หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 ... 10
 
ผู้เขียน หัวข้อ: เคมี  (อ่าน 50930 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
ใครเคยเรียนวิชาเคมี มั่งครับ

ผมกำลังเรียนไอ้วิชานี้อยู่แหละ
เคมีพื้นฐาน ท่องตารางธาตุ แบบจำลองอะตอม

ตอนนี้ความจริงอยากปั่นบอร์ด
อ่านกระจู๋ที่มีสาระ (หานานมากกว่าจะเจอที่ถูกใจ)
แต่ก็ต้องอ่านหนังสือเคมีด้วย เพราะพรุ่งนี้สอบ

งั้น จะทบทวนเคมีมันในบอร์ดฟอนต์เลยนะ

 ง่ะ


.............

แบบจำลองอะตอม

ดอลตัน

ดอลตัน เป็นคนเสนอทฤษฏีอะตอมเป็นคนแรก
- ธาตุประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆ เรียกว่าอะตอม ซึ่งแบ่งแยกไม่ได้ ทำให้สูญหายไม่ได้
- อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกัน มวลเท่ากัน
- สารประกอบเกิดจากอะตอมมากกว่าหนึ่งชนิดรวมตัวกัน

แบบจำลองอะตอมของดอลตันจึงเป็นลูกแก้วตันๆ ลูกหนึ่ง

.............

เซอร์โจเซฟ จอร์น ทอมสัน

ทอมสัน ทดลองเกี่ยวกับอนุภาคแยกย่อยในอะตอมลงไปอีก
โดยใช้หลอดรังสีแคโทด ในการทดลอง

หลอดรังสีแคโทดเป็นหลอดสูญญากาศ ภายในมีโลหะสองขั้ว
ขั้วลบคือ แคโทด
ขั้วบวกคือ แอโนด
เมื่อให้ไฟฟ้าศักย์สูง (10,000 โวลท์) จะเกิดรังสิพึ่งจากแคโทดไปแอโนด
เรียกว่ารังสีแคโทด

ทอมสันดัดแปลงทดลอง โดยเจาะรูที่ขั้วแอโนด ใส่ฉากเรืองแสงเข้าไปข้างหลัง
และติดตั้งขั้วไฟฟ้าในแนวดิ่งดังภาพ


พบว่ามีจุดสว่างเกิดขึ้นที่ฉากเรืองแสง และเบี่ยงเบน
เข้าหาขั้วบวก (รังสีแคโทดสีชมพู)

ทอมสันคำนวนหาค่าประจุต่อมวลของอนุภาคดังกล่าว
และสรุปว่าอะตอมทุกชนิดมีอนุภาคประจุลบเป็นองค์ประกอบ
และเรียกมันว่า อิเล็กตรอน

...


แฮ่กๆ...

...

ออยเกน โกลด์สไตน์



โกลด์สไตน์ ทดลองต่อจากทอมสัน โดยการเจาะรูทั้งแคโทด และแอโนด
ติดตั้งฉากเรืองแสงทั้งสองข้าง แล้วต่อไฟ....
พบว่าเกิดจุดสว่างที่ฉากทั้งสองข้าง

จึงสรุปว่า มีอนุภาคที่ประจุเป็นบวกด้วย (ไอ้พวกที่วิ่งไปแคโทดไง)
และให้ชื่อไอ้พวกนี้ว่า
โปรตอน

....  ลันล้า

จากการนี้ ออยเกน ยกประโยชน์ให้ทอมสันผู้ริเริ่ม
เสนอโครงสร้างอะตอมแบบใหม่ คือ
อะตอมประกวบด้วยอนุภาคที่มีประจุบวก และลบกระจายอยู่ทั่วไป

แง่ม...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 พ.ย. 2006, 21:16 น. โดย tao » บันทึกการเข้า
อะไรนะ

ปั่นตอน หรอ
บันทึกการเข้า
โรเบิร์ต แอนดรูส์ มิลิแกน

ตา มิลิแกน ได้ทำการทดลองหาค่าประจุอิเล็กตรอนเมื่อ พ.ศ. 2451
พบว่าอิเล็กตรอนมีประจุ 1.6 x 10-19 คูลอมบ์
และคำนวนมวลได้ 9.11 x 10-28 กรัม

โดยทดลองการ พ่นละอองน้ำมัน และฉายรังสี x



ขั้นแรก
- พ่นละอองน้ำมันเป็นฝอย
- ฉายรังสี x ให้ไอออนแตกตัวเป็น ไอออนบวก และไอออนลบ
- ประจุลบ e- เกาะฝอยน้ำมัน
- ขั้วลบที่ก้นแก้วจะดันให้ฝอยน้ำมันลอยขึ้น (ขั้วเดียวกันผลักกัน)
- ตัดกระแสไฟฟ้า ให้ฝอยน้ำมันร่วงลงมา

กล้องโทรทัศน์ส่องดูอัตราการร่วงลงของฝอยน้ำมัน
คำนวนออกมาเป้นประจุของอิเล็กตรอน 1.60 x 10-19

คำนวนไงของมันไม่รู้  ง่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 พ.ย. 2006, 21:28 น. โดย tao » บันทึกการเข้า
ไมได้่เจอเคมีมานานมากแล้ว  หน้ามึน
บันทึกการเข้า
ใครเรียนเคมีช่วยเต่าหน่อยเร๊ว
บันทึกการเข้า
 กร๊าก
เอาเรื่องคำนวณหน่อยก็ดี เผื่อปั่นแล้วได้มาทบทวนด้วย

(แต่พรุ่งนี้ตูสอบ รด. แล้วเว้ย ฮือๆ~ ไว้ค่อยมาช่วย)
บันทึกการเข้า
...

เรียนแต่ ดอลตัน จำลองกลมๆตันๆมาอันนึัง  หมีโหดดดด
บันทึกการเข้า

ยิ้มน่ารัก น้องดำ
โชดิงเจอร์เสนอสมการขึ้นมา พบว่าถ้าแทนค่า x y z ใดๆ ในสมการ s-orbital จะได้รูปร่างคล้ายทรงกลม  หมีโหดดดด
บันทึกการเข้า
ละโว้ เคยเรียนมาแล้ว  คริคริ












อ่าวไม่ใช่เหรอ  ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า

เราจะต้องการอะไรมากมายไปกว่า อะไรมากมาย
เรียน ม.ปลายสายวิทย์
แต่ทำไมไม่ได้เรียนเคมีเลยหว่า  งง

อ่อ นึกออกแล้ว... ก็ทำการบ้านอย่างอื่นในคาบเคมีตลอดเลยนิ
(ห้ามลอกเลียนแบบเด็ดขาด)   อี๋~

ขอโทษด้วยนะเต่าน้อย พี่ไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย   เอือม
บันทึกการเข้า

Nothingness
||•• i-nan-za™``: วนัสนันท์ is back!

ข้อสอบจะถามประมาณว่า

ค้นพบปีไหน  ง่ะ
 
ดอลตันถนัดมือซ้ายหรือขวา  หมีโหดดดด

มวลอิเล็กตรอนน้ำหนักเท่าไหร่  ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า

เราจะต้องการอะไรมากมายไปกว่า อะไรมากมาย
เคมีของชั้นไหนล่ะครับ
เพราะของมหาลัย ฟิสิกส์ , มหาลัย วิทยาทั่วไป กับ ม.ปลาย
เรื่องอะตอมมันไปคนละเรื่องกัน  ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า

ฝันซ่อนสับสนวุ่นวาย หย่อนคล้อย
ความรู้เคมีม.ปลาย พอเข้ามหาวิทยาลัยแล้วอย่างกับขยะ เจอแต่เรื่องที่ไม่เคยเรียน  หน้ามึน
บันทึกการเข้า
PLUTO ก็มีอะตอมนะ  หมีโหดดดด
บันทึกการเข้า

เราจะต้องการอะไรมากมายไปกว่า อะไรมากมาย
ผมเขียนโพสเล่นๆ อุทิศแด่ traffic ของเว็บฟอนต์
เพื่อกลุ่มลูกค้าจาก search engine ที่เข้ามาหาเรื่องอะตอม
ระดับชั้น ม.ปลาย ครับ

(หยั่งกะ traffic เว็บนี้น้อย เนอะ  ง่ะ)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 ... 10
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!