หน้า: [1] 2 3
 
ผู้เขียน หัวข้อ: iannnnGMO กะ postscript file  (อ่าน 21086 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
ฟอนต์ iannnnGMO ใน PageMaker 7.0 สั่ง print ไม่มีปัญหา แต่แปลงเป็น ps เพื่อส่งโรงพิมพ์ แล้ว ตัวการันต์ กับ ญ มีปัญหา แก้ไขไงครับผม
บันทึกการเข้า
ใช้วิธีขุดหลุมฝังฟ๐นต์ได้มั้ยครับ?
http://f0nt.com/forum/index.php/topic,4902.0.html

จาก PAGEMAKER เป็น PostScript แล้วเป็น PDF
คล้ายๆ ว่าจะมีอยู่ในหน้าถามตอบนี้นะครับ
ลองคุ้ยจู๋ดูก่อนนะ

ลองอ่านอันนี้ดูครับ แต่เป็นภาษาอังกฤษนะ
เขาอธิบายไว้  ผมแนบไฟล์ไว้ข้างล่าง ลองดูครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 พ.ค. 2006, 13:17 น. โดย nuugo » บันทึกการเข้า

nuugo.blogspot.com
instagram.com/nuugo
บัญญัติ 7 ประการแห่ง Adobe                 
มีผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจด้านสิ่งพิมพ์หลายท่านได้ติดต่อสอบถามมายังทีมงานถึงหลักการในการเตรียมงานพิมพ์มามากมาย ความจริงในเนื้อที่ตรงนี้ก็ได้มีการแนะนำ ไปหลายตอนแล้วเช่นกัน เพียงแต่ว่าการแนะนำที่ผ่านมานั้นอาจจะแยกย่อยไม่ต่อเนื่อง ทำให้ผู้ที่ไม่ได้ติดตามมาโดยตลอดไม่สามารถปะติดปะต่อได้ ดังนั้นในฉบับนี้จึงจะขอสรุปเป็นการส่งท้ายอีกครั้งสำหรับการเตรียมไฟล์เพื่อส่งให้ศูนย์บริการสามารถทำงานได้อย่างสะดวกขึ้น                       

ข้อกำหนดในการเตรียม File ต่อไปนี้จะเป็นข้อกำหนดตามหัวข้อของ Adobe ที่กำหนดให้เตรียมไฟล์งานให้อยู่ในรูปแบบของ PDF ไฟล์ ซึ่งถือเป็นมาตรฐานในปัจจุบัน โดยก่อนที่จะส่งงานให้กับศูนย์บริการ ต้องแน่ใจก่อนว่า File งานนั้น ได้ผ่านกระบวนการในการแปลงเป็น PDF ไฟล์ ที่สมบูรณ์สำหรับการ Output โดยถูกต้อง โดยตรวจสอบตามขั้นตอนดังนี้

1. ถามศูนย์บริการว่ามีการกำหนด Job Option สำหรับใช้งานโดยอัตโนมัติหรือไม่ ถ้าไม่มีสามารถใช้ค่ามาตรฐานที่มาจากโปรแกรมที่ "Press" เป็นตัวกำหนด Job Option ใน Distiller

2. ใช้ภาพที่มีความละเอียดสูงตามขนาดการใช้งานจริงตามค่ามาตรฐานที่ใช้สำหรับงานพิมพ์ในงานนั้นๆ เสมอ

3. ต้องแน่ใจว่าภาพที่นำมาประกอบในงาน และกราฟิกต่างๆ ที่มาจากโปรแกรมอื่น ได้ถูกกำหนดให้ใช้ค่าของ Color Management เดียวกันทั้งหมด

4. ใช้โปรแกรมตรวจสอบ Preflight ที่มีคุณภาพ ตรวจสอบ File งานไม่ให้มีการขึ้นข้อความเตือนใดๆ ทั้งสิ้น สำหรับการตรวจสอบ Preflight ในโปรแกรม Adobe InDesign และใน Adobe Acrobat ถือว่าเป็นมาตรฐานที่ถูกต้อง

5. ให้ Embed Font และ Subset Font ทุกครั้งที่ต้องการแปลงเป็น PDF จากโปรแกรม Illustrator, InDesign และ Distiller

6. ในกรณีที่ File งานมีการใช้งานที่มี Transparency ต้องมีการปรับค่าตามมาตรฐานของในแต่ละโปรแกรมนั้นๆ อย่างถูกต้องตามมาตรฐานที่โปรแกรมนั้นๆ กำหนดไว้ในการใช้งานในแต่ละประเภท

7. ตรวจสอบ File งาน PDF ด้วยเครื่องมือ Separation Preview แน่ใจก่อนส่งไฟล์งาน
ทั้ง 7 ประการเบื้องต้นเป็นขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติสำหรับการที่เราต้องการส่งเป็น PDF ไฟล์ไปศูนย์บริการ แต่ประเด็นที่สำคัญก็คือก่อนที่จะได้ไฟล์ PDF เราจะสร้างไฟล์ PDF ที่สมบูรณ์จาก Native ไฟล์อย่างไร ดังนั้น เพื่อให้มีการเตรียมไฟล์ที่ถูกต้องก็จะขอแนะนำเรียงตามโปรแกรมดังนี้

การทำไฟล์ PDF จากโปรแกรม Adobe Photoshop CS
สำหรับขั้นตอนการ Save งานจาก Photoshop ให้เป็น PDF ไฟล์นั้นให้ไปที่ File>Save as แล้วเลือกรูปแบบเป็น Photoshop PDF หลังจากนั้นให้ตั้งชื่อไฟล์ เลือกที่จะเก็บไฟล์ เลือก Color option ในกรณีที่ต้องการฝังข้อมูลการจัดการด้านสีไปด้วย กด Save หลังจากนั้นจะปรากฏในส่วนของ PDF Option ให้เลือก โดยจะขึ้นให้เรากำหนดให้เราเลือก ZIP หรือ JPEG

การทำไฟล์ PDF จากโปรแกรม Adobe Illustrator CS
ขั้นตอนการ Save งานจาก Illustrator CS ให้เป็น PDF ไฟล์นั้นให้ไปที่ File>Save as เลือก Adobe PDF แล้วคลิก Save เลือก PDF Option โดยกำหนดตรง Preset เป็น Press หรือถ้าต้องการ Save Layer ด้วย ก็สามารถเลือกที่ Acrobat 6 Layered ได้ (ถ้าต้องการที่จะเพิ่มรูปแบบของการเลือก PDF Option ให้ไปที่ Edit>PDF Preset ซึ่งเราสามารถกำหนดรูปแบบของการเป็น PDF ไฟล์ได้สำหรับ Illustrators CS นี้มีความยุ่งยากน้อยกว่า Illustrator 9 หรือ 10 เนื่องจากได้มีการแก้ปัญหาของการ Output หลายๆ อย่างมาให้เรียบร้อยแล้ว แต่สำหรับผู้ที่ยังใช้ Illustrator 9 หรือ 10 อยู่ ก่อนที่จะ Save as เป็น PDF นั้นต้องจำกฎระเบียบในการ Output ไว้ในใจเสมอว่าก่อนที่จะทำ PS ไฟล์ หรือ PDF ไฟล์ ในงานนั้นเราตั้งค่า Document Raster Effect Setting ถูกต้องแล้วหรือยัง ตรงนี้จะเป็นสิ่งที่สำคัญเมื่อเรามีภาพประกอบอยู่ในชิ้นงาน

การทำไฟล์ PDF จากโปรแกรม Adobe PageMaker 7.0.1
ขั้นตอนการ Save งานจาก PageMaker ให้เป็น PDF ไฟล์นั้น ในกรณีที่เราใช้งานภาษาไทยควรที่จะสั่งพิมพ์งานเป็น PS ก่อน แล้วถึงจะนำ PS ไปแปลงที่โปรแกรม Distiller ให้เป็น PDF อีกทีหนึ่ง แต่ถึงวันนี้ทาง Adobe ได้หยุดขาย Adobe PageMaker อย่างสิ้นเชิงแล้ว และก็ไม่สนับสนุนให้ใช้งาน PageMaker โดยให้เราหันมาใช้ Adobe InDesign แทน ซึ่งมาถึงตอนนี้แล้วก็คงต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการที่จะเลิกทำงานกับ Adobe PageMaker กันแล้วละครับ

การทำไฟล์ PDF จากโปรแกรม Adobe InDesignCS
ขั้นตอนการ Save งานจาก InDesign ให้เป็น PDF ไฟล์นั้น ถ้าต้องการทำ File เดียวให้ไปที่ File>Export แต่ถ้าต้องการทำ File PDF จากหลาย File ให้ทำเป็น Book ก่อน แล้วสั่ง Export Book to PDF หลังจากนั้นก็เลือก PDF Option แล้วตรวจสอบรายละเอียดตามรายการที่ต้องการ ที่ต้องสังเกตเป็นพิเศษก็ในส่วนของ Advanced ที่เกี่ยวข้องกับ Ink Manager ที่จะขึ้นตารางแสดงจำนวนสีที่ถูกต้องมาให้เราตรวจสอบ หรือต้องการเปลี่ยนจาก Spot Color มาเป็น Process ก็ต้องมาทำงานที่ขั้นตอนนี้จะสะดวกที่สุด เมื่อเรียบร้อยก็สั่ง Export ได้เลย

ทั้งหมดนี้เป็นการลำดับกระบวนการคร่าวๆ ให้ทราบเป็นพอสังเขปถ้าหากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมในแต่ละส่วนคงต้องติดต่อมาทางทีมงานอีกครั้งแล้วเราจะส่งรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนมาให้ศึกษากัน เพื่อความเป็นมาตรฐานเดียวกันในการทำงาน

มีการแนะนำ ไปหลายตอนแล้วเช่นกัน เพียงแต่ว่าการแนะนำที่ผ่านมานั้นอาจจะแยกย่อยไม่ต่อเนื่อง ทำให้ผู้ที่ไม่ได้ติดตามมาโดยตลอดไม่สามารถปะติดปะต่อได้ ดังนั้นในฉบับนี้จึงจะขอสรุปเป็นการส่งท้ายอีกครั้งสำหรับการเตรียมไฟล์เพื่อส่งให้ศูนย์บริการสามารถทำงานได้อย่างสะดวกขึ้น

         
บันทึกการเข้า

nuugo.blogspot.com
instagram.com/nuugo
มีหลายฟอนต์จากที่นี่มีปัญหาเหล่านี้ครับ มันเป็นอาการบั๊คอย่างหนึ่ง ผมเคยถามผู้รู้เกี่ยวกับ PDF ได้คำตอบคือ เป็นการบั๊คที่เกิดขึ้นจาก font + Application + ภาษา PostScript

การแก้ไข
1. แก้ที่ฟอนต์ คือจับฟอนต์ตัวที่มีอาการดังกล่าวใส่เข้าไปใน temp ใหม่ของนายพลแทน แต่ตอนสั่ง Gen ให้เลือกเป็น TrueType นะครับ เพราะ PDF ที่ใช้ในวงการพิมพ์บ้านเราเป็น Acrobat 4 (PDF 1.3) ซึ่งเป็นมาตรฐานการทำงานผ่าน PDF ของบ้านเราและของโลกอยู่ขณะนี้ ส่วน OpenType นั้นจะไม่ยอมฝังไปพร้อมกับ PDF ดังกล่าว แต่จะยอมฝังเข้ากับ Acrobat 7 (PDF 1.6) ขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งยังไม่ใช่มาตรฐานที่บ้านเราเขาสั่งยิงฟิล์มแยกสีกันขณะนี้

2. แก้ไขในตัวไฟล์ PDF คุณคงต้องหาโปรแกรมชื่อว่า Foxit PDF Editor v1.4 Build 1531(ขอย้ำว่าต้องเป็น Version ถูกต้องตามกฎหมายนะครับ เพราะตัวที่เขา Crack กันมันมีข้อผิดผลาดเยอะ หากหายากก็พอใช้ได้)
เจ้าโปรแกรมนี้มีข้อดีคือแก้ไขได้ทุกอย่าง ใช้ง่าย เชื่อถือได้ว่าแก้ไฟล์แล้วมาตรฐานไฟล์ไม่เปลี่ยนไม่เสียหาย ทั้งสี รูปร่าง Profile ต่างๆ

3. แก้ไขที่ตัวคุณเองคืออาการนี้คุณจะเห็นได้เลยเมื่อคุณทดลอง Print Proof ชิ้นงานก่อน เพราะอาการนี้เป็นเรื่องของการบั๊ค ซึ่งหมายถึงมีปัญหาในเรื่องเทคนิค คุณอาจเห็นตัวฟอนต์ฟรีวิวสวยงามบนโปรแกรมไม่ว่าจะเป็น Workflow หรือ Acrobat แต่ตอน Print Proof คุณจะเห็นความจริงได้บางส่วนไม่ถึง 100 เปอร์เซ้นต์ แต่ยังดีกว่าภาพลวงสีปลอมบนจอคอมพิวเตอร์

(นี่เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนบุคคล และเป็นเพียงแนวทางแก้ไขปัญหาเฉพาะกับโปรแกรม PageMaker เท่านั้น)
บันทึกการเข้า
หันมาจับ Indesign แล้วก็ลืม Pagemaker ซะ
จะได้พบกับปัญหาใหม่ๆ ที่สนุกกว่านี้อีกเยอะครับ

ภาษาไทยเอย เคาะบรรทัดเอย... ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า

nuugo.blogspot.com
instagram.com/nuugo
รู้สึกคุณ nuugo จะสนับสนุน Adobe Indesign (ใช้งานง่ายกว่า PageMaker และ output งานชัวร์กว่า น่าใช่ครับ)

สำหรับ Windows เพิ่งจะใช้งานกับภาษาไทยได้กับ Version CS2 ที่รันเฉพาะบน Windows XP SP1 ขึ้นไปเท่านั้น ความต้องการระบบมากพอดูคือ RAM (เฉพาะเปิดและทำงานกับโปรแกรมนี้เพียงโปรแกรมเดียว)ประมาณ 512 Mb ขึ้นไป แต่จะให้ดีอัดไปซัก 1 Gb รับรองวิ่งฉิว เพราะการใช้งาน indesign ต้องใช้ร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ อีกหลายตัวนะครับ

ฟอนต์ไทยที่ใช้งานได้ต้องเป็น Unicode ส่วนฟอนต์ที่เข้ารหัสแบบผสมมาใช้ได้บ่างกับ v.4.0 แต่หากอัพเกรดเป็น v.4.0.2 แล้ว ต้องใช้ Unicode อย่างเดียว ฟอนต์ตามรายนามดังนี้ที่ใช่ได้(บน Windows ไม่อาศัย Plugin นะจ๊ะ)

PSL ชุด 1 - 4 รหัสตามท้าย SP ใช้ได้แต่สระวรรณยุกต์อยู่ไม่ถูกตำแหน่งและมีอีกอาการคือสั่ง Bold, Bold Italic และ Italic ไม่ได้

PSL ชุด 3 รหัส AS ใช้ได้แต่สระวรรณยุกต์อยู่ไม่ถูกตำแหน่งและไม่บั๊คเหมือนของแท้

4 ฟอนต์แห่งชาติ ใช้ได้แต่สระวรรณยุกต์อยู่ไม่ถูกตำแหน่ง

10 ฟอนต์ของสมาคมสิงพิมพ์ฯ ใช้ได้แต่สระวรรณยุกต์อยู่ไม่ถูกตำแหน่ง

JS (ตัวที่ GEN เป็น Unicode แล้ว)ใช้ได้แต่สระวรรณยุกต์อยู่ไม่ถูกตำแหน่ง

DB ขอเถื่อน (ตัวที่ GEN เป็น Unicode แล้ว)ใช้ได้แต่สระวรรณยุกต์อยู่ไม่ถูกตำแหน่ง

ฟอนต์จากเว็บนี้(www.f0nt.com) ใช้ได้เกือบทุกตัวแต่มีบางตัว(ตัวเก่าๆ) มีปัญหาบั๊ค ส ญ ท ม หายเมื่อ Export งานเป็น PDF

ฟอนต์ของไทยยูนิตี้ที่ให้โหลดกันบนเว็บ MacDD ใช้งานได้ดีมาก ไม่มีอาการบั๊คใดๆ ทั้งสิ้น

(ข้อมูลมาจากการที่ผมลองใช้ฟอนต์เหล่านี้กับงานของผมแล้วเก็บเป็นบันทึกไว้)
ส่วนฟอนต์อื่นๆ ถามมาแล้วจะตอบให้ และต้องขอโทษเจ้าของฟอนต์ทุกตัวที่พาดพิง
บันทึกการเข้า
เพราะ PAGEMAKER มันมีปัญหาหลายอย่างเหลือเกินครับ
อีกข้อนึงคือเครื่องมือใช้งานที่ให้มาใช้กับงานจัดหน้าหนังสือ
ผมว่ามันมีประสิทธิภาพน้อยไปนิด ถ้าพูดถึงในเรื่องการ บิด ยึด ย่อ
ตีลังกา อะไรประมาณนั้นครับ

Indesign เองก็ยังไม่ 100% นักกับการใช้งาน แต่ผมคิดว่าคนที่สร้างมันขึ้นมา
กำลังพัฒนาให้ดีอย่างต่อเนื่องน่ะครับ ส่วนตัวก็ใช้นะ แต่ไม่บ่อย
เพราะติดปัญหาจุกจิกครับ รอให้สมบูรณ์เต็มที่แล้วค่อยว่ากัน

อีกโปรแกรมนึงที่สมควรเอามาใช้งานก็ คว๊าก เอ๊กเพรส นั่นล่ะครับ
แต่มันอยู่ในวงแคบเหลือเกิน
บันทึกการเข้า

nuugo.blogspot.com
instagram.com/nuugo
Quark มันก็ติดปัญหาเดียวกับ Indesign เหมือนกันครับกับการใช้งานภาษาไทย แถมด้วยการ Export งานเป็น PDF ยุ่งยากต้องอาศัยความเข้าใจในการทำงาน PDF ด้วย บางคนเขาเอางาน Quark ออกเป็น EPS แล้วมาแก้ตัวหนังสือบน Illustrater อีกที ผมว่ายุ่งยากเกินไป แต่งาน Quark มันค่อนข้างออกมาเนียบครับ เรื่องระยะตัวอักษรไม่มีผิดพลาด ที่เดลินิวส์ใช้ Quark ทำทั้งเล่มเลยครับ นิตยสารก็เห็น Cosmo ก็ใช้ ส่วนตัวผมแล้วใช้อยู่บ้าง แต่พักหลังทิ้งไปเลยครับ เพราะปัญหามันยุ่งยากเกินครับ  ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า
บางคนเขาเอางาน Quark ออกเป็น EPS แล้วมาแก้ตัวหนังสือบน Illustrater อีกที ... ตายพอดี นึกแล้วปวดหัว  อี๋~

ไอ้เจ้าเรื่อง PDF เนี่ย มันกำลังจะครองโลกสิ่งพิมพ์ครับ
ที่มหาลัย สั่งเครื่องพิมพ์ดิจิตอลมาพร้อมกับให้ทำความเข้าใจเรื่อง PDF
ซึ่งเมื่อก่อนคิดว่าเป็นโปรแกรมที่ใช้อ่านอย่างเดียว
ที่ไหนได้ มันทำได้มากกว่านั้น

ไอ้เจ้า Postscript ก็อีกตัว กำลังจะเข้ามาฮุบระบบเพลท
นี่ก็ปวดหัวทุกวันกับไฟล์งานที่ส่งเข้ามาปริ๊นท์ ติดนู่น ติดนี่
คนนี้ไม่เคยทำ คนนู้นไม่มี มึนดีครับ  ง่ะ
บันทึกการเข้า

nuugo.blogspot.com
instagram.com/nuugo
จะโทษศูนย์บริการที่ไม่มีโปรแกรมและเครื่องไม้เครื่องมือรองรับ PDF อย่างเดียวไม่ได้ครับ
หากเราๆ ท่านๆ ทั้งหลายต้องซื้อซอฟแวร์ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ทุกตัว ฟอนต์ก็เหมือนกัน มันเป็นต้นทุนครับ อย่าง Indesign มันปาเข้าไปสี่หมื่นกว่า แล้วถ้าซื้อทั้งชุด CS2 มันเป็นแสนนะครับ (เฉาพะเคื่องเดียวนะ) การทำงาน PDF หรือ PS ตอนนี้จึงเป็นยุคก้าวกระโดด หากอยู่ในวงการสิ่งพิมพ์แล้วความรู้เรื่องนี้ต้องมี เพราะรับรองได้ว่าอีกไม่นาน มันมาแน่ครับ ระบบงานเก่าคงต้องปรับตัวกันพอสมควร

ทางสมาคมก็สนับสนุนเรื่องนี้สุดตัว อีกเรื่องคือมาตรฐานก็ต้องมีเหมือนกัน ตอนนี้เลยมีคนพูดเรื่อง มาตรฐานฟอนต์ มาตรฐาน Profile สี มาตรฐาน PDF อันนี้แหละสำคัญ เกาะติดกระแสไว้จะดีครับ

อีกเรื่องคือ CS3 ใกล้มาเต็มทีแล้ว รู้สึกว่า Adobe หนุน OpenType สุดตัว และเจ้า OTF นี้มันฝังได้กับ PDF1.6 ขึ้นไป ซึ่งโรงพิมพ์ไหนหรือใครที่เพิ่งอัพเครื่องรองรับ PDF1.3 น้ำตาตกแน่ เวอร์ชั่นเปลี่ยนเร็วเกิน
บันทึกการเข้า
 (แจ๋ว แจ๋ว)
ตามติดกระแสกันต่อไป

โปรไฟล์
คาลิเบต
มึนตึ๊บ

บ. ยังใช้แพจแม็กเกอร์ 6 มั่ง 7 มั่งอยู่เลย
อีลาสยัง 8 มั่ง 9 มั่ง 10 มั่ง
โฟโตชอป ยังมีทั้ง 4 5 -7
อะไรที่เป็น CS อย่าไปพูดถึง อายเขาตายโหง
อินดีไซด์ ไม่มีใช้เลยสักเครื่อง ให้ตายเถอะ
อยากใจจะขาด แต่งานมันก็จะออก เวลาศึกษาก็ไม่มี
ไปหาโปรแกรมตามศูนย์ซอฟแวร์แห่งชาติมาลองลง
ก็ลงไปงั้น ไม่รู้ไปแกะรอยทำงานจากที่ไหน

ระบบสิ่งพิมพ์ยังไงเสีย แม็คก็สร้างความประทับใจให้มากกว่าพีซี
จัดหน้าหนังสือดิกชันนารีคล่องคอไม่ติดขัดเหมือนกินปลาตะเพียนต้ม


ที่เล่ามา เป็น บ. ที่มีพนักงานกว่าพันคนนะครับ ทำหนังสือขายเป็นอาชีพจะ 40 ปีแล้ว
ดูสิ มันทันสมัยขนาดไหน (อิอิ)


บันทึกการเข้า

สนุกนะพี่ระจัน พี่ยังตามมันทันอยู่นะครับ ลองดูสิ
ผมลองสรุปปัญหาคร่าวๆ ของ PDF ที่มาจากทุกงานได้แบบนี้
1. สีเพี้ยน
2. ความละเอียดไม่ได้
3. ฟ๐นต์พัง
มันแค่ 3 ข้อเองนะครับ แต่ว่าโลกแทบแตก
ในเว็บ Indesignthai.com ก็พยายามช่วยกันสร้างช่วยกันตอบ
จนผมปวดหัวแทน เพราะคนที่เข้ามาถาม ไม่คิดจะใช้โปรแกรมที่ถูกต้องกับงาน
ชอบใช้ทางลัดมากกว่า พอมามีปัญหาแล้วค่อยแก้ทีหลัง คนแก้ก็ตายพอดี

บันทึกการเข้า

nuugo.blogspot.com
instagram.com/nuugo
พี่ nuugo
ผมนี่ขี่ความตามรถเก่งตลอด
ทันตอนมันจอดมั่ง โดนทิ้งแบบตกยุคก็บ่อย

ไอ้อบรมของพี่ขจรผมก็ไปนะครับ
แต่กลับมาแทบทำไรไม่ได้เลยแค่รู้ว่า มันมีอยู่จริง
สีเพี้ยนแต่ของคนอื่น สีผมไม่เพี้ยน ผมแก้ปัญหายังไงนะเหรอครับ
แบบเชยแหลกแปลกระเบิดเลย คือ
ไปหยิบเอาปกหรืองานชิ้นนึงที่ภูมิใจอวดใครได้ว่าสีไม่เพี้ยน(ทำไมไม่เพี้ยนก้ไม่รู้)
เอาปรู๊พมาเป็นตัวอย่างปรับสีหน้าจอให้เหมือนปรู๊พเลย (โปรฟงโปรไฟด์ไม่สนมันแล้ว)
อาศัยผมเคยทำงานสั่งสีบนโอเวอร์เลย์กระดาษไขนานพอสมควร(โบราณ)ยังพอนึกออก
ว่าถ้าไอ้แดงร้อยมันยังไง ดำเนียนต้องกี่เม็ด

นี่ผมนั่งอ่านที่คุณ AMORN  สอนการออก พีดีเอฟ ผมเอามานั่งทำยังทำไม่สำเร็จเลย ทุเรศตัวเองเหมือนกัน(ฮา)
โทรไปถามร้านเพลตประจำ ก็ตอบงูๆ ปลาๆ งงไปกันใหญ๋
บันทึกการเข้า

อ้าว มาพูดกันที่นี่อีกที่นึง
แจ๋วเลยครับ จะได้รู้ว่าผมไม่ได้เดินเดียวดาย
เพราะไม่เคยจับ Indesign สักครั้งเลย



เอ๊ะ แต่ GMO ของผมที่ใช้ไปนี่โหลดไปตั้งกะยุคเปิดเว็บหรือเปล่าครับ
เพราะช่วงปลายตุลา-พฤศจิกาปี 48 ผมปรับโครงสร้างมันใหม่เป็นนายพล 1.3 แล้วนา
ก็น่าจะใช้ได้

(แต่แน่นอนว่าถ้ากะ PageMaker นี่ตัดหางปล่อยวัดไปแล้ว)
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
เอ้า ลองดู อย่างที่เห็นในภาพล่ะครับ
ลอยเคว้ง แต่ถ้าถามผม ว่าผมเซ็งมั้ย
เฉยๆ นะกับสระลอย เพราะดึงลงมาได้
ก็ยังดีกว่าพิมพ์ไทยไม่ได้ละกัน  ฮิ้ววว

ปล Pagemaker ไม่ได้ลอง เพราะมันรันบน OS9
ซึ่งเป็นอีกปัญหาของโปรแกรมนี้บน MAC
เสียแรงรัน OS 2 ตัว วุ่นตายชัก

บันทึกการเข้า

nuugo.blogspot.com
instagram.com/nuugo
หน้า: [1] 2 3
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!