หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ฟอนต์ ศรีสัปปัญ  (อ่าน 12796 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
สรียินดีต้อนรับ


ฟอนต์ไทยสไตล์ล้านนา ตำรับที่ 3 SP-Si sappan ศรีสัปปัญ



เป็นการประดิษฐ์ตกแต่ง ต่อเติมเสริมลวดลายลงไปในตัวอักษร



ฟอนต์ชุดนี้ ผมแก้ไขมาเยอะเลย เริ่มตั้งแต่ลดขนาดที่ใหญ่เกิน ปรับให้เล็กลง แล้วจัดเรียงเข้าไปในเทมเพลตใหม่
แก้หางสระ พยัญชนะที่เกินเลย โดยเฉพาะ สระ อิ อี อึ อื ไม้ เอก โท ตรี จัตวา ไต่คู้ การันต์ .......................ฯลฯ

เนื่องจาก ตอนแรกตัวมันใหญ่ พอใส่วรรณยุกต์บนเข้าไป มันไม่พอ ก็เลยต้องบีบตัวบนให้ลดสั้นลงจนแบน จนไปถึงห้ว
สระ ไ โ ใ  และคำว่า นาฬิกา เป็นเพราะผมทำหาง ฬ. สูงเกินไป มันเลยไปชนกับ สระอิ  
ส่วนไม้หันอากาศ กับไม้โท ก็ปรับแต่งหางใหม่  เพื่อจะให้ดูแตกต่างกันออกไป
พอปรับตัวหนังสือให้ลดลง ก็เลยมีเนื้อที่ว่างสำหรับหาง สระ อิ อี อึ อื ให้ได้ยืดอกโชว์กับเขาได้



ภาพเปรียบเทียบ ขนาดตัวอักษรที่ก่อนหน้า และหลังปรับลดลงแล้ว






ทดสอบสระ-พยัญชนะ ฟอนต์ ศรีสัปปัญ ที่แก้ไขล่าสุด







ฟอนต์ที่เราท่านได้เห็นกัน มีมากมายหลายตัว เดิมทีก็คงมีแค่ไม่กี่แบบ เมื่อก่อน ก็มีคนจำแนกไว้เพียง 4 แบบ
คือ 1.ตัวอาลักษณ์ 2.ตัวริบบิ้ล 3.ตัวราชการ 4.ตัวประดิษฐ์ แต่มาปัจจุบันวันนี้ มีหลากหลาย ก็ล้วนแตกขยาย
ขจรกระจายออกมาจากตัวเดิมที่มีไม่กี่ตัว  ปัจจุบันอาจจะเพิ่มตัวลายไทย ตัวลายมือ และ...........เข้ามาอีกก็ได้

ผมได้จดบันทึกข้อมูลไว้เล็กน้อย เมื่อประมาณ 25 ปีก่อน ไม่ทราบผู้เขียน ขออภัยจำไม่ได้ มีเนื้อความว่า
มนุษย์ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น โดยวิวัฒนาการมาจากภาพสัญลักษณ์ในผนังถ้ำ
อักษรไทย เริ่มมีมาในสมัยสุโขทัย ปี พ.ศ. 1826 หรือประมาณ 740 กว่าปี (ที่จริงอาจมีมานานกว่านี้ก็ได้)
โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ดัดแปลงมาจากอักษรขอม และมอญโบราณ (ในเน็ตมีข้อมูลเยอะกว่า)

1.ตัวอาลักษณ์ คือตัวไทยรุ่นแรกๆ มักจะเป็นหัวเหลี่ยมรีๆ


2.ตัวริบบิ้ล เป็นตัวตัดหัวออกไป หรือตัวหัวตัด จึงไม่มีหัว เหมือนตัวแรก (แบบฉบับของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์)


3.ตัวราชการ จะมีรูปร่างแบบสากล เป็นฟ้อนต์มาตรฐาน เหมือนของฝรั่งเขา เรียบร้อย อ่านง่าย ดูดีเป็นทางการ


4.ตัวประดิษฐ์ จะเป็นแบบเพิ่มเติม ตกแต่ง ให้เกิดลักษณะแทนเรื่องราวสื่อถึงความหมายต่างๆ


ตัวอย่างการใช้งานฟอนต์ ศรีสัปปัญ









ขอบคุณทุกท่าน ที่เข้ามา แนะนำติชม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 ส.ค. 2020, 19:11 น. โดย พอ จะ นะ » บันทึกการเข้า
อลังมากๆ ครับตัวนี้ เชื่อเลยว่าป้ายงานวัดต่อไปใช้กันเต็มแน่ ไหว้
ถ้าเป็นจุดสังเกตก็สระบนครับ เช่น อี อื (ลองดูคำว่ากลืน) จะมองเป็นสระอึได้ทั้งคู่เลยครับ
รวมถึงไม้โทด้วย มองเป็นไม้หันอากาศครับ

จะเป็นคล้ายๆ ฟอนต์ก่อนหน้าครับที่งาน decorate มันซับซ้อนแล้วทำให้บางตัวดูเหมือนเป็นการตกแต่งแทนที่จะเป็นฟอังก์ชันของมันจริงๆ
นอกนั้นก็จะมีเครื่อง kerning เช่นตรงคำว่า เว เร ไว สังเกตว่าช่องไฟจะห่างกว่าปกติ จัดชิดเพิ่มจะเนียนขึ้นครับ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
แอบเม้นตัวเมือง .. ผมหาไม่เจอต้องเขียนยังไง??

อ่านจากคู่มือด้านล่าง..  เขียนได้แล้วครับ (ตั๋วป๊ะหลวง)



ขอบคุณมากครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 ก.ค. 2019, 07:37 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า
ขอบคุณ คุณแอนมากนะครับ ที่ชี้จุดบกพร่องให้ สมกับเป็นผู้มีทัศนวิสัย กว้างไกล ไหว้ (คงไม่ชมเกินไปนะครับ)
ผมแก้ไขตามที่เห็นสมควรแล้ว พร้อมทั้งข้อความพรีเซ้นต์ต่างๆ ยังไงค่อยว่ากันไปอีกที
บันทึกการเข้า
อื้อหือออออออ   โห กรี๊ดดดดด เจ๋ง
บันทึกการเข้า

สรียินดีต้อนรับ


ฟ้อนต์ไทยสไตล์ล้านนา สายพันธุ์ 3 SP-Si sappan ศรีสัปปัญ



ตัวนี้เป็นแบบไทยสไตล์ล้านนา ชุดที่ 3  โดยตั้งชื่อว่า SP-Si sappan ศรีสัปปัญ

สำหรับ ชื่อฟ้อนต์ ก็ออกมาทางล้านนาเช่นเดิม คงไม่สาธยายหลายความ   เดี๋ยวจะเบื่อกันเสียก่อน

ฟ้อนต์ที่เราท่านได้เห็นกัน มีมากมายหลายตัว เดิมทีก็คงมีแค่ไม่กี่แบบ เมื่อก่อน ก็มีคนจำแนกไว้เพียง 4 แบบ
คือ 1.ตัวอาลักษณ์ 2.ตัวริบบิ้ล 3.ตัวราชการ 4.ตัวประดิษฐ์ แต่มาปัจจุบันวันนี้ มีหลากหลาย ก็ล้วนแตกขยาย
ขจรกระจายออกมาจากตัวเดิมที่มีไม่กี่ตัว  ปัจจุบันอาจจะเพิ่มตัวลายไทย ตัวลายมือ และ...........เข้ามาอีกก็ได้

ผมได้จดบันทึกข้อมูลไว้เล็กน้อย เมื่อประมาณ 25 ปีก่อน ไม่ทราบผู้เขียน ขออภัยจำไม่ได้ มีเนื้อความว่า
มนุษย์ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น โดยวิวัฒนาการมาจากภาพสัญลักษณ์ในผนังถ้ำ
อักษรไทย เริ่มมีมาในสมัยสุโขทัย ปี พ.ศ. 1826 หรือประมาณ 740 กว่าปี (ที่จริงอาจมีมานานกว่านี้ก็ได้)
โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ดัดแปลงมาจากอักษรขอม และมอญโบราณ (ในเน็ตมีข้อมูลเยอะกว่า)

1.ตัวอาลักษณ์ คือตัวไทยรุ่นแรกๆ มักจะเป็นหัวเหลี่ยมรีๆ


2.ตัวริบบิ้ล เป็นตัวตัดหัวออกไป หรือตัวหัวตัด จึงไม่มีหัว เหมือนตัวแรก (แบบฉบับของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์)


3.ตัวราชการ จะมีรูปร่างแบบสากล เป็นฟ้อนต์มาตรฐาน เหมือนของฝรั่งเขา เรียบร้อย อ่านง่าย ดูดีเป็นทางการ


4.ตัวประดิษฐ์ จะเป็นแบบเพิ่มเติม ตกแต่ง ให้เกิดลักษณะแทนเรื่องราวสื่อถึงความหมายต่างๆ


ส่วนฟ้อนต์  SP-Si sappan ศรีสัปปัญ ที่กำลังนำเสนออยู่ ณ เพลานี้ อาจจะไม่เข้ากับกลุ่มอักษรที่ว่าเบื้องต้น
เป็นการประดิษฐ์ตกแต่ง ต่อเติมเสริมลวดลายลงไปในตัวอักษร




ทดสอบสระ+พยัญชนะ ใน Woed 2010-1


ทดสอบสระ+พยัญชนะ ใน Woed 2010-2


ทดสอบสระ+พยัญชนะ ใน  PS CC 2015


ทดสอบสระ+พยัญชนะ ใน AI CS6








หากเป็นปัญหาเรื่องหางสระ-พยัญชนะชนกัน ผมก็พยามยามหลบหลีกหวีกเว้นเต็มที่ บางตัวลดลง ทำให้ไม่สวย
ตัดหางออก ก็ดูหุ้นๆด้วนๆ ไม่เข้ากันลักษณะลวดลายสไตล์ไทยๆ อาจจะมีปัญหาเรื่องการพิมพ์ข้อความยาวๆ
จึงไม่เหมาะกับข้อมูลตัวพิมพ์เยอะๆ คงไม่มีใครมาเสียเวลามานั่งปรับแต่ง เป็นผมก็ไม่เอาเช่นกัน จะเสียเวลา

แต่สำหรับงานตกแต่งขึ้นพาดหัว อาร์ตเวิร์ค งานเน้นจำเพาะตัวอักษรแล้ว สำหรับมือกราฟฟิคทั้งหลายทั้งปวง
นับว่าสบายใจหายห่วง เพราะต้องมีการปรับแต่งตัวหัวขนาด ใส่สีสัน เอฟเฟคกันสุดมัน  ก็อยู่ที่การใช้งานครับ

เปรียบเทียบข้อความอักษรที่ปกติ และที่ปรับแต่ง


เมื่อพิมพ์ตามปกติ จะไม่ได้รูปแบบดังที่เราต้องการ เพราะบางทีก็เป็นเรื่องจำกัดของข้อความ เช่นบทกลอนนี้
เราจึงต้องมีการปรับแต่งนิดหนึ่ง งานจึงจะออกมาพอดูดีได้





    ตอนที่ทดลองใช้งาน ผมก็ปรับแก้บ้างแล้ว เช่น สระอา ปลายมันชอบไปจิ้มตัวอื่น  ท. ทหารด้วย เดี๋ยวจะไปคล้าย ห.
หีบอีก แล้วก็มาหาง ง. งู  หางมันติดหัว แต่เมื่อคุณแอนมาทัก เออก็ใช่เลย เราดูไม่ทั่วนั่นเอง จึงสมควรแก้ไขเป็นอย่างยิ่ง





ตัว ร. และ เ แ ก็ทำอยู่หลายแบบ มองดูรวมๆ ดูมันบวมๆบุบๆยังไงไม่รู้ ก็ดัดไปดัดมา เอาจนที่พอใจ คิดว่าน่าจะลงตัวแล้ว



สระ เ แ ก็หักหางหลบลง เพื่อให้ช่องไฟดูไม่ห่างกันมากนัก แต่มองดูรวมๆ ไม่ได้เรื่อง เลยบากหัวย่นเข้า และดึงหางออกนิด
อาจจะดูเหินห่างไปนิด แต่เพื่อให้สระงดงาม ก็คงพอไปได้



ตัว ว. กับ ร. เป็นตัวที่ทำให้เกิดช่องไฟเยอะ เมื่อเทียบกับตัวอื่นที่จะลงตัวมากกว่า เพราะหัวที่หันมาชนกัน อยู่กันคนละซีกโลก

วรรณยุกต์บน ก็แก้ไขตรงหาง ที่ไปแหย่เขามั่ว  ยกเว้นไม้โท ทีแรกก็ดึงหัวขึ้น เพื่อจะได้ดูแตกต่างกับ ไม้หัน แต่ปรากฏว่า
จะไปชนกับ สระไอไม้ม้วน ซึ่งพี่แกก็แอบอยูบนสุดแล้ว เลยต้องหดลงมานิด หากดูผ่านรวมๆ หางจะทับกันไปหน่อย



ตัวนี้แหละ ที่ทำให้ต้องลงวินโดวส์ใหม่ นึกว่าทดลองฟ้อนต์ เซฟไปเซฟมา ทับถมกันไป โปรแกรมอาจจะรวน หรือ
ฟ้อนต์ในวินโดวส์ชนกัน เพราะแก้ยังไง มันก็ค้างอยู่ข้างบนเหมือนเดิม ไม่ยอมลง ลองเปลี่ยน Template  ดู ก็แล้ว
มึนตึ้บอยู่เป็นวัน กว่าจะลงเอย หยวนๆกันไป เอาเป็นว่าคนทำ รวนเสียเอง



สุดท้ายก็มาแก้ที่สระบน ก็ทำให้มันต่างกันออกไป จะได้ดูไม่สับสน



เดี๋ยวค่อยมาอัพฟ้อนต์ให้ทดลองกัน


ดูแล้วสระ วรรณยุกต์ลอยนะครับ จากทีดูในการทดสอบในโปแกรมต่างๆ ต้องใช้เทคนิค Ligature และ Kerning ครับ ไม่เกี่ยวกับวินโดว์หรือโปรแกรมรวนแต่อย่างใด
บันทึกการเข้า


คราวนี้มาเพิ่มเติมเนื้อหา ตามที่คุณ SOV เม้นมา เกี่ยวกับชื่อ ที่ไปที่มา อันเกี่ยวข้องกับภาษาล้านนา เผื่อมีท่านอื่นๆ ที่สนใจเพิ่ม
โดยส่วนตัวแล้ว ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ติดตาม  และชื่นชมผลงานของคุณ SOV  เป็นผู้ที่มีความคิด ละเอียดละออ ในการสร้างสรรค์
ทึ่งในความสามารถ สนใจศึกษาค้นคว้า เก็บเล็กผสมน้อย คนที่สนใจจริงๆ จึงหายาก มีน้อยลง  โดยเฉพาะอักขระภาษาโบราณ
ที่คนปัจจุบันละเลยไม่ได้สนใจกันแล้ว เพราะคัมภีร์ตำราพระไตรปิฎก แต่ละประเทศ ก็มีผู้รู้แปลมาเป็นภาษาของตนโดยเสร็จสรรพ
เราเลยสบาย ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ขาดแต่ปฏิบัติอย่างเดียว ไม่ต้องเสียเวลาไปศึกษารากศัพท์เดิมๆ
 
ขนาดว่าผมเป็นคนเจ้าถิ่นภาษาก็ตามเถอะ อาจจะยังสู้คนที่สนใจ มาศึกษาค้นคว้าไม่ได้ เพราะยิ่งนานวัน ทักษะการพูด เขียน
ก็ลดลงไป ความศรีวิไล ของยุคสมัยตะวันตกก็ทะลุทะลวงเข้ามาสู่ป่า ซึ่งความเจริญก็มาคู่กับความเสื่อม ต้องคอยปรับปรุงแล
พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง (เริ่มยึดยาวไป รีบหักมุมมา)

       ชื่อฟ้อนต์ที่ผมตั้งไว้ ศรีสัปปัญ ก็มีสื่อถึงความหมาย ถ้าเขียนให็ถูกต้องตามอักขระวิธีล้านนาก็ต้องเป็นตัว ศ ศาลา ตัวนี้



แต่ผมเขียนตามสำเนียงการออกเสียงและความนิยมของคนท้องถิ่นเก่า ซึ่งอักขระบางตัว เป็นตัวพิเศษ แล้วก็ยังมีตัว
พิเศษเพิ่มเติมขึ้นมาภายหลัง เพื่อให้รองรับกับภาษาบาลี ที่ศาสนพุทธเผยแพร่เข้ามา พร้อมกับการจารบันทึกพระไตร
ปิฏก เพื่อการออกเสียงสำเนียงให้ใกล้เคียงกัน


    ศรีสัปปัญ มาจากคำว่า ศรีสัพพัญญู สำนวนพื้นเมือง อ่านออกเป็น สะ-หรี-สัป-ปัน-ยู หมายถึงพระนาม นามหนึ่งที่คน
ทั่วไป หรือแม้แต่ศาสดาของลัทธิอื่น ต่างยกย่ององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าเป็นสัพพัญญู ผู้รู้แจ้งโลกสรรพสิ่งอย่าง

     คำนี้มาจากภาษาบาลี  สพฺพ=ทั้งหมด/ทุกอย่าง/ทั้งปวง +อญฺญู=ผู้รู้ มาจาก ญา ธาตุ แปลว่ารู้ ทำการสนธิสมาส
ตามหลักภาษาบาลีไวยากรณ์  เหมือนคำว่า ปริญญา วิญญูชน  ปราชญ์ ปรัชญา(สันสกฤต) ก็มีรากศัพท์ ธาตุ วิภัตติ
ปัจจัย อันเดียวกัน

ภาษาล้านนา จะเขียนตามเป็นสำเนียงการพูด เช่น ร ออกเสียงเป็น ฮ เช่น รัก เป็น ฮัก โรงเรียน เป็น โฮงเฮือน พ. ออก
เสียงเป็น ป .เช่น พี่ เป็น ปี้ แต่จะเหมารวมกันเป็นหลักไม่ได้ บางคำก็เป็นคำเฉพาะ แต่ละท้องถิ่นอาจจะ ผิดเพื้ยนกันไปได้
สำเนียงการผันวรรณยุกต์ ทางเชียงใหม่ก็จะออกต่ำ จนดูว่าพูดช้ามาก ขึ้นมาทางเชียงรายก็จะออกเสียงสูง จึงพูดไวกว่า

คำว่าศรี เป็นสันสกฤต บาลีคือ สิริ  ทางเหนือ ทางอีสาน เวลาเขาทำพิธีกล่าวขึ้นคำโอกาสงานต่างๆ เช่นบายศรีสู่ขวัญ ก็จะ
ขึ้นต้นคำว่าศรี นำหน้าก่อน
คำว่าสัพพัญ ก็ออกสำเนียงเป็น สัปปัญ ชาวบ้านเอาไปใช้ว่า สัปป๊ะ หรือ สะป๊ะสัปเป้ด  หมายถึง มีทุกสิ่งทุกอย่างในนั้น



ทุกคนต่างก็กินเหมือนกัน แต่ทำไมภาษาอักษรไม่เหมือนกัน  ทุกคนต่างก็อาบน้ำเหมือนกัน แต่ทำไมสะอาดขาวดำไม่เหมือนกัน
คราวหน้าจะนำนิทานตลกเกี่ยวกับภาษามาเล่าสู่กันฟัง

อักขระภาษาล้านนา หรือแม้แต่ภาษาขอม ก็ใช้อักขรวิธีไวยากรณ์เช่นเดียวกันกับภาษาบาลี มีตัวซ้อน ปัดล่าง ปัดบน (นิคคหิต)
มีคำพิเศษเฉพาะทีรู้กันเช่น



มีตัวย่อด้วย ร้ายกาจซะจริงๆ   เอ...อธิบายครบหรือยังหนอเรา

  มาทางหนังสือตำราเรียนกันบ้าง ผมก็ขุดกรุ ปัดกวาดหยากไย่ เพราะยกบูชาขึ้นหิ้งไป(สูงซะจนลืมเอื้อม)
เล่มนี้เป็นบรมครูของภาคเหนือเลยก็ว่าได้ ยุคประมาณปี34-36

หนังสือเรียน ของอาจารย์มหาอินสม ไชยชมภู (เปรียญธรรม7 อาจจำผิด) อดีตเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย



เล่มนี้ ของอาจารย์ ทวีเขื่อนแก้ว (เปรียญธรรม7)



และเล่มเล็ก



อันนี้เป็นลายมือของอาจารย์ผม สวยมาก หางพริ้ว ขอชม  ส่วนลายมือผม ไก่เขี่ยไม่ทันหรอก



ฟ้อนต์ไทย แต่ออกแนวล้านนา ที่มีผู้ทำไว้ ดูตัวอย่าง



ฟ้อนต์ที่ผมใช้ และคิดว่าสวยงามดูดี น่าใช้ที่สุด คือฟ้อนต์ LN_TILOK_V1_57.TTF ดิลก อาจมาจากคำว่าติโลกราช
ของศาสตราจารย์ ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี ซึ่งท่านสร้างมาเป็นตัวพิมพ์ยุคแรกของวงการ



โหลดฟ้อนต์  LN_TILOK_V1_57.TTF ดิลก ไม่รู้ว่าเขาเคยเอามาปล่อยให้โหลดใน ฟ้อนต์คอมหรือเปล่า
https://drive.google.com/file/d/1UYANWJtW6xwg9VnPOunO3ZnzIv5I_g4g/view?usp=sharing

แต่มีปัญหาในการใช้กับ โปรแกรม AI CS6 นอกนั้นใช้ได้ดี เพราะปัดหางไม่ได้ ผิดอักขระวิธี คงต้องอัพเดทใหม่
ส่วนรูปร่างอักษร เสียดายตรงหางสั้นไปไม่สวย อาจจะเป็นไฟต์บังคับในเรื่องการวางตัวพิมพ์ และไม้โท ตัวเขียน
เดิมจริงๆ ก็แค่ปัดหางขึ้น   เหมือนไม้หัน หรือไม้กังไหล   ใช้แบบเดียกัน ไม่มีหัวงอขึ้น    เขาคงจะทำขึ้นมาเพิ่ม
เพื่อจะได้แยกความแตกต่าง



   และก็ตำราเรียนจริงๆ  ฝากให้คุณ SOV ด้วยเผื่อเป็นทางเลือก ที่จะได้พัฒนาสานต่อสิ่งใหม่ๆ  โหลดตำราเรียน
https://drive.google.com/file/d/1yTaG45WgDlx1G-b-tOht7hfkCrPdRdlp/view?usp=sharing

ส่วนตัวล้านนาที่ผมทำไว้ แต่ยังไม่ได้ทำเป็นตัวพิมพ์





ส่วนตัวขอม ผมไม่ค่อนสันทัด



เอาแค่นี้ก่อนล่ะกัน ค่อนวันแล้ว ผมเป็นคนด้อยหลักการ หากไปยุ่งกับเรื่องคัมภีร์ตำราวิชาการมากๆ ก็จะมึนตึ๊บ เพราะมัน
ไปขัดแย้งกับหัวศิลปะ พวกอาร์ตติส คงจะเป็นกันแบบนี้ เพราะมัวแต่บิ้วอารมณ์ ใส่ใจกับการประดิษฐ์ประดอย เลยมอง
ข้ามวิชาการไป ทำให้ใจเขวออกไปจากศิลปะ

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยือน สวัสดี


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มิ.ย. 2019, 14:59 น. โดย พอ จะ นะ » บันทึกการเข้า
ผมจะลองใช้ Template ที่คุณ SOV แนะนำ มาลองกับฟ้อนต์ ชุดนี้อีกที
บันทึกการเข้า
ขอบคุณครับ ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้วววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววว (แจ๋ว แจ๋ว) (แจ๋ว แจ๋ว) (แจ๋ว แจ๋ว)
บันทึกการเข้า
ฟอนต์นี้ถ้าพิมพ์นาฬิกา ตัว ฬจะขยับชนกับสระอิ ครับ เหมือนวางตำแหน่งสลับกันนะครับ
บันทึกการเข้า

โชว์ห่วยฟอนต์ของผมครับ https://www.facebook.com/jjfontjames/
ขอบคุณครับ ได้แก้ไขเรียบร้อย
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!