หน้า: [1] 2
 
ผู้เขียน หัวข้อ: นอกเรื่อง  (อ่าน 5726 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
คือว่าจะหาเรื่องปั่น  ฮี่ๆ

ประวัติทางรถไฟสายท่าเรือ-พระพุทธบาท(รถไฟกรมพระนรา)

รถไฟกรมพระนรา บางครั้งชาวบ้านก็เรียกว่า “รถไฟกรมพระดารา” หรือ ทางรถไฟสายท่าเรือ-พระพุทธบาท ได้ถือกำเนิดในสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระนราธิปพันธ์วงศ์ ทรงได้รับสัมปทานกิจการรถไฟ เส้นทางนี้ในปี พ.ศ. 2445 ในนามของ บริษัทท่าเรือจำกัด (โดยให้บริษัทนาบุญจำกัดสินใช้ เป็นผู้ถือหุ้นหลัก) วิ่งโดยสารระหว่าง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา กับ อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี ระยะทาง 20 กิโลเมตร ต่อมาภายหลังโอรสคนที่หนึ่งของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระนราธิปพันธ์วงศ์ คือ หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ หรือชาวบ้านขนานพระนามท่านว่า “เห่าหม้อ” ซึ่งท่านก็พอใจที่ชาวบ้านเรียกพระนามท่านเช่นนั้น เพราะเวลาท่านพูดจาสนุกๆสรวลเสเฮฮา จบลงแต่ละประโยค ท่านจะต้องพูดลงท้ายว่า “เห่าหม้อ” ทุกครั้งไป ถ้าหากว่าใครจะเรียกว่า “รถไฟเล็ก” ท่านมักจะมีอารมณ์นิดหน่อยแล้วตอบว่า “พ่อมึงแบกไหวเหรอ”

ท่านได้ดำเนินกิจการรถไฟเล็กต่อจากพระราชบิดา โดยมีนายโชติ ยุวสูตร เป็นผู้ดูแลกิจการแทนหม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ ทั้งหมด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2474 จากการสอบถามนายศิริ โพธิ์นิล และนายชิต ศิลารักษ์ ก่อนที่ท่านทั้งสองจะ เสียชีวิต ทราบว่ารถไฟกรมพระนราใช้รางกว้างขนาด 60 ซม. (แต่ 75 ซม. ตามหลักฐานจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติและซากทางที่โรงน้ำตาลวังกระพี้ซึ่งยกมาจาก สายพระพุทธบาท) หัวรถจักรไอน้ำใช้ความเร็ว 20 กม.ต่อชั่วโมง หัวรถจักรดีเซลใช้ความเร็ว 30 กม.ต่อชั่วโมง แต่ละขบวนที่มีพนักงาน 4 คน คือ พขร. 1 คน ช่างไฟ 1 คน (มีหน้าที่เติมน้ำและฟืน) พนักงานขายตั๋วและตรวจตั๋ว 2 คน (ตั๋วอ่อนแบบฉีก) การซื้อขายตั๋วจะมีการขายตั๋วเฉพาะสถานีท่าเรือกับสถานีพระพุทธบาทเท่านั้น หากขึ้นลงระหว่างกลางทางก็ต้องซื้อตั๋วกันบนขบวนรถ ส่วนสถานีระหว่างทางนั้น เป็นเพียงแค่จุดรับ-ส่งผู้โดยสารเท่านั้น ไม่มี
นายสถานีและพนักงานประจำอยู่ ส่วนอัตราค่าโดยสารคิดเป็นช่วงๆ ระยะแรกๆเก็บค่าโดยสารสถานีละ 5 สตางค์ เช่น สถานีท่าเรือ – สถานีบางโขมด เก็บ 5 สตางค์ (ซื้อหนังสือพิมพ์ศรีกรุงได้ 1 ฉบับ) สถานีท่าเรือ – สถานีบ่อโศก(สร่างโศก) เก็บ 10 สตางค์ สถานีท่าเรือ – สถานีหนองคณฑี เก็บ 15 สตางค์ สถานีท่าเรือ – สถานีเขาเลี้ยว เก็บ 20 สตางค์ สถานีท่าเรือ – สถานีเจ้าพ่อเขาตก เก็บ 25 สตางค์ สถานีท่าเรือ – สถานีพระพุทธบาท เก็บ 30 สตางค์ และเก็บเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามวาระค่าครองชีพ ต่อมาภายในระยะหลังก่อนที่จะเลิกกิจการใน เดือนกรกฎาคม 2485 เก็บช่วงสถานีละ 25 สตางค์
บันทึกการเข้า

วาว วาว เสียงรถไฟแล่นไปฤทัยครื้นเครง
นี่คือ เจ้าแดนเจอร์ปลอมตัวมาใช่ไหม  โวย
บันทึกการเข้า

ตามหารักแท้ค่ะ โฮกกก
นี่คือ เจ้าแดนเจอร์ปลอมตัวมาใช่ไหม  โวย

 กร๊าก สงสัยจะใช่
บันทึกการเข้า

คนบางคนเกิดมาเพื่อเป็นแค่ความทรงจำ
เอาเรื่องราวในอดีตที่บ้านเกิดมาเล่าสู่กันฟังไง  ยิ้มน่ารัก

ต่อครับต่อ

รถไฟจะเติมน้ำเติมฟืน (เมื่อก่อนเรียกว่า “ฟืนหลา” เพราะฟืนจะมี ความยาวประมาณ 1 หลาหรือ 90 ซ.ม.) ที่สถานีท่าเรือ สถานีเขาเลี้ยว สถานี พระพุทธบาท จะมีที่เติมน้ำเติมฟืนอยู่ เมื่อรถไฟกลับถึงพระพุทธบาท ช่างไฟจะเตรียมฟืนใส่หัวรถจักร และรุมไฟให้ครุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา ราวๆเวลา 03:00 น. ช่างไฟก็จะเริ่มใส่ฟืนเร่งโหมไฟ และเต็มน้ำให้เต็มเพื่อเตรียมขบวนรถไฟให้พร้อมที่จะออกเดินทางจากสถานีพระพุทธบาทในเวลา 06:00 น.และถึงสถานีท่าเรือในเวลา 07:00 น. ส่วนขากลับช่วงเย็นจะออกจากสถานีท่าเรือเวลา 15:00 น. ไปค้างคืนที่สถานีพระพุทธบาท ส่วนใหญ่จะวิ่งรับ-ส่งพ่อค้าแม่ค้าพืชไร่เช่น หน่อไม้ น้อยหน่า ขนุน เป็นต้น หากว่าเป็นช่วงเทศกาลนมัสการรอยพระพุทธบาทกลางเดือน 3 และกลางเดือน 4 รถไฟจะวิ่งวันละ 3 – 4 ขบวนโดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน เมื่อผู้โดยสารเต็มก็จะออกจากสถานี

รถไฟพระนราหรือรถไฟเล็กมีสถานีทั้งหมด 7 สถานีคือ
1.สถานีท่าเรือ (อยู่ตรงข้ามกับธนาคารออมสินสาขาท่าเรือหลังเก่า ปัจจุบันเป็นบ้านพักของคุณชุมนุม)
2.สถานีบางโขมด
3.สถานีบ่อโศก(สร่างโศก)(ปัจจุบันยังมีร่องรอยของอาคารตัวสถานีให้เห็นอยู่)
4.สถานีหนองคณฑี
5.สถานีเขาเลี้ยว
6. สถานีเจ้าพ่อเขาตก
7. สถานีพระพุทธบาท (ปัจจุบันคือโรงเจฮกเอี๊ยง)

ซึ่งแต่ละสถานีจะมีทางแยกไว้รอหลีกทุกสถานี ส่วนกลางทางจะมีทางแยกรอหลีก 1 แห่ง (ห่างจากสถานีท่าเรือประมาณ 2.5 กม. ก่อนถึงสถานีบางโขมด) ในแต่ละทางแยกรอหลีกนั้นไม่มีสัญญาณแจ้งว่าขบวนใดจะเข้าก่อนหลัง พขร.จะใช้ประสบการณ์และความชำนาญของตัวเองเมื่อมองเห็นกันจะชะลอความเร็ว ขบวนใดใกล้กว่าก็จะเปิดโอกาสเข้ารอหลีกก่อน
บันทึกการเข้า

วาว วาว เสียงรถไฟแล่นไปฤทัยครื้นเครง
เฮ้ย อย่าเอาชื่อพี่เจฟมาเล่นเด้  โวย
บันทึกการเข้า

ตามหารักแท้ค่ะ โฮกกก
เมื่อก่อนว่าอะไรเขาไว้
ตอนนี้เริ่มมาเองแล้วครับ กร๊าก
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
เมื่อก่อนกลัวมันจะกวนบาทาในแบบที่ผมเจอ ก็เลยสกัดไว้ก่อน

ลองดูครับ แถวบ้านใครมีเรื่องราวในอดีตที่น่าสนใจก็โพสมาก็ได้นะครับ เป็นความรู้ให้กับผู้อื่นด้วย
บันทึกการเข้า

วาว วาว เสียงรถไฟแล่นไปฤทัยครื้นเครง
ยัง ยังไม่เลิกอีกแน่ะ  โวย
บันทึกการเข้า

ตามหารักแท้ค่ะ โฮกกก
ปั่นเหรอหมี  หมีโหดดดด

ต่อๆ

ส่วนโบกี้เป็นโบกี้โดยสารธรรมดา หากผู้โดยสารเป็นบุคคลสำคัญจะใช้ โบกี้พิเศษ หน้าต่างกว้างชนิดเกือบจะเป็นข้างโล่งติดม่านสวยหรู ชายคาจะติด ชายครุยและลูกตุ้มโดยรอบ เก้าอี้ผ้าผิวมันลายสวยงาม ทางเดินปูพรม

ส่วนหัวรถจักรและพนักงานขับรถ(พขร.) ในยุคหลังก่อนที่จะเลิกกิจการนั้น โดยการสอบถามคุณลุงชิต ศิลารักษ์ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต ได้เล่าให้ฟังว่ารถไฟกรมพระนราหรือรถไฟเล็ก จะใช้หัวรถจักรลากจูง 5 หัว คือ
1.นายชิต ศิลารักษ์ เป็นพขร.คนสุดท้าย เป็นพนักงานขับรถจักรสัญชาติเยอรมันนี (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
2.นายจันทร์ เรืองศาสตร์ เป็นพนักงานขับรถจักรสัญชาติฝรั่งเศส (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
3.นายจ้อน (ไม่ทราบนามสกุล) เป็นพนักงานขับรถจักรสัญชาติอังกฤษ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
4.นายยา หรือผู้ใหญ่ยา แสงทองล้วน (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) เป็นพนักงานขับรถจักรชื่อว่า “นกเล็ก” ซึ่งเป็นหัวรถจักร ที่ไม่ทราบ สัญชาติที่แน่นอน เนื่องจากหัวรถจักรเล็กกว่าหัวรถจักรคันอื่นๆ เลยได้รับฉายาว่า “นกเล็ก”
5.หัวรถจักรดีเซล ไม่มีพนักงานขับประจำที่แน่นอน ที่เรียกว่า “หัวรถจักรดีเซล” ก็เพราะว่าใช้รถไถที่มีเครื่องยนต์ดีเซล ยกขึ้นขบวนรถแล้วใช้โซ่ลากโบกี้โดยสาร พอถึงฤดูทำนา หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ ท่านทรงสั่งให้ยกลงไปไถนา

และแล้วกิจการรถไฟกรมพระนรา หรือรถไฟเล็ก ก็ได้เลิกกิจการทั้งหมด ในปี พ.ศ.2490 (จริงๆ ได้ทำเรื่องขอเลิกการเดินรถโดยอนุมัติ โดยกระทรวงคมนาคม มาแต่เดือนกรกฎาคม 2485 แต่กว่า บริษัทส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยซึ่งเป็นเจ้าของ โรงงานน้ำตาลวังกระพี้ และ โรงงานน้ำตาลกุมภวาปีจะชำระเงินค่ารางและหัวรถจักร ก็ต่อเมือสิ้นสงครามไปแล้ว) โดยหม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ ได้ขายหัวรถจักรทั้งหมด ให้โรงงานน้ำตาลวังกระพี้ จ.อุตรดิตถ์ และโรงงานน้ำตาลที่อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี และ ขายเส้นทางให้กับกรมทางหลวงในราคา 5 แสนบาท

รถไฟกรมพระนราหรือรถไฟเล็กสายท่าเรือ – พระพุทธบาท จึงเหลือไว้เพียงแต่ความทรงจำของคนรุ่นเก่าๆเท่านั้น ปัจจุบันเส้นทางรถไฟสายดังกล่าว ก็คือถนนของกรมทางหลวงหมายเลข 3022 สายอ.ท่าเรือ – อ.พระพุทธบาทนั้นเอง

จบ
บันทึกการเข้า

วาว วาว เสียงรถไฟแล่นไปฤทัยครื้นเครง







เอ่อ...

ไม่รู้ว่าจะตอบว่าอะไร เอือม


บันทึกการเข้า

งบน้อย
ปั่นเหรอหมี  หมีโหดดดด

ต่อๆ

ส่วนโบกี้เป็นโบกี้โดยสารธรรมดา หากผู้โดยสารเป็นบุคคลสำคัญจะใช้ โบกี้พิเศษ หน้าต่างกว้างชนิดเกือบจะเป็นข้างโล่งติดม่านสวยหรู ชายคาจะติด ชายครุยและลูกตุ้มโดยรอบ เก้าอี้ผ้าผิวมันลายสวยงาม ทางเดินปูพรม

ส่วนหัวรถจักรและพนักงานขับรถ(พขร.) ในยุคหลังก่อนที่จะเลิกกิจการนั้น โดยการสอบถามคุณลุงชิต ศิลารักษ์ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต ได้เล่าให้ฟังว่ารถไฟกรมพระนราหรือรถไฟเล็ก จะใช้หัวรถจักรลากจูง 5 หัว คือ
1.นายชิต ศิลารักษ์ เป็นพขร.คนสุดท้าย เป็นพนักงานขับรถจักรสัญชาติเยอรมันนี (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
2.นายจันทร์ เรืองศาสตร์ เป็นพนักงานขับรถจักรสัญชาติฝรั่งเศส (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
3.นายจ้อน (ไม่ทราบนามสกุล) เป็นพนักงานขับรถจักรสัญชาติอังกฤษ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
4.นายยา หรือผู้ใหญ่ยา แสงทองล้วน (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) เป็นพนักงานขับรถจักรชื่อว่า “นกเล็ก” ซึ่งเป็นหัวรถจักร ที่ไม่ทราบ สัญชาติที่แน่นอน เนื่องจากหัวรถจักรเล็กกว่าหัวรถจักรคันอื่นๆ เลยได้รับฉายาว่า “นกเล็ก”
5.หัวรถจักรดีเซล ไม่มีพนักงานขับประจำที่แน่นอน ที่เรียกว่า “หัวรถจักรดีเซล” ก็เพราะว่าใช้รถไถที่มีเครื่องยนต์ดีเซล ยกขึ้นขบวนรถแล้วใช้โซ่ลากโบกี้โดยสาร พอถึงฤดูทำนา หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ ท่านทรงสั่งให้ยกลงไปไถนา

และแล้วกิจการรถไฟกรมพระนรา หรือรถไฟเล็ก ก็ได้เลิกกิจการทั้งหมด ในปี พ.ศ.2490 (จริงๆ ได้ทำเรื่องขอเลิกการเดินรถโดยอนุมัติ โดยกระทรวงคมนาคม มาแต่เดือนกรกฎาคม 2485 แต่กว่า บริษัทส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยซึ่งเป็นเจ้าของ โรงงานน้ำตาลวังกระพี้ และ โรงงานน้ำตาลกุมภวาปีจะชำระเงินค่ารางและหัวรถจักร ก็ต่อเมือสิ้นสงครามไปแล้ว) โดยหม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ ได้ขายหัวรถจักรทั้งหมด ให้โรงงานน้ำตาลวังกระพี้ จ.อุตรดิตถ์ และโรงงานน้ำตาลที่อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี และ ขายเส้นทางให้กับกรมทางหลวงในราคา 5 แสนบาท

รถไฟกรมพระนราหรือรถไฟเล็กสายท่าเรือ – พระพุทธบาท จึงเหลือไว้เพียงแต่ความทรงจำของคนรุ่นเก่าๆเท่านั้น ปัจจุบันเส้นทางรถไฟสายดังกล่าว ก็คือถนนของกรมทางหลวงหมายเลข 3022 สายอ.ท่าเรือ – อ.พระพุทธบาทนั้นเอง

จบ

ใคร ใครกันแน่  โวย
เอาพี่เจฟคนเดิมคืนมา
บันทึกการเข้า

ตามหารักแท้ค่ะ โฮกกก
 กร๊าก กร๊าก กร๊าก

 ง่ะ
บันทึกการเข้า

ยิ้มน่ารัก น้องดำ
ยินดีที่ได้รับทราบเรื่องเหล่านี้ครับ


บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
อยากทราบว่า ทำไมไม่มีการห้ามดื่มสุราบนรถไฟ นะ

พวกขี้เมามันรบกวนคนอื่น รู้ไหม
 
. . .

ทำไมรถไฟบ้านเราไม่เพิ่ม ชินคังเซ็น หรือรถพลังแม่เหล็กเร็วๆบ้าง
(สายเดิมคงต้องมีไว้เพื่อให้ชาวบ้านและผมนั่ง)
. . .
บันทึกการเข้า

หัวใจยังคงเต้นอยู่...ฉันยังคงมีชีวิต
*พี่เจฟ อะไร ก็รถไฟ น้องคนนี้เซงเลย **
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!