หน้า: [1] 2
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ฟอนต์ธรรม ..ไม่ทำฟอนต์  (อ่าน 17114 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
        ฟอนต์ชุดนี้เป็นฟอนต์อักษรธรรม ที่ผมเลือกที่จะไม่ออกแบบฟอนต์ใหม่ขึ้นมา แต่ใช้ฟอนต์ที่มีผู้สร้างไว้ก่อนแล้ว จึงเป็นที่มาของคำว่า “ฟอนต์ธรรม ..ไม่ทำฟอนต์”   แล้วผมทำอะไร.. ผมขออนุญาตผู้สร้างฟอนต์เพื่อทำการดัดแปลงวิธีใช้งานฟอนต์ เพื่อให้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ของผมเองครับ  เช่น ผมอยากพิมพ์อักษรธรรมปาฬิภาสา(ภาษาบาลี) ให้สะดวก เหมือนตอนทำฟอนต์จารึกบาลี  และ/หรือ ผมอยากให้การพิมพ์อักษรธรรมสำหรับภาษาถิ่นทำได้ง่ายขึ้น และพิมพ์ด้วยแป้นพิมพ์ไทยเท่านั้น ซึ่งอาจจะแตกต่างจากวัตถุประสงค์ของผู้สร้างฟอนต์ที่ผมนำมาต่อยอดครับ

สรุปเลย
ฟอนต์ชุดนี้ ตอนนี้ ประกอบด้วย
   Pali_Khottabun   - ฟอนต์อักษรธรรมอีสาน (ธรรมลาว, ธรรมล้านช้าง) สำหรับพิมพ์ปาฬิภาสา ด้วยอักษรไทยพินทุ ดัดแปลงจาก ฟอนต์Khottabun ของคุณ Theppitak Karoonboonyanan
   Pali_Tilok   - ฟอนต์อักษรธรรมล้านนา (ตั๋วเมือง) สำหรับพิมพ์ปาฬิภาสา ด้วยอักษรไทยพินทุ ดัดแปลงจาก ฟอนต์ LN TILOK ของคุณ Pichai Saengboon
ทั้งสองฟอนต์เป็นออกแบบรองรับมาตรฐาน unicode อักษร Tai Tham ตามที่คุณ Theppitak Karoonboonyanan ได้ออกแบบไว้ ดังนั้นจึงสามารถพิมพ์ด้วยแป้น Tai Tham ได้อีกด้วย

ที่เหลือยาวมาก ไม่ต้องอ่านก็ได้



เกริ่นนำ
        เมื่อต้นปี ๒๕๖๒ ได้รับ ส.ค.ส เขียนข้อความอวยพรด้วยอักษรโบราณหลายยุค ในนั้นมี 2 ฟอนต์ที่ผมเคยทำไปแล้ว คือ อักษรไทยย่อ (ฟอนต์ไทยย่อ๒๒๗๙) และอักษรไทยตัวอาลักษณ์สมัยต้นรัตนโกสินทร์ (ฟอนต์จารึก) ลำดับถัดขึ้นไปอีกบรรทัดคือฟอนต์อักษรธรรมอีสาน.. นั่นแหละจุดเริ่มต้น



หลังจากเริ่มศึกษาข้อมูลใน internet ก็พบว่า ฟอนต์อักษรธรรมอีสาน มีคนทำไว้เยอะพอสมควรแล้ว ตั้งแต่ประมาณ 15-20 ปีก่อน แต่ด้วยอักษรธรรมนั้นมีจำนวนตัวอักษรมากกว่าอักษรไทยบนแป้นพิมพ์ จึงต้องใช้แป้นภาษาอังกฤษมาช่วย ผมเลยมาคิดว่าเราไม่จำเป็นต้องออกแบบใหม่ น่าจะขอนำฟอนต์ของท่านมาดัดแปลงเพื่อให้ใช้งานได้สะดวกขึ้นตามความสามารถของเทคโนโลยีฟอนต์ที่สมัยก่อนยังไม่มี
        เมื่อหาไปเรื่อยๆก็พบว่าประมาณ 10 ปีก่อนจึงมีการนำอักษรธรรมบรรจุใน unicode พร้อมกำหนดลำดับการพิมพ์ตัวอักษร และแน่นอนว่าแป้นพิมพ์ไทยก็จะใช้ไม่ได้ ต้องมีการออกแบบแป้นพิมพ์ใหม่ คือ Tai Tham (ณ ตอนที่เขียน OS ก็ยังไม่รองรับ ต้อง customize เอาเอง) และมีฟอนต์อักษรธรรมอีสานที่เป็น unicode แล้ว ก็คือฟอนต์ Khottabun นั่นเอง
        เสร็จโจร..อย่างงี้ผมก็น่าจะสบายเลย เพราะฟอนต์พร้อมทุกอย่างเหลือแค่.. ทำยังไงให้พิมพ์ไทย แล้วกลายเป็นอักษรธรรมได้ล่ะเนี่ยะ เอ่อ! เหลือแค่..

ลงมือทำ
        ใช่..แค่ลงมือทำ ผมก็เลยไปหาหนังสือที่สอนการเขียนอักษรธรรมอีสานมาอ่าน หาจากใน internet นี่แหละ มีแหล่งเยอะมาก ก็พอจะเห็นแววล่ะ อักษรธรรมนี่ มีความคล้ายอักษรขอมที่เคยทำไป มีตัวพยัญชนะชั้นบน ชั้นล่าง ก็เลยทำตารางจับคู่ ตัวอักษรไทย ไปเป็นอักษรธรรม เริ่มจาก ก ข ค ไปสระ วรรณยุกต์ ทั่วๆไปก็ได้อยู่แฮะ.. แววมา
        จากนั้นจึงไปขออนุญาตจากคุณ Theppitak Karoonboonyanan แจ้งวัตถุประสงค์ วิธีการทำ และส่งผลงานเก่าๆไปให้ดู (ส่งฟอนต์)  เมื่อได้รับอนุญาต จึงทำต่อ..
        จากนั้นติดแหงกอยู่อีก 3-4 เดือน ฟอนต์สำหรับปาฬิภาสาแป๊บเดียวเสร็จ แต่ภาษาถิ่นนี่สิ เจอปัญหาก็พวกตัวพิเศษเช่น ไม้กง (สระโอะลดรูป เช่น กด กบ) ไปไม่เป็นเหมือนกัน ก็มันลดรูปไปแล้ว จะมาเพิ่มรูปยังไง นอกจากนี้ยังมีอีกเพียบเรื่องการเขียนรูปสระที่ไม่เหมือนกับภาษากลาง ยังไม่นับคำย่อที่มีรูปพิเศษอีก ทั้งหมดทั้งหลายหมดไปกับการออกแบบให้ ยังใช้อักษรไทยโดยไม่ผิดหลักและพิมพ์ภาษาไทย แต่ต้องแสดงผลเป็นอักษรธรรมได้ถูกต้องด้วย (เอาไว้จะเล่าให้ฟังอีกที)
        สรุปง่ายๆก็คือ ยังทำฟอนต์อักษรธรรมอีสานภาษาถิ่นไม่สำเร็จ ..แต่ไม่เป็นไร ปล่อยฟอนต์ธรรมปาฬิภาสาก่อน ก็ได้ ส่วนใครที่อยากเขียนอักษรธรรมภาษาถิ่น คงต้องใช้แป้นพิมพ์ Tai Tham ไปก่อนนะจ๊ะ



อ้าว! แล้วฟอนต์ธรรมล้านนา มาตอนไหน
        คือพอทำฟอนต์เสร็จไประดับนึง ก็เริ่มส่งไปให้กัลยาณมิตรอักษรขอมของเราช่วยดู แต่ส่วนใหญ่ท่านจะไม่ถนัดนัก แต่ให้ความรู้ว่าอักษรกลุ่มนี้เป็นญาติพี่น้องกัน ถ้ารู้อันนึงอีกอันก็เรียนรู้ง่าย และบอกอีกว่าธรรมอีสานยังไม่ยากเท่าธรรมล้านนา เราก็เลยไม่กล้าไปแตะต้อง คิดว่าเดี๋ยวธรรมอีสานเสร็จก่อนค่อยว่ากัน
        พอฟอนต์ภาษาถิ่นเสร็จไปอีกระดับหนึ่ง ส่งฟอนต์ไปให้กัลยาณมิตรช่วยตรวจ ว่างนานเป็นเดือน เลยลองหาๆข้อมูลอักษรธรรมล้านนา ใน internet ดู เผื่อจะได้ข้อมูลให้คิดอะไรออก พบว่าตัวอักษรต่างกันไม่มาก แต่การเขียนการวางตำแหน่งของพยัญชนะของภาษาถิ่นต่างกันพอสมควร นี่ยังไม่นับการฝันเสียง การปริวรรตอักษรอีก ..โห ยังต้องศึกษาอีกเยอะ  แต่ถ้าเป็นปาฬิภาสา นี่น่าจะใช้ได้เลยนิ
        จากนั้นจึงไปขออนุญาตจากคุณ Pichai Saengboon แจ้งวัตถุประสงค์ และส่งผลงานเก่าๆไปให้ดู เมื่อได้รับอนุญาต จึงนำฟอนต์ TILOK มาใส่ในส่วน unicode แล้วปรับแก้ตารางจับคู่บางจุดที่ อักษรธรรมล้านนา และล้านช้างไม่เหมือนกัน



ทดสอบยังไง..ไม่มีตัวอย่าง
   การใช้สระอาในอักษรธรรม จะมีสระอาตัวสูงๆใช้กับพยัญชนะบางตัว ซึ่งเอกสารหลายเล่มเขียนไม่ตรงกัน ผมเองก็หาเอกสารอักษรธรรมอีสานใน internet ไม่เจอเลย โชคดีที่ผมไปเจอ e-mail ของอาจารย์ Sanit Phokhaphan จึงได้ไปขอคำปรึกษา จริงๆอาจารย์เป็นคนทำฟอนต์UBWMANUT (ต้นแบบของ Khottabun อีกที)  และบังเอิญกว่านั้นคือหลังจากนั้นไม่นาน โครงการพระไตรปิฎกสากล ชุดอักขะระชาติพันธุ์ไต พ.ศ. 2562 ก็ได้เผยแพร่เอกสารใน internet พอดี ผมจึงได้ใช้เป็นเอกสารอ้างอิงตรวจสอบได้ จนพอจะมั่นใจปล่อยฟอนต์ อาจจะมีผิดพลาดบ้าง แนะนำได้นะครับ

สรุปอีกรอบ
        คือช่วงที่ทำฟอนต์ธรรม มีหลายคนบอกว่าจะทำพระไตรปิฏกอักษรธรรมอีสาน ผมก็นึกถึงตอนที่ทำสมุดพระปาฏิโมกข์ พวกเราใช้วิธีนำพระปาฏิโมกข์ปาฬิภาสา อักษรไทยพินทุ จาก internet มาตั้งต้นแล้วก็เปลี่ยนเป็นฟอนต์ปาฏิโมกข์ ก็ได้เป็นพระปาฏิโมกข์ปาฬิภาสา อักษรขอม แล้ว จึงคิดจะทำฟอนต์อักษรธรรมปาฬิภาสา เพื่อช่วยให้ผู้ที่ต้องการจัดทำพระไตรปิฏกปาฬิภาสาอักษรถิ่นสามารถทำได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เพียงแค่มีต้นฉบับภาษาไทยทำการเปลี่ยนฟอนต์ก็เสร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว ที่เหลือก็เป็นการจัดรูปเล่มรูปแบบ web site หรือสื่ออื่นๆ


(พิมพ์ภาษาบาลีไทยแบบรูปนี้ แล้วก็เปลี่ยนฟอนต์ จะได้รูปข้างบน)

ขอบคุณครับ
ีuvSOV


download เพื่อทดสอบได้ที่นี่ ยินดีรับคำแนะนำนะครับ https://mega.nz/#!nJwAiAxa!uRFWoQUUDrf18TrYUUZOBK0CjAUh__5-frDzjCLOtWc
ส่วนคำแปลภาษาถิ่น ให้ใช้วิธีพิมพ์ตัว Tai Tham ไปก่อนนะครับ (ฟอนต์ธรรมภาษาถิ่นยังทำไม่เสร็จ..อีกน๊านนนนน)


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ส.ค. 2019, 15:59 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า
แยกเอา link ที่น่าสนใจ มาให้นะครับ เผื่อสนใจ

1. อักษรธรรมอีสาน / อักษรธรรมล้านนา  อันนี้ search จาก google ได้เลย มีหลาย website  อ่านเพื่อเข้าใจพื้นฐานของภาษาก่อน

2. สำหรับคนที่ศึกษาจนเข้าใจว่า อักษรธรรมนั้นเป็นอักษรตระกูลไต ซึ่งมีคนใช้อยู่ในหลายประเทศแถวบ้านเรา และสนใจดูตัวอย่างรูปแบบอักษร  
https://www.sajjhaya.org/node/59 (แต่เป็นภาษาบาลีเท่านั้น)
หรือ
https://www.youtube.com/user/ThaiEsan2/videos (มีทั้งความรู้ความบันเทิง)

3. เมื่อเข้าใจคำว่า tai tham unicode แล้วอยากจะลองพิมพ์
http://www.kengtung.org/download-font/  (download font ภาษาขืน และ keyboard ทั้ง PC, Mac, Mobile)
หรือ
https://www.unifont.org/keycurry/ (keyboard online สำหรับคนที่ไม่ต้องการ install ที่เครื่อง)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มิ.ย. 2019, 07:26 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า
พิมพ์ด้วย อักษรไทธรรม

ᨠᨲᨾᩮ ᨧᨲ᩠ᨲᩣᩁᩮᩣ ᨵᨾ᩠ᨾᩣ ᩋᨽᩥᨬ᩠ᨬᩮᨿ᩠ᨿᩣ ᪪
ᨧᨲ᩠ᨲᩣᩁᩥ ᩋᩁᩥᨿᩈᨧ᩠ᨧᩣᨶᩥ
ᨴᩩᨠ᩠ᨡᩴ ᩋᩁᩥᨿᩈᨧ᩠ᨧᩴ
ᨴᩩᨠ᩠ᨡᩈᨾᩩᨴᨿᩮᩣ ᩋᩁᩥᨿᩈᨧ᩠ᨧᩴ
ᨴᩩᨠ᩠ᨡᨶᩥᩁᩮᩣᨵᩮᩤ ᩋᩁᩥᨿᩈᨧ᩠ᨧᩴ
ᨴᩩᨠ᩠ᨡᨶᩥᩁᩮᩣᨵᨣᩤᨾᩥᨶᩦ ᨷᨭᩥᨷᨴᩤ ᩋᩁᩥᨿᩈᨧ᩠ᨧᩴ ᪪
ᩍᨾᩮ ᨧᨲ᩠ᨲᩣᩁᩮᩣ ᨵᨾ᩠ᨾᩣ ᩋᨽᩥᨬ᩠ᨬᩮᨿ᩠ᨿᩣ ᪪


พิมพ์ด้วย อักษรไทย

กตเม จตฺตาโร ธมฺมา อภิญฺเญยฺยา ฯ
จตฺตาริ อริยสจฺจานิ
ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ
ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ
ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ ฯ
อิเม จตฺตาโร ธมฺมา อภิญฺเญยฺยา ฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 ส.ค. 2019, 11:00 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า
ชื่อฟอนต์ ชุดฟอนต์อักษรธรรม

 ลิงก์ : https://www.f0nt.com/forum/index.php/topic,23855.0.html

 ข้อมูลการติดต่อ : https://www.facebook.com/worawut.thanawatanawanich

 ภาพตัวอย่าง :




 ภาพไอคอน :


 ภาพโปสเตอร์ :


 รายละเอียด :
ฟอนต์ชุดนี้เป็นฟอนต์อักษรธรรมปาฬิภาสา(ภาษาบาลี) ที่ผมเลือกที่จะไม่ออกแบบฟอนต์ใหม่ขึ้นมา แต่ใช้ฟอนต์ที่มีผู้สร้างไว้ก่อนแล้ว มาปรับให้การพิมพ์ใช้ภาษาไทยพินทุเพื่อให้สะดวกในการใช้งาน
ฟอนต์ชุดนี้ ตอนนี้ ประกอบด้วย
   Pali_Khottabun - ฟอนต์อักษรธรรมอีสาน (ธรรมลาว, ธรรมล้านช้าง) สำหรับพิมพ์ปาฬิภาสา ด้วยอักษรไทยพินทุ ดัดแปลงจาก ฟอนต์Khottabun ของคุณ Theppitak Karoonboonyanan
   Pali_Tilok - ฟอนต์อักษรธรรมล้านนา (ตั๋วเมือง) สำหรับพิมพ์ปาฬิภาสา ด้วยอักษรไทยพินทุ ดัดแปลงจาก ฟอนต์ LN TILOK ของคุณ Pichai Saengboon
ทั้งสองฟอนต์เป็นออกแบบรองรับมาตรฐาน unicode อักษร Tai Tham ตามที่คุณ Theppitak Karoonboonyanan ได้ออกแบบไว้ ดังนั้นจึงสามารถพิมพ์ด้วยแป้น Tai Tham ได้อีกด้วย

download font : https://mega.nz/#!nJwAiAxa!uRFWoQUUDrf18TrYUUZOBK0CjAUh__5-frDzjCLOtWc

 
อนุญาตให้นำไปใช้ได้ไม่มีค่าใช้จ่าย หากมีข้อผิดพลาดรบกวนแจ้งให้ทราบด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ
uvSOV
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ส.ค. 2019, 15:58 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า
เป็นครั้งแรกตั้งแต่ทำฟอนต์ชุดนี้มา ในรอบ 7 เดือน ที่มีความรู้สึกว่า ทำเสร็จแล้วเว้ย!!  (ซึ่งจริงๆ ยังไม่เสร็จหรอก มีต้องแก้ไขไปเรื่อยๆ)  
ยาวนานจนพอจะมาแก้ไข ก็จำอะไรไม่ได้แล้วว่าทำอะไรไว้บ้าง .. ดีว่าเขียนเอกสารประกอบไว้บ้างแม้จะไม่ครบก็เถอะ

วันนี้เขียนเอกสารกำกับไว้หน่อย เพราะอีก 2 วันจะลืมแล้ว .. รูปอาจจะเยอะหน่อยนะครับ






อธิบายเพิ่มเติม : การใช้ภาษาไทยสลับแป้นกับภาษาอังกฤษ ต้องใช้ความพยายามมาก และหากพิมพ์ผิดการกลับมาแก้ไขก็จะทำได้ยาก
ส่วนการพิมพ์ด้วยอักษร tai tham ไปเลยจะดีกว่า เพราะตรงตัวอักษรที่สุด แต่ปัญหาคือยังไม่มี keyboard มาตรฐาน แพร่หลาย ทำให้การจะขยายให้คนเข้าถึงไม่ง่ายนัก (ทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ  เห็นต่างได้ไม่แตกแยก แต่อย่าลืมลงมือทำ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ส.ค. 2019, 19:57 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า















« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ส.ค. 2019, 08:48 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า








« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ส.ค. 2019, 18:58 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า
 เจ๋ง ไม่ ทำ มะ ดา
บันทึกการเข้า

สู่ความโดดเดี่ยว อันไกลโพ้น





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ส.ค. 2019, 19:54 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า







ขอบคุณหลายเด้อ

ขอบคุณเพิ่มเติม
ครูวัฒน ศรีสว่าง อนุญาต ให้นำฟอนต์ ThamEsan มาปรับใช้งาน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 ส.ค. 2019, 09:08 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า
สุดยอดครับ สิ่งที่ผมทำมาหลายปีเกี่ยวกับอักษรธรรมล้านนาที่ผ่านมาก็ได้แต่จับฟอนท์ลงเทมเพลต ยัดทุกสิ่งที่ต้องใช้ลงไป ถึงรู้สึกว่ามันจะพิมพ์ยากแต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็ถือว่าน่าพอใจ ในแบบของผมเอง เคยคิดจะยัดเข้า Tai Tham Unicode แต่ความรู้ไม่มากพอเลยยังไม่ได้ทำจนกระทั่งวันที่เห็นกระทู้นี้
ถ้าถามว่าทำไมไม่ใช้ LN-TILOK ก็ตอบว่าเพราะมันไม่สวยและให้ผลลัพธ์ที่ไม่ตรงความต้องการ

เท่าที่ลองพิมพ์ Pali_Tilok.ttf ดูแล้วรู้สึกจะยังทำไม่เสร็จ ก็คงได้แค่เสนอความคิดเห็นของผม
1.พิมพ์หลายตัวยังไม่ได้
2.มีปัญหาตรงที่ว่าหางบางตัวจะเขียนได้หลายแบบ ถ้ามีให้เลือกได้จะดีมาก หรือผมอาจจะไม่รู้วิธีการพิมพ์ก็ขออภัย

ถ้าหากอยากให้ผมช่วยเป็นหนูทดลองก็ติดต่อได้เลยนะครับ ยินดีเป็นอย่างยิ่ง https://www.facebook.com/keenwww  ไลน์ keenwiwek
บันทึกการเข้า
สุดยอดครับ สิ่งที่ผมทำมาหลายปีเกี่ยวกับอักษรธรรมล้านนาที่ผ่านมาก็ได้แต่จับฟอนท์ลงเทมเพลต ยัดทุกสิ่งที่ต้องใช้ลงไป ถึงรู้สึกว่ามันจะพิมพ์ยากแต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็ถือว่าน่าพอใจ ในแบบของผมเอง เคยคิดจะยัดเข้า Tai Tham Unicode แต่ความรู้ไม่มากพอเลยยังไม่ได้ทำจนกระทั่งวันที่เห็นกระทู้นี้
ถ้าถามว่าทำไมไม่ใช้ LN-TILOK ก็ตอบว่าเพราะมันไม่สวยและให้ผลลัพธ์ที่ไม่ตรงความต้องการ

เท่าที่ลองพิมพ์ Pali_Tilok.ttf ดูแล้วรู้สึกจะยังทำไม่เสร็จ ก็คงได้แค่เสนอความคิดเห็นของผม
1.พิมพ์หลายตัวยังไม่ได้
2.มีปัญหาตรงที่ว่าหางบางตัวจะเขียนได้หลายแบบ ถ้ามีให้เลือกได้จะดีมาก หรือผมอาจจะไม่รู้วิธีการพิมพ์ก็ขออภัย

ถ้าหากอยากให้ผมช่วยเป็นหนูทดลองก็ติดต่อได้เลยนะครับ ยินดีเป็นอย่างยิ่ง https://www.facebook.com/keenwww  ไลน์ keenwiwek


ขอบคุณครับ ขอติดต่อไปขอความรู้นะครับ  ลันล้า
บันทึกการเข้า
ขอบคุณครับ ขอติดต่อไปขอความรู้นะครับ  ลันล้า

ยินดีครับ  กึ๋ยๆ กึ๋ยๆ กึ๋ยๆ
บันทึกการเข้า
ลองอธิบายการใช้ฟอนต์ด้วย clip vdo ครับ


https://www.facebook.com/worawut.thanawatanawanich/videos/10217658280801891/


https://www.facebook.com/worawut.thanawatanawanich/videos/10217664535598257/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 ก.ย. 2019, 20:53 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า
ทดสอบการพิมพ์ตัวเมืองด้วยฟอนต์ thai_tilok









บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!