ไปหาในห้องสมุด "สารคดี"(ชื่อหนังสือ) มาซะอย่างดี (จดด้วยครับ ) แล้วลองมาเชิตในเน็ต
ข้อมูลเหมือนกันเลยครับ

ยังไงถ้าใครยังไม่รู้ก็ " อย่าว่าเขานะครับ(คนที่เป็น)ผมยังอิจฉาอยากเป็นบ้างจัีง"
หัวข้อเรื่องนี่ "ซินเนสทีเซีย"
ปรากฏการณ์นี้ถือเป็นปรากฏการณ์พิเศษสำหรับคนพิเศษในโลกนี้เพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น ซึงพวกขาจะมีประสบการณ์ในการรับรู้ที่ต่างจากคนทั่วไป เป็นอาการที่คนพิเศษเท่านั้นจะรับรู้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการมองตัวเลข (หรือตัวหนังสือ) เป็นสีสรรค์ต่างๆ หรือบางคนเมื่อได้ยินเสียงดนตรี จะสัมผัสกับมันได้ด้วยประสาทส่วนอื่นที่ไม่ใช่โสตประสาท
คำว่า "ซินเนสทีเซีย" (synesthesia หรือ synaesthesia) มาจากภาษากรีก คือ คำว่า Syn (ร่วม) + Aisthesis (การรับรู้) หมายความว่า การที่มีประสาทรับรู้ตั้งแต่สองส่วนขึ้นไป รับรู้ร่วมกัน โดยเราจะเรียกคนที่มีอาการเช่นนี้ว่า ซินเนสทิต (Synesthete)
อาจจะมีหลายคนเห็นว่าอาการนี้เป็นอาการของคนป่วย แต่ในทางการแพทย์และทางจิตวิทยากลับไม่ได้มองเช่นนั้น พวกถือว่าซินเนสทิตไม่ใช่อาการป่วย และอาการนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ จึงอาจจะเรียกได้ว่าเป็นความผิดปกติของโครโมโซมมากกว่า โดยสามารถพบคนที่เป็นซินเนสทีเซีย ประมาณ ๑ ต่อ ๒๕,๐๐๐ คน สำหรับคนอเมริกัน พบว่าโอกาสที่จะพบในผู้หญิงมากว่า ชายราว ๓ : ๑
โดยอาการที่พบบ่อยที่สุดคือ การมองเห็นตัวเลขหรือตัวอักษรเป็นสี (Colored letters and numbers) และได้ยินเสียง เป็นสี (colorred hearing)
รูปแบบต่าง ๆ ของ ปรากฏการณ์ ซินเนสทีเซีย
ลักษณะความรุ้สึก
ตัวเลขและตัวหนังสือทำให้เห็นสี จำนวน ๑๒๑ สัดส่วนร้อยละ ๖๙
หน่วยของเวลาทำให้เห็นสี จำนวน ๔๒ สัดส่วนร้อยละ ๒๔
เสียงพูดทำให้เห็นสี จำนวน ๒๔ สัดส่วนร้อยละ ๑๔
เสียงทั่ว ๆ ไปทำให้เห็นสี จำนวน ๒๖ สัดส่วนร้อยละ ๑๓
เสียงดนตรีทำให้เห็นสี จำนวน ๒๑ สัดส่วนร้อยละ ๑๒
เสียงโน๊ตเพลงทำให้เห็นสี จำนวน ๑๖ สัดส่วนร้อยละ ๙
ความรู้สึกเจ็บปวดทำให้เห็นสี จำนวน ๖ สัดส่วนร้อยละ ๓.๔
กลิ่นทำให้เห็นสี จำนวน ๕ สัดส่วนร้อยละ ๓
บุคลิกลักษณะของคนทำให้เห็นสี จำนวน ๕ สัดส่วนร้อยละ ๓
รสชาด ทำให้เห็นสี จำนวน ๕ สัดส่วนร้อยละ ๓
เสียงทำให้รุ้รสชาต จำนวน ๓ สัดส่วนร้อยละ ๒
เสียงทำให้รู้สึกสัมผัส จำนวน ๓ สัดส่วนร้อยละ ๒
ภาพทำให้รุ้รสชาด จำนวน ๓ สัดส่วนร้อยละ ๒
สัมผัสทำให้รู้รสชาด จำนวน ๒ สัดส่วนร้อยละ ๑
เสียงทำให้ได้กลิ่น จำนวน ๑ สัดส่วนร้อยละ ๐.๖
อุณหภุมิทำให้เห็นสี จำนวน ๑ สัดส่วนร้อยละ ๐.๖
รสชาดทำให้รุ้สึกสำผัส จำนวน ๑ สัดส่วนร้อยละ ๐.๖
สัมผัสทำให้ได้กลิ่น จำนวน ๑ สัดส่วนร้อยละ ๐.๖
ภาพทำให้รู้สึกสัมผัส จำนวน ๑ สัดส่วนร้อยละ ๐.๖
จากการศึกษาพบว่า ซินเนสทิต มักจะถนัด และมีความจำดีกว่าคนส่วนใหญ่ เช่น ในกรณีของเลขบัตรเครดิตยาว ๆ ก็จำง่ายเพราะเห็นสีสันต่าง ๆ เรียงกันไป แต่พวกเขามักจะหลงทิศทางได้ง่าย ๆ ละการคิดคำนวณอาจไม่ดีเท่าใด
ส่วนทฤษฏีสมัยใหม่ ซึ่งเสนอโดย ไซมอน บารอน โคเฮน แลเพื่อนร่วมงาน ทีมวิจัยว่า ซินเนสทีเซีย น่าจะเกิดการพันธุกรรม เชื่อมต่อของเซลล์ประสาทในสมองที่มีมาก เกินพอดี ส่งผลให้การรับรู้ ของประสาทสัมผัสต่าง ๆ ปะปนกั เช่น การได้ยินเสียงกับการมองเห็น ฟังเพลงแล้วบอกว่าเห็นสี เป็นต้น พูดง่าย ๆ ก็คือ ทฤษฏีนี้ เชื่อว่า สมองของคนมีโครงสร้างทางกายภาพ แตกจากจากคนปกติ
ทีมวิจัยของไซมอน ได้ศึกษาการทำงานของสมอง โดยใช้ เทคนค ไฟซิตรอนอิมิชชันโทโมกราฟี และสร้าง ภาพโดยฟังก์ชันนัล เอ็นเอ็มอาร์ (functhional-Nuclear Magnetic Resonance imaging) พบว่า เมื่อคนที่ เป็น ซินเนสทีเซีย ได้ยินเสียงสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นก็ทำงานด้วย
และทางด้าน ดร. ดาฟนี เมาเรอร์ นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ เสนอต่อว่า คนเราทุกคนเกิดมาพร้อม ๆ กับเชื่อมของเซลล์ประสาทในสมองจำนวนมาก ซึ่งทำให้เกิดปรากฏการณ์ซินเนสทีเซีย แต่เมื่อเราเติบโตขึ้น การเชือมต่อนี้จะลดลงไปสำหรับคนส่วนใหญ่ ประสาทสัมผัสแต่ละอย่างก็เลยแยกจากกัน แต่สำหรับคนพิเศษบางคน การเชื่อมต่อยังเหลือค้างอยุ่ ก็เลยทำให้ซินเนสทีเซีย บางคู่ของปราสาทสัมผัส ยังเชื่อมอยุ่ติดกัน
ส่วน ปีเตอร์ กรอสเซนบาเซอร์ นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยนาโรปะ ที่ไม่เห็นด้วย บอกว่า จริงอยู่ที่ซินเนสทีเซียน่าจะเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม แต่ไม่จำเป็นที่สมองของคนที่รู้สึกเช่นนั้นจะมองแตกต่างไปจากคนปกติ อย่างเช่นคน ติดยาอี เห็นดอกไม้ ก็บอกว่าหวาน แต่พอยากหมดฤทธิ์ ก็กลับมาเป็นเหมือนเดิม
ปีเตอร์เสนอต่อว่า ในการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง นั้น จะมีสัญญาณประสาทส่งไปยังสมองที่รับความรู้สึกหลาย ๆ อย่างร่วมกัน เช่น บริเวณร่องพับของขมับส่วนบน ที่อยู่ใกล้ ๆ ปลายด้านบนของหูข้างขวา จากนั้น สัญยษดังกล่าวจะถูกส่งกลับไปยังบรเวณที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกแต่ละอย่าง กันออกไป
สำหรับสมองคนปกติ สัญญาณประสาทจะไม่ให้ ไปยังส่วนที่ไม่เกี่ยวกับความรู้สึกนั้น
แต่สำหรับคนเป็นซินเนสทีเซีย การยับยั้งของสัญญาณไปยังสมอง เกิดการขัดข้อง ทำให้สัญญาณที่เกิดจากการฟังเสียงหลุดไปยังสมองส่วนการมองเห็น ก็จะเห็นเสียงกลายเป็นรูปร่างขึ้นมา ในที่สุด
ผมว่ามันไม่ใช่อาการป่วย แต่มันเป็นลักษณะของพรสวรรค์อย่างนึงมากกว่า ลองจินตนาการดู หากเรามองเห็นดนตรีเป็นสีสรรค์ขึ้นมาเนี่ย เราคงสามารถสร้างท่วงทำนองที่วิจิตรขึ้นมา ไม่แม้เพียงคนที่มีอาการนี้จะรับรู้ได้เท่านั้น แต่ผู้คนปกติธรรมดา คงได้รับสัมผัสอันสวยงามนั้นผ่านเสียงเพลงได้แน่ๆ เห็นได้จากนักดนตรีหลายๆคนที่สร้างสรรค์เพลงระดับเทพออกมา มีอยู่หลายคนเหมือนกันที่มีอาการเช่นนี้ และอาจจะมีเทพอีกหลายคนเช่นกันที่มีอาการเช่นนี้แต่ไม่รู้จักอาการของตนเอง อาจจะด้วยว่าในสมัยนั้นๆไม่มีการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ซึ่งนั่นอาจจะทำให้เค้าคิดไปเองว่า สิ่งที่ตัวเองมีไม่ใช่เป็นสิ่งที่พิเศษกว่าคนธรรมดา อย่างเช่นบีโธเฟ่น ที่ประพันธ์ซิมโฟนีนัมเบอร์5ขึ้นมา ตัวของเขา หูหนวกชัดๆ แต่สามารถประพันธ์เพลงชั้นเทพขนาดนั้นออกมาได้ ผมว่าเขาคงมีการรับรู้อย่างอื่นเข้ามาแทนที่ประสาทหูที่เสียไป และการรับรู้ที่ว่า ผมว่าคงไม่พ้นอาการซินเนสเทียนี้หรอกครับ
ป.ล. สารคดี
( หัวปก จากวิกฤตน้ำมัน สู่พลังงานทางเลือก )
( ๑๐๐ บาท )
ปีที่ ๒๑ ฉ.๒๔๙ พ.ย.๒๕๔๘
หน้า ๑๒๙