยคิดตัดสวาทมิอาจสิ้น
ดั่งก้านบัวหักกลางชลาสินธุ์ ผิว่าสิ้นไร้เยื่อยังเหลือใย
เดี๋ยวต้องกลับไปรื้อก่อนนะ ไม่รู้ว่าเอากลับบ้านไปแล้วยัง
ถ้าหาเจอ เดี๋ยวจะเอามาโพสให้ดูนะ

ปล. ถ้าให้วาดใหม่ก็ไม่สวยเหมือนเมื่อก่อนแล้วล่ะ ทิ้งมานานมากกกกกกกกกกก
บันทึกการเข้า

เราแก้ไขอดีตไม่ได้ แต่เราทำปัจจุบันให้ดีได้
กำลังทำงานสีน้ำไปส่งครู
ครูบอกว่าให้ระบายสีน้ำแล้วโรยเกลือเพื่อให้ภาพมันนูน
เกลือหมอไปเยอะเลย

โรยเกลือด้วยหรอ
ไม่เคยทำแฮะ

โรยแล้วภาพมันจะนูนจริงๆหรอ

อยากเห็นๆน้องนลินเอามาโชว์หน่อย



เรามาต่อเรื่องการขึงกระดาษดีกว่า

การขึงกระดาษ
1. เอาฟองน้ำจุ่มน้ำ ลูบบนผิวกระดาษทั้ง2ด้าน
2. จับพาดบนกระดาน
3.เอาน้ำลูบขอบๆ
4. ใช้กระดาษกาวน้ำ (มันเรียกว่าอะไรก็ไม่รู้ ที่ใช้น้ำลูบแล้วมันจะกลายเป็นกาว)
     ติดพาดตรงขอบกระดาษทั้ง4ด้าน โดยขึงให้กระดาษตึง

จบ



การลงสี
โดยทั่วไป
1. wet on wet
เป็นการระบายสีเปียกๆบนสีเปียกๆ  มักใช้กับภาพเบลอๆ เช่น ท้องฟ้า แบคกราวน์ต่างๆ
สีมันจะซึมหากันเองโดยอัตโนมัติ ภาพจะดูฟุ้งๆ นุ่มๆ ชวนฝัน
2. dry on wet
เป็นการระบายสีแห้งบนสีเปียก จะใช้วาดพวกภูเขา ในแบคกราวน์ ขอบของภาพจะคมขึ้นมาอีกนิดนึง
3. dry on dry
เป็นการระบายสีแห้งบนสีที่แห้งแล้ว จะใช้วาดรายละอียดต่างๆ จะได้ขอบภาพที่คมชัด
โดยมีข้อแม้ว่า ต้องรอให้สีเดิมแห้งสนิทจริงๆ ไม่งั้นจะเจอสถานการณ์สีเน่า มันจะเกิดขอบสีขาวๆขึ้นรอบๆ



เท่าที่รู้ตอนนี้มีเท่านี้ค่ะ
เดี๋ยววันหลังมาต่อเรื่องการลงสีแบคกราวน์ไปจนถึงโฟร์กราวน์ค่ะ
หรือเทพคนไหนสนใจ สอนเลยค่ะ เผื่อจะได้รู้อะไรใหม่ๆ
บันทึกการเข้า

4. ใช้กระดาษกาวน้ำ (มันเรียกว่าอะไรก็ไม่รู้ ที่ใช้น้ำลูบแล้วมันจะกลายเป็นกาว)
     ติดพาดตรงขอบกระดาษทั้ง4ด้าน โดยขึงให้กระดาษตึง

อันนี้ป้าไม่ค่อยชอบใช้อ่ะ เพราะว่าเวลาแกะออก มันจะทำให้พื้นผิวกระดาษเป็นขุย(ไม่รู้เพราะป้าแกะไม่เป็นรึเปล่า)
ปกติป้าใช้เทปกาวที่เค้าเรียกกันว่า นิทโต้ ที่เอาไว้ใช้เวลาทำสีโปสเตอร์อ่ะ มันไม่กินกระดาษดีนะ ป้าว่า แต่มันก็มีเทคนิคในการแปะนิดหน่อยเหมือนกัน

ปล. สมัยที่ป้าใช้เกลือโรย มันไม่ได้ทำให้สีนูนขึ้นนะ ของป้าโรยเกลือแล้วปล่อยให้แห้งแล้วปัดเกลือออก เกลือมันจะดูดสีเป็นดวงๆ เหมือนดาวอ่ะ ... จะนึกภาพกันออกมั้ยเนี่ย?  เอือม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 ธ.ค. 2006, 19:33 น. โดย แป้งหวาน » บันทึกการเข้า

เราแก้ไขอดีตไม่ได้ แต่เราทำปัจจุบันให้ดีได้
ชักอยากขุดสีน้ำออกมาเล่นมั่งละ  กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า
อืมๆเรื่องกระดาษกาวเนี่ย
เบลล์ก็ไม่ค่อยใช้หรอกค่ะ
แต่มันทำให้กระดาษตึงได้ใจมากๆ
แต่ตอนแกะนี่ลำบากใจสุดๆ
ตอนนี้เลยนิยมเทปนิตโต้เหมือนกันค่ะ ลันล้า

ส่วนเรื่องเกลือ
มักใช้ในโอกาสไหนคะ
ทำให้มันดูดสีเป็นดวงๆ ยังไง งง
อยากเห็นภาพตัวอย่างค่ะ
บันทึกการเข้า

หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 7 8 9 10 ... 79
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!