หน้า: [1] 2
 
ผู้เขียน หัวข้อ: การ์ตูนไทย  (อ่าน 7324 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
"การ์ตูนไทย" กับเรื่องราวมากมาย ที่ไม่จบตรง “5 บาท”

โดย ผู้จัดการรายวัน 27 มิถุนายน 2549 21:41 น.





เมื่อโลกนี้เต็มไปด้วยจินตนาการของผู้คน การ์ตูนคงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยถ่ายทอดจินตนาการให้พวกเราได้รับรู้อย่างไม่ยากเย็นนัก โดยเฉพาะการเข้าไปมีบทบาทในชีวิตของเด็กๆซึ่งกลายเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยต่อเติมจินตนาการของพวกเขาไปอย่างขาดเสียไม่ได้
       
       แต่บนความน่าหลงใหลของบรรดาการ์ตูนต่างๆ กลับเหลือพื้นที่เล็กๆให้การ์ตูนของคนไทยได้เข้ามาแย่งชิงเพียงลมหายใจที่รวยริน นั่นคือวิถีชีวิตของการ์ตูนไทย ที่ต้องปากกัดตีนถีบมาจนถึงปัจจุบัน
       
       วันนี้ที่ "5 บาท"
       
       หลายคนเกิดและเติบโตควบคู่มากับการอ่านหนังสือการ์ตูนเล่มละบาท อาจเพราะด้วยกลวิธีที่เรียบง่ายในการดำเนินเรื่อง บวกกับเส้นสายสไตล์ไทยๆ ไม่แปลกใจที่มันจะมีราคาย่อมเยาเหมาะแก่การซื้อหามาอ่านตั้งแต่ไหนแต่ไร หากมีโอกาสแวะเวียนไปแผงหนังสือเมื่อใด เด็กๆหลายคนย่อมซื้อหนังสือการ์ตูนเหล่านี้ควบคู่ไปกับหนังสืออื่นๆ ซึ่งถือเป็นวิถีชีวิตของคนอ่านหนังสือการ์ตูนสมัยก่อน แต่ก็มีบางคนที่พร้อมจะร่วมทางไปกับหนังสือการ์ตูนเหล่านี้ เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว
       
       "ผมเริ่มเขียนมาตั้งแต่อายุสิบเจ็ด ก้าวมาจากแนวกำลังภายใน ตอนนั้นก็เขียนในระดับสามสิบสองหน้าจบ ลงในหนังสือเล่มละสามบาทห้าสิบ ในตอนนั้นถือเป็นหนังสือการ์ตูนเล่มใหญ่มาก แต่ตอนหลังก็ไม่มีใครทำแล้ว เพราะต้นทุนสูง จึงกลายมาเป็นเล่มละบาทเมื่อตอนอายุยี่สิบ ตอนนั้นวาดเองลงสีเองหมด จนมาถึงวันนี้ วันที่พี่ทำเป็นกิจการของตัวเอง ควบคุมการผลิตเอง แต่ก็ยังไม่ทิ้ง ยังเขียนหน้าปกอยู่ เรื่องก็ยังคงมีเขียนให้อ่านอยู่เรื่อยๆ แต่จะคอยอ่านงานของนักเขียนในค่ายมากกว่า เพราะปัจจุบันผลงานที่ส่งกันมาก็มีประมาณสิบกว่าคน ราคาค่างวด ตกเรื่องละไม่เกินพันสองร้อยบาท สูงสุดก็สองพัน โดยเกณฑ์ในการวัดค่าต้นฉบับจะเกิดจากความนิยมของผู้อ่าน ทุกผลงานที่เราเลือกตีพิมพ์จะต้องเป็นงานที่ให้ข้อคิด และมีสาระ ไม่ได้ต้องการที่จะมอมเมาเยาวชน แนวญี่ปุ่นเราไม่เอา ลามกยิ่งไม่ได้ใหญ่ เพราะเราถือว่าการ์ตูนไทยในตอนนี้กลายเป็นศิลปะที่ควรแก่การรักษาเอาไว้แล้ว ตรงนี้เองที่ทำให้เราต้องช่วยกันดูแลให้มันคงอยู่ต่อไป"
       
       ด้วยสุ่มเสียงที่นุ่มลึกตามแบบฉบับนักเขียนรุ่นใหญ่ เจ้าของนามปากกา "ชาย ชาตรี" หรือในชื่อจริง สมศักดิ์ เจสกุล ที่ปัจจุบันดำเนินกิจการเกี่ยวกับการ์ตูนไทยแบบเต็มรูปแบบ เพราะด้วยใจรักในงานเขียนการ์ตูน ทำให้ปัจจุบัน เขาถือเป็นแกนหลักๆในชุมชนการ์ตูนเส้นสายในสไตล์ไทยๆ ที่ทุกวันนี้แทบจะเรียกได้ว่า "เหลือน้อยเต็มที"
       
       "เมื่อก่อนมีแฟนหนังสือการ์ตูนหลายๆคนที่รักและสนใจในการเขียนการ์ตูนไทย พยายามส่งจดหมายมาขอให้เราจัดสอนการวาดการ์ตูน ตอนนั้นเราก็มีจัดเรียนฟรี แต่บางคนมีความตั้งใจสูง แต่ไม่มีพรสววรค์ หัดยังไงก็หัดไม่ได้ หรือบางคน พยายามเอางานมาเสนอให้ แต่ก็กลายเป็นสไตล์ญี่ปุ่นไปหมด เราก็พยายามบอกเหตุผลในการที่จะรับผลงาน บางคนก็ยังเขียนมาเหมือนเดิม ทำให้ไม่ค่อยมีนักเขียนหน้าใหม่มากนัก แต่แฟนๆของเราก็มีมากมายทั่วประเทศ จะเห็นได้จากปกในที่จะมีผู้อ่านส่งรูปมาหาเพื่อน ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีอยู่ เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้เรารู้ว่ายังมีแฟนๆที่ให้ความสนใจซึ่งเราก็ยินดีลงรูปให้ฟรีๆ เคยมีบางคนที่สวยมากๆแล้วมาลงหาเพื่อน ต้องโทรศัพท์กลับมาหาเราบอกว่ามีคนโทร.มาหาจนไม่ได้หลับได้นอนก็เคยมี สิ่งเหล่านี้ถือเป็นเสน่ห์ของการ์ตูนเล่มเล็กๆเล่มนี้" นักเขียนใหญ่กล่าวด้วยรอยยิ้มเมื่อเล่าย้อนถึงอดีต
       
       แม้แรงบันดาลใจจากนักเขียนผู้ล่วงลับไปแล้วอย่าง "จุก เบี้ยวสกุล" จะยังคอยแต่งแต้มสีสันให้เขาโลดแล่นอยู่บนเวทีนี้ได้อย่างไม่ท้อแท้ แต่ในบางครั้งกระแสต่างๆจากการ์ตูนในปัจจุบัน ทั้งการ์ตูนญี่ปุ่น การ์ตูนจากฝั่งอเมริกา หรือแม้กระทั่ง การ์ตูนแอนิเมชัน ก็ส่งผลให้ยอดขายหรือความน่าสนใจลดลงอย่างมากจนน่าใจหาย จนมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ครอบครัวเขาถูกโกงจากการลงทุนทำการ์ตูนไทยจนเกือบจะล้มเลิกการทำงานทางด้านนี้ไป
       
       "เมื่อก่อนในยุครุ่งเรืองจำนวนหน้าก็เยอะ ทำให้การแข่งขันตอนนั้นสูง หลายสำนักพิมพ์แข่งขันกันดุเดือด เริ่มจากเขียนสิบหกหน้า จนขยับไปสามสิบสองหน้า ทำให้ตอนนั้นในท้องตลาดมีหนังสือการ์ตูนให้เลือกอ่านเยอะมาก มันรุ่งเรืองสุดๆคนที่ทำกิจการนี้ก็รวยกันไปเลย แต่ก็มีพวกฉวยโอกาสหาผลประโยชน์ด้วยการทำงานชุ่ยๆหรือนำงานมาทำซ้ำๆ ก็เลยวุ่นวายอยู่พักหนึ่ง แต่พอมาถึงปัจจุบัน เด็กไทยไม่อ่านหนังสือการ์ตูนแบบนี้แล้ว แทบจะเรียกได้ว่าไม่มองกันเลย ขนาดลูกชายที่พี่เลี้ยงมาด้วยการ์ตูนพวกนี้ เขายังอ่านการ์ตูนอย่างอื่นเลย ทำให้เราเราต้องไปหากลุ่มเป้าหมายใหม่ ซึ่งก็กลายเป็นสาวโรงงาน แม่บ้าน แม่ค้าแทน แต่มันก็ยังขายได้ดีตามหมอชิต สายใต้ใหม่ หรือแม้แต่ร้านสะดวกซื้อต่างๆที่ทางสายส่งเขาไปวางไว้ แม้บางครั้งก็นึกน้อยใจตรงที่ ร้านหนังสือบางร้าน มองหนังสือของเราด้วยสายตาที่ไม่ดี มีอคติ ทั้งๆที่มันก็ทำเงินให้เยอะกับทางร้านเช่นกัน"
       
       บนชีวิต "16 หน้า"
       
       หากจะมองว่านักเขียนการ์ตูนไทย ดูจะ "ไส้แห้ง" ในสายตาของคนในสังคม ก็คงไม่ผิดนัก จนแทบจะเรียกได้ว่ากลายเป็นอาชีพที่แทบจะไม่ค่อยมีใครยึดมาเป็นอาชีพกันแล้วในปัจจุบัน ธวัชชัย ขาวสะอาด หรือ ในนามปากกา "ธวัชชัย" ในวัย 50 ปี ที่ยังคงยึดอาชีพวาดการ์ตูนไทยอยู่ และยังส่งผลงานให้กับสำนักพิมพ์ในเครือของ "ชาย ชาตรี" ถือเป็นอีกหนึ่งคนที่ยังคงไม่เคยทิ้งสิ่งที่ตนเองรัก ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับแวดวงนี้ไว้อย่างน่าสนใจ
       
       "ก็เขียนมา 20 ปีแล้ว ตั้งแต่ลูกยังอยู่ในท้องแฟนอยู่เลย คือเราชอบพวกวาดๆเขียนๆอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เรียนก็เรียนที่วิจิตรศิลป์ ซึ่งผลงานการ์ตูนที่เราเขียนก็เป็นประเภทแนวชีวิต มันเป็นเรื่องราวที่ผู้อ่านชอบอ่านเพราะเข้าถึงง่าย เป็นเรื่องที่เห็นกันอยู่ในชีวิตประจำวัน แต่ก็รู้สึกไม่ดีเหมือนกันที่หลายๆคนมองว่ามันเป็นแค่เพียงการ์ตูนขยะ พอซื้อหามาอ่านเสร็จ ก็โยนมันทิ้งลงถังขยะ ไม่ได้มองเป็นผลงาน แต่มันต่างจากความรู้สึกของผู้เขียนอย่างสิ้นเชิง เพราะผลงานทุกๆชิ้นที่เขียนไปมันมีคุณค่ากับเรามากๆไม่ได้มองว่าเป็นงานรายวันเลย หรือแม้แต่งานที่เขียนออกมาแล้ว ในหลายๆครั้งจะมีคนบอกว่าลายเส้นไม่สวยบ้างล่ะ วาดไม่ตั้งใจบ้างล่ะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันเป็นสไตล์หรือรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละคน หรือถ้าให้พูดกันตรงๆคือ ยังไม่เข้าใจอารมณ์ของศิลปินที่มันออกมาในรูปแบบนั้น ตรงนี้เองที่จะมองให้เห็นถึงความแตกต่างของการทำงานในแบบของคนไทยมันแตกต่างกันมากกับของเมืองนอก คนไทยเราเขียนเอง ลงสีเอง คิดโครงเรื่องเอง คือพูดง่ายๆ ทำทุกอย่างเองหมด ไม่เหมือนกับเมืองนอกที่เขาวางระบบแบ่งคนกันอย่างเรียบร้อย ทำให้มันเขียนออกมาได้ต่อเนื่องน่าติดตาม เพราะมีคนเขียนบทให้นั่นเอง แต่ถึงแม้เงินเดือนในตอนนี้จะตกอยู่ประมาณสามพันกว่าบาทต่อเดือน ก็ไม่ได้ทำให้ลำบากอะไร หากถามว่าจะเลิกเขียนเมื่อไหร่ ก็คงจะตอบได้คำเดียวว่า 'คงตายคาน้ำหมึก' ดูจะต้องใช้คำนี้ตอบจริงๆ"
       
       ถึงแม้วันนี้รูปแบบการเขียนจะยังคงเหมือนเดิม ดูแล้วไม่แตกต่างไปจากเมื่อครั้งที่เรามีโอกาสได้สัมผัสเหมือนในอดีตก็ตาม แต่ทางทีมงานนักเขียนการ์ตูนไทยเปิดเผยกับเราว่าเป็นเพราะการแข่งขันทางด้านการขายในปัจจุบันสูง ความนิยม ความน่าอ่านก็สูง นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ต้องมีการปรับทั้งรูปแบบปก จากแต่ก่อนที่มีเพียงทรงผมแบบดาราไทยสมัยก่อนที่มีลักษณะคล้ายกับกะบังหรือที่หลายคนรู้จักกันในทรง "หมาแหงน" ปัจจุบันก็ปรับเปลี่ยนให้ดูทันสมัยขึ้น มีผมหลากหลายสไตล์มากขึ้นพร้อมๆกับสีผมที่ดูฉูดฉาด หน้าตาที่ดูมีความหวานมากขึ้น พระเอกก็ดูหล่อในแบบชายไทยแบบฉบับปัจจุบัน แต่ก็ยังคงคุณลักษณะที่ดีของการ์ตูนไทยแบบดั้งเดิมไว้สิ้น รวมไปถึงการมีจรรยาบรรณในด้านอาชีพด้วยการไม่นำเอาเรื่องที่เคยพิมพ์ซ้ำลงมาตีพิมพ์ขึ้นอีก ก็พอจะเป็นทางออกที่จะยังคงรักษาแฟนคลับไม่ให้ทอดทิ้งกันไป
       
       นานาทัศนะ
       
       เมื่อภาพความรู้สึกที่ปรากฏอยู่ตั้งแต่เมื่อครั้งอดีตจนถึงปัจจุบันของการ์ตูนไทยที่มีต่อคนในสังคมดูจะไม่ค่อยสวยงามนักในความรู้สึกของหลายๆคน โดยเฉพาะความรู้สึกที่ยังมีอยู่ในแง่ความคิดที่ว่ายังมีการนำเสนอในเชิงลามกอนาจาร หรือคำครหาในรูปแบบที่เชย สิ่งเหล่านี้ทำให้กระแสในปัจจุบันของการ์ตูนไทยดูจะหดหายลงไปทุกที ซึ่งทางทีมงานได้มีโอกาสไปสอบถามถึงบรรดาร้านหนังสือที่ยังคงมีหนังสือการ์ตูนเหล่านี้วางจำหน่ายอยู่บนแผง โดยรวมๆแล้วหนังสือการ์ตูนไทยในปัจจุบันแทบจะวางแผงอยู่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับจำนวนหนังสือการ์ตูนอื่นๆที่ยังคงวางกลาดเกลื่อนเต็มทั่วแผงหนังสือ
       
       ทางผู้จำหน่ายบอกว่า แม้ปัจจุบันยอดหนังสือที่สั่งมาจะมีจำนวนน้อย แต่ก็ยังคงขายได้อยู่เรื่อยๆ ไม่หวือหวา ส่วนมากกลุ่มลูกค้าที่มาซื้อจะเป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงาน หรือในบางครั้งเด็กๆก็มีหยิบไปอ่านบ้างประปราย จะแตกต่างจากเมื่อครั้งสิบกว่าปีก่อน ที่ถึงขนาดจะมีแผงสำหรับการ์ตูนชนิดนี้ขึ้นโดยเฉพาะ ผู้อ่านที่มาซื้อก็จะเข้ามาซื้อทีละหลายๆเล่ม แต่เป็นเพราะหลังๆมีกระแสการ์ตูนชุดจากต่างประเทศเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น อเมริกา รวมไปถึงหนังสือเกม ทำให้แรงดึงดูดในการอ่านน้อยลง จนยุบมาเหลือรวมๆกับหนังสือจำพวกนิยายไทยๆต่างๆนั่นเอง
       
       คณิตา ใจบุย (ไก่)นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ปี 4 ถือเป็นเด็กยุคใหม่ที่ยังคงอ่านหนังสือการ์ตูนเล่มละ 5 บาท อยู่จนถึงปัจจุบัน ซึ่งไก่ให้ความเห็นว่า การที่ตนยังอ่านหนังสือการ์ตูนแบบนี้อยู่นั้น เป็นเพราะยังคบชอบเรื่องผีๆสางๆรวมไปถึงเนื้อหาที่กะทัดรัดอ่านง่ายนั่นเอง
       
       "แถวบ้านยังมีร้านหนังสือที่ขายหนังสือการ์ตูนพวกนี้อยู่ ก็ไม่ได้มองว่าแปลกที่จะซื้อมาอ่าน คงเป็นเพราะยังมีขายให้เห็นอยู่ เคยพกไปอ่านบนรถเมล์ เพื่อนๆก็มักจะถามว่า "อ่านอะไร" กันเป็นประจำ เมื่อก่อนเล่มละบาท แต่รู้สึกว่าเดี๋ยวนี้แพงขึ้น โดยส่วนมากที่ซื้อ ก็เพราะมีเศษเหรียญพอดีราคาหนังสือ แต่ที่บ้านยังมีหนังสือเก่าๆอยู่เยอะ ก็ไม่ได้ทิ้ง ถือว่าสามารถเอากลับมาอ่านใหม่ได้ พอหยิบมาอ่านก็จะนึกถึงตอนเด็กๆ ที่ตอนนั้นจะซื้อเยอะมาก 5-6 เล่ม แต่เดี๋ยวนี้มันเปลี่ยนไป ใครอ่านถือว่าบ้านนอกไปเลยก็มี"
       
       ถึงตรงนี้เรายังคงไม่มีข้อสรุปให้ได้ว่า อนาคตบนเส้นทางสายน้ำหมึกของการ์ตูนลายเส้นไทยๆ ที่ ณ เวลานี้ จะกลายเป็นงานที่ถูกกลืนกินไปกับกระแสโลกที่หลั่งไหลเข้ามาบดบังผลงานของคนไทยไปจนหมดสิ้น ก็คงไม่มีทางไหนจะช่วยส่งเสริมผลงานของนักเขียนได้ดีเท่ากับช่วยกันสนับสนุนผลงานไทยๆ ให้พวกเขามีกำลังใจสร้างสรรค์ผลงานให้คู่กับกลิ่นอายสไตล์ท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป...
       
       * * * * * * * * * *
       
       เรื่อง – สันติภาพ ชุ่มมี
       ภาพ – นุชนารถ กระโจมทอง



จากข่าวนี้
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9490000083281

บันทึกการเข้า

สมัยก่อนมีเล่มละบาทนะลุง ส่วนมากชอบอ่านเรื่องผี  เกย์แอบ
บันทึกการเข้า

วาว วาว เสียงรถไฟแล่นไปฤทัยครื้นเครง
อ่านการ์ตูนไทยกันมั้ย?
http://f0nt.com/forum/index.php/topic,4037.0.html
 ยิ้มน่ารัก
บันทึกการเข้า

Today you , Tomorrow me.
พี่จ่า
เล่มละบาท ผมเคยเขียนส่ง สนพ ประชาช่าง
เมื่อสัก 15 ปีที่แล้วได้ค่าเรื่องสำหรับมือใหม่ตอนนั้น 800 -1200 บาท
ตอนนั้นเริ่มเป็น 16 หน้าแล้ว ตอนที่ 32 หน้านิยมผมยังเด็กไม่ทัน

ตอนนั้นผมไม่ได้ทำงานที่ไหน เขียนการ์ตูนสามช่องจบให้ประชาช่าง
ได้อาทิตย์ละ 600 บาท เดือนนึงมี 4 อาทิตย์ได้ 2400 เช่าห้องเดือนละ 1500
ฉะนั้นเมนูประจำบ้านคือ ไข่ มาม่า และ น้ำพริกเผาแม่ประนอม
ค่าเรื่องสมัยก่อนกับสมัยนี้ยังไม่แต่กต่างกันเลย ใส้ขาดกันถ้วนหน้า
ผมเขียนได้ไม่ถึงปีครับ หันมาเป็นพนักงานแต่งภาพการ์ตูนญี่ปุ่นได้เงินเดือน
เยอะกว่า กินอิ่มกว่า ฝันดีกว่า

สิ่งที่ทำให้ตัวเองภูมิใจมากคือ ได้เขียนงานเล่มเดียวกับ น้อย ดาวพระศุกร์
เพิ่งไม่นานมานี้ แต่เขียนได้แค่ 8 เล่ม หนังสือก็หยุดครับ



บันทึกการเข้า

ตอนเด็กๆ ก็อ่านเล่มละบาทนี่แหละ
ถ้าเล่มละ 5บาทก็จะมี 5 เรื่อง หลังๆ มี 4 เรื่อง

บันทึกการเข้า

Today you , Tomorrow me.
แล้วตอนนี้อ่ะครับลุง  กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

วาว วาว เสียงรถไฟแล่นไปฤทัยครื้นเครง
ตอนเด็กๆ แอบไปซื้อการ์ตูน  หื่น ที่คนไทยวาดมาอ่านด้วยนะ
บันทึกการเข้า

กาก
ตอนเด็กๆ ก็อ่านเล่มละบาทนี่แหละ
ถ้าเล่มละ 5บาทก็จะมี 5 เรื่อง หลังๆ มี 4 เรื่อง



ตอนนี้มีเล่มละ 10 บาท กับ 15 บาท ด้วย
แต่ไม่แน่ใจว่ายังเหลือไหม

10 บาท 9 เรื่อง


บันทึกการเข้า

แล้วตอนนี้อ่ะครับลุง  กรี๊ดดดดด

ผมงงๆ คำถามหน่อยๆ ครับ
ตอนนี้สำหรับผม อย่าว่าแต่เขียนเลย
อ่านยังไม่ค่อยได้อ่าน  (เหงื่อแตกพลั่ก) ฝีมือเข้าหม้อหมดแล้ว
มุมมองความงามต่อการ์ตูนก็เปลี่ยนไป

ส่วนมือการ์ตูนไทย เขาก็ยังเขียนกันปกติครับ
แมวเหมียว น้อยดาวพระศุกร์ ชาติ บางนา ฯลฯ

นิค ขายหัวเราะ ก็เกิดจากเล่มละบาท ครับ

ส่วนเอ๊าะ เรตอาร์ เคยเขียนลง แปลกหรือ มหัศจรรย์ ไม่แน่ใจ
แต่อ่านแล้วเลือดกำเดาทะลักมาก


(เล่าสู่กันฟัง) ยิ้มน่ารัก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 มิ.ย. 2006, 11:48 น. โดย 'ระจัน » บันทึกการเข้า

ตอนเด็กๆ แอบไปซื้อการ์ตูน  หื่น ที่คนไทยวาดมาอ่านด้วยนะ

ตูยังมีเก็บไว้อยู่เลย   เกย์ออก
บันทึกการเข้า

โฮ๊ะ  โฮ๊ะ  โฮ๊ะ  โฮ๊ะ
ผมชอบภาพแบบแดน สุดสาครครับ
เคยทำคัตเอาต์งานรับน้องอันนึงเป็นลายเส้นล้อเลียนการ์ตูนแบบนี้
ถ่ายรูปไว้ด้วย แต่หาในเครื่องไม่เจอแล้ว


อ่านการ์ตูนไทยกันมั้ย?
http://f0nt.com/forum/index.php/topic,4037.0.html
 ยิ้มน่ารัก


รวมกันเลยๆ
(ตอนนี้พี่เอ๊ะ-คนวาดยักษ์ยุ่น-กะผม เป็นเพื่อนกันผ่านอีเมลแล้วครับ ยิ้มน่ารัก)
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ผมชอบภาพแบบแดน สุดสาครครับ
เคยทำคัตเอาต์งานรับน้องอันนึงเป็นลายเส้นล้อเลียนการ์ตูนแบบนี้
ถ่ายรูปไว้ด้วย แต่หาในเครื่องไม่เจอแล้ว



รวมกันเลยๆ
(ตอนนี้พี่เอ๊ะ-คนวาดยักษ์ยุ่น-กะผม เป็นเพื่อนกันผ่านอีเมลแล้วครับ ยิ้มน่ารัก)

เอ้อผมลืม แดนสุดสาครไปได้อย่างไร
กะเดี๋ยวลองถามๆ ดูว่าอยู่ไหนอย่างไร
ยักษ์ยุ่นมันน่ารักมากๆๆๆๆๆๆๆๆ  (แจ๋ว แจ๋ว)
ชาติไหนผมจะวาดการ์ตูนได้แบบนี้บ้างก็ไม่รู้
ของบางอย่างตั้งใจขนาดไหนก็ทำไม่ได้อย่างคิด

ก่อนหน้านี้ผมมีโปรเจคที่อยากอ่านและอยากให้มีคนเขียนใจจะขาด
คือ หาคนเขียนการ์ตูนเซียนๆ ในแนวการ์ตูนไทย( 1 บาท)
แต่การตัดช่องแบบญี่ปุ่น เขียนงาน นักเลงโกเมน ของ อาว์รงค์
ทุกอย่างไปได้ด้วยดี แต่ล่มปากอ่าวไม่เป็นท่า น่าเสียดายแท้
บันทึกการเข้า

เสียดายๆ  ฮือๆ~
บันทึกการเข้า

วาว วาว เสียงรถไฟแล่นไปฤทัยครื้นเครง
แล้วคนวาดโลกใบที่สองของโมนี่ใครเหรอครับ?
เขาต้องมีฝีมือขนาดเลยใช่ไหม
พี่ระจันน่าจะรู้จักเพราะเป็นคนในวงการ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
แล้วคนวาดโลกใบที่สองของโมนี่ใครเหรอครับ?
เขาต้องมีฝีมือขนาดเลยใช่ไหม
พี่ระจันน่าจะรู้จักเพราะเป็นคนในวงการ

 เกย์แอบ ผมไม่รู้ครับ สงสัยต้องถาม บ.ก. ไก่ กุ๊กกิ๊กแล้วแหละพี่แอน
ผมไม่ใช่คนในวงการหรอก เด็กวิ่งโอเลี้ยงนะครับ (จำเขามาคุย)

พี่จ่า เรื่อง นักเลงโกเมน ผมเสนอไปทางมติชนแล้วด้วยนะ
มติชนทำท่าจะเอา แต่สุดท้ายก็ไม่ได้เขียน (กลุ้มไปหลายวัน)
จนปัจุบัน คนเขียนยังมานั่งบ่นเสียดาย
บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!