หน้า: [1] 2
 
ผู้เขียน หัวข้อ: อักขราล้านนา  (อ่าน 8646 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
ฟอนต์ตัวเมืองล้านนา


คลิกชมวีดีโอพรีเซนต์
https://www.facebook.com/Lanna.Thaifont/videos/320256359398397



     ปัจจูปสมัย ล่วงเลยมาถึงกาลบัดนี้ สังขยานับได้ 2600 ปีพุทธปรินิพพาน
เมื่อพระพุทธศาสนา เผยแผ่มาถึงอาณาจักรล้านนา โบราณจารย์ได้บันทึกคัมภีร์พระไตรปิฏก
ด้วยอักขระธรรมล้านนา (ตั๋วเมือง) เพื่อช่วยกันรักษาพระพุทธพจน์ 8400 พระธรรมขันธ์เอาไว้

     แต่ก่อน กุลบุตรผู้ที่สนใจ  จะศึกษาเรียนรู้คำสอนในพระพุทธศาสนาได้   จะต้องเข้ามาบวช
ร่ำเรียนภาษาล้านนาให้ชำนาญเสียก่อน จึงจะสามารถศึกษาคำสอนในพระไตรปิฏกได้แตกฉาน
จะให้ดีกว่านั้น  ยังจะต้องเรียนรู้อักขระวิธีบาลีไวยากรณ์  คือเล่าเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี
เปรียญธรรม ตั้งแต่ประโยค ป.ธ.1-9 แปลภาษามคธเป็นภาษาไทย และแต่งภาษาไทยกลับมา
เป็นภาษามคธ



     มาถึงปัจจุบัน เหล่านักปราชญ์ราชบัญฑิต ท่านได้นำพระไตรปิฏก  อรรถกถาฏีกา มาถอดแปลเนื้อความ
เป็นภาษาไทยได้หมดแล้ว (ทุกภาษาทั่วโลกที่มีพระพุทธศานา) และยังได้พัฒนาเป็นโปรแกรมพระไตรปิฎก
ฉบับคอมพิวเตอร์ จึงเป็นการง่ายที่จะทำความเข้าใจศึกษาปฏิบัติเรียนรู้ ผ่านทางเทคโนโลยีสื่อออนไลน์ต่างๆ
ความสำคัญ และทักษะในการอ่านเขียนภาษาล้านนาในปัจจุบัน ก็ลดลงไปตามลำดับ จะเหลือไว้แต่บางสำนัก
บางแห่งบางที่ ตามสถานศึกษา-มหาวิทยาลัย และผู้สนใจอนุรักษ์สืบสานตำราคัมภีร์โบราณเท่านั้น



     ฟอนต์  Akkhara-อักขรา ชุดนี้ นับเป็นฟอนต์ตัวเมือง ในปัจจุบันสมัยพุทธศตวรรษที่ 26
เป็นโปรเจคงานร่วมกันระหว่างคุณ uvSOV และ spFONT  ตามนโยบาย Work from home
โดยผมเป็นผู้ดัดงัดทำตัวฟอนต์  ส่วนคุณ uvSOV เป็นผู้ถนัดชำนาญจัดการเรื่องเทคนิควิชา
ต้องขอขอบคุณ ที่ได้ทำงานร่วมกับคนเก่งกล้าสามารถ ถือว่าเป็นโอกาสอันดีครับ
(คนดัดนะครับ...ไม่ใช่โจรสลัด  (อิอิ) (อิอิ) (อิอิ) ปล่อยมุก)



ด้วยมีจุดประสงค์อุดมคติตั้งใจที่จะช่วยอนุรักษ์จรรโลงสืบสานภาษาล้านนาเอาไว้ ต่อไปในภายภาคหน้า
ฟอนต์ชุดนี้ ออกแแบบปรับเปลี่ยนเส้นสายลายจาร  มาเป็นเส้นสายลายแปรงของพู่กัน ให้มีความหนาขึ้น
เพื่อให้มีความลงตัวเข้ากับศิลปะร่ามสมัยในยุคปัจจุบัน

แยกเป็น ภาษาล้านนา และ ภาษาไทย+ละติน เพื่อไม่ให้ฟอนต์บรัช มีน้ำหนักเยอะเกินไป
ซึ่งอักขระล้านนา ตัวสระ-พยัญชนะ เยอะกว่าภาษาไทย แถมมีตัวฐานล่าง ตัวพิเศษอีก (จนล้นแป้นคีย์บอร์ด)

-Akkhara-km อักขรา-เขียนเมือง
-Akkhara-kt อักขรา-เขียนไทย+ละติน

ฟอนต์ตัวล้านนา มีนามว่า Akkhara-km เขียนเมือง



ฟอนต์ตัวไทย มีนามว่า Akkhara-kt เขียนไทย



เบื้องหลังการทำ ฝึกซ้อมมือก่อน (ทดลองสลัดพู่กันสักนิด มือไม่ค่อยไปครับ...นานๆเขียนถี่)



ลองปากกาหัวตัดดูบ้าง





อันนี้เป็นความเชื่อทั่วไป



วิเคราะห์เปรียบเทียบ อักษรไทย กับอักษรล้านนา



     อักษรล้านนา (ตัวเมือง) ของอาณาจักรล้านนา ได้ถูกทางการยกเลิก การเรียนการสอนไปแล้ว หลังจากผนึกรวมกันเป็นสยามประเทศ
โดยมีภาษาไทยเป็นภาษากลาง  ในการสื่อสารพูดคุย  ร่ำเรียนในสถานศึกษา เมื่อครั้งวัยเรียน (ประมาณ 30 กว่าปีก่อนโน้น  ในโรงเรียน
ทางภาคเหนือ  นักเรียนจะต้องพูดแต่ภาษาไทยกลางเท่านั้น มาภายหลัง จึงมีอนุโลมบ้าง  เพื่อฟื้นฟูอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น  ประเพณีและ
วัฒนธรรม ส่วนใครสนใจที่จะรำเรียนศึกษา ต้องค้นคว้าเอง จะมีที่สอนบ้างก็เฉพาะบางที่เท่านั้น

    พูดถึงตัวอักษรไทย สมัยก่อนมีการคัดไทยตัวบรรจงสวยงามอ่านง่าย หัวกลม-เหลี่ยม (อาลักษณ์) สมมุติว่าคนสมัยโน้นฟื้นขึ้นมาอ่าน
ตัวหนังสือสมัยนี้ จะอ่านไม่ออกเลย เพราะติดกันพรืด ไม่มีหัว ตาลาย ยิ่งเป็นลายมือ ยิ่งไปกันใหญ่ (ขนาดตัวเองเขียนเองแท้ๆ ยังนึกอยู่
ตั้งนาน ว่าเราเขียนอะไร)  เขาจะมองเห็นเป็นเรื่องแปลกประหลาด  ว่าตัวแบบนี้ก็มีด้วยหรือ  (ไม่เคยเห็น....พร้อมเกาหัว....อ่านไม่ออก)
ยิ่งเป็นครูสอนภาษาไทยรุ่นเก่าๆด้วยแล้ว เขาจะแอนตี้เรื่องพวกนี้ เช่นเขียนตัวเลขใช้อารบิค ไม่ใช้ภาษาไทย

มาปัจจุบันเป็นเรื่องของเทคโนโลยี เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยไอทีสากล ตัวอักษรไทยได้พัฒนาก้าวไกลไปถึงขั้นเป็นเหลี่ยมๆไม่มีหัวด้วยซ้ำ
ซึ่งประหยัดพื้นที่ในการทำงาน เขียนเร็วพิมพ์เร็วกว่าที่เราต้องคอยมาม้วนหัว เมื่อคนเห็นกัน อ่านกันบ่อยๆจนชินตา ก็เข้าใจอ่านออกรู้เรื่อง
ซึ่งทุกรูปแบบตัวอักษรนั้น ก็ค่อยๆพัฒนาปรับปรุงมาจากตัวเริ่มแรกเดิมที จากที่มีหัวอยู่ก่อนนั่นเอง

     อักษรล้านนาก็เช่นกัน หากสมมุติว่า เป็นภาษากลางที่คนนิยมใช้ในปัจจุบัน ก็จะพัฒาก้าวล้ำไปมาก จนกระทั่งไม่มีหัวได้
ก็จะมีหลายหลากมากแนว  เหมือนดั่งตัวอักษรไทยในปัจจุบัน    ดูอย่างตัวพม่า ลาว ก็พบว่าเริ่มจะทำเป็นตัวเหลี่ยมๆกันแล้ว
หากว่าจะทำตัวล้านนาออกเป็นหลายสไตล์ออกไป  คนก็จะมองว่าเป็นตัวแปลกๆ เพราะมันแตกต่างไปจากตัวเดิมที่เขาคุ้นตา

Akkhara-km อักขรา เขียนเมือง-เขียนไทย



แบบลูกเล่นครับ
อักขราลายเสือ


อักขราล้านช้าง


EP.2 ด้านล่าง แผนผังคีย์บอร์ด และการใช้งาน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 ก.ย. 2020, 00:30 น. โดย พอ จะ นะ » บันทึกการเข้า
ลงยันต์ให้ พี่เสือ พี่ช้าง จะได้ยิงไม่เข้า ไม่ถูกเอาไปต้มกิน  (อิอิ) (อิอิ) (อิอิ)
บันทึกการเข้า
ตำแหน่งแป้นพิมพ์ ฟอนต์ อักขรา



ตัวฐานล่าง ใช้แป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างการใช้งานจริงจากผู้จัดทำ  (อาจจะมีจุดที่ผิดพลาดอยู่บ้าง..ผู้รู้ช่วยทักมาได้ครับ)

บทรัตนคุณ (ตั้งชื่อเองครับ อาจไม่คุ้น)



ติรัตนสูตร เทียบไทย บาลี (เป็นฟอนต์อื่น เพื่อการอ่านง่ายนะครับ)
ข้างล่างจะสังเกตได้ว่า ภาษาไทย ที่เขียนเป็นคำบาลี จะไม่มีรูปสระให้เห็น แต่ใช้จุดล่าง เพื่อให้รู้ว่าพยัญชนะตัวหน้า
มีไม้หันอากาศอยู่ หากตัวหน้ามีสระอยู่แล้ว ก็แสดงว่าเป็นตัวควบ ไม่อ่านออกเสียง และใช้นิคหิตจุดบน แสดงให้รู้ว่ามี
ไม้หันอากาศและง.งูอยู่ และที่สำคัญคนสวดส่วนมากจะอ่านออกเสียงผิด เช่นภาษาบาลีว่า เสยฺโย อาหุเนยฺโย เป็นต้น
มักจะออกเสียงเป็น เสยโย /อาหุเนยโย  ออกเสียงให้ถูกตามภาษาบาลี อ่านว่า ไสยโย   ออกเสียงเป็น ไ-ย ไม่ใช่ เ-ย
และอีกตัวอย่างหนึ่ง วิญญูหีติ ให้ออกเสียงเป็น ฮี เป็นต้น (วิญญูหีติ=วิญญูหิ+อิติ) วิญญูหิ=อันผู้รู้ทั้งหลาย..อิติ=ดังนี้



ชินปญฺชรคาถา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)



จะสังเกตได้ว่า ภาษาล้านนาเขียนเป็นบาลี ก็จะไม่มีรูปสระให้เห็นเช่นกัน (แต่อาจจะเห็นเป็นบางที่) แต่ท่านกลับไม่ใช้
จุดล่าง เหมือนภาษาบาลี ส่วนการเขียนคำปกติทั่วไป ไม้โท ไม้หัน ไม้ไต่คู้ ใช้ตัวเดียวกัน ส่วนไม้เอก ไม้ตรี ไม้จัตวา
ไม่ใช้ เพราะสำเนียงการพูดของคนล้านนาเป็นเสียงสูงอยู่แล้ว (ตอนนี้จะเห็นมีไม้เอก คงจะอนุวัฒน์ตามภาษาไทยกลาง)

ภาษิตโบราณ ล้านนา1 (อันนี้ผมสืบทอดมาจากคุณปู่ ปัจจุบันเสียแล้ว)





ภาษิตโบราณ ล้านนา เทียบตัวอักษรไทย1 (ผมขอใช้ฟอนต์ TH Niramit AS)




อันท้ายๆมา...เริ่มรู้สึกว่าจะเป็นการบ่น คงเป็นคำเสริมเพิ่มมาทีหลังอีกที....แต่ก็เป็นการสื่อให้เราเห็นถึงเรื่องราววิถีชีวิต
ความคิดความเป็นอยู่ของคนยุคนั้น วัฒนธรรมสังคมนั้นๆ.....เลยตัดเอาแค่นีก่อนละกัน

หัวใจแก้วสามประการ





ตำราหาพิษยา..(ไม่ใช่หายาพิษ) ยาสมุนไพรโบราณ บางทีใช้กับคนที่เป็นโรคชนิดเดียวกัน บางคนหาย บางคนไม่หาย
เป็นเพราะตัวยาไม่ตรงกับธาตุไฟของคนนั้น และคุณสมบัติจำนวนความเข้มข้นของตัวยา ไม่พอที่จะไปขจัดโรคนั้นให้
หายขาดไปได้ เพราะอุณหภูมิเวลาการไหลเวียนสรรพคุณในต้นพืช ไม่ได้อยู่คงที่ตลอดทั้งวัน ฉะนั้นหมอยาโบราณ
ท่านจึงคำนวณหาค่าปริมาณความเข้มข้นของตัวยาว่าอยู่ตรงจุดไหนของแต่ละช่วงเวลา เช่นตอนเช้า-สาย-บ่าย-เที่ยง
(ร่ายยาวเลย...อาจจะใช้ได้กับยารักษาโควิด...ใครจะรู้)





ภาษิตธรรมคำผญา ล้านนา



สุภาษิตคำคมล้านนา1



สุภาษิตคำคมล้านนา2



สุภาษิตคำคมล้านนา3



หลักกาลามสูตร ฉบับล้านนา (อันนี้ ผมแต่งเป็นคำร้อยแก้ว เพื่อการจดจำง่ายนะครับ)



ใครต้องการต้นฉบับ จัดให้  ติดต่อมาครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 ก.ย. 2020, 20:06 น. โดย พอ จะ นะ » บันทึกการเข้า
ขออนุญาตใช้พื้นที่ในการเผยแพร่นะครับ

ภาพไอคอน :


คำนิยาม :
       ฟอนต์  Akkhara-อักขรา ชุดนี้ นับเป็นฟอนต์ตัวเมือง ในปัจจุบันสมัยพุทธศตวรรษที่ 26
เป็นโปรเจคงานร่วมมือกันระหว่างคุณ uvSOV และ spFONT  ตามนโยบาย Work from home
โดยผมเป็นผู้ทำตัวอักษร  และได้ความร่วมมือจากคุณ uvSOV  ช่วยจัดการเรื่องเทคนิควิชาการ
ด้วยมีจุดประสงค์ตั้งใจที่จะช่วยอนุรักษ์จรรโลงสืบสานภาษาล้านนาเอาไว้ ต่อไปในภายภาคหน้า
ฟอนต์ชุดนี้ ออกแแบบปรับเปลี่ยนเส้นสายลายจาร มาเป็นเส้นสายลายแปรงของพู่กัน
โดยแบ่งออกเป็น 2 ชุด คือภาษาล้านนา และ ภาษาไทย+ละติน

ภาพแสดงผลฟอนต์ :
Akkhara-km อักขรา เขียนเมือง



Akkhara-kt อักขรา-เขียนไทย



ตัวอย่างการใช้งาน



แทรกหน้าก่อนโหลด



ไฟล์ฟอนต์ : Google Drive (Akkhara-km-kt sov&sp+แป้นพิมพ์)

https://drive.google.com/file/d/1UD0B3UwkZSWGhwTJ4zyCkR1WgPqcoi5E/view?usp=sharing

ขอขอบคุณ : ทางฟอนต์คอม และคุณ uvSOV เป็นอย่างสูง
จาก SP-FONT
เฟซบุค  : https://www.facebook.com/profile.php?id=1193349580
เพจฟอนต์ :https://www.facebook.com/Lanna.Thaifont/?modal=admin_todo_tour

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 ก.ย. 2020, 10:04 น. โดย พอ จะ นะ » บันทึกการเข้า
สุดจริงๆ ครับ เจ๋ง
บันทึกการเข้า

โชว์ห่วยฟอนต์ของผมครับ https://www.facebook.com/jjfontjames/
ภาคปฏิบัติ







การใช้งานทั่วไปอาจจะดูง่ายๆ แค่เปลี่ยนฟอนต์มาเป็นตัวล้านนา ปรับนิดหน่อย แต่ส่วนมากมันจะเป็นคำผสมภาษาไทย
มากกว่า ไม่ใช่ภาษาสำเนียงของคนล้านนาจริงๆ
สำหรับตัวผมแล้ว ยากครับ เพราะขาดทักษะประสบการณ์ ความชำนาญ ไม่ได้ใช้ ไม่ได้เขียนบ่อย ขนาดว่าตอนทำอยู่นี้
ต้องดูผังแป้นพิมพ์ช่วย ทำเสร็จ กลับมาอ่านดู...อ๊าว ตรงนี้ลืมปรับ คำนี้เขาไม่นิยมเขียนแบบนั้น ต้องรื้อตำรามาเทียบดู

หากเป็นท่านที่ชำนาญใช้งานบ่อย ก็หมดปัญหาครับ...ค่อยต่อ EP.4
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 ส.ค. 2020, 14:53 น. โดย พอ จะ นะ » บันทึกการเข้า
ตัวหนังสือมีเอกลักษณ์มาก คนทำก็ขยันสุดๆ เลยครับ  เจ๋ง เจ๋ง เจ๋ง
บันทึกการเข้า
ภาคนี้ เป็นคำเมือง คำเคือง คำคัน โดยประยุกต์คำแบบไทยกลาง ไม่ออกสำเนียงเหนือ เพื่อเพิ่มอรรถรส
เป็นแนวศิลปะอาร์ตๆ เท่ๆ แบบไม่เอาสาระ เน้นแปลกแหวกแนว สนุกขำขัน พิศดารงงงวย ว่างั้นเถอะครับ






เน้นที่คำไทยดีกว่า (ให้อ่านง่าย)
รวมหมวดอักษร 25 ชุด  ก.ข.ค.ง.จ.ช.ด.ต.ถ.ท.น.บ.ป.ผ.พ.ฟ.ม.ย.ร.ล.ว.ส.ห.หน.อ.

ก.
ก กา ก่อน เก่า เกิด ก่อ กก กอด กำ กวง กอบ โกย กิน กาก กับ ก้อย กั้ง กุ้ง ก้าม กาม ก๊อบ แก๊บ ก่อน กุด
กิ้ง ก่า เกะ กะ กัด กบ กึ๊ก กือ เก่ง กู้ กึก ก้อง ก้ม กาย โก่ง ไก เก็บ เกี่ยว กิ่ง ก้าน กอ แก้ว โกง กาง กอง แกง
แก่ง กอย ก้อน กาก กล กาม กาง เกง เกื้อ กูล กับ ไก่ เก้ง กวน กุด กู่ กาย แก่ กิ๊ก ก๊อก แก๊ก กุ๊ก กุ๊ก กู๋ 

ข.
ขัด ขา เข่า เขียว เข็ด เขี้ยว ขาด แขน ขาย ขวด ขุ่น ข้น ข่า ขิง ข่าม เข้ม ขุน เขา เขี่ย ไข่
ของ ขึ้น  ขึง ขัง เข่า ข้อง โขด ขัว ขาง ไข ข่าง ขอด  ขวย เขิน ขู่ เข็ญ แข็ง ข้อ ขัน แข่ง
ขอ ขี้ ขี่ ขื่อ ขับ ขาน ขึ้น ขั้น ขุด เขี่ย ข้า เขย ข่ม ขืน ขื่น ขม โขก ขาก ข้าว ขาว เข้า ข่าย
ขูด เข็ม ขอบ เข็บ เขื่อน ขอด ขัก ข่วน ขุย ขอน ขวา เขียง ขุก ขัก ข่าว ไข้ ขีด เขียน

ค.
คิง คอง แค้น คน คิด ค้น คุณ ค่า ค้าง คาว คุ้น เคย คบ ค้า คาง คก คู่ ควร
ค่าย ควาย เคี่ยว โค คึก คัก แค่ คอย คู่ คี่ คาบ คืน คับ แคบ โค่น คา
คด ค้าย เคียด คบ คาด คั้น ค้ำ คอ คัด ค้าน ค่อย เคี้ยว คุ้ง คด
คู โค้ง คุด คู้ คง เคียง คิ้ว คืบ เคาะ แคะ คม คาย คัน แคม ค่อย คีบ ค่อน คุก

ง.
งู เงี้ยว งุ่น ง่าน งึก งั๊ก เง้า งอด งื้อ ง่า งัด ง้าง งุน งง งอก งวย
เงื่อน งำ เงือก เงาะ งด งาม ง่าม แง่ง แง่ งอน งาน ง่าย โง่ เง่า
งัว เงีย ง่วง งีบ โงก โงน งวด เงิน เงียบ งัน ง่อย เงิบ งุบ งิบ ไง งั้น

จ.
จ่า แจ้ จอด จร จะ แจ้ง จับ เจ้า จ๋อ จอ แจ จู้ จี้ จัด จ้าน จิก เจาะ จด จ่อ จุ้ย จุ๊ จด จำ แจก จริง จุ๊ก จิ๊ก
จก แจง เจอ เจ๋ง จาก โจร เจาะ ใจ จึง จัก จืด จาง จุก แจว จน จม จ้าง เจ็บ จวน เจียน จุด จบ จุ่ง จาม
เจิม จิ้ม จง จิบ เจ็ด จาน จิต ใจ แจ่ม จัส จ้อง จัง จอง จีบ จ๊วด จ๊าด จัด จ้าน จึง จบ จ๊อก แจ๊ก จ๊ะ จ๋า จุ๊ๆ

ช.
ชาติ ชาย ชด ช้อย ชื่อ ชง ชุด เชย เช็ด ช้อน ชอน ไช ช่วย ชี้ เชื้อ เชิญ ชู้ ชื่น ชิด ชม
ชื่น ชอบ ชุ่ม แช่ โชก โชน ชิง ชัง ชา ชิน ช่วง ชิง ชี ช้ำ แช่ ช่อง ช่วย แช่ง ชุม ชน ชัก ช้า
เชี่ยว ชาญ ช่ำ ชอง เช่า ชั่ง ชั้น เชิง โชติ ช่วง ชั่ว ช้าง ชู เชิด ช่าง เชื่อม ใช้ ช่อ ชิวๆ

ด.
ดา ดั้ง โด่ง โดน แดง ดื้อ ด้าน ดุ ด่า ดวล ดิบ ด้าม ดาบ ดัน ด้วน เดี๋ยว ดัง ด้วย เดือน ดัก ดุ่ม
ดึง ดาก ดก ดำ ดอม ดม ดูด ดื่ม ดึก ดื่น ดู ดาว เดียว ดาย เด้ง ดึ๋ง ดุจ ดัง แดก ด้วง โดด ดิ้น
โดย ด่วน ดัด ดาน เด็ก ดง ดิ่ง ดอย แดด ดับ ดู ดี เด็ด เดี่ยว ดึ้ง ดั๋ง ดิ้ง ด่อง ดุ๊ก ดิ๊ก ดู๊ ดิ๊

ต.
เต่า เตี้ย ตูม ตาม เตาะ แตะ เตะ ตีน ต่อ แตน ตำ ตูด ตึ๊ก ตั๊ก แต่ ตบ ต่อย ตี ตา ต้อ ตูบ ตีบ
ตก ตุ๊บ ตับ แตก ติด ไต ตัด ตอ ต้อง ตาย ตาม แต่ง แตก ต่าง ต่ำ ต้อย ตาก ตู้ ตื้น ตัน เตี่ย ติว
ตั้ง ตั่ง ติด เตา ต้ม แตง ตุ๋น ตัง ตุ๊ด ตู่ ตัว เต้น ตอด ตด ตุ...ตุ...ต๊อก แต๊ก ติ๊ง ต๊อง ต๊ะ ตุ่น ตวง

ถ.
ถาก ถาง เถื่อน ถ้ำ ถ่าย ถุง แถ ไถ ถา ถม ถ่าง ถึง แถม ถู เถา ถัน เถิก ถอง
ถาม ไถ่ ถี่ ถ้อย ถอด ถอน ถึบ ถัก ถด ถอย ถ้า ถือ ถ้วย ถัง ถาด โถ เถ้า ถ่าน

ท.
ท่าน ทิด ท่อง เที่ยว เทียบ เทียม ทาบ ทาม ทัก ทาย ทูล เท็จ ทวย เทพ ทวด ไท้ ทอด ทิ้ง
ทิว ท้าย ทุ่ม ทุน ทำ ทาง ท่วง ทัน เท่า ที่ ทัน ที ท้า ท้อง ทุก ท่า ทิ้ง ท่อ ท่อน ทึบ ทับ ที่ ท้อ แท้
แทบ เท ทึน ทึก ท่วม ท้น ทบ ทวน ทัด ทาน ทุ่ง ทอง แทะ แทง ทุบ แท่น ท่า ทื่อ เท่ๆโทงๆ

น.
นู๋ นิด นัด นวด โน้ม น้าว น้อง นาง นุ่ม นวล นุ่ง น้อย น่า เน้น แนบ เนียน เนื้อ เเน่น
นั่ง นา นอน นิ่ง นาน นม นัว เนีย นิ้ว เน่า นอก นั้น นั่น โน้น แนะ แนว ใน นี้ น้า นำ
นก นาค  นับ เนื่อง น่าน น้ำ เนือง นอง แน่ น่ะ (แน่...ซิ)

บ.
บุ๋ม บิ๋ม บุก เบิก แบก บ่า ใบ บอน บาง บัว บาก บั่น บึก บึน บ่วง เบ็ด บ่อ บึง บ้า บอ
ใบ้ บอด บู้ บี้ บิด เบี้ยว บูด บวม  บ่าย เบี่ยง บ่าว บอย แบ เบาะ บน บาน บอก บวช
บ่ม บุญ บัง บาป บุ้ง บ่อน เบื่อ บ่อย เบ่ง บาน แบ่ง เบา โบย บิน บาย บ้าย..ย...ย...ย....

ป.
ปัง ปอน ปึ๋ง ปั๋ง ปัง ปัง ไป ปีน ป่าย ป่วง ป่า ปลุก เปิด ปุ้ม ปุ้ย ปอก เปิ้ล ปิ้ง ปลา
ป๊อก แป๊ก ปาน ป่วน ปู่ ป้า ปล่อย ปู ปก ปัก ปัด ป้อง ปลิด ปลิว ป้าย ปาด  แป้ง เปียก
ปน เปื้อน แปลกๆ  เป่า ปี่ แปด ปุ่ม ปาวๆ เปี่ยม ปอด ปาก เปื่อย ปอก เปียก เป็น เป็ด ป๊าบๆ

ผ.
ผู้ ผัว ผูก ผม แผ่น ผืน โผด ผาบ ผอง ผี  ผ่าย ผอม ผุ ผื่น ผก เผื่อ ผ่อน ผัน
 โผ ผิน เผ่น แผน โผง ผาง ผาด โผน ผึ่ง ผาย แผ้ว ผ่าน ผ่า ผง ผึ่ง ผ้า
ผัก ใผ่ เผา ผับ ผิว ผ่อง ผัด เผ็ด ผุย ผ่อง ผิด แผก เผย แผ่ เผ่า ผึ้ง ผุด...ผุด...ด..

พ.
พี่ พอ พุง พี พูด เพราะ พึ่ง พาน พาด พิง พะ พอย พบ พวก พัว พัน พับ ไพ่ พ่าย แพ้
พุ่ม พวง พุ่ง พวย เพ้อ พก พ่วง แพะ พัด พา พัง พอน โพง พาง เพื่อน พ้อง พ่อ พระ
พอก พูน พูล เพิ่ม พาก เพียร เพียง พอ พุ พอง เพาะ พื้น พิณ แพง พึง พัก พ้น พาล 

ฟ.
เฟื่อง ฟอน ฟ้อง แฟน ฟุ้ง เฟ้อ ฟุ่ม เฟย เฟี้ยว ฟ้าว ฟูม ฟัก ฟัน ฟืน ฟอง ฟอด
ฟาด ฟัด ฟาก ฟ้า เฟื่อง ฟู ฟู่ ฟ่า ฟิด ฟ้อน ฟิว ไฟ ฟัง ฟิน ฟุ้ง ฟิ้ง ฟั่น เฟือน เฟอะ ฟ๊ะ

ม.
มึง มัก มึน เมา มี เมีย มั่ง มูล มาก มาย มุ่ง มั่น เมียง มอง มุด มุ้ง
มิด มุก แม่ มา มอบ มั่ว มัด มือ มอม แมม ม้า แมว แมง เม่า มอด ม้วย
ม้าง มวย เมื่อย ม้าม มูม มาม ม่า ม่า ไม้ ม้วน มุ้ง มิ้ง แม่ง โม้ ม๊วก..ก..ๆ

ย.
ยาย แย้ม ยิ้ม ยั่ว เยาะ เย้ย ยืม ยีน ยืน ย่อ ยองๆ ย่อง แย่ง ยก ยอ ยึก ยัก โยก เยก ยัก ยอก
ย่ำ แย่ เยียว ยา เยี่ยม เยือน ยาม เยี่ยว ยืด ยาว ย๊ะ ย้อย ยุบ ยับ ย้าย ยศ แยก ย่อย ยัง ย้ำ
ยื้อ ยุด ยาง ยืด ยาบ ๆ ยุ ยง ยัด ยุง ยุ่ม ย่าม เยอะ แยะ  เยื่อ ใย ยาง ย่น ยอด แย่ ยำ ๆ

ร.
เรือ รบ ระ ราน ราย เรื่อ เรี่ยว แรง รีบ เร่ง รุ่ม ร้อน ร้าว ราน เรื่อง ร้าย ร่อ แร่
รอด รู รวด เร็ว รับ รู้ โรง เรียน เรียบ ร้อย ร่ม รื่น รุ่ง เรือง เร ไร รอ เรียก เรา ร่วม
เริง ร่าย รำ ไร เริ่ม แรก ริก รี้ ริ รัก รูป รก ริ้ว รอย รุง รัง ริด รอน โรย รา

ล.
ลุง เล่า ไล่ ล่า ลุย โลด ล้าง ลบ ลิง โลน ลี้ ลับ ลาก เลื้อย ลวด ลาย ลน ลาน
ล่อง ลอย ลิ่ว ล้อ ลู่ ลม ลด เลี้ยว ลาภ ลอย ล่อ ลา ลูบ ไล้ แลก ลูก เล่น ลาว ลวง โลก
แลบ ลิ้น ลอง เลีย ลิ้ม ลาบ เลือด ล้น ล้ม ลุก ละ เลง เลิก ลด เลย โล่ง เลี่ยง ลง ลือ ลั่น

ว.
วัน วาน วัด วา วิง วอน วิ่ง ว่อน ไว้ ว่า วุ่น วาย วก วน ว่อง ไว วัย ไหว้
โวย วัง แว่น เวียง ว่าง เว้น แวะ แว่ เวียน ว่าย แวว วาว วู่ วาม วอด วาย
วุ้น ว่าน วาด วัว วาง วัก ว่าว แวด วง เว็บ วิว ว๊อบ แว๊บ แวว วาว วิ๊งๆ ว๊าวๆ

ส.
สาว สวย สิว ใส สาย ส่อง สวม สร้อย ใส่ เสื้อ สี ส้ม สัก สิงห์ สุด แสบ ส้น สั้น
ส่อ ส่าย สืบ สาน สั่ง สอน สุ่ม แส่ สอด เสือก สู้ เสือ สาป สาง สา สม สิง สู่ สำ
ส่อน สับ สน เสื่อม สิ้น สร้าง ส่อ เสริม เสา ส่ง เสียง สวด เสก สอง สาม สิบ สี่

ห.
หิ่ง ห้อย หาง หุบ แหก หื่น หิว หอย โหย หา เห็ด หู เหี่ยว แห้ง แหบ หาย
ให้ เห็น หัว หวย หาก หวง หีบ ห่อ เหตุ ห่วง หุง เหา ห่าง ไห ห้า ห้อง หก หอ
หอก หาย ห้าม หัน แห่ง หน ห้าง ห้วย หัก โหม ห่ม โหน โห่ หิ้ว..ว...หุ หุ
หน.
หนุ่ม หน่อย หนุก หนัง หนุน โหนก หนาบ หนึ่ง หนุง หนิง หน่วย หน้า
หนอก แหน หน่าย แหนง หน่อ หนาม หนอน หนู เหนือ ไหน หนัก หน่วง เหนี่ยว หนี
หนูด หนวด แหนบ แหนง หนีบ เหนียง เหน็ด เหนื่อย หนา หนำ หนี้ หนอ

อ.
ไอ้ เอก อ้วน อึ๋ม อก อูม อุ้ย อ้าย อั้น ไอ อ้อย อิ่ง ออด อ้อน อ่อน แอ อุบ อิบ อวด อ้าง
อิง แอบ อุก อาจ อ่วม อาย อุก อัง เอี่ยม อ่อง อึด อั้น อุด อู้ แอ อัด อด ออม อิ่ม เอิบ
โอบ อุ้ม ไอ อุ่น อึก อัก โอด โอย เอะ อะ โอ๊ว โอ๊ว อัก อ่วน โอ้ย โอย อื่นๆ อ๊ะ อ๊ะ

หรือจะเป็นแนวนี้ (กลอนนี้มีมานานแล้ว ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง ขออภัย)


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ส.ค. 2020, 13:41 น. โดย พอ จะ นะ » บันทึกการเข้า
โดยรวมๆ แล้วการออกแบบฟอนต์ตัวนี้ เท่าที่เห็นจะมีหลายๆ ตัวเมื่อพิมพ์แล้วจะ "หวัน" กับตัวอื่นมากไปหน่อย และการออกแบบบางตัวจะหน้าตาผิดจากเพื่อนๆมากไปนิด แต่ก็แล้วแต่คนทำนะครับ
ส่วนการพิมพ์ตั๋วเมืองยังค่อนข้างผิดเยอะนะครับ

ส่วนตัวผมจะพยายามทำฟอนต์ตั๋วเมืองไม่ให้มันไปทับกับตัวอื่นมากจนเกินงาม เพราะรู้สึกว่าการเล่นหางมากก็ทำให้อ่านยากตามไปด้วย
บันทึกการเข้า
โดยรวมๆ แล้วการออกแบบฟอนต์ตัวนี้ เท่าที่เห็นจะมีหลายๆ ตัวเมื่อพิมพ์แล้วจะ "หวัน" กับตัวอื่นมากไปหน่อย และการออกแบบบางตัวจะหน้าตาผิดจากเพื่อนๆมากไปนิด แต่ก็แล้วแต่คนทำนะครับ
ส่วนการพิมพ์ตั๋วเมืองยังค่อนข้างผิดเยอะนะครับ

ส่วนตัวผมจะพยายามทำฟอนต์ตั๋วเมืองไม่ให้มันไปทับกับตัวอื่นมากจนเกินงาม เพราะรู้สึกว่าการเล่นหางมากก็ทำให้อ่านยากตามไปด้วย

โจทย์ ที่ตั้งไว้คือ เขียนตัวเมืองด้วยพู่กันตวัดครับ พระอาจารย์ 
.. ตัวพวกนี้เหมาะเป็นตัวพาดหัวครับ(Display Type) เพื่อเป็นลูกเล่นดึงดูสายตา
แต่ไม่เหมาะกับการเขียนเป็นคำอ่านยาวๆ (Text Type) ครับ
คือผมอยากเห็นฟอนต์ตัวเมืองประเภทนี้ดูบ้าง เพราะยังไม่เห็นมีในไทย
จึงไปรบกวนคุณ พอ จะ นะ ให้ช่วยทำขึ้นมาครับ ผมช่วยแค่จึ๋งเดียว
หากเห็นว่าไม่เหมาะสม พระอาจารย์แนะนำได้ครับ

ปล. นี่ว่าจะแนะนำให้ พระอาจารย์ กับ พจน ได้รู้จักกัน จะได้ช่วยกันสร้างฟอนต์ตั๋วเมือง ตัวใหม่ขึ้นมาครับ
ส่วนผม ชิ่งไปทำฟอนต์โบราณตัวอื่นแล้ว ขออภัยทั้ง 2 ท่าน  ไหว้



บันทึกการเข้า
คิดว่าเหมาะเป็นตัวพาดหัวเหมือนกันครับ
ผมเองก็แค่ทำไปแบบลูกทุ่งๆ ไม่มีความรู้เท่าไหร่และไม่มีใครให้ถาม เสียดายที่อยู่คนละจังหวัด คิดว่าคงจะได้เจอกันสักวันครับ

โจทย์ ที่ตั้งไว้คือ เขียนตัวเมืองด้วยพู่กันตวัดครับ พระอาจารย์ 
.. ตัวพวกนี้เหมาะเป็นตัวพาดหัวครับ(Display Type) เพื่อเป็นลูกเล่นดึงดูสายตา
แต่ไม่เหมาะกับการเขียนเป็นคำอ่านยาวๆ (Text Type) ครับ
คือผมอยากเห็นฟอนต์ตัวเมืองประเภทนี้ดูบ้าง เพราะยังไม่เห็นมีในไทย
จึงไปรบกวนคุณ พอ จะ นะ ให้ช่วยทำขึ้นมาครับ ผมช่วยแค่จึ๋งเดียว
หากเห็นว่าไม่เหมาะสม พระอาจารย์แนะนำได้ครับ

ปล. นี่ว่าจะแนะนำให้ พระอาจารย์ กับ พจน ได้รู้จักกัน จะได้ช่วยกันสร้างฟอนต์ตั๋วเมือง ตัวใหม่ขึ้นมาครับ
ส่วนผม ชิ่งไปทำฟอนต์โบราณตัวอื่นแล้ว ขออภัยทั้ง 2 ท่าน  ไหว้




บันทึกการเข้า


ฟอนต์นี้สวยครับ ดูเป็นมาตรฐานการพิมพ์ เรียบร้อย อ่านสบายตา เนื้อหาก็คมคาย คนละแนวกับแบบฟอนต์ของผมเลย
(แบบเรียบร้อยผมก็ทำไว้อยู่ แต่ยังไม่ได้ลงเพลต)

ส่วนฟอนต์อักขราชุดนี้ ตามที่บอกไว้นั่นแหละครับ ว่าเป็นฟอนต์ลูกเล่น ประยุกต์เข้ากับสมัยใหม่ เป็นแนวสะบัดพู่กัน โครงสร้าง
จะหนากว่าฟอนต์ตัวเมืองอื่นๆ ไม่ค่อยเหมาะสำหรับการพิมพ์ข้อความเยอะๆ เพราะมองดูไกลๆเห็นติดกันบ้าง  (เพราะความหนา
และเล่นหาง) ทีผมทำตัวอย่างให้ดู เป็นเพียงการแสดงให้เห็นถึงภาพโดยรวมของตัวอักษรเท่านั้น ว่าดูออกไปในแนวทางที่ต้อง
การหรือไม่ และตรวจเช็คความกลมกลืนเข้ากันได้กับคำอื่นๆ เป็นฟอนต์ทางเลือกเฉพาะงานไม่ทั่วไป แล้วแต่คนนำไปใช้ นะครับ
แต่ผมทดลองใช้ด้วยตัวเองแล้ว ดังที่เสนอตัวอย่างไว้ด้านบน มีการปรับแต่งตัวอักษรหลายครั้ง หลายตัว เพื่อจะหลบเลี่ยงการชนกัน
จนดูสมูทลื่นไหล เช่นคาถาชินบัญชร ผมใช้งานจริง จะมีที่ชนกัน2-3 ตัว  เพราะเลี่ยงไม่ได้จริงๆ หากพิมพ์คำธรรมดาทั่วไป จะไม่มี
ปัญหามาก แต่ถ้าเป็นคำยากๆจะมีบ้าง เพราะส่วนมากตัวยากๆ ไม่ค่อยได้ใช้กันเยอะ ผู้ใช้ต้องชำนาญ ปรับแต่งเองได้  แต่เราออก
แบบเน้นเอาคำที่ใช้งานง่ายไว้ก่อน เพราะถ้าวาง ตำแหน่งหลบตัวซ้อนยากๆแล้ว ก็จะมีปัญหากับคำปกติทั่วไปที่ใช่บ่อย
ซึ่งแป้นคีย์บอร์ดจำกัด ไม่พอรองรับกับพยัญชนะของฟอนต์ตัวเมืองที่มีมากกว่าภาษาไทย ไม่พอที่จะใส่หลบเพิ่มตัวเหล่านั้น

"การพิมพ์ฟอนต์ ไม่ว่าจะฟอนต์ไหน คงไม่ได้อาศัยแค่ฟอนต์อย่างเดียว ต้องอยู่ที่ความชำนาญและวิธีการใช้งานของผู้พิมพ์ด้วย"
ฉะนั้น ผมจึงไม่อยากทำหลายแหลกแปลกแนว เพราะคนส่วนมากจะยึดติดเอาของเดิมๆที่เคยเห็นคุ้นตาเป็นต้นฉบับเดิมอยู่แล้ว

ส่วนตัว PE.4 นั้น เป็นแบบประยุกต์ลูกเล่นครับ เพื่อเพิ่มให้สนุกและให้เป็นศิลปะน่าสนใจมากขึ้นจะต้องมีชนกันอยู่แล้ว เพราะมัน
ปกติธรรมดาเสียที่ไหน จู่ๆก็เอาคำมายำมัดรวมกัน  ผมกลับมาดูแล้วยังอดขำตัวเองไม่ได้ และนึกภูมิใจตัวเองว่า
"ฝีมือเข้าขั้นเหมือนกันน่ะเรา" (ขั้นบ้า)

เพิ่มเติม วิธีใช้งาน





มาวิเคราะห์กันสักนิดหนึ่งดีกว่านะครับ
ในที่นี้ผมจะขอยกตัวอย่างสมุดบันทึกเล่มหนึ่งที่อยู่ในท้องถิ่นบ้านเกิดผม อำเภอเมือง เชียงราย (อุตส่าห์ลงทุนตั้ง 12 บาท กับสลึงหนึ่ง)

วิเคราะห์ลายมือ และวิธีเขียนคาถา "ส้มป่อยหลวง"  ย้อนไปในปี 2529 เมื่อ 34 ปี ก่อน
(ครั้งที่ผมยังมีความเชื่อเรื่องไสยาศาสตร์ ยืดถือสิ่งเหล่านี้อยู่) ลายมือพริ้วไหวดั่งสายน้ำ (อันบน)ขอชม เพราะตอนนี้ไม่อยู่แล้ว
หากเป็นลายมือเขียน จะสะบัดพริ้ว ยังไงก็ได้ ยังพอกะหาที่หลบได้อยู่  แต่ถ้ามาทำเป็นตัวพิมพ์แบบนี้ ก็คงไม่ไหว (นินทาลับหลัง)
หมายเลข 1-2-3-5-6-8 ท่านเขียนตามความเข้าใจ คือคำว่า แก่กู-โอม-อยู่บน-บัดนี้-มาเกิด-สระเกล้า
แต่ท่านเขียนเป็น แกล่กู-อม-บล-บัต-เกิต-เก้า ท่านคงอยากจะเขียนให้มันศักดิ์สิทธิ์ออกไปในทางภาษาบาลีที่มีตัวสะกด
แต่ถ้าหากผมเขียน ผมจะเทียบตามคำไทย+บาลีสันสกฤต เช่น คำว่าโอม เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง อ อุ ม
พระพรหม-พระศิวะ-พระวิษณุ  หากเป็นของไทย จะใช้คำว่า อิ สฺวา สุ (แต่ในที่นี้ ท่านเขียนเป็น "อม")
หมายเลข 4-7 เป็นการนิยมเขียนของคนแถวนี้ ตรง ก. ไก่ เขาจะใส่เครื่องหมายการันต์สะกดเอาไว้
เพื่อกันไปซ้ำกับคำบาลี กลัวว่าจะออกเสียงไปด้วย แต่ตัวอื่นในลักษณะเดียวกัน ไม่เห็นใส่

เทียบกันกับอันนี้ จากเชียงใหม่

หมายเลข 1 เขียนไม่เหมือนกัน อันบน ทางบ้านผมจะใส่ระห้าม
หมายเลข 2 ทางบ้านผม ไม่มี อ. อ่าง และไม่ใส่ ไม้เอก
หมายเลข 3 ทางบ้านผม ใช้ อ.อ่าง ทั้ง 2 แบบ
หมายเลข 4 คำว่า เยี๊ยะ (ทำ) ทางบ้านผมออกเสียง ย๊ะ จึงไม่ใส่ เ-และหาง ย

นี่ขนาดว่าเชียงราย-กับเชียงใหม่ ที่มีอาณาเขตติดต่อกัน ใช้ภาษาเดียวกัน แต่เขียนไม่ค่อยเหมือนกัน
หากเป็นกลุ่มชนอื่นๆแล้ว วิธีการพูดการเขียนก็จะแตกต่างกันออกไปอีกมากมาย ไม่นับทั้ง 9 จังหวัดภาคเหนือ
นั่นเพราะ วิธีการใช้ภาษา บางอย่าง มันจำกัดอยู่ในท้องถิ่น ไม่ได้ขยายออกไปกว้างไกลเหมือนภาษาไทยกลาง
ที่เขามีตำราหนังสือเรียน ครูอาจารย์ผู้สอน เป็นแบบเดียวกันทั่วราชอาณาจักร แถมยังมีราชบัณฑิตยสถาน
เป็นผู้กำหนดภาษาการใช้คำต่างๆ เพื่อให้ใช้ได้ความหมายเป็นอย่างเดียวกันทั้งหมดไม่ผิดแผกจากกัน
ต่างจากภาษาล้านนา หรือภาษาเก่าแก่อื่นๆ ที่ใช้กันคนละที่คนละช่วงเวลาอายุ คนละตำราครูบาอาจารย์
เพราะคนเราส่วนมากจะเชื่อมั่นยึดถือคำภีร์ตำราครูบาอาจารย์ของตนว่าถูกเสมอไว้ก่อน นั่นเอง



ถามว่า ใครเขียนผิด-เขียนถูก หากเข้าใจ เนื้อหาความหมาย และทำได้แบบที่เขียนตามนั้น ไม่มีใครผิด-ใครถูก
เพราะอักขระอักษรที่เห็น เป็นเพียงสื่อสัญลักษณ์ บอกแทนความหมายให้ตรงกับการกระทำเท่านั้น
ถ้าอย่างนั้น ก็คงไม่มีคัมภีร์ไร้อักษร  แต่เราว่ากันไปตามสมมุติโลก สมมุติภาษาเท่านั้น มันก็เหมือนกับ
ประเพณีพิธีกรรมแบบชาวโลกทั่วไปนั่นแหละ เชื่อมั่นยึดถือกันคนละอย่าง แล้วแต่อุปทานของแต่ละคนแต่ละที่
แต่ละแห่ง จะเอาความเชื่อของเราที่นี่ ไปยัดเยียดให้เขาเชื่อตามแบบเราที่โน้น ทั้งที่เขาก็มีความเชื่อของเขาต่างหาก



อันนี้เราไม่ได้มาหาเรื่องทะเลาะ คัดง้างกันนะครับ แต่มาวิเคระาห์หารือเพื่อการอะลุ่มอล่วย ปรับความคิดเห็นกันเท่านั้น
ส่วนพรีเซนต์ที่ผมทำ ก็ต้องมีจุดที่ผิดบ้างหละ ให้ถูกทั้งหมด มัน...คง...เป็นไปไม่ได้



ขอขอบคุณ ตามนั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 ส.ค. 2020, 20:45 น. โดย พอ จะ นะ » บันทึกการเข้า
เข้าใจครับ แค่ได้พูดคุยก็ทำให้เข้าใจแนวคิดของคนทำได้ดีมากขึ้น จะรอติดตามผลงานนะครับ



ฟอนต์นี้สวยครับ ดูเป็นมาตรฐานการพิมพ์ เรียบร้อย อ่านสบายตา เนื้อหาก็คมคาย คนละแนวกับแบบฟอนต์ของผมเลย
(แบบเรียบร้อยผมก็ทำไว้อยู่ แต่ยังไม่ได้ลงเพลต)

ส่วนฟอนต์อักขราชุดนี้ ตามที่บอกไว้นั่นแหละครับ ว่าเป็นฟอนต์ลูกเล่น ประยุกต์เข้ากับสมัยใหม่ เป็นแนวสะบัดพู่กัน โครงสร้าง
จะหนากว่าฟอนต์ตัวเมืองอื่นๆ ไม่ค่อยเหมาะสำหรับการพิมพ์ข้อความเยอะๆ เพราะมองดูไกลๆเห็นติดกันบ้าง  (เพราะความหนา
และเล่นหาง) ทีผมทำตัวอย่างให้ดู เป็นเพียงการแสดงให้เห็นถึงภาพโดยรวมของตัวอักษรเท่านั้น ว่าดูออกไปในแนวทางที่ต้อง
การหรือไม่ และตรวจเช็คความกลมกลืนเข้ากันได้กับคำอื่นๆ เป็นฟอนต์ทางเลือกเฉพาะงานไม่ทั่วไป แล้วแต่คนนำไปใช้ นะครับ
แต่ผมทดลองใช้ด้วยตัวเองแล้ว ดังที่เสนอตัวอย่างไว้ด้านบน มีการปรับแต่งตัวอักษรหลายครั้ง หลายตัว เพื่อจะหลบเลี่ยงการชนกัน
จนดูสมูทลื่นไหล เช่นคาถาชินบัญชร ผมใช้งานจริง จะมีที่ชนกัน2-3 ตัว  เพราะเลี่ยงไม่ได้จริงๆ หากพิมพ์คำธรรมดาทั่วไป จะไม่มี
ปัญหามาก แต่ถ้าเป็นคำยากๆจะมีบ้าง เพราะส่วนมากตัวยากๆ ไม่ค่อยได้ใช้กันเยอะ ผู้ใช้ต้องชำนาญ ปรับแต่งเองได้  แต่เราออก
แบบเน้นเอาคำที่ใช้งานง่ายไว้ก่อน เพราะถ้าวาง ตำแหน่งหลบตัวซ้อนยากๆแล้ว ก็จะมีปัญหากับคำปกติทั่วไปที่ใช่บ่อย
ซึ่งแป้นคีย์บอร์ดจำกัด ไม่พอรองรับกับพยัญชนะของฟอนต์ตัวเมืองที่มีมากกว่าภาษาไทย ไม่พอที่จะใส่หลบเพิ่มตัวเหล่านั้น

"การพิมพ์ฟอนต์ ไม่ว่าจะฟอนต์ไหน คงไม่ได้อาศัยแค่ฟอนต์อย่างเดียว ต้องอยู่ที่ความชำนาญและวิธีการใช้งานของผู้พิมพ์ด้วย"
ฉะนั้น ผมจึงไม่อยากทำหลายแหลกแปลกแนว เพราะคนส่วนมากจะยึดติดเอาของเดิมๆที่เคยเห็นคุ้นตาเป็นต้นฉบับเดิมอยู่แล้ว

ส่วนตัว PE.4 นั้น เป็นแบบประยุกต์ลูกเล่นครับ เพื่อเพิ่มให้สนุกและให้เป็นศิลปะน่าสนใจมากขึ้นจะต้องมีชนกันอยู่แล้ว เพราะมัน
ปกติธรรมดาเสียที่ไหน จู่ๆก็เอาคำมายำมัดรวมกัน  ผมกลับมาดูแล้วยังอดขำตัวเองไม่ได้ และนึกภูมิใจตัวเองว่า
"ฝีมือเข้าขั้นเหมือนกันน่ะเรา" (ขั้นบ้า)

เพิ่มเติม วิธีใช้งาน





มาวิเคราะห์กันสักนิดหนึ่งดีกว่านะครับ
ในที่นี้ผมจะขอยกตัวอย่างสมุดบันทึกเล่มหนึ่งที่อยู่ในท้องถิ่นบ้านเกิดผม อำเภอเมือง เชียงราย (อุตส่าห์ลงทุนตั้ง 12 บาท กับสลึงหนึ่ง)

วิเคราะห์ลายมือ และวิธีเขียนคาถา "ส้มป่อยหลวง"  ย้อนไปในปี 2529 เมื่อ 34 ปี ก่อน
(ครั้งที่ผมยังมีความเชื่อเรื่องไสยาศาสตร์ ยืดถือสิ่งเหล่านี้อยู่) ลายมือพริ้วไหวดั่งสายน้ำ (อันบน)ขอชม เพราะตอนนี้ไม่อยู่แล้ว
หากเป็นลายมือเขียน จะสะบัดพริ้ว ยังไงก็ได้ ยังพอกะหาที่หลบได้อยู่  แต่ถ้ามาทำเป็นตัวพิมพ์แบบนี้ ก็คงไม่ไหว (นินทาลับหลัง)
หมายเลข 1-2-3-5-6-8 ท่านเขียนตามความเข้าใจ คือคำว่า แก่กู-โอม-อยู่บน-บัดนี้-มาเกิด-สระเกล้า
แต่ท่านเขียนเป็น แกล่กู-อม-บล-บัต-เกิต-เก้า ท่านคงอยากจะเขียนให้มันศักดิ์สิทธิ์ออกไปในทางภาษาบาลีที่มีตัวสะกด
แต่ถ้าหากผมเขียน ผมจะเทียบตามคำไทย+บาลีสันสกฤต เช่น คำว่าโอม เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง อ อุ ม
พระพรหม-พระศิวะ-พระวิษณุ  หากเป็นของไทย จะใช้คำว่า อิ สฺวา สุ (แต่ในที่นี้ ท่านเขียนเป็น "อม")
หมายเลข 4-7 เป็นการนิยมเขียนของคนแถวนี้ ตรง ก. ไก่ เขาจะใส่เครื่องหมายการันต์สะกดเอาไว้
เพื่อกันไปซ้ำกับคำบาลี กลัวว่าจะออกเสียงไปด้วย แต่ตัวอื่นในลักษณะเดียวกัน ไม่เห็นใส่

เทียบกันกับอันนี้ จากเชียงใหม่

หมายเลข 1 เขียนไม่เหมือนกัน อันบน ทางบ้านผมจะใส่ระห้าม
หมายเลข 2 ทางบ้านผม ไม่มี อ. อ่าง และไม่ใส่ ไม้เอก
หมายเลข 3 ทางบ้านผม ใช้ อ.อ่าง ทั้ง 2 แบบ
หมายเลข 4 คำว่า เยี๊ยะ (ทำ) ทางบ้านผมออกเสียง ย๊ะ จึงไม่ใส่ เ-และหาง ย

นี่ขนาดว่าเชียงราย-กับเชียงใหม่ ที่มีอาณาจักรติดต่อกัน ใช้ภาษาเดียวกัน แต่เขียนไม่ค่อยเหมือนกัน
หากเป็นกลุ่มชนอื่นๆแล้ว วิธีการพูดการเขียนก็จะแตกต่างกันออกไปอีกมากมาย ไม่นับทั้ง 9 จังหวัดภาคเหนือ
นั่นเพราะ วิธีการใช้ภาษา บางอย่าง มันจำกัดอยู่ในท้องถิ่น ไม่ได้ขยายออกไปกว้างไกลเหมือนภาษาไทยกลาง
ที่เขามีตำราหนังสือเรียน ครูอาจารย์ผู้สอน เป็นแบบเดียวกันทั่วราชอาณาจักร แถมยังมีราชบัณฑิตยสถาน
เป็นผู้กำหนดภาษาการใช้คำต่างๆ เพื่อให้ใช้ได้ความหมายเป็นอย่างเดียวกันทั้งหมดไม่ผิดแผกจากกัน
ต่างจากภาษาล้านนา หรือภาษาเก่าแก่อื่นๆ ที่ใช้กันคนละที่คนละช่วงเวลาอายุ คนละตำราครูบาอาจารย์
เพราะคนเราส่วนมากจะเชื่อมั่นยึดถือคำภีร์ตำราครูบาอาจารย์ของตนว่าถูกเสมอไว้ก่อน นั่นเอง



ถามว่า ใครเขียนผิด-เขียนถูก หากเข้าใจ เนื้อหาความหมาย และทำได้แบบที่เขียนตามนั้น ไม่มีใครผิด-ใครถูก
เพราะอักขระอักษรที่เห็น เป็นเพียงสื่อสัญลักษณ์ บอกแทนความหมายให้ตรงกับการกระทำเท่านั้น
ถ้าอย่างนั้น ก็คงไม่มีคัมภีร์ไร้อักษร  แต่เราว่ากันไปตามสมมุติโลก สมมุติภาษาเท่านั้น



อันนี้เราไม่ได้มาหาเรื่องทะเลาะ คัดง้างกันนะครับ แต่มาวิเคระาห์หารือเพื่อการอะลุ่มอล่วย ปรับความคิดเห็นกันเท่านั้น
ส่วนพรีเซนต์ที่ผมทำ ก็ต้องมีจุดที่ผิดบ้างหละ ให้ถูกทั้งหมด มัน...คง...เป็นไปไม่ได้



ขอขอบคุณ ตามนั้น
บันทึกการเข้า
ลองดูอีกสักตัวอย่างหนึ่ง



ตามประวัติหมู่บ้านที่บันทึกไว้ ชาวบ้านอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน มาจาก อำเภอ สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ในปีพุทธศักราช ๒๔๖๐
(นับมาถึงปัจจุบันได้ ๑๐๓ ปี) มาตั้งรกรากปักฐาน ที่บ้านหนองบัวแดง จังหวัดเชียงราย ครอบครัวรุ่นปู่ผม ก็เป็นหนึ่งในนั้น
อันนี้เป็นลายมือจากพ่อผม บ้านหนองหวาย สันป่าตอง เชียงใหม่



ลองเปรียบเทียบวิธีการเขียนดูนะครับ ส่วนที่เป็นตัวพิมพ์มาในภายหลัง คนทำก็พิมพ์ตามแบบที่แต่ละคนเขาเขียนกัน
อันนี้เป็นรูปแบบชาวบ้าน แต่ถ้าหากเป็นหัวเมืองราชสำนักสมัยก่อน เขามีนักปราชญ์ราชบัณฑิต เช่นโหราจารย์ในรั้ว
ในวัง คิดว่าการเขียนเขาจะได้มาตรฐานดีกว่าชาวบ้านเป็นแน่

ใครมีพับสาหนังสือตำราปั๊กตืนใบลาน แบบที่คนโบราณเขาเขียนกันไว้ ลองมาดูเปรียบเทียบความแตกต่างกันได้
เราเพียงนำมาศึกษาวิถีอัตลักษณ์ในแต่ละแห่งเท่านั้น

     ด้วยทาง SP-FONT ในฐานะผู้ออกแบบสร้างสรรค์ฟอนต์ มีสิทธิ์ที่จะนำเสนอวิธีแนวคิด การใช้ แสดงตัวอย่าง
ส่วนท่านที่เข้ามาดู ถือว่าเป็นผู้มีเกียรติ สามารถสนับสนุนส่งเสริม ให้กำลังใจ แนะนำทักท้วง จุดที่บกพร่องผิดพลาด
พลั้งเผลอ เพื่อการปรับปรุงแก้ไขไปในทางที่ดี แต่ไม่ควรเข้ามาในลักษณะโอ้อวดภูมิความรู้ ยกตนข่มท่าน
หรือเอาความเชื่อความรู้ความเห็นส่วนตัว มาวินิจฉัย เป็นบรรทัดฐานในการตัดสินผลงานผู้สร้างสรรค์
ให้มีทัศนวิสัย ทำใจเป็นกลาง อยู่ในฐานะอันสมควรแก่มารยาทนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ส.ค. 2020, 14:02 น. โดย พอ จะ นะ » บันทึกการเข้า
มองโลกย่างที่มันเป็น...ไม่ใช่อย่างที่เราอยากให้เป็น
วิวัฒนาการ ระหว่าง อักษรไทย กับอักษรล้านนา



     ภาษาล้านนา ไม่ได้ใช้เป็นภาษากลางของประเทศไทย จะมีเพียงภาคเหนือตอนบนเท่านั้น ปัจจุบัน การพูดก็เริ่มหันมาใช้ภาษาไทยกันมากขึ้น
ยิ่งเป็นภาษาเขียนด้วยแล้ว แม้แต่เจ้าของถิ่นกำเนิดเองก็ตาม   ก็ยังหาคนที่อ่านออกเขียนได้น้อยลงไปทุกที  (อันนี้ต้องยอมรับความจริง)
    ฉะนั้น วิวัฒนาการด้านอักขระอักษร จึงแตกต่างจากภาษาไทย ที่ใช้พูด-เขียนกันทั้งประเทศ ดังจะเห็นได้จากภาพตัวอย่าง ที่ภาษาไทย มีการ
ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปตามกาลเวลาแลยุคสมัย  สอดคล้องเข้ากันได้กับเทคโนโลยีสมัยใหม่  ให้เป็นระบบสากลมากขึ้นในปัจจุบัน

จะให้คนในสมัยพ่อขุนราม มาอ่านตัวหนังสือในยุคนี้ คงไม่ออก เหมือนกัน ที่จะให้คนในสมัยนี้ ไปอ่านตัวหนังสือในสมัยพ่อขุนราม ก็ยัง งง งวย

    หากสมมุติว่า ภาษาล้านนา ของอาณาจักรล้านช้าง มีการใช้เป็นภาษากลางกันทั้งสยามแล้ว ก็จะมีการพัฒนาติดต่อ  ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
รูปแบบ ให้เข้ากับยุคสมัยใหม่เช่นเดียวกัน ดังตัวอย่างที่สมมุติแสดงเอาไว้

จะให้คนในยุคล้านช้าง มาอ่านตัวหนังสือในยุคนี้ คงไม่ออก เหมือนกัน ที่จะให้คนในสมัยนี้ ไปอ่านตัวหนังสือในสมัยล้านช้าง ก็ยัง งง งวย

ฉะนั้น ภาษาล้านนา จึงไม่ได้เป็นเหมือนอย่างภาษาไทย เพราะขาดช่วงการปรับปรุงติดต่อกัน รูปแบบของตัวอักษร ก็เลยมีน้อยตามลงไป

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 ก.ย. 2020, 10:50 น. โดย พอ จะ นะ » บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!