หน้า: [1] 2
 
ผู้เขียน หัวข้อ: กฎหมายลิขสิทธิ์  (อ่าน 34471 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
(ตั้งจู๋ใหม่บนหิ้งเลย จะได้ไม่ปั่นกัน  ฮี่ๆ )


เกร็ดความรู้กฎหมายลิขสิทธิ์

               ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2537 เพื่อใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2538 เป็นต้นไป

               พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับดังกล่าวได้ให้ความคุ้มครองงานสร้างสรรค์ในสาขา วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะของผู้สร้างสรรค์ ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้ประโยชน์จากผลงานสร ้างสรรค์ของตน ตลอดจนได้รับสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่ต่อสาธารณชน นอกจากนี้ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ยังได้รับสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการให้เช ่า หรือให้สิทธิในการทำซ้ำผลงานของตนรวมทั้งยังสามารถยกผลประโยชน์อันเกิดจากงา นลิขสิทธิ์ของตนให้ผู้อื่นได้ตามต้องการ

               การละเมิดลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ได้จำแนกลักษณะการละเมิดลิขสิทธิ์ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

ก ารละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง ได้แก่การทำซ้ำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของลิขสิทธิ์พระราชบัญญัติลิขส ิทธิ์ได้ให้ความ คุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ ตัวอย่างเช่น การทำซ้ำสิ่งบันทึกเสียง โสตทัศนวัสดุ ทั้งนี้ไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดโดยไม่รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ เป็นต้น การให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ดังกล่าว ยังรวมการห้ามมิให้ดัดแปลง หรือเผยแพร่สิ่งบันทึกเสียง หรือโสตทัศนวัสดุต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกด้วย


การละเมิ ดลิขสิทธิ์โดยอ้อม ได้แก่การกระทำทางการค้าหรือการกระทำการที่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดการละเมิดล ิขสิทธิ์ที่กล่าว ข้างต้น หากผู้ใดรู้อยู่แล้ว หรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น และมีส่วนในการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดแก่งานนั้น เพื่อหาผลกำไรให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำการดังต่อไปนี้

- ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ
- เผยแพร่ต่อสาธารณชน
- แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์
- นำ หรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร

บทกำหนดโทษ และลักษณะความผิด
ก ารละเมิดลิขสิทธิ์โดยการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น หรือให้เช่าต้นฉบับ หรือสำเนางานดังกล่าว โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 20,000 ถึง 200,000 บาท
ถ้ากระทำความผิดดังกล ่าวเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


ก ารละเมิดลิขสิทธิ์โดยการขายมีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อหรือเสนอให้เช่าซื้อ นำเข้าในราชอาณาจักร เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือแจกจ่ายงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น ในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท และถ้าการกระทำความผิดดังกล่าว เป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี ปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่า กรรมการ หรือผู้จัดการทุกคนของนิติบุคคล
นั้นเป็นผู้กระทำความผิดกับนิติบุคคลนั้น เงินแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำของนิติบุคคลนั้น ได้กระทำโดยที่ตนมิได้รู้เห็น หรือยินยอมด้วย

บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์จะถูกปรับให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด เช่น เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ก็จะถูกปรับด้วยเช่นกัน

ส่วนค่าปรับที่ได้มีการชำระตามคำพิพากษานั้น ครึ่งหนึ่งจะตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ดี การได้รับค่าปรับดังกล่าว ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง สำหรับที่เกินจำนวนเงินค่าปรับที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับไว้แล้วนั้น


บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
เครดิตจาก http://www.gmm-mpi.com/p2.asp
(เข้าไปอ่านดู มีตารางบทลงโทษไว้ด้วย ดูว่าถ้าละเมิดจะโดนเท่าไหร่)




ส่วนที่ 6 ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิท ธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งาน อันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่น ในครอบครัวหรือญาติสนิท
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ในงานนั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการ พิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการ พิจารณาดังกล่าว
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(8) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

มาตรา 33 การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควร จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตาม มาตรา 32 วรรคหนึ่ง

มาตรา 34 การทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุดซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหากำไร และได้ปฏิบัติตาม มาตรา 32 วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น
(2) การทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการ วิจัยหรือการศึกษา

มาตรา 35 การกระทำแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร และได้ปฏิบัติตาม มาตรา 32 วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(5) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อ หรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษา หรือป้องกันการสูญหาย
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ใน การพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงาน ผลการพิจารณาดังกล่าว
(7) นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบ ในการสอบ
(8) ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้
(9) จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิง หรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ไม่ได้จะมากวน

ทั้งศาลและทนาย(อัยการ)
ประเทศไทยเรา มีความรู้
อะไรพวกสิธิทางปัญญาแค่ไหน
อันนี้เป็นคำถามลอยๆ
เพราะผมก็ไม่รู้ เลยทำให้ไม่มีความมั้นใจ

บันทึกการเข้า

รอให้คดีของเพื่อนผมจบก่อน
จะมาเล่าให้อ่านว่ามันแข็งขนาดไหน




จะบอกว่าศาลที่ดูแลเกี่ยวกับคดีเรื่องนี้เขามีความรู้นะครับ
แล้วก็เป็นศาลที่ทำเรื่องเฉพาะทางด้วย

แต่ถ้าวกมาดูคนหรือหน่วยงานที่มา "จับ" เรื่องลิขสิทธิ์จริงๆ ถึงผู้ัละเมิด นั่นล่ะ พวกนี้ล่ะที่ดูมึนๆ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
งั้นรอดู คดีที่เพื่อนผมฟ้องใยไหมจบแล้วมาถกกันด้วย
เพื่อเป็นคดีตัวอย่างในแต่ละรูปแบบไป
งานกราฟฟิกผมไม่แน่ใจว่ามีการฟ้องร้องก่อนไหม
ส่วนงานวรรณกรรมเข้าใจว่าไม่น่าจะมีการฟ้องร้องก่อนหน้านี้
ที่มีก็เจรจารอมชอมกันได้หมด
บันทึกการเข้า

มีครับ ก็เพื่อนผมนี่แหละที่โดนฟ้องเรื่องกราฟิก


เอาไว้สิ้นเดือนมีนาจะยุติคดี
แล้วค่อยว่ากัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 ก.พ. 2006, 11:18 น. โดย iannnnn » บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
จะรอครับ อยากรู้อยากเห็นเหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า

สู่ความโดดเดี่ยว อันไกลโพ้น
เจ๋งเป้งงง..ไปเลยค่ะเฮียขา

เดี๋ยวหนูจะปริ๊น ไปโปะกบาลพวกมาหลอกไถตังค์ที่ร้าน

จะแปะไว้หน้าร้านกันผี ด้วย...

บันทึกการเข้า

หนังเย็บมือ Homemade www.facebook.com/oxhour
สาธุ...ขอให้ทำได้อย่างที่กฎหมายว่าไว้ค่ะ
แต่ทำไมมีความรู้สึกว่ายังมีช่องโหว่ไม่รู้
บันทึกการเข้า

ที่สุดถ้ามันจะไม่คุ้ม
แต่มันก็ดีที่อย่างน้อยได้จดจำ
ว่าครั้งนึงเคยก้าวไป...
กฎหมายพวกค่าสมองนี่ เกิดจากตะวันตกครับ
ดังนั้นมันเลยออกแบบมารับใช้สันดานตะวันตก
ซึ่งมันขัดกับสันดานไทยๆ (หรือจีนแดง)

ดังนั้นเราเลยรู้สึกขัดๆ เหมือนคันตูดแต่กินยาพารา


...
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ที่ออฟฟิศใช้ License ของ Adobe
เห็นลงให้เครื่องที่ห้องแค่ครั้งเดียว
ห้ามไปลงให้ที่อื่นด้วย เค็มจัง

ว่าจะก็อบขาย  ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า

nuugo.blogspot.com
instagram.com/nuugo
ขุดครับ
พอดีเจอกระทู้ดีๆ จาก 2how เลยเอามาแปะกันให้อ่าน
พอดีที่นั่นเขาเข้มงวดเรื่องลิขสิทธิ์ของรูปถ่ายมากๆ



http://www.2how.com/board/topic.php?id=28838
2how Topic : : ขอคำปรึกษาเรื่องถูกละเมิดลิขสิทธิ์


http://www.2how.com/board/topic.php?id=19957
2how Topic : : ลองดูน่ะ รูปใครโดนขโมยบ้าง

ลิงก์อันล่างดีมากครับ
เป็นเรื่องเป็นราวตั้งแต่ผู้เดือดร้อนไปพบ จนจบเรื่องด้วยดีเลย
มีแบบฟอร์มจดหมายเพื่อร้องเรียนกับเจ้าของกิจการด้วยแหละ เยี่ยมๆ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ขอบคุณครับ

รูปในเว็บผมก็โดนขโมยไปใช้บ่อยมาก ผิดกับที่ต่างประเทศเลยครับ ถ้าเค้าจะใช้ เค้าจะเมล์มาติดต่อแล้วขออนุญาต บางทีมีสินน้ำใจด้วยครับ ผิดกับคนไทยบางคน เอาไปอย่างหน้าด้านๆ แล้วแอบอ้างว่าตนเองถ่าย ทั้งๆที่ไม่ใช่  อี๋~
บันทึกการเข้า

วาว วาว เสียงรถไฟแล่นไปฤทัยครื้นเครง
กำลังเรียนอยู่ กร๊าก

วันก่อนไปค้นเรื่องเครื่องหมายการค้า เจอวิทยานิพนธ์เรื่องลิขสิทธิ์ฟอนต์ด้วย ว่าจะหยิบมาอ่านแต่ไม่มีเวลาต้องรีบไปเรียน ฮือๆ~
บันทึกการเข้า

โล่ง
อันล่าง ติดตามอ่านด้วยความระทึกเลย มันอย่างกะอ่านนิยาย
ดุมากๆแต่ละท่าน แต่ดุได้สมควรแก่เหตุดี ชอบ

ตอนแรกอ่านๆดูกะไว้ว่าคงเป็นคนละห้าพัน
แถมจบลงด้วยดีมาก อ่านแล้วก็รู้สึกว่า
แบบนี้แหละที่สังคมไทยควรจะเป็น

ปกติถ้าเขามาวิงวอนขอร้องสำนึกผิดแบบนี้
ก็มักจะยอมๆกันไป หรือไอ้ที่ไม่ยอมก็มักจะ
โกรธเกลียดใช้อารมณ์กันไปเลย
แต่ที่นี่ทั้งไม่ยอมแต่ก็ไม่ได้หมายจะเข่นฆ่ากัน
แค่ต้องการทำอะไรให้มันถูกต้อง
คนทำผิดก็ยินยอมรับผิดทุกประการและยังชื่นชม
คนที่เอาเรื่องตัวเอง ต่างคนต่างได้รับบทเรียน
และเข้าใจกันทุกฝ่าย

เอ้อ ดีแฮะ




บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
หน้า: [1] 2
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!