หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: สอบถามความเห็นการพิมพ์อักษรขอมไทย  (อ่าน 7684 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
มีเรื่องรบกวนขอความเห็นจากเพื่อนๆใน web board  ครับ

จากรูป เป็นอักษรขอมไทยบนใบลาน  ถอดความได้ตามข้อ 1
เมื่อใช้ฟอนต์ขอมไทยพิมพ์  ก็สามารถแสดงผลได้ถูกต้องตามข้อ 2
แต่เมื่อแปลงกลับมาให้ดูว่าพิมพ์ด้วยอักษรใดบ้าง จะพบว่า อักษรตัวเชิง จะพิมพ์ด้วย พินทุ ตามด้วยอักษรตัวนั้น  แต่บางตัวไม่สามารถพิมพ์ได้ เนื่องจากภาษาไทยปัจจุบันไม่ยอมรับการพิมพ์ดังกล่าว  เช่น สระอา พินทุ  หรือ สระอิ พินทุ   ทำให้ต้องใช้ ฯ แทน พินทุในการพิมพ์  (ตัวอักษรสีแดง) ในข้อ 3



อยากถามความเห็นเพื่อนๆ ว่ามีเรื่องกังวลใดๆจากการมีตัว ฯ แทรกระหว่างตัวอักษรหรือไม่


ตัวอย่างคำอื่นๆ


ขอบคุณครับ  ไหว้

ีuvSOV
บันทึกการเข้า
ดูเป็นการบีบบังคับให้ใช้งานเฉพาะกิจเลยนะครับนี่
เอาจริงๆ มันก็ไม่ถูกตามมาตรฐานเนอะ
(เหมือนเคสฟอนต์สารบรรณ IT๙ ที่แสดงผลเลขไทยแม้จะพิมพ์เลขฝรั่ง)
แต่ถ้าเป็นกรณีจำเป็นเช่นฟอนต์ใช้งานเฉพาะแบบนี้ ผมก็นึกวิธีที่ดีกว่านี้ไม่ออกเหมือนกันครับ
(เว้นแต่จะแทนที่ตัวอื่นนอกจาก ฯ ที่มีโอกาสใช้แสดงผล ไปเป็น ฦ ได้ไหม?)
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ดูเป็นการบีบบังคับให้ใช้งานเฉพาะกิจเลยนะครับนี่
เอาจริงๆ มันก็ไม่ถูกตามมาตรฐานเนอะ
(เหมือนเคสฟอนต์สารบรรณ IT๙ ที่แสดงผลเลขไทยแม้จะพิมพ์เลขฝรั่ง)
แต่ถ้าเป็นกรณีจำเป็นเช่นฟอนต์ใช้งานเฉพาะแบบนี้ ผมก็นึกวิธีที่ดีกว่านี้ไม่ออกเหมือนกันครับ
(เว้นแต่จะแทนที่ตัวอื่นนอกจาก ฯ ที่มีโอกาสใช้แสดงผล ไปเป็น ฦ ได้ไหม?)

ขอบคุณครับ ผมกังวลเรื่องเดียวกันครับ เรื่องมาตรฐานในการเก็บข้อมูล digital

ตัว ฦ น่าจะใช้ได้ครับ เพราะไม่มีใช้งาน

ลองทำพิมพ์ดู ... อืมมมมม ใช่ซี้~  เหมือนไม่รอดแฮะ



เรื่องมาตรฐานในการเก็บข้อมูล digital ว่ากันตามจริงกว่าคือ มันยังไม่มีมาตราฐานสำหรับการพิมพ์อักษรขอมไทยครับ (มีแต่รูปแบบการเขียนขอมไทย ซึ่งไม่เคร่งครัดมาก..ถึงมากที่สุด อยากเขียนอะไรก็เขียนขอให้อ่านได้ ใช้ได้  แต่อย่าหวังว่าจะมา search คำเชียวนะ  แป่ว)


แถมอักษรนึง เขียนได้หลายแบบอี๊กกกก ไอ้มืดหมี



แบบว่า..  ทำฟอนต์เสร็จ  แต่ทำใจไม่เสร็จ  ..ไม่กล้าปล่อยฟอนต์กันเลยทีเดียว 55
บันทึกการเข้า


ใช้พินทุ ล้วนๆ สระบน วรรณยุกต์ ก็ต้องเขียนทีหลัง ดูประหลาด
ถ้าอยากเขียนปรกติ ต้องใช้ ฯ  ก็ดูประหลาด... 

ส่วนคนใช้งานบอก  ยังไงก็ได้ เพราะเขียนง่ายกว่าแบบเดิมที่มีใช้

คนทำฟอนต์  เหวอ

บันทึกการเข้า
ยัง..ยังไม่เลิก  รอบนี้ขอนำเสนอวิธีใหม่ ขอความเห็นด้วยครับว่า ถ้าใช้งานจริง จะรอดไหม

แนวคิดนี้ มาจากการผสมอักษรข้ามฟอนต์ ของอาจารย์ ธงชัย ศรีเมือง  .. นำมาแก้ไขปัญหาเรื่องการพิมพ์ พินทุ หลังสระ วรรณยุกต์ไม่ได้
ง่าย! ก็พิมพ์อีกฟอนต์มันซะเลย  โดยเอาตัวเชิง ก.ไก่ มาวางไว้ที่ ก.ไก่ ของฟอนต์ bold
การพิมพ์ ก็พิมพ์ปรกติเลย ตัวไหนอยากให้เป็นตัวเชิง ก็ mark bold ซะ



ฝากทดสอบด้วยครับ  แต่ bold ยังทำไม่เสร็จนะครับ
https://mega.nz/#!XcJx1Y5R!ODOSxJULT-Z1lpvUpRoO20MSTXqstTbAKYV0Z140SEI
ขอบคุณครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 ม.ค. 2019, 12:49 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า
ถ้าเป็นผมคงจบตั้งแต่แค่ใช้งานได้ด้านบนละ  อันนี้โอเคดีครับ อ่านออกด้วย ผมว่าลงตัวที่สุดละ (แจ๋ว แจ๋ว)
บันทึกการเข้า

โชว์ห่วยฟอนต์ของผมครับ https://www.facebook.com/jjfontjames/
โห แฮกกันสุดๆ เลยครับ เจ๋ง
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
น่าจะจบนะคราวนี้
บังเอิญเจอตอนทำฟอนต์ธรรมอีสาน ซึ่งนำฟอนต์โคตรบูรมาปรับแก้การป้อนเป็นภาษาไทย สามารถพิมพ์พินทุได้โดยไม่ฟ้อง error เลย  แต่ต้องพิมพ์ในโปรแกรมที่ไม่ validate การ input เช่น Notepad, Photoscape

จึงไปศึกษาว่า ปรกติเวลาพิมพ์อักษรในภาษาใดๆหากไม่ถูกไวยกรณ์ของภาษาเช่น  พิมพ์ ก้ แล้วตามด้วย พินทุ จะแสดงตัวอักษรกลมๆเส้นประ เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้ว่าพิมพ์ผิด แต่บางฟอนต์ไม่ได้กำหนดรูปอักษรตัวนี้ไว้ จึงมองไม่เห็น   ทำให้พิมพ์ได้เนียนเหมือนว่าไม่ได้พิมพ์ผิด



หมายเหตุ  ตัวอักษรที่เก็บตรงกับที่เราพิมพ์  ตัวกลมเส้นประเป็นแค่เรื่องของการแสดงผล เช่นเดียวกับอักษรขอมที่เห็นว่าแสดงตำแหน่งต่างไปจากภาษาไทยปรกติมีสลับมาด้านหน้า อยู่ใต้ตัวอักษรอื่น ซ้อน 3 ชั้น  ทั้งหมดนั้นเป็นแค่การแสดงผล แต่อักษรใน file ก็เหมือนที่เราพิมพ์  จึงนำไปใช้งานต่อได้ครับ

หมายเหตุ2  ตัวสีแดง คือฟอนต์ขอมไทย๒  สีดำคือฟอนต์ขอมไทย  เนื่องจากตัว ด มีได้ 2 รูปแบบ  ส่วนตัวสีเขียว คือการเปลี่ยนฟอนต์เป็น จารึกบาลี เนื่องจากผู้เขียน ใช้การเขียนปนกันไปมา ทั้งขอมไทย และขอมบาลี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 ก.พ. 2019, 14:14 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า
วิธีการใช้งาน ฟอนต์ SOV_KhomThai
ประกอบด้วย 4 ฟอนต์
1. SOV_KhomThai สำหรับพิมพ์ขอมไทย
2. SOV_KhomThai2 สำหรับพิมพ์ขอมไทย กรณีที่ตัวอักษรมีหลายรูปแบบ
3. SOV_KhomThai3 สำหรับพิมพ์ขอมไทย กรณีตัวอักษรพิเศษ
4. SOV_JarukBali สำหรับพิมพ์ขอมบาลี

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!