เรื่องทั้งหมดนี้ มันมีประเด็นอยู่ที่
ถ้าไม่ได้ถอดเครื่องช่วยหายใจและทำการช่วยเหลือต่อไป อาจจะดีกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้หรือไม่
ต้องรีบตอบก่อนว่า สำหรับกรณีคุณย่าของคุณตั้ม ผมเชื่อว่า
"ต่อให้ใส่ต่อไป ก็จะดีเท่านี้"เพราะเครื่องช่วยหายใจ ถ้าถอดแล้วหายใจเองได้ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องใข้
สิ่งที่รพ.จะทำต่อถ้านอนรพ.ก็คือ ให้น้ำเกลือ และรอดูว่าจะฟื้นหรือไม่
ถ้าเป็นในต่างประเทศ ว่ากันตามหนังสือ ถ้ามีกรณีแบบนี้ขึ้นมา เขาจะให้ใส่เครื่องช่วยหายใจต่อไปและรอจนกว่าจะหายใจเองได้หรือจนกว่าจะฟื้น .... ถ้าไม่ฟื้น และถอดเครื่องไม่ได้ ก็ต้องเจาะคอและใช้เครื่องช่วยหายใจ ใส่อาหารเหลว ดูแลผู้ป่วยไปเรื่อยๆจนกว่าจะเสียชีวิต..... ดังนั้นบางประเทศก็เลยมีการออกกฎหมายการุณฆาต Mercy Killingขึ้นมา
ในเมืองไทย มีปัญหาว่าไม่มีกฎหมายนี้ ดังนั้น หากเกิดมีผู้ป่วยที่ค่อนข้างมั่นใจว่าจะเสียชีวิตแน่นอน หรือถ้าช่วย ก็มักลงท้ายที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัวไม่ตอบสนองนอนแบบ ผัก (vegetative state) หรือBrain Deathสมองตาย ก็จะบอกญาติ และแนะนำให้จัดการถอดเครื่องช่วยชีวติก่อนที่จะถอดไม่ได้
เพราะถ้าผู้ป่วยมีการดำเนินของโรคต่อไปจนถอดเครื่องไม่ได้ ก็จะไปตกที่สองแบบ
- Brain Death อย่างนี้ถ้าสมองตายจริงก็ไม่มีปัญหา เพราะการที่สมองตายถือว่า"ตายแล้ว" ถอดเครื่องช่วยหายใจได้เลย และต่อให้ไม่ถอด ถึงจุดหนึ่งหัวใจจะหยุดไปเอง
- Vegetative state หัวใจเต้นได้ แต่การหายใจจะต่างกันไป บางคนหายใจเองไม่ได้ ถ้าถอดแล้วตาย... บางคนหายใจเองได้ ก็ถอดท่อได้ แต่จะนอนอย่างเดียวไม่รับรู้อะไร .....
กลุ่มที่ถอดไม่ได้ถอดแล้วตายเมื่อมาถึงจุดนี้ ทั้งหมอ และญาติ ไม่สามารถถอดเครื่องช่วยหายใจได้ เพราะถือว่าเป็นการฆาตกรรมในช่วง20-30ปีที่ผ่านมานี้ การช่วยชีวิตด้วย CPR มีความก้าวหน้ามากขึ้น เครื่องช่วยหายใจก็ดีขึ้น ICUดีขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ คนไข้แบบผักมีสูงขึ้น
เมื่อก่อน แพทย์ดูแลผู้ป่วยแบบครบองค์รวมมาก เมื่อถึงจุดที่รู้ว่าไม่มีทางดีไปกว่านี้ ญาติบางคนมีปัญหาเรื่องการเงินมาก เพราะการมาเฝ้าที่รพ.ก็ย่อมหมายถึงการขาดรายได้ เคยมีกรณีที่คล้ายๆกันนี้ที่แพทย์ยอมทำตามที่ญาติขอร้องคือถอดเครื่องออก .... ต่อมาญาติอีกกลุ่มได้นำเอาประเด็นนี้ไปฟ้องเพื่อเรียกเอาเงินจากแพทย์...... (เคยมีงานวิจัยสอบถามเมื่อ2546-47 ผู้พิพากษา+อัยการ เกิน50%บอกว่าแพทย์ผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา และต้องได้รับโทษจำคุกจากกรณีนี้) อีกทั้งยังมีประเด็นหลายอย่างทางสังคม อย่างเช่นถ้าแพทย์ยืนยันไม่ถอดเครื่อง หรือตัดสินใจรอดูไปก่อน แล้วคนไข้เกิดไม่ฟื้นก็เคยมีกรณีที่ญาติไม่พอใจแพทย์จนเป็นเรื่องเป็นราว
ดังนั้นในช่วง10ปีหลังมานี้ มีการพูดคุยเรื่องพวกนี้ในระดับการเรียนแพทย์มากขึ้น มีการเอากรณีที่แพทย์เจอญาติที่ไม่ดี เอามาพูดมาทบทวนมากขึ้น .... แพทย์รุ่นหลังๆก็จะเริ่มกลัวและระวังตัวมากขึ้น
อีกทั้งในระยะหลัง30บาท เตียงเต็มมากขึ้นกว่าเดิม เครื่องไม้เครื่องมือมีไม่เพียงพอ บางครั้งรพ.ก็มีนโยบายเคลียร์คนไข้ที่ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์บางอย่างให้มากที่สุด (นึกสภาพถ้ามีผู้ป่วยนอนใช้เครื่องช่วยหายใจในสภาพผัก 10คน ส่วนคนที่พอมีโอกาสรอดกลับมาหายเป็ฯปกติ แต่มาถึงไม่มีเครื่องช่วยหายใจ ก็ต้องตายไป)
ปัจจัยหลายๆอย่างมันรุมกันเข้ามา.....
ในกรณีผมเอง ก็เคยเจอกับกรณีคล้ายๆแบบนี้ ผมปฏิบัติต่างกันออกไปคือ หลังหัวใจหยุดเต้น ต้องนอนรพ.ต่อเกินกว่า24ชม. (แม้ไม่มีหวัง ญาติจะขอร้องเอากลับบ้านไปตายที่บ้านยังไง ผมก็จะไม่ยอม) หลังจากนั้นค่อยว่ากันต่อ
ส่วนกรณีนี้ คงต้องดูกันต่อไปครับ
สำหรับมาตรฐานสากลโลก คงไม่ถูกต้องนัก
สำหรับสถานการณ์บ้านเราขณะนี้ ผมว่าทำแบบนี้ก็ไม่ได้ถือว่าผิดประหลาดอะไรมากมาย และกรณีนี้เท่าที่อ่านแล้ว ผลที่ได้คงไม่แตกต่างกันมากนัก
ยังไงก็ขอเอาใจช่วยครับ
เพิ่มเติม
ผมไม่ได้อยากได้ความคิดหมอท่านอื่นไปเถียงหมอท่านนั้นนะ
อ้อ
กรณีแบบนี้ ตามมารยาท ถ้าจะออกความเห็นที่สองที่สามที่สี่ ควรมีSub title แบบนี้เสมออยู่แล้วครับ
อ้า... อีกเรื่อง
ตู : ทำไมต้องตะล่อมวะ ถามเฉยๆไม่ได้เหรอ
เพื่อนหมอ : บางทีนางพยาบาลบางคนเค้าเรื่องมาก เออเป็นเรื่องภายในวงการมึงอย่ารู้เลย
มันคือปัญหาเรื่องเวชระเบียนครับ
เวชระเบียนปัจจุบันยังถือเป็นสมบัติของโรงพยาบาลนั้นๆ ไม่ใช่ของผู้ป่วย
แพทย์และพยาบาลไม่มีสิทธิให้ใครดูทั้งนั้น ถ้าผู้ป่วยจะดูสามารถดูได้แต่ต้องทำเรื่องกับทางรพ.ก่อน (ในทางปฏิบัติก็ปล่อยๆเออออกันไป)
ยิ่งกรณีคนแก่อาการไม่ดี ต้องระวังให่มาก เพราะว่ามันมีกรณีของเรื่องมรดก ประกัน เข้ามาเกี่ยวข้อง