"ทักษิโณ สปริวาโร ทุสีโล อาสัจโจ โมฆปุริโส ทักษิโณ น ลัชโช โข ปน ตโต ทักษิณ อเปหิ "
พึ่งเคยเห็น

สุดยอดดด อะไรจะขนาดนั้น...
ไม่เอาแบบว่า...
"ดูกร. โคธบุรุษ..."
อย่างนี้ไปเลยละครับ 
...
ส่วนเรื่องบวช
(ความเป็นมาที่มีงานเลี้ยง...)
หลักฐานมีอยู่ในธรรมบท คือสมัยก่อนใครบวชแล้วจะไม่สึก
ดังนั้นก่อนบวชบางท่านมีสมบัติมาก ก็มักนำออกมาแจกจ่ายตั้งโรงทานให้คนทั่วไป
เวลาจะบวชก็มักทำพิธีให้ใหญ่ ประมาณว่า ส่งท้ายก่อนละทิ้งสมบัติบวชพระ ไม่สึก
ไม่อาลัย ไม่ใยดี ไม่มีจิตผูกพันในทรัพย์ศฤงคารเหล่านั้น
ถือผ้าบังสกุลจีวรครองแค่ ๓ ผืน
ยังชีพด้วยการขอข้าวชาวบ้านฉัน
ไม่ผูกผันสมบัติทั้งปวง หมดห่วงอาลัยในญาติทั้งผอง
ดำเนินตามครรลองแห่งอริยมรรคา
มุ่งนฤพานในที่สุด...
อย่าลืมว่าสมัยก่อน บวช แล้วไม่สึกต่อมานานเข้า ๆ ญาติโยมหรือพระนี่แหละไม่ถือเคร่ง
คือบวชแล้วก็สึกได้ไม่มีใครว่า
บวชมารักษาพระศาสนาชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วก็ออกไปได้
(หมายถึงในไทยนะครับ ถ้าเป็นพม่า ศรีลังกานี่ไม่ได้เลย
ใครบวชแล้วสึก เขาถือว่าคนนั้นคบไม่ได้เลยทีเดียว)

เพราะฉะนั้นมันจึงเป็น...
ความเหมือนในความต่าง
ละมั้งครับ
แต่ว่าในเมื่อแต่ก่อนปฏิบัติกันมาอย่างนั้น
เราก็คงถือกันว่าเป็นประเพณีปฏิบัติกันละมั้งครับ
คือใครจะบวชต้องแห่นาคต้องจัดเลี้ยง...
ทั้ง ๆ ที่ตั้งใจบวชแล้วก็จะสึก
(มาใช้หนี้ค่าจัดงานบวช) 
จนต่อมาสังคมไทยถือว่าเหล่านี้เป็นค่านิยมไปแล้ว
จนบางครั้งผู้ใหญ่ก็เอาการบวชลูกบวชหลาน
มาเป็นสนามประชันแข็งขัน
หน้าตา+ความรุ่มรวยแทน
มันเป็นปรากฎการณ์ทางสังคม...
หวังว่าคงเข้าใจ....
นะจ๊ะ...
