หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 [9] 10 11 12 13 14 15
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ฝนดาวตก?  (อ่าน 52456 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
หวีดสยองงงงงงงงง กรี๊ดดดดด









ที่ไหนเหรอ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
เหนือหลังคาบ้านแก  ก็แหงนขึ้นไปมองสิยะ เอือม

ปีนี้ตั้งใจอยากไปดูแถวเขาเขียว ท่าจะดี ยิ้มน่ารัก
บันทึกการเข้า

หนังเย็บมือ Homemade www.facebook.com/oxhour
หวีดสยองงงงงงงงง กรี๊ดดดดด









ที่ไหนเหรอ

แหม ใจตรงกัน  คริคริ
บันทึกการเข้า

เราจะต้องการอะไรมากมายไปกว่า อะไรมากมาย
วันไหน เมือ่ไหร่ กี่โมง กี่นาที งง
บันทึกการเข้า

เกิดปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ ฝนดาวตกเปอร์เซอิด ซึ่งดาวตกเกือบครึ่งหนึ่งของฝนดาวตกกลุ่มนี้สว่างมาก ส่วนใหญ่มีสีขาว-เหลือง และมีอัตราการเกิดค่อนข้างถี่ เคลื่อนเข้าสู่บรรยากาศโลกด้วยอัตราเร็วประมาณ 59 กิโลเมตรต่อวินาที และข้อมูลจากองค์การอุกกาบาตสากล คาดหมายว่าช่วงปะทะดาวตกสูงสุด 59 ดวงต่อชั่วโมง เฉลี่ยราวนาทีละ 1 ดวง โดยชุดฝนดาวตกเปอร์เซอิดสวยงามมาก เป็นรองจากฝนดาวตกลีโอนิดส์ที่เป็นราชาแห่งฝนดาวตกเท่านั้น

วิธีการชมให้มองทางขอบฟ้าสูงประมาณ 45 องศา ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เส้นทางการเคลื่อนที่ของดาวตกจะมีแนวที่ดูคล้ายพุ่งออกมาจากกลุ่มดาวเปอร์เซอิดใกล้กับกลุ่มดาวแคสซิโอเปียในซีกฟ้าเหนือ เริ่มตั้งแต่ประมาณเวลา 22.00 น. วันที่ 12 สิงหาคม เป็นต้นไป ต่อเนื่องไปถึงเช้าวันที่ 13 สิงหาคม จะเริ่มเห็นถี่ขึ้นทีละน้อย ถี่มากที่สุดช่วงเวลาประมาณ 04.00-05.00 น.

ในปี 2550 นี้ ตรงกับคืนเดือนมืด แรม 15 ค่ำ ทำให้ไม่มีอุปสรรคจากแสงจันทร์มารบกวนแต่ตรงกับฤดูฝนของประเทศไทย ทำให้ต้องเสี่ยงลุ้นกับสภาพอากาศว่าจะเป็นใจหรือไม่ ฝนดาวตกเปอร์เซอิดปกติจะเริ่มมีตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม บ้างเล็กน้อย จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม แต่เกิดขึ้นมากที่สุดจะตรงกับช่วงต่อของวันที่ 12 สิงหาคม ถึงรุ่งเช้าวันที่ 13 สิงหาคม

 กรี๊ดดดดด กรี๊ดดดดด กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

หนังเย็บมือ Homemade www.facebook.com/oxhour
ตอนดาวสิงโตผ่านโลกนั่น ตูจำได้ว่า มาโคตรถี่เลย ง่ะ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
นอนดูอยู่ที่ดาดฟ้าหอตอนม.3ได้ละมั๊ง
เดี๋ยวตกๆ ถี่มากๆ
บันทึกการเข้า
ตอนไอ้เจ้า ลีโอนิด [ชื่อนี่ใช่หรือเปล่าคับ  งง]

ผมก็ไปนอนดูบนดาดฟ้าหอเหมือนกันตอนตี 2 แต่ไม่ค่อยจะมีมาเลย ก็เลยตัดสินใจไปนอน


แต่พอตื่นมา ซักตีสีเกือบที่ห้า ค่อยดูเหมือนฝนดาวตกหน่อย

บันทึกการเข้า

- HJ™ : www.syringes23.com  ¦  - เวปไซต์เข็มสัมพันธ์ 23
อยู่กรุงเทพคงเห็นยากแฮะ  ง่ะ
บันทึกการเข้า
หลายปีก่อนนอนดูบนดาษฟ้ายันเช้าเลย

ตอนนี้เขาปิดประตูดาษฟ้าไปแล้ว อดเลย


จัดมิตติ้งนอนดูดาวกันดีกว่า
บันทึกการเข้า

Today you , Tomorrow me.
ดาดฟ้าครับ ยิ้มน่ารัก



จำได้ว่าตอนดาวไหนสักดาวมาเยี่ยม
ตูไปเที่ยวเกาะช้างมั้ง
แล้วก็เป็นหวัด ลุกมาดูไม่ไหว
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ดาษฟ้าจริงๆ หลายแผ่นเลยที่ปูนอน


อูย...
บันทึกการเข้า

Today you , Tomorrow me.
 ง่ะ ลืมไปเลยว่าเคยตั้งจู๋นี้


ไม่เคยดูซะที ง่วงก่อนตลอด
บันทึกการเข้า

ยิ้มน่ารัก น้องดำ
แอบอ้าง
กลางเดือนธันวาคมของทุกปีมีฝนดาวตกที่ได้ชื่อว่าน่าดูที่สุดกลุ่มหนึ่งนั่นคือฝนดาวตกคนคู่ (Geminid meteor shower) ที่ว่าน่าดูก็เพราะเป็นฤดูหนาวที่ส่วนใหญ่ท้องฟ้าโปร่ง ที่สำคัญคือมีจำนวนดาวตกให้เห็นในอัตราสูงเมื่อเทียบกับฝนดาวตกกลุ่มอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีที่เป็นคืนเดือนมืด ไม่มีแสงจันทร์รบกวน ที่ได้ชื่อว่าฝนดาวตกคนคู่เนื่องจากดาวตกดูเหมือนพุ่งออกมาจากกลุ่มดาวคนคู่ (แต่ไม่ได้หมายความว่าดาวตกเริ่มปรากฏขึ้นมาในกลุ่มดาวนี้เสมอไป) เริ่มเกิดตั้งแต่ราววันที่ 7 ธันวาคม ด้วยอัตราเพียงหนึ่งดวงต่อชั่วโมง จากนั้นจะเพิ่มขึ้นจนสูงสุดซึ่งโดยมากอยู่ในคืนวันที่ 13 และ/หรือ 14 ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่โลกโคจรฝ่าเข้าไปในธารสะเก็ดดาวส่วนที่มีสะเก็ดดาวหนาแน่นมากที่สุด อัตราการเกิดจะลดลงเรื่อย ๆ หลังจากนั้นและสิ้นสุดในวันที่ 17 ธันวาคม

ฝนดาวตกคนคู่ในปี 2550

องค์การอุกกาบาตสากล (International Meteor Organization - IMO) พยากรณ์ว่าฝนดาวตกคนคู่จะมีอัตราสูงสุดในวันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2550 เวลา 23.45 น. ตามเวลาประเทศไทย (ให้ค่าความคลาดเคลื่อนไว้ที่ 2 ชั่วโมง 20 นาที) ทำให้ประเทศไทยสามารถมองเห็นดาวตกได้ในช่วงที่มีอัตราสูงสุดด้วยค่าประมาณ 100 ดวงต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม เราสามารถมองเห็นดาวตกได้มากตั้งแต่คืนวันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม แต่คาดว่าจะต่ำกว่าคืนวันที่ 14 ธันวาคม อยู่ที่ราว 60 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกคนคู่เริ่มเห็นได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 20.00 น. เป็นต้นไปและปรากฏไปจนถึงเช้ามืด ส่วนใหญ่ดาวตกที่เกิดก่อนเที่ยงคืนจะมีความสว่างน้อยกว่าและเคลื่อนที่ช้ากว่าดาวตกที่เห็นหลังเที่ยงคืน โดยทั่วไปคาดหมายได้ว่าจะพบดาวตกเป็นจำนวนน้อยในชั่วโมงแรก ๆ (ราว 20 ดวงต่อชั่วโมง) แล้วจึงเพิ่มขึ้นตามมุมเงยของกลุ่มดาวคนคู่ซึ่งเป็นบริเวณที่จุดกระจายฝนดาวตกอยู่ น่าจะเห็นดาวตกได้มากที่สุดในช่วงที่กลุ่มดาวคนคู่อยู่สูงใกล้จุดเหนือศีรษะซึ่งตรงกับเวลาประมาณ 0.00 - 4.00 น.

ดาวตกจากฝนดาวตกคนคู่ส่วนใหญ่มีสีขาวและเหลือง จุดกระจายฝนดาวตกอยู่ใกล้ดาวคาสเตอร์ในกลุ่มดาวคนคู่ (ปีนี้ดาวอังคารอยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ ห่างจากจุดกระจายฝนดาวตกไปทางทิศตะวันตกไม่ไกลนัก) สามารถพบดาวตกสว่างที่เรียกว่าลูกไฟได้ประมาณร้อยละ 5 ของดาวตกทั้งหมด ดาวตกจากฝนดาวตกคนคู่มีอัตราเร็วประมาณ 35 กิโลเมตรต่อวินาที เทียบได้กับครึ่งหนึ่งของฝนดาวตกสิงโต นอกจากดาวตกจากฝนดาวตกยังมีดาวตกทั่วไปเกิดขึ้นราว 5-10 ดวงต่อชั่วโมง และดาวตกที่ไม่ใช่สมาชิกของฝนดาวตกคนคู่อีกเล็กน้อยโดยสังเกตได้จากทิศทางการเคลื่อนที่ จำนวนดาวตกที่พบอาจน้อยกว่าที่คาดไว้ได้หากท้องฟ้าไม่มืดสนิทหรือมีเมฆบดบัง พ.ศ. 2551 ฝนดาวตกคนคู่จะมีแสงจันทร์รบกวน จากนั้นจะสังเกตได้ดีอีกครั้งในปี 2552

http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/meteors/2007geminids.html

ยังไม่เคยเห็นฝนดาวตกเลยค่ะ อยากมีโอกาสเห็นซักครั้งนึง
ยิ่งชุดนี้ ทั้งวันและเวลาเยี่ยมมากๆสำหรับวี
แต่เชื่อว่าแถวบ้านวีก็ยังคงมองไม่เห็น ฮือๆ~
บันทึกการเข้า
บนเขาก็เห็นบ่อยๆ นะ ยิ่งหน้าหนาวฟ้าโปรง เดือนดับ
บันทึกการเข้า

<a href="http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf" target="_blank">http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf</a>

A Long Patience: Wish Us Luck (and Happy Anniversary)
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 [9] 10 11 12 13 14 15
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!