ถ้าหมายถึง manual hinting ผมก็ทำไม่เป็นครับ (และไม่คิดจะทำด้วย) เพราะต้องเข้าใจวิธีเขียนชุดคำสั่งในภาษาของมัน (TrueType Instructions) เพื่อดึงให้จุดที่เราต้องการใน outline ให้ลงล็อค pixel ของจอแสดงผล (grid-fitting) ใน FontForge จะมี UI ให้แก้ไขได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ด แต่ก็เข้าใจยากอยู่ดี

แต่ถ้าหมายถึง autohint concept มันก็คือ การใช้ algorithm มาเขียนชุดคำสั่งให้เราอัตโนมัติ อาจจะไม่แม่นยำเท่า manual hint แต่ประหยัดเวลากว่ามากมายแน่ๆ ลองเปรียบเทียบ กอไก่ ตัวแรกไม่ได้ hint ตัวหลังใช้ ttfautohint ที่ขนาด 13px, 72DPI แบบ bitmap จุดสี่เหลี่ยมสีเทาคือ pixel ที่ถูกใช้ สังเกตตรงจงอยปากกอไก่ ตัวที่ใช้ ttfautohint จะต่างจากตัวที่ไม่ได้ hint ซึ่งผมคิดว่าตัวหลังที่มีช่องโปร่งตรงจงอยปาก make sense กว่า


ที่นี่มันซับซ้อนขึ้นไปอีกจนไม่มีใครอยากทำ manual hinting ก็เพราะ OS ยุคใหม่เปิด anti-alias กันหมด เพื่อลดความกระด้างแบบ bitmap สำหรับจอ LCD เรียกว่า sub-pixel (ในช่วงแรกๆ หลายคนไม่ชอบ anti-alias เพราะมันทำให้ตัวหนังสือเบลอ) ภาพ กอไก่ ตัวแรกไม่ได้ hint ตัวหลังใช้ ttfautohint ที่ขนาด 13px, 72DPI และเปิด anti-alias จะสังเกตว่า 3 pixel ตรงเส้นโค้งด้านบนของกอไก่ตัวหลังจะเข้มกว่า (หรือชัดกว่า) ตัวที่ไม่ได้ hint เพราะจุดที่ 7 และ 16 ถูกดึงขึ้นไป (เส้นโค้งสีเขียว) แต่ตรงจงอยปากจะไม่ชัดเหมือนแบบ bitmap


นี่คือเราเช็คตัวอักษรตัวเดียวที่ขนาดเดียวนะครับ ถ้าต้องเช็ค hinting ทุกตัวอักษรที่หลายขนาดจะเสียเวลาขนาดไหน ส่วนเหตุผลที่ผมเรียก Georgia ว่าโคตรฟอนต์สำหรับจอคอมพิวเตอร์ ลองอ่าน
-
http://www.will-harris.com/verdana-georgia.htm-
http://alistapart.com/column/font-hinting-and-the-future-of-responsive-typographyแต่ไม่ได้หมายความว่า manual hinting จะคุ้มค่าต่อการเสียเวลานะครับ ในยุคที่ Microsoft จ้าง Matthew Carter ทำฟอนต์พิเศษ ตอนนั้นผู้คนยังใช้ความละเอียด 800x600 กันเป็นปกติ ยุคนี้แม้แต่จอ smart phone ราคาประหยัดก็ยังมีความละเอียดสูงกว่านั้นแล้ว
สรุปว่าถ้า Microsoft ไม่ได้จ้าง เราก็ไม่ต้องลงทุน hint ทีละตัวทีละขนาดแบบลุง Carter ก็ได้ครับ เพื่อประหยัดพลังงานและช่วยลดโลกร้อน!