หน้า: 1 [2] 3 4 5 6 7 8 9 ... 29
 
ผู้เขียน หัวข้อ: เด็กสมัยนี้จะเข้ามหาลัยทีโคตรซวย  (อ่าน 163690 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
เฮ้ย



ทีนี้จะเสรีได้ไงวะ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
เย้่ ระบบการศึกษาไทย ยิ่งพัฒนายิ่งถอยหลังออกทะเล ดีใจจัง 555+

ป.ล.โชคดีจังที่ไม่เคยเรียนมหาลัย
บันทึกการเข้า

ตั้งแต่เมื่อฉันรู้จัก และฉันได้มาพบเธอ มันทำให้ฉันต้องเปลี่ยน  เปลี่ยนแปลงหัวใจฉันไป ได้เรียนรู้สิ่งใหม
ตอนนี้ก็เป็นแบบนั้นแหละครับ

คนสุไหงโก-ลกอยากเรียน ม.เชียงใหม่ก็ต้องขึ้นเครื่องไปสอบที่เชียงใหม่โน่่น (หมายถึงโควต้าอะนะ)

เอาเด็กปรกติสิครับ เพราะว่า เด็กโควตา นี่ มันโอกาสสอบได้สูงกว่านี่ครับ
คือเอาแบบว่า อยากเข้าที่ไหน ก็ไปสอบที่นั่น เกรดไม่เกี่ยว Gpa เฮงซวยไม่นับ pr ไม่สน

เท่าเทียม กันดีไหมครับ  ชิ
บันทึกการเข้า

เกะกะ ระราน พาลไม่เลือกสถานที่
ขอบคุณคุณปอนด์ เพิ่งเข้าใจจริงๆจังๆว่า โอเน็ต เอเน็ตคืออะไร

อย่างที่รู้กัน การศึกษาระดับอุมศึกษาแทบจะเป็นบันไดเดียวที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฐานะทางสังคม
เช่น ลูกชาวนา ที่เป้นชาวนามาหลายชั่วรุ่น บังเอิญลูกสาวพยายามสอบเอ็นติด ขอทุนเรียนได้
จบมามีหน้าที่การงาน แล้วรุ่นลูกต่อมาก็จะมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาระดับสูงได้ง่ายขึ้นๆ

แต่ดูๆทิศทางการศึกษาของประเทศเรา เรารู้สึกระแวงๆมาได้หลายปีอีตรงที่
ในแต่ละมหาลัยคณะที่ตั้งขึ้นมาใหม่ๆในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พอมีเรื่องมหาลัยออกนอกระบบเข้ามาเกี่ยวข้อง
จะเริ่มใช้ระบบเลี้ยงดูตัวเอง จึงมีค่าเทอมไม่แทบไม่ต่างจากเอกชน มหาลัยเราก็มี

จริงๆก็เข้าใจจริงๆนะ ว่าคณะนั้นๆต้องเลี้ยงดูตัวเอง แต่เมื่อระบบการศึกษาเป็นไปในทิศทางนั้น
การศึกษาระดับสูงดีๆของรัฐที่เคยเป็นไปเพื่อคนทุกชนชั้น ก็จะกลายเป็นของกลุ่มครอบครัวชนชั้นกลางขึ้นไป
ที่สามารถ"จ่าย"ได้ แล้วจะผลักคนในระดับรากหญ้าให้เข้าถึงยากขึ้น ช่องว่างทางสังคมก็ถ่างกว้าง

คนที่จนก็จะยังจนต่อไปหรือจนลง คนที่รวยก็จะรวยมากขึ้นอีก

เลยรู้สึกขัดใจทุกครั้งที่เห็นคณะที่ตั้งใหม่ในมหาลัยรัฐที่หน่วยกิตแพงด้วยเหตุผลที่ว่าคณะต้องเลี้ยงตัวเอง
แล้วไอ้ระบบประกาศผ่านอินเตอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว ก็ทำให้ภาพของความเสมอภาคในการเข้าถึงเลวร้ายลงไปอีก
จดหมายมันไปหาคนทุกแบบ ไม่เลือกฐานะ แต่ไอ้อินเตอร์เน็ตมันไม่ไปหาลูกชาวนานะเว้ย


เคืองครับ เคือง  เอือม
บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
มันยิ่งแย่ตรงที่ออกนอกระบบแล้ว ค่าเทอมเท่าม.เอกชนแต่อุปกรณ์และการบริการเป็นแบบรัฐบาลน่ะสิครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 เม.ย. 2006, 14:34 น. โดย Layiji » บันทึกการเข้า

นักเขียนการ์ตูนรายปี
เพิ่งไปสมัครปริญญาโทมาค่า เอาใจช่วยด้วยนะค้า  ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า

ตามหารักแท้ค่ะ โฮกกก
เย่ ยาวจัง เย่ ไม่อ่านครับ
บันทึกการเข้า

สะพรึบสะพรั่ง ณหน้าและหลัง ณซ้ายและขวา ละหมู่ละหมวด ก็ตรวจก็ตรา ประมวลกะมา สิมากประมาณ
เออ ไม่อ่านไม่เป็นไร
แต่ไม่ต้องมาเช็คชื่อก็ได้  โวย

ส่วนผมยังเหลืออีก 2 ปีครับ เหมือนจะยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
แต่จะสบายใจได้ไง ในเมื่อมันมีปัญหาทุกปี
ปีที่แล้วก็ข้อสอบรั่ว ปีนี้ยิ่งไปกันใหญ่

ซวยจริงๆ
บันทึกการเข้า
ขออภัยที่ยังไม่ได้แนะนำตัว

O-net เป็นการทดสอบความรู้ขั้นพื้นฐาน วิชาทั่วๆไปน่ะครับ
อันได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์(พื้นฐาน) ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคมศึกษา
จะเป็นแบบพื้นๆหมดเลย
สอบได้ครั้งเดียวในชีวิต ถ้าจะซิ่ว ก็ใช้คะแนนนี้

ส่วน A-net เป็นการทดสอบความรู้ขั้นสูง
จะมีวิชา 5 วิชา ที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่จะเพิ่มความลึกของเนื้อหาขึ้น
คณิตศาสตร์ก็จะมีวิชาที่เป็นคณิตฯเสริมเพิ่มขึ้นมา(แคลคูลัส ฯลฯ)
วิทยาศาสตร์ก็จะเป็น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา
จะมีวิชาบางวิชาเฉพาะคณะนั้นๆ เช่น ความถนัดทางสถาปัตย์ ความถนัดทางวิศวฯ
ภาษาจีน ญี่ปุ่น ฯลฯ
จะสอบกี่ครั้งก็ได้ คะแนนที่สอบได้ เก็บได้ 3 ปี
ในตอนแรก เห็นประกาศว่า ปีหนึ่งจะมีการจัดสอบหลายครั้ง
ปีนี้ปีแรก(อีกแล้ว) สามารถจัดได้แค่ครั้งเดียว

เรื่องคะแนนจากชั้น ม.4-ม.6
ทีแรกจะเป็น 50% แต่มีข้อเรียกร้องให้ค่อยๆปรับ
ปีนี้ปีแรกจึงเริ่มที่ 30% ก่อน แล้วจะเพิ่มขึ้นทีละ 10 ปีหน้าก็จะเป็น 40% (หากไม่มีการเรียกร้องอื่นอีก)
ประกาศผลทางอินเตอร์เน็ตอย่างเดียว ไม่มีจม.ไปที่บ้านแล้วครับ


เพิ่มเติม

การเลือกคณะก็แตกต่างตามที่จะเลือก

สมมุติว่าถ้าเลือกคณะถาปัด วิชาที่ใช้ก็จะมี O-Net และความถนัดเท่านั้น
แต่ว่าคะแนนที่มาใช้นั้น จะต้องเป็นคะแนนดิบของแต่ละวิชา
มาคูณกับค่าน้ำหนัก ของวิชานั้นแล้วนำมารวมกัน
และจะต้องหาค่าคะแนนของ GPAของแต่ละกลุ่มสาระที่ใช้ในคณะนั้นๆด้วย
และนำคะแนนที่ได้ มารวมอีกที่หนึ่ง

ตัวอย่างค่าน้ำหนัก
สถาปัตยกรรมศาสตร์

1. GPAX 10 %
2.GPA (กลุ่มสาระ)   20%
     - ไทย  5%
     - สังคม   5%
     - ต่างประเทศ   5%
     - คณิตศาสตร์   5%
     - วืทยาศาสตร์   5%
3.O-Net      40%
4.วิชาเฉพาะ
   - ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์   30%

คณะแต่ละคณจะใช้วิชา A-Net แตกต่างกันไป
แต่จะต้องใช้คะแนน O-Net ทุกคณะ



 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 เม.ย. 2006, 14:46 น. โดย มะนุช » บันทึกการเข้า

คนบางคนเกิดมาเพื่อเป็นแค่ความทรงจำ
เอาระบบจับฉลากแบบเข้ามัธยม  เกย์แอบ

เห็นตั้งแต่เปลี่ยนระบบมาหลายปี ไม่เข้าที่เข้าทางซะที
บันทึกการเข้า

[ว่างให้เช่า]
ส่วนตัวนะความคิดผมว่า

น่าจะเปิดการสอบตรงไปเลย

อยากเข้าที่ไหนไปที่นั่นเลย

และให้แต่ละที่สอบไม่พร้อมกัน

คณะไหน เอาคะแนนเรียนหรือ GPA วิชาที่เกี่ยวข้อง

ไปคิดพอ

แต่เน้นไปที่สอบตรงครับ
บันทึกการเข้า

S♥NE - Goguma
ของเดิมดีอยู่แล้วไม่รู้จะเปลี่ยนทำไม ไม่เห็นมีใครโวยเลยว่าของเก่าไม่ดี
มีแต่เปลี่ยนแล้วมีคนโวยว่าของใหม่ไม่ดี
ดีใจลึกๆที่หลุดมาได้รุ่นสุดท้ายพอดี

และสงสารเพื่อนที่ซิ่วปีนี้มากๆค่ะ
บันทึกการเข้า
อยากได้แบบไม่สอบเลย เพื่อทุกคนจะได้เรียนที่อยากเรียน
บันทึกการเข้า

ตามหารักแท้ค่ะ โฮกกก
อยากได้แบบไม่สอบเลย เพื่อทุกคนจะได้เรียนที่อยากเรียน
จุฬาไม่ล้นเลยหรอครับ
บันทึกการเข้า
ผมรู้สึกว่า ระบบสอบเข้าตรงแบบที่ใช้เมื่อยี่สิบปีสามสิบปีก่อน (แล้วเลิกไปเมื่อห้าหกปีก่อน) ยังดีกว่าอีกนะครับ
บันทึกการเข้า

ฝันซ่อนสับสนวุ่นวาย หย่อนคล้อย
หน้า: 1 [2] 3 4 5 6 7 8 9 ... 29
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!