เอาละครับ ขออวดรู้แบบยาวๆ หนักแน่นๆ หน่อย
แต่อยากให้อ่านกัน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เจอข้อมูลและประมวลเอาตอนทำแฟนฯ พุทธประวัติ
ที่จริงมีข้อมูลในวิกิ แต่ไม่ได้รับการตีความ และ มีบางส่วนที่ผมหาเพิ่มเติม
ความจริงเกี่ยวกับวันมาฆบูชาเราชาวพุทธรู้กันว่าวันมาฆบูชา หรือเพ็ญเดือนสาม เป็นวันสำคัญเนื่องจากเกิดเหตุอัศจรรย์ 4 อย่าง
หรือที่เรียกกันว่า "จาตุรงคสันนิบาต" นั่นคือ
1. มีพระสงฆ์มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมายทั้งสิ้น 1,250 รูปที่วัดเวฬุวัน
2. พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง
3. พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรง อภิญญา
4. และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะ (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)
พระพุทธเจ้าจึงเห็นเป็นโอกาสอันดีที่จะแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นหัวใจของพระศาสนา 3 พระคาถาได้แก่
- พระนิพพาน เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพุทธบริษัท
- หัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงพระนิพพานคือ การทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตของตนให้ผ่องใส (อันนี้เราคงท่องกันบ่อยๆ ตอนเด็กๆ)
- หลักปฏิบัติของพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เผยแผ่พระศาสนา 6 ประการ คือ การไม่กล่าวร้ายใคร, การไม่ทำร้ายใคร ,
การมีความสำรวมในปาฏิโมกข์ทั้งหลาย, การเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร และการรู้จักที่นั่งนอนอันสงัด
อ้อแล้วด้วยความอัศจรรย์นี้จึงได้มีการประกาศว่าวันมาฆบูชาเป็น"วันกตัญญูแห่งชาติ"ด้วย เจ๋งมั้ยละ
เราก็รู้กันประมาณนี้ (หรือน้อยกว่านี้) และนึกภาพพระอรหันต์ 1,250 องค์ (ซึ่งเป็นพระที่เจ๋งมากในหมู่พระด้วยกัน)
(อ้อ ภิกษุเรียกเป็นรูป พระอรหันต์เรียกเป็นองค์ ถ้าภิกษุ 4 รูปที่เชิญไปสวดเรียก 1 สำรับ)
เดินทางมารวมกันจากคนละทิศ กลับมาหาพระพุทธเจ้าผู้เป็นอาจารย์ แล้วก็ฟังธรรมกันด้วยความซาบซึ้ง
แต่ที่จริงแล้วววววว
ทั้ง1,250 องค์นั่นก็อยู่ที่ตรงนั้นอยู่แล้ว ไม่ได้เดินทางมาจากไหนมากหรอกครับ
และเหตุการณ์นั้นก็เกิดหลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้เพียง 9 เดือน
อย่างนี้ครับ มาดูเหตุการณ์กัน
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วไปหา ปัญจวัคคีย์ (พระอัญญาโกณฑัญญะ, พระวัปปะ, พระภัททิยะ, พระมหานามะ, พระอัสสชิ)
ได้อรหันต์มา 5 องค์ แล้วทั้ง 5 องค์ก็กระจายตัวกันไปเผยแพร่พระศาสนา
(ที่จริงมีอีกองค์หนึ่งที่ว่ากันว่ามาหาพระพุทธเจ้าก่อนจะทรงไปโปรดปัญจวัคคีย์ด้วย ไว้ค่อยเล่า)
พระพุทธเจ้าเดินทางต่อพบ กลุ่มพระยสะ 55 (พระวิมละ, พระสุพาหุ, พระปุณณชิ, พระควัมปติ, พระสหายไม่ระบุนาม 50)
ได้อรหันต์มาอีก 55 องค์ ส่งออกไปเผยแพร่พระศาสนา
พระพุทธเจ้าเดินทางต่อกลุ่มพระภัททวัคคีย์ 30
ได้อรหันต์มาอีก 30 องค์ ส่งออกไปเผยแพร่พระศาสนา
แต่ 3 กลุ่มข้างต้นนี้ (90 องค์ที่ออกเดินทาง) ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์มาฆบูชาเลยซักองค์
(จะมีเกียวข้องอยู่องค์เดียวก็คือ พระอัสสชิ ซึ่งเดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง)
ต่อมาพระพุทธเจ้าเดินทางต่อพบกลุ่มชฎิล 3 พี่น้อง (ชฏิลคือฤๅษีบูชาไฟ)
คือ คณะพระอุรุเวลกัสสปะ มีศิษย์ 500 องค์ ทุกองค์เป็นพระอรหันต์หมด
คณะพระนทีกัสสปะ มีศิษย์ 300 องค์ ทุกองค์เป็นพระอรหันต์หมด
คณะพระคยากัสสปะ มีศิษย์ 200 องค์ ทุกองค์เป็นพระอรหันต์หมด
ที่นี้ละครับ พระพุทธเจ้าออกเดินทางพร้อมคณะอีก 1,003 องค์เข้าไปแล้ว
และคณะนี้ก็ตามพระพุทธเจ้ามาจนถึงวัดเวฬุวัน ครับไม่ได้เดินทางมาจากไหนเลย ตามกันมาทั้งนั้น
ขาดอีก 247 องค์ มาจากไหน
พระอัสสชิครับ
ทำไมครับ...ไม่ใช่ครูนิดและชาวคณะ
พระอัสสชินั้นเดินทางไปเจอกับ อุปติสสะมาณพ
(แปลว่าพ่อหนุ่มนามอุปติสสะ ที่ชื่อนี้เพราะ พ่อเป็นพราหมณ์หัวหน้าอุปติสคาม หรือ หมู่บ้านอุปติสะ)
อุปติสสะเกิดเลื่อมใส ก็ไปชวนเพื่อนรักที่ชื่อว่า โกลิตตะ
(เหมือนกันครับ พ่อเป็นพราหมณ์นายบ้านในหมู่บ้านโกลิตคาม)
พร้อมสมุนของทั้งคู่ (เป็นลูกผู้มีอิทธิพลระดับท้องถิ่นทั้งคู่) อีก 250 คน
ไปบวชกับพระพุทธเจ้า ตามที่พระอัสสชิบอกไว้
ซึ่งเมื่อบวชแล้ว อุปปติสสะ ได้เปลี่ยนชื่อ เพื่อระลึกคุณมารดา แม่ท่านชื่อ "นางสารี"
ครับ อุปปติสสะมาณพก็คือ "พระสารีบุตร" พระอัครสาวกเบื้องขวา ผู้เป็็นเลิศทางปัญญา
และ แน่นอนว่า โกลิตตะนั้นก็มีแม่ชื่อ "โมคคัลลี" จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "พระโมคคัลลานะ"
พระอัครสาวกเบื้องซ้าย ผู้เป็็นเลิศทางมีฤทธิ์มาก
(จำให้คล้องจองว่าไว้ว่า สารีบุตรขวา โมคคัลลานะซ้าย ถ้าท่องแล้วไม่คล้องจองแสดงว่าจำผิด)
ครบองค์แล้วครับ
กลุ่มชฎิล 3 พี่น้องพร้อมบริวาร 1,000 รวมเป็น 1,003 องค์
กลุ่มพระโมคคัลลานะ และ พระสารีบุตร พร้อมบริวาร 250 รวมเป็น 252 องค์
ทั้งหมด 1,255 องค์ อ้าวเว้ยเกินมา 5 องค์
ในวิกิฯกล่าวว่า 1,250 องค์เนี่ย ไม่ได้นับ 5 องค์หัวหน้ากลุ่ม ได้แก่
คณะพระอุรุเวลกัสสปะ,คณะพระนทีกัสสปะ,คณะพระคยากัสสปะ
พระโมคคัลลานะ และ พระสารีบุตร
แต่ไม่ได้บอกว่าทำไมไม่นับ
ไปถามอ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก
(เปรียญธรรม 9 ประโยคขณะเป็นสามเณร อุปสมบทในพระบรมราชูปถัมภ์ ปริญญาตรี(เกียรตินิยม)
และปริญญาโท สาขาภาษาตะวันออกโบราณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ
เคยรับราชการเป็นรองศาสตราจารย์ระดับ9 คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร
กรรมการร่างหลักสูตรและแต่งตำราเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึดษาตอนต้นและตอนปลาย
อ้อ เป็นราชบัณฑิตด้วย)
ว่าด้วยเรื่อง 1,250 องค์ อาจารย์ก็บอกว่า เค้าประมาณเอา
คือ สมัยโบราณเค้าไม่นับละเอียด ประมาณยกทัพไปสิบหมื่น มันอาจมีแสนกับอีกแปดร้อย
กรณีนี้ก็เช่นกัน
สรุปนะครับ ว่าการมาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมายนั้น ตูไม่ได้คิดว่ามันเป็นเหตุอัศจรรย์อะไรขนาดนั้นอ่ะ