หน้า: [1] 2
 
ผู้เขียน หัวข้อ: เชิญร่วมส่งผลงานเข้า Google Fonts  (อ่าน 28775 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
(บอกไว้ก่อนว่า ผมไม่ใช่ตัวแทนของ Google หรือมนุษย์คนใดนะครับ คำแปล ความเห็น และคำแนะนำด้านล่างนี้เป็นของผมคนเดียว ผมเจอมาแบบไหน ผมก็บอกคุณได้แค่แบบนั้น คุณอาจจะได้รับประสบการณ์ที่ต่างจากผม คุณต้องทำทุกอย่างเองในขั้นตอนการอนุมัติใบเสนอราคาและการทำสัญญากับ Google เอง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเอกสารและการเงิน ผมไม่มีส่วนได้เสียระหว่างคุณกับ Google และอย่าหลงเชื่อใครที่อ้างว่าสามารถจัดการเรื่องเหล่านี้แทนคุณได้ ยกเว้นคุณจะทำในนามองค์กร, บริษัท หรือนิติบุคคล)

เชิญนักเลงฟอนต์ทั้งมือใหม่และมือเก๋าส่งฟอนต์เข้าบรรจุใน Google Fonts collection พร้อมเสนอราคาที่ต้องการจากผลงานของคุณได้ตามสบาย เริ่มต้นที่ $0 (และไม่จำกัดราคา ถ้าราคาสมเหตุสมผลกับคุณภาพฟอนต์ของคุณนะครับ) เงื่อนไขด้านคุณภาพและวิธีการทำงาน ผมแปลคร่าวๆ จาก https://github.com/google/fonts/blob/master/CONTRIBUTING.md  ได้ตามด้านล่างนี้ (เฉพาะส่วน Font Requirements นะครับ ลองอ่านเต็มๆ ดูเองจากต้นฉบับได้เพื่อความแน่ใจ)

เงื่อนไข

เราจะยินดีเป็นอย่างยิ่ง หากคุณต้องการส่งฟอนต์เข้าร่วมใน Google Fonts collection ถ้าผลงานของท่านเข้าข่ายคุณภาพต่อไปนี้:

- เป็นฟอนต์ที่ออกแบบโดยคุณเอง (original) หรือ เป็นผลงานออกแบบที่รื้อฟื้นงานที่เป็น public domain (ไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของใคร) และผลงานมีคุณภาพดี

- โครงการของคุณใช้สัญญาอนุญาตแบบ SIL Open Font License v1.1 (OFL) และ ไม่สงวนชื่อฟอนต์ (no Reserved Font Name)

- โครงการพัฒนาโดยใช้ Github หรือระบบอื่นๆ ที่คล้ายกัน เพื่อเผยแพร่ซอร์สอย่างเปิดเผย ให้ผู้คนทั่วไปเข้าไปมีส่วนร่วมได้และคอยดูแลสม่ำเสมอ ซอร์สในที่นี้คือฟอนต์ในรูปแบบที่สะดวกต่อการดัดแปลงแก้ไข รวมทั้งคำอธิบายขั้นตอนในการผลิตหรือสคริพต์สำหรับผลิตฟอนต์

- ฟอนต์ทุกตัวต้องมีรูปแบบเป็นไฟล์ TTF ที่ hint แล้ว (ใช้ ttfautohint เป็นต้น)

- ฟอนต์ทุกตัวมีตัวอักขระ (ละติน) ไม่น้อยกว่า 215 ตัว ตามที่ระบุใน latin_unique-glyphs.nam

- ฟอนต์ (ในตระกูลเดียวกัน) ต้องมีชุดอักขระยูนิโด้ดเหมือนกันทุกตัว (ตัวที่ยูนิโค้ดไม่ได้ encode ไว้ ไม่ต้องเหมือนกันก็ได้)

- มีไฟล์ README.md รวมอยู่ใน source repository (ภาษาชาวบ้านคือ อยู่ในโฟลเดอร์หลักนั่นแหละครับ) พร้อมข้อมูล FONTLOG (บันทึกคร่าวๆ ว่าคุณทำอะไรกับฟอนต์แต่ละเวอร์ชั่นบ้าง) และมีชื่อของคุณ รวมทั้งหน้าโปรไฟล์ Google+ ของคุณ เพื่อที่จะได้เตรียมคำอธิบายได้ถูกต้องก่อนการเผยแพร่ฟอนต์ (ตัวอย่างรายชื่อนักออกแบบ)

ส่วนบรรทัดสุดท้ายที่บอกว่าให้เปิด issue (ใน Github) เพื่อขอส่งฟอนต์ อันนี้อ่านไว้ แต่ยังไม่ต้องทำนะครับ เพราะคุณ Dave Crossland ที่ปรึกษาโครงการ Google Fonts แจ้งผมว่า ทุกคนสามารถสอบถามและเสนอราคากับเขาได้โดยตรงเลย ตามช่องทางที่คุณสะดวก (ขอภาษาอังกฤษนะครับ เพราะแกอ่านภาษาอื่นลำบาก นั้นเป็นเหตุผลที่แกอยากให้ผมมาโพสต์เป็นภาษาไทยให้พี่น้องพอจะนึกภาพออกก่อน)

- Google+: https://plus.google.com/+DaveCrossland/about
- Twitter: https://twitter.com/davelab6
- Email: d [dot] crossland [at] gmail [dot] com

ถ้าอ่านเงื่อนไขแล้วรู้สึกเกร็ง ผมมีคำแนะนำดังนี้ครับ

- คุณสามารถนำฟอนต์ฟรีตัวเก่าของตัวเองที่เคยเผยแพร่ใน f0nt.com หรือที่อื่นๆ มาปรับปรุง แล้วเสนอราคาได้นะครับ อันนี้ผมคุยกับคุณเดฟแล้ว ไม่มีปัญหาถ้าฟอนต์ที่คุณออกแบบเองแค่เปลี่ยนสัญญาอนุญาตเป็น OFL และทำตามเงื่อนไขข้างบน ถ้าฟอนต์คุณน่าสนใจพอ เขาก็จะรับพิจารณาใบเสนอราคาของคุณ (ผมก็เพิ่งเสนอราคาฟอนต์เก่าที่ทำไว้ไปเหมือนกันครับ ดังนั้นไม่ผิดเงื่อนไข)

- ผมคิดว่าฟอนต์หลายตัวจากหลายท่านที่เผยแพร่ใน f0nt.com มีบุคลิกและคุณภาพน่าสนใจพอ แต่อาจต้องปรับปรุงเรื่อง spec และ scale ให้ได้มาตรฐานสากลนะครับ อย่างน้อยๆ ก็เปลี่ยนเป็นยูนิโค้ด และ ไม่ควรเสนอฟอนต์ฟรีที่เป็นตระกูลเดียวกับฟอนต์ที่คุณทำขายแล้วนะครับ อาจจะมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ในอนาคต (อันนี้เป็นผลเสียกับคุณเองมากกว่า Google นะฮะ) ส่วนเรื่อง OpenType features คุยกับผมได้ ผมยินดีช่วยเต็มที่ เพราะก็กำลังปรับปรุงฟอนต์เทมเพลตตัวใหม่สำหรับภาษาไทยอยู่ครับ (https://github.com/fontuni/fontuni เพิ่งเปลี่ยนชื่อจาก F0ntUni เป็น FontUni เพราะเป้าหมายมันเปลี่ยนมารองรับฟอนต์สำหรับเว็บเป็นหลัก และทำฟีเจอร์กับ gen fonts ด้วย command line เป็นส่วนใหญ่ ตอนนี้ยังอยู่ในช่วง "เขียนเอง เข้าใจเองคนเดียว" แต่ถามผมได้นะครับว่าใช้งานยังไง ต่อไปจะได้ปรับปรุงให้ใช้งานง่ายขึ้น)

- ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมต้องเป็น OFL นั้นก็เพื่อให้ฟอนต์ของคุณเป็น ฟอนต์เสรี (Libre Fonts) ไม่ได้หมายถึงทำฟอนต์ให้คนอื่นใช้ฟรีอย่างเดียว แต่คำว่า Libre แปลว่าเราให้เสรีภาพผู้ใช้ฟอนต์และนักพัฒนาฟอนต์คนอื่นๆ ในการใช้งาน ดัดแปลง หรือแจกจ่ายฟอนต์ต้นแบบได้อย่างอิสระด้วย (อันนี้เป็นแนวคิดที่่คุณควรให้ความสำคัญด้วยนะครับ ส่วนเรื่องเงินสนับสนุนจาก Google เป็นแค่แรงกระตุ้นให้คุณสละเวลามาทำฟอนต์เสรี) และ OFL ก็ ไม่ได้ ให้สิทธิ์คนอื่นเอาฟอนต์ของคุณไปขาย ดังนั้นสบายใจได้

- ทำความคุ้นเคยกับ Git และ Github ไว้จะดีมาก การทำความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีเป็นการลงทุนด้านความรู้อย่างนึงนะครับ (และมันให้คุณใช้ฟรี!) เพราะกระบวนทดสอบของ Google Fonts จะใช้เครื่องมือมากมายใน Github เป็นส่วนใหญ่ เรื่องทางเทคนิคพวกนี้ สามารถพูดคุยกับผมได้ ผมรู้เท่าไหร่ผมก็บอกเท่านั้นนะครับ (ไม่กั๊กและไม่เกิน) หรือสอบถามกันในโพสต์นี้ก็ได้

- ไม่ต้องกังวลว่าฟอนต์ของคุณต้องเข้าข่ายทุกเงื่อนไขก่อนเสนอราคานะครับ ค่อยๆ ปรับปรุงได้ เพราะผมก็ทำแบบนั้น ค่อยๆ อัพเดตใน Github ไป แต่ควรมีตัวอักษรตัวอย่างที่ วาดไว้เนียนสุดชีวิต ก่อน ให้เขาพอเห็นคุณภาพและบุคลิกของฟอนต์

- ฟอนต์ของคุณไม่จำเป็นต้อง ระดับเทพ สำหรับใช้ในงานสิ่งพิมพ์มืออาชีพนะครับ ขอให้ฟอนต์มีบุคลิกน่าสนใจและดีพอสำหรับบุคคลทั่วไป (ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นนักออกแบบ) เพราะ Google Fonts เน้นใช้งานในเว็บเป็นหลัก ดังนั้นรายละเอียดแบบที่ต้องจ้องดูครึ่งวันไม่ต้องใส่ไว้ก็ได้ แต่ขอให้ดูชัดในจอคอมพิวเตอร์และมือถือ (hinting เลยสำคัญสำหรับเขา)

- ส่วนรายละเอียดที่ต้องเขียนในใบเสนอราคานั้น หลักๆ จะเป็น 1)จำนวนเงินที่คุณต้องการการสนับสนุน 2)ระยะเวลาที่คุณจะใช้ในการทำฟอนต์ 3)ตัวอย่าง glyphs 4)ข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบ ได้แรงบันดาลจากไหน ฟอนต์คุณใกล้เคียงกับฟอนต์ใคร (บอกอย่างซื่อสัตย์ไปเลยนะครับ เพราะการได้รับแรงบันดาลใจหรือทำฟอนต์เหมือนคนอื่นโดยบังเอิญไม่ใช่บาป!)

- ตอนแรกว่าจะแชร์ตัวอย่าง proposal ของผมให้ดู แต่เอาไว้หลังจากคุณพูดคุยกับคุณเดฟเองคร่าวๆ (เพื่อทำความรู้จักคุณหรือผลงานที่ผ่านมาของคุณ) แล้วเขาจะส่งตัวอย่างให้คุณดูเองนะครับ แต่มันเขียนไม่ยาก ปกติทำ 1 หน้าต่อฟอนต์ 1 ตระกูล เขียนไว้ใน Google Docs แล้วเขาจะให้รายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับการทำสัญญากับ Google

โครงการใน Github ที่เข้าร่วมกับ Google Fonts ลองดูตัวอย่างได้จาก repos ของ Cadson Demak

- https://github.com/cadsondemak (เขาส่งฟอนต์หลายตัว ลองเลือกคลิ๊กดู บางตัวมี specimen ให้ดูแล้ว ผมเขียนไว้ในกระทู้อื่น)

แล้วก็โครงการของผมเองที่เพิ่งเริ่่มจะเข้าที่เข้าทางและรวบรวมในชื่อ FontUni Foundry (ทำฟอนต์อยู่คนเดียวแต่กระแดะอยากใช้ชื่อ Foundry แค่นั้นฮะ ไม่มีไรมาก! https://fontuni.com/ ก่อนหน้านี้ชื่อ BoonUni)

- https://github.com/fontuni/boonjot (ตัวอื่นๆ ที่เสนอไปแล้วแต่ยังไม่ได้ปรับปรุง ก็เช่น Boon, BoonTook, BoonBaan เปลี่ยนชื่อจาก BoonHome แล้วก็ Vain (เวร) - ตัวนี้ฮา เสนอราคา $0 ให้เขายอมรับ!)

ติดต่อผมได้ตามช่องทางนี้นะครับ ผมยินดีสนับสนุนให้ทุกคนทำฟอนต์เสรีแล้วได้ค่าขนมค่ากาแฟติดมือ!

- Twitter: https://twitter.com/gzix หรือ https://twitter.com/fontuni
- Email: gibbozer [at] gmail [dot] com

*** ฝากพี่น้องประชาสัมพันธ์ต่อไปด้วยนะครับ เพราะมันไม่ใช่การแข่งขัน  ทุกคนมีสิทธิ์เข้าร่วมถ้าเห็นว่าผลงานของตัวเองเข้าข่ายคุณภาพที่ Google Fonts กำหนด ไม่จำเป็นต้องทำฟอนต์เป็นอาชีพ ***
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ก.ค. 2015, 03:27 น. โดย Sungsit » บันทึกการเข้า

เทมเพลตฟอนต์ไทย FontUni https://github.com/fontuni/fontuni/releases
ขอบคุณที่เอามาแปะครับ ส่วนตัวสนใจ Google Fonts มานานพอสมควรแล้วเหมือนกัน

ส่งแน่นอนครับ เจ๋ง
บันทึกการเข้า

perfectionist
ขอบคุณที่เอามาแปะครับ ส่วนตัวสนใจ Google Fonts มานานพอสมควรแล้วเหมือนกัน

ส่งแน่นอนครับ เจ๋ง

ฟอนต์ของคุณวริทธิ์โดดเด่นอยู่แล้วฮะ ไม่ต้องคิดมาก เอางานเจ๋งๆ ไปคุยกับคุณเดฟได้เลย proposal มันเขียนไม่ยาก แค่ 1 หน้าต่อ 1 ตระกูล หรือถ้ายังไม่คุ้นกับ Github และเครื่องมืออื่นๆ ก็ถามผมได้ เต็มใจช่วย
บันทึกการเข้า

เทมเพลตฟอนต์ไทย FontUni https://github.com/fontuni/fontuni/releases
กรี๊ดดดดด สุดยอดครับ ไม่กั๊กเลย
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
น่าสนมากครับ ขอบคุณที่เอามาแปะไว้ ถ้าว่างผมอาจจะลองทำดู #การบ้านหนักมาก ฮือๆๆ ฮือๆๆ ฮือๆๆ
บันทึกการเข้า

เว็บส่วนตัว www.ijiryu.com
มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ OFL ฮะ

ขออนุญาตยกตัวอย่างแบบง่าย ให้เห็นภาพนะ
ถ้าผมโหลด source ของ cadson มาทำต่อ
ด้วยการแปะดีไซน์ใหม่ทับลงไป
เพื่อเผยแพร่แบบ OFL
อันนี้สามารถทำได้ใช่ไหมฮะ ?

จากข้อความ "เราให้เสรีภาพผู้ใช้ฟอนต์และนักพัฒนาฟอนต์คนอื่นๆ ในการใช้งาน ดัดแปลง หรือแจกจ่ายฟอนต์ต้นแบบได้อย่างอิสระด้วย"

แต่ไม่อนุญาตให้เอา source ที่โหลดมาไปแปะดีไซน์ใหม่ เพื่อวางขาย ?

ยังไม่ได้เข้าไปอ่านทางต้นฉบับภาษาปะกิตน่ะฮะ
สงสัยเลยถามก่อน  กร๊าก

ไม่ใช่อะไรหรอกฮะ
ที่ยกตัวอย่างมา คือ ไอ้ชุดละตินสองร้อยกว่าตัวนี่ เกินความเคยชินไปเยอะ
แต่ถ้ายก fontuni template มาเป็นตัวอย่าง
เกรงว่ามันจะดูไม่ผูกมัดเท่าไร เพราะเหมือนคุณ sungsit จะอนุญาตให้นำไปใช้อยู่แล้ว

ขอบคุณฮะ  ไหว้
บันทึกการเข้า

ติดตาม และช่วยส่งเสียค่าเลี้ยงดูได้ที่ ธรรมดาสตูดิโอ
มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ OFL ฮะ

ขออนุญาตยกตัวอย่างแบบง่าย ให้เห็นภาพนะ
ถ้าผมโหลด source ของ cadson มาทำต่อ
ด้วยการแปะดีไซน์ใหม่ทับลงไป
เพื่อเผยแพร่แบบ OFL
อันนี้สามารถทำได้ใช่ไหมฮะ ?

ถูกต้องแน่นอนครับ ลองดูที่ OFL FAQ จะมีคำอธิบายเพิ่มเติมที่ไม่ใช่ภาษากฎหมายครับ ยกตัวอย่าง สัญญาอนุญาตในฟอนต์ของคัดสรรดีมาก ซึ่งดัดแปลงฟอนต์ Lobster มาเป็น Lobster Thai ตรงหัวเอกสารส่วน Copyright คุณก็ใส่ชื่อคุณเพิ่มในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ฟอนต์ดัดแปลงได้ แต่ต้องคงชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์เดิมไว้ให้ครบ ที่สำคัญคืออย่าเพิ่มเนื้อความที่เป็นการจำกัดสิทธิ์ของผู้ใช้และนักพัฒนาคนอื่นๆ นอกจากที่ OFL ระบุไว้

จากข้อความ "เราให้เสรีภาพผู้ใช้ฟอนต์และนักพัฒนาฟอนต์คนอื่นๆ ในการใช้งาน ดัดแปลง หรือแจกจ่ายฟอนต์ต้นแบบได้อย่างอิสระด้วย"

แต่ไม่อนุญาตให้เอา source ที่โหลดมาไปแปะดีไซน์ใหม่ เพื่อวางขาย ?

ถูกต้องครับ OFL ไม่อนุญาตให้ขายฟอนต์เพียวๆ แต่ ไม่ได้หมายความว่าห้ามขายผลงานอื่นที่ใช้ฟอนต์ของคุณเป็นส่วนประกอบ เช่น คุณอาจทำเสื้อยืด, โปสเตอร์, สินค้ารูปแบบอื่นๆ หรือทำ apps ที่ใช้ฟอนต์ของคุณเพื่อขาย เป็นต้น (เป็น digital หรือ physical ก็ได้) เพียงแต่ต้องใช้ OFL เป็นสัญญาอนุญาตเหมือนฟอนต์ต้นแบบ (เฉพาะตัวฟอนต์นะฮะ) สมมติคุณโหลดเทมเพลต fontuni เพราะต้องการ OT features ฟอนต์ไหม่ของคุณก็ต้องเป็น OFL แต่ถ้าคุณต้องการทำฟอนต์ขายเพียวๆ ไม่ว่าจะเป็น retail หรือ custom fonts ก็ ไม่สามารถเปลี่ยนสัญญาอนุญาตได้ ยกเว้นลูกค้าที่คุณทำฟอนต์ให้จะได้รับอนุญาตจากผม (ซึ่งเป็นคนถือลิขสิทธิ์เทมเพลต) ส่วนในกรณีทำเป็น retail fonts คุณสามารถพูดคุยกับผมได้โดยตรงเป็นรายกรณีไป

ยังไม่ได้เข้าไปอ่านทางต้นฉบับภาษาปะกิตน่ะฮะ
สงสัยเลยถามก่อน  กร๊าก

ไม่ใช่อะไรหรอกฮะ
ที่ยกตัวอย่างมา คือ ไอ้ชุดละตินสองร้อยกว่าตัวนี่ เกินความเคยชินไปเยอะ

ที่ Google Fonts กำหนดแบบนั้นเพราะฟอนต์สำหรับเว็บต้องรองรับหลายภาษาครับ ขั้นต่ำของเขาคือ Pan-European ซึ่งใช้ได้กับเกือบทุกภาษาในยุโรปและอเมริกาเหนือ ที่เขียนด้วย latin script

แต่ถ้ายก fontuni template มาเป็นตัวอย่าง
เกรงว่ามันจะดูไม่ผูกมัดเท่าไร เพราะเหมือนคุณ sungsit จะอนุญาตให้นำไปใช้อยู่แล้ว

ขอบคุณฮะ  ไหว้


เราสามารถใช้ OFL ในแง่ธุรกิจได้นะครับ จริงๆ มันเป็น business model อย่างหนึ่งในโลกซอฟต์แวร์เสรี เพียงแต่ไม่ค่อยมีใครพูดออกมาตรงๆ ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าบริษัทซอฟต์แวร์บางแห่งต้องการใช้งานฟอนต์ของคุณ บริษัทนั้นก็ต้องรวมสัญญาอนุญาต OFL ไว้ในซอฟต์แวร์ของเขาด้วย แต่ถ้าบริษัทนั้นต้องการเอา OFL ออก (เพราะซอฟต์แวร์ของเขาไม่ได้เปิดเผยซอร์สหรือเหตุผลใดๆ ก็ตาม) เขาก็ต้องจ้างคุณให้ทำเวอร์ชั่นเฉพาะสำหรับเขาเพื่อไม่ต้องรวม OFL ในซอฟต์แวร์ของเขา ถ้าใครเคยสงสัยว่าซอฟต์แวร์เสรีที่ให้อิสระใช้งานและดัดแปลงฟรีมีรายได้จากไหน ก็เพราะส่วนใหญ่ใช้โมเดลธุรกิจแบบนี้ครับ เพียงแต่คนทำฟอนต์เสรียังมีน้อย โมเดลนี้เลยฟังดูแปลกสำหรับ font foundry และคนทำฟอนต์ที่เน้นงานเชิงพาณิชย์ ส่วนสำหรับผมที่ทำฟอนต์เสรีและไม่คิดจะทำขายก็เลยพอจะคุ้นกับแนวคิดนี้ครับ

ส่วนความเห็นส่วนตัวของผมที่ว่าทำไม Google Fonts จึงเลือกให้นักพัฒนาใช้ OFL อันนี้จะซับซ้อนขึ้นไปอีก มันอาจเป็นนโยบายของบริษัทเขาที่จะส่งเสริมซอฟต์แวร์เสรีเพื่อธุรกิจของเขาเอง (ยกตัวอย่าง ถ้ามีฟอนต์เสรีสำหรับเว็บมากขึ้น คนใช้งานอินเตอร์เน็ตก็จะมากขึ้น แล้วคนก็จะใช้บริการค้นหาของ Google มากขึ้น นั่นหมายความว่า Google มีรายได้จากโฆษณามากขึ้น) ผมไม่คิดว่า Google ใจดีที่จะให้เงินใครฟรีๆ แต่ตราบใดที่คุณใช้ OFL คุณก็ยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ฟอนต์ ไม่ว่าฟอนต์จะถูกเผยแพร่ที่ไหนในโลก อันนี้คือเหตุผลหลักที่ผมตัดสินใจส่งฟอนต์เข้าร่วมกับเขานะครับ เพราะเราจะแจกจ่ายฟอนต์เราเองก็ได้ ปล่อยฟอนต์ใน f0nt.com เหมือนเคยก็ได้ หรือที่ไหนก็แล้วแต่ที่คุณอยากจะปล่อย เพราะจริงๆ แล้ว OFL ให้สิทธิ์ทุกคนปล่อยฟอนต์ของคุณได้อย่างเสรีโดยไม่ต้องแจ้งคุณ (เขาแค่เอาฟอนต์คุณไปขายไม่ได้)
บันทึกการเข้า

เทมเพลตฟอนต์ไทย FontUni https://github.com/fontuni/fontuni/releases
อยากเอามหานิยมเข้าจังฮะ กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

นักเขียนการ์ตูนรายปี
อยากเอามหานิยมเข้าจังฮะ กรี๊ดดดดด

เปิดบัญชี Github ไว้เลยครับ https://github.com/ แล้วลองเล่นให้คุ้นซักพัก เขามีโปรแกรม GUI ให้ https://mac.github.com/ หรือ https://windows.github.com/ ถ้าต้องการความช่วยเหลือเรื่องการจัดการซอร์สก็เรียกผมเข้าไปช่วยได้เลย! มันมีให้เพิ่มเพื่อนร่วมงาน (ตรง Settings > Collaborator) บัญชีผมคือ https://github.com/sungsit

ลองอ่านวิธีใช้งานขั้นพื้นฐานที่ https://guides.github.com/introduction/getting-your-project-on-github/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 ก.ค. 2015, 12:22 น. โดย Sungsit » บันทึกการเข้า

เทมเพลตฟอนต์ไทย FontUni https://github.com/fontuni/fontuni/releases
สำหรับท่านที่ไม่คุ้นกับ Git & Github นะครับ มีคำแนะนำใน Google Fonts group

1) แนะนำ Github GUI สำหรับทั้ง Mac, Windows และ OS อื่นๆ  https://www.youtube.com/watch?v=BMYOs5jflGE (หลังจากนั้นลองดูวิดีโออื่นๆ ที่คุณสนใจ)

2) ถ้าไม่ชอบ GUI ลองเล่น Cmd โดยไม่ต้องติดตั้งอะไรได้ที่ https://try.github.io/

3) ถ้าต้องการรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงสำหรับนักออกแบบฟอนต์ ลองอ่าน https://github.com/frankrolf/git-for-type-designers

ถ้าสนใจจะใช้ Cmd interface ล้วนๆ บน Mac ผมแนะนำให้ติดตั้ง Git จาก Homebrew (ใน Windows ผมไม่รู้จริงๆ ว่าควรติดตั้งยังไง)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 ก.ค. 2015, 14:06 น. โดย Sungsit » บันทึกการเข้า

เทมเพลตฟอนต์ไทย FontUni https://github.com/fontuni/fontuni/releases
ข้อมูลมีประโยชน์ทั้งนั้นเลย ขอบคุณมากครับ ไหว้
บันทึกการเข้า

perfectionist
ข้อมูลมีประโยชน์ทั้งนั้นเลย ขอบคุณมากครับ ไหว้

เปิด repo แล้ว push ซอร์สขึ้นไปเก็บได้เลยครับ ซอร์สในที่นี้ควรเป็นต้นฉบับเลยนะครับ อย่างเช่น VFB (FontLab), UFO (Glyphsapp) หรือ SFD (FontForge) หรือถ้าทำไว้นานแล้วเหลือแค่ OTF ก็ได้ (ถ้าจำเป็นจริงๆ ถึงจะเป็น TTF นะครับ เพราะ contour มันเป็นแบบ Quadratic ยกเว้นคุณวาดฟอนต์แบบ Quadratic สำหรับ TrueType โดยเฉพาะซึ่งยากกว่าแบบ Cubic สำหรับ Postscript contour)

หลังจากนั้นก็เรียกผมเข้าไปช่วยได้เลย!
บันทึกการเข้า

เทมเพลตฟอนต์ไทย FontUni https://github.com/fontuni/fontuni/releases
ขอบคุณมากฮะ  ไหว้
บันทึกการเข้า

ติดตาม และช่วยส่งเสียค่าเลี้ยงดูได้ที่ ธรรมดาสตูดิโอ
สอบถามอีกนิดครับ ถ้าเป็นเคสนี้
- นายเลย์อิจิทำฟอนต์เป็น OFL ชื่อ เลย์อิจิ 1
- บริษัทเอ็กซ่ามาเห็นเข้า อยากดัดแปลงนิดนึงแล้วใช้ภายใน เลยจ้างนายถลอกทำให้
- นายถลอกจึงรับจ้าง และดัดแปลงฟอนต์นี้ เซฟเป็นชื่อฟอนต์ถลอก 1 และส่งมอบให้บริษัทไว้ใช้ภายใน

แบบนี้ทำได้ไหมครับ มันน่าจะเข้าข่ายเปลี่ยนสัญญาอนุญาตใช่ไหมครับ
แต่ถ้าบริษัทเอ็กซ่าอนุญาตให้นำฟอนต์นั้นมาเผยแพร่ต่อ แบบนี้ได้ใช่ไหมครับ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
คนอื่นอาจไม่งง แต่ตูงง
บันทึกการเข้า

นักเขียนการ์ตูนรายปี
หน้า: [1] 2
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!