หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำฟอนต์จากภาพ text หนังสือได้หรือไม่?  (อ่าน 1231 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
สวัสดีครับ ผมเป็นสมาชิกใหม่ หากว่าคำถามที่จะถามต่อไปนี้อยู่ผิดหัวข้อ หรือไม่ถูกมารยาทอย่างไรก็ขออภัยไว้ล่วงหน้าครับ

พอดีสงสัยมานานแล้วว่า ถ้าเราเจอฟอนต์ไทยที่เราชอบในหนังสือไทย (เช่นฟอนต์เนื้อความ) แล้วเราถ่ายรูปหรือสแกน แล้วใช้รูปนั้นเป็นต้นแบบสร้าง outline ในโปรแกรม โดยไม่ดัดแปลงเพิ่มเติมเท่าไร (คือจงใจรักษาความคล้าย พูดไม่ได้ว่าใช้เป็นเพียงแรงบันดาลใจ) ฟอนต์ที่ทำเองวิธีนี้ เราสามารถเผยแพร่ด้วย license ประเภทที่นำไปดัดแปลงต่อได้ (เช่น OFL) ได้หรือไม่ครับ?

พูดเป็นรูปธรรมคือ ขณะนี้ผมกำลังคิดจะนำตัวพิมพ์บางแบบที่ปรากฏในหนังสือทั่วไปช่วงทศวรรษ 2520 และ 2530 มาทำเป็นฟอนต์ เพื่อเผยแพร่แบบ OFL ให้คนสามารถนำไปดัดแปลงต่อได้ด้วย ที่เล็งไว้เป็นพิเศษคือฟอนต์ที่คล้าย Angsana, Browallia, Cordia (หรือตัวพิมพ์ที่เป็นบรรพบุรุษของฟอนต์เหล่านี้) จึงอยากสอบถามผู้มีความรู้ด้านนี้ว่า ในไทย การทำฟอนต์วิธีนี้และเผยแพร่ลักษณะนี้ จะมีปัญหาใดหรือไม่ครับ?

แรงจูงใจให้ทำแบบนี้คือ ฟอนต์ไทยหลายฟอนต์ติดปัญหาว่าขนาดตัวอักษรต่างจากฟอนต์โรมันมาก เวลาจะใช้ในเว็บจึงค่อนข้างลำบาก หากจะใช้ฟอนต์เหล่านี้ให้สะดวกขึ้น ทางแก้หนึ่งคือปรับขนาดตัวอักษรในฟอนต์ให้ใหญ่ขึ้นแต่ต้น แต่ฟอนต์ไทยหลายฟอนต์ (โดยเฉพาะฟอนต์ TF Pimpakarn, TF Pimai, TF Srivichai ของสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ที่เป็นฟอนต์ที่ใช้แทน Angsana, Browallia, Cordia ได้ดี) ติดเงื่อนไขว่าไม่อนุญาตให้แก้ไขโดยไม่ขออนุญาตก่อน ทำให้กระบวนการแก้ไขยุ่งยากมากถึงขั้นทำไม่ได้ในทางปฏิบัติ ผมจึงคิดว่าหากสามารถทำฟอนต์คล้ายกับฟอนต์อมตะเหล่านี้ขึ้นใหม่ แล้วเผยแพร่ในแบบเสรีกว่า สามารถแก้ไขต่อได้ (เช่น OFL) ระยะยาวน่าจะเป็นประโยชน์กับสาธารณชนไม่มากก็น้อยครับ (อย่างตัวผมเอง นอกจากปรับขนาดฟอนต์แล้วก็อยากลองเพิ่มความสามารถอื่นๆที่อาศัย opentype feature ให้ฟอนต์เหล่านี้ดูครับ)

รบกวนขอคำชี้แนะด้วยครับ :)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 ม.ค. 2022, 00:36 น. โดย Vivii » บันทึกการเข้า
แชร์ประสบการณ์ละกัน  ไม่ได้เป็นคำแนะนำอะไร  ในฐานะเป็นคนหนึ่งที่ เอาฟอนต์เก่าๆมาต่อยอด หรือถอดแบบฟอนต์เก่าๆ
1. ผมไม่ได้ทำฟอนต์ขาย .. จึงไม่มีประเด็นเรื่องผลประโยชน์มากนัก
2. ฟอนต์เก่าๆ เลือกรูปแบบฟอนต์ที่ส่วนใหญ่มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป (ตอนนั้นยังไม่มีเทคโนโลยีฟอนต์ไฟล์) แล้วร่างขึ้นใหม่หมด
3. กรณีเอาฟอนต์ลายมือมาใช้โดยการ scan จากต้นฉบับ จะทำการขออนุญาตจากเจ้าของลายมือก่อน
4. กรณีที่นำ ฟอนต์ไฟล์ที่มีอยู่แล้วมาใช้งาน โดยการปรับปรุงรูปแบบการใช้งาน ใส่เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่เข้าไป จะทำการขออนุญาตจากผู้สร้างฟอนต์เดิมก่อน  ..แต่สุดท้ายก็ไม่เผยแพร่อยู่ดี เพราะผลกระทบที่ตามมาไม่สร้างผลดีกับใคร เช่น คนก็บอกว่าให้มาใช้ฟอนต์ ABC ดีกว่า AB เนื่องจากสวยกว่า ใช้ง่ายกว่า หรือบอกว่า ABC ไม่เห็นดีเลย AB ก็ดีอยู่แล้ว  จากเดิมหวังดีว่า..เสียดายฟอนต์ที่มีคนสร้างมาแล้ว ไม่อยากให้ทิ้งไปเปล่าๆ ก็ต้องยกเลิกแนวคิดนี้ไป ทำขึ้นใหม่เลย สบายใจกว่าเยอะ

สรุปคือ หาทางติดต่อขออนุญาตเจ้าของเดิมก่อน ถ้าได้รับอนุญาตหรือนำมาทำเป็นฟอนต์ จะพยายาม credit เจ้าของเดิมให้มาก ให้คนใช้รู้ว่าไม่ใช่ original ของเรา
แต่ดีสุดคือทำใหม่หมดดีกว่าเยอะ ไม่แม้กระทั่งถอดแบบ แค่นำมาเป็นแรงบัลดาลใจ และ credit ให้ทราบที่มา เป็นการให้เกียรติผู้สร้างเดิม
บันทึกการเข้า
เสริมเรื่องไอเดียคล้ายๆ กับของคุณ Vivii นะครับ

เมื่อหลายปีก่อนมีโครงการฟอนต์โอเพนซอร์ส ที่ทำมาเพื่อแก้ปัญหาการใช้งานฟอนต์ที่ติดลิขสิทธิ์ของบริษัทไมโครซอฟท์
ทำให้ระบบปฏิบัติการอื่นๆ (ในยุคนั้นก็มีแค่ Linux ยังไม่มรีแอนดรอยด์) ที่ใช้งานไม่ได้

ซึ่งฟอนต์เหล่านี้ผู้พัฒนาก็ทำรูปแบบออกมาหน้าตาคล้ายกับฟอนต์เจ้าตลาดขณะนั้นครับ
เรียกว่าทดแทนกันได้เลย แต่เป็น Opensource

https://github.com/anoochit/suriyan/tree/master/extension-pack4ubuntu/fonts/ttf/thaifont-abc



ฟอนต์ชุดนี้ถูกพัฒนาและใช้งานกันแพร่หลาย(ไหมอ้ะ ในวงแคบๆ 5555)
แต่ด้วยความเป็นโอเพนซอร์ส เราจึงมีอิสระในการนำไปดัดแปลงและพัฒนาต่อได้ครับ
ผมว่าแบบนี้อาจจะตอบโจทย์อยู่ครับ

ส่วนฟอนต์อื่นๆ นอกเหนือจากนี้ ถ้าต้องการสแกนจากหนังสือ หรือดูแบบแล้วขึ้นเส้นขึ้นมาใหม่
ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของบ้านเราแล้ว (พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ 2537) มองฟอนต์เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ที่คุ้มครองด้านโค้ด แต่ไม่คุ้มครองด้านดีไซน์ครับ เศร้าหน่อยแต่ก็เป็นแบบนี้แหละ…
ดังนั้นที่ผ่านมาจึงมีการนำฟอนต์เก่าๆ มาปัดฝุ่นแล้วทำใหม่อยู่เนืองๆ ครับ

คือถ้าเราไม่ได้เอาโค้ดเดิมมาเป๊ะๆ และดัดแปลงต่อ แบบนี้ไม่ผิดครับ
เพราะยังไงเวลาทำฟอนต์ ดีเทลร้อยล้านที่อยู่ข้างในมันเป็นเรื่องเฉพาะของดีไซเนอร์และผู้พัฒนาโค้ดเบื้องหลังอยู่แล้ว

รอชมผลงานนะครับ อยากเห็นความตั้งใจนี้ออกดอกออกผลครับ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำและกำลังใจจากทั้งสองท่านครับ

ฟอนต์ Angsima, Bromlila, Corada นี้ ก่อนนี้ช่วงหาข้อมูล ผมบังเอิญพบเข้าและได้นำมาดัดแปลงง่ายๆ (ปรับขนาด) ใช้ส่วนตัวอยู่เหมือนกัน แต่ที่ผ่านมาไม่แน่ใจเรื่องว่าดัดแปลงแล้วเผยแพร่ได้หรือไม่ รอบนี้ได้รับข้อมูลว่าเป็นฟอนต์ opensource ก็โล่งอกขึ้นครับ เพียงแต่ ไม่ทราบพอจะมีแหล่งให้สืบได้อย่างละเอียดไหมครับว่า opensource ตาม license ใด เข้าใจว่าเป็นฟอนต์ในโครงการ linux ไทย เพียงแต่พอดีไม่มีประสบการณ์ในวงการเท่าไร จึงยังอ่านไม่แตกว่าสรุปแล้วให้สิทธิ์พัฒนาต่อและเผยแพร่อย่างไรบ้าง

ส่วนฟอนต์อื่นๆที่ถอดแบบจากภาพฉบับในหนังสือจริง หากว่ามีโอกาส ในอนาคตจะนำมาลองนำเสนอในเว็บ f0nt.com นี้ครับ

ขอบคุณสำหรับคำตอบอีกครั้งครับ :)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ก.พ. 2022, 14:42 น. โดย Vivii » บันทึกการเข้า
รู้สึกว่าเว็บต้นทางในสมัยนั้น (เกือบ 20 ปีมาแล้ว) จะล้มหายตายจากไปเสียเยอะครับ
พอจะสืบๆ ได้จากแถวนี้ครับ

https://debianclub.org/node/197
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
หน้า: [1]
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!