สงสัยและคาใจกับนิยามคำว่าวิบัติของพี่แอนมาตลอด
คำว่า "ไม่รู้รากแล้วต่อยอด" เนี่ย
ส่วนใหญ่กรณีตัวอย่างที่เป็นการถูกประณามว่าใช้ภาษาวิบัติหรือพาสาทัย ก็คงจะเป็นภาษางุงิทั้งหลายแหล่ (คงไม่ต้องยกตัวอย่างนะ)
และเนื่องจากที่มาของภาษางุงิแบบนี้มันเริ่มมาจากบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันได้ค่อนข้างถูกแต่ต้องการความสะดวก ไม่ต้องกด shift เวลาพิมพ์สนทนาทางโปรแกรมต่างๆ
จึงเกิดที่มาของภาษางุงิดังกล่าว แล้วก็ลุกลามมาจนกลายเป็นแฟชันที่ฮิตและนิยมมากมายก่ายกองในปัจจุบัน
นี่คือความหมายของคำว่า "ไม่รู้รากแล้วต่อยอด" ใช่รึเปล่า
ในขณะเดียวกันกระแสของการเรียกร้องให้ใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องในอินเทอร์เน็ตก็ถือกำเนิดขึ้นมาจากบุคคลส่วนหนึ่ง
ถามว่ามันจะเกิดการตอบรับที่ดีหรือไม่
คิดว่าพวกที่ไม่รู้รากแล้วต่อยอดจะตอบมาสองกรณี
หนึ่งคือหันมาใช้ภาษาที่ถูกตามเดิม
สองคือยึดความสะดวกต่อไป
แต่ในกรณีของพวก...อะไรดีล่ะ พวกที่บอกว่า ชั้นก็วิบัติเฉพาะในอินเทอร์เน็ต ในชีวิตจริงชั้นก็ใช้ภาษาถูกอยู่แล้ว แค่คุยแช็ตมันจะอะไรกันนักกันหนา
และหาประเด็นตีกลับมา ว่าพวกที่อนุรักษ์ทั้งหลายแหล่น่ะ มันก็วิบัติเหมือนกันละวะ แล้วยังจะมาสอนมาบอกคนอื่น
เราว่าหาขอบเขตของจุดนี้ให้เจอก่อนจะดีกว่าไหม?
-การพิมพ์ผิดถือว่าทำให้ภาษาวิบัติหรือไม่
-การสะกดคำผิดถือว่าทำให้ภาษาวิบัติหรือไม่
-การเปลี่ยนเสียงของคำเพื่อให้ถูกตามหลักบังคับเอกโทษ โทโทษ ในโคลงสี่สุภาพ ถือว่าวิบัติมั้ยคะ
ก็เห็นเวลาคนใช้วรรณยุกต์ผิด เช่น อ่ะ ป่ะ ยังบอกว่าวิบัติเลยนี่นา
-พวกสะกดคำที่มาจากภาษาต่างประเทศผิด ถือว่าวิบัติมั้ยคะ
-การใช้รูปประโยคโดยยึดไวยากรณ์อังกฤษมาใช้ถือว่าทำให้โครงสร้างประโยคของภาษาไทยวิบัติมั้ยคะ
อันนี้เป็นการมองในแง่มุมกลับนะ
เป็นสิ่งที่แอบๆ คิดและแอบๆ เถียงในใจมานานแล้ว
ปอลอ ทุกวันนี้ไม่ได้ซีเรียสอะไรกับภาษางุงิถ้ามันไม่เกินความจำเป็นหรือเสแสร้งงุงิเกินเหตุ
คิดว่าวิธีแก้ปัญหามันก็น่าจะเป็นแบบที่เต่าบอกนะ ตอนนี้คนที่เห็นความสำคัญของการใช้ภาษาให้ถูกยังมีน้อยมากจริงๆ
ค่อยๆ เกลา ค่อยๆ บอกกันไป
เริ่มจากตัวเองพยายามจะไม่ผิดนี่แหละ