หน้า: [1] 2 3
 
ผู้เขียน หัวข้อ: นำเสนอฟ้อนต์ CS PraKas ครับ  (อ่าน 33765 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
เห็นงานต่างๆ ที่ผู้ใช้นำฟ้อนต์ Tahoma, DokJampa, ArialUnicode หรืออื่นๆ ที่เป็นฟอนต์แสดงผลในวินโดว์ (ยกเว้นพวกตระกูล UPC) ไปใช้ในงานพิมพ์ หรืองานแสดงผลอื่นๆ เช่น ซับไตเติลหนัง คาราโอเกะ งานนำเสนอทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง แล้วรู้สึกองค์ประกอบต่างๆ ในฟ้อนต์มันดูไม่สวย (เพราะเอาไว้แสดงผลบนจอมอนิเตอร์อย่างเดียว) สระ วรรณยุกต์ก็ไม่สวย วางผิดตำแหน่งอีกต่างหาก

ประกอบกับพอผมหันมาใช้ระบบของ apple เห็นฟ้อนต์ Thonburi ซึ่งเป็นฟ้อนแสดงผลใน OS X และ iOS แล้วเห็นว่าช่างเนียนกริบได้รูปดีจริง
ผมเลยตัดสินใจทำฟ้อนต์นี้ขึ้นมา รูปทรงจะคล้าย Thonburi แต่ตัวกว้างและบางกว่า บางตัวก็เปลี่ยนรูปทรงไปเลย ตำแหน่งสระบนล่างและวรรณยุกต์ก็กินพื้นที่น้อยกว่า เวลาทำตัวหนาก็ไม่มู่ทู่เหมือนพี่Thonburi

ตั้งชื่อว่า "ซีเอส ประกาศ" ครับ

ฝากแนะนำด้วยครับ

http://madmenwriter.com/CS_PraKas.zip

ปล. ฟ้อนต์แนวสแตนดาดแบบนี้ ปล่อยในเว็บนี้ได้ไหมครับ (ถ้าได้ผมจะขอปล่อยพร้อมกับฟ้อน CS PraJad ซึ่งกำลังปรับแก้ใหม่ทั้งหมดอีกรอบหนึ่งอยู่ http://www.f0nt.com/forum/index.php/topic,21770.0.html )


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เม.ย. 2014, 13:13 น. โดย raveetavan » บันทึกการเข้า
กรี๊ดดดดด ได้ครับ ฟอนต์ UI แบบนี้แหละที่ยากครับ ขอบคุณมากๆ ครับ

(ยังไงขอภาพพรีวิวตามขนาดเหล่านี้ด้วยนะครับ - ต้องการเผยแพร่ฟอนต์ อ่านที่นี่)
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
เรียบร้อยครับ ยิ้มน่ารัก
บันทึกการเข้า
เลขไทยของฟอนต์ ทั้งตัวปกติและตัวหนา ทำไมเหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า
สำหรับเลขไทย ตัวหนาที่บางเหมือนตัวปกติ เป็นความจงใจครับผม ต้องการให้โปร่งๆ น่ะครับ ไม่รู้ว่าผิดหลักการทำฟ้อนต์รึเปล่า?
บันทึกการเข้า
ไม่น่าผิดครับ เพียงแต่อาจจะทำให้เกิดข้อสงสัยนิดนึงว่าฟอนต์นี้น่าจะเป็นแนวฟอนต์ UI (คือสามารถใช้แสดงผลแทนพวก Tahoma ได้ ฯลฯ)
ดังนั้นอาจจะต้องการคุณสมบัติที่เป็นมาตรฐาน เป็นงานเป็นการติดมากับตัวฟอนต์ด้วยน่ะครับ เช่น กดหนามันก็ต้องหนาซี้ ..งี้
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ตัวละติน มันเป็น Arial นี่ครับ
บันทึกการเข้า
แก้แล้วก็ดู มาตะระฐาน ขึ้นมาจริงๆ ด้วย  โห    ส่วนตัวละติน ผมใช้ ArialUnicode เป็นแบบครับ
บันทึกการเข้า
อันนี้อาจไม่เกี่ยวกับฟอนต์ตัวนี้โดยตรงนะครับ เพราะแสดงผลขนาดเล็กได้ดูดีทีเดียวเหมาะจะใช้เป็นตัวอ่านไทย แต่เห็นในภาพตัวอย่างบอกว่าเอาไปดัดแปลงแก้ไขในระบบปฏิบัติการต่างๆ ได้ ผมเลยอยากแจ้งปัญหา encode ใน Linux อย่างเช่น  "°C" แสดงผลเป็น "ฐC" เป็นต้น ถ้าเป็นฟอนต์ที่ต้องการให้ใช้ข้ามระบบปฏิบัติการได้แบบอุ่นใจ ก็ควรเป็น Unicode ครับ คือทำทีเดียวใช้ได้ทุก OS ประมาณนั้น ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด NaipolTemplate ใช้แก้ปัญหาตัวอักษรไทยสำหรับโปรแกรมเก่าๆ ที่ไม่รองรับ Unicode ใน Windows แต่ตอนนี้โปรแกรมพวกนั้นเริ่มสูญพันธุ์ไปแล้ว และ Unicode ก็กลายเป็นมาตรฐานการเข้ารหัสตัวอักษรทั่วโลกแล้วเหมือนกัน
บันทึกการเข้า

เทมเพลตฟอนต์ไทย FontUni https://github.com/fontuni/fontuni/releases
เจ๋ง เทมเพลตนายพลนี่ไม่ใช่มาตรฐานนะครับ

(ที่จริงเวลาใช้ก็เขินๆ เหมือนกัน แต่มันหย่อนมาตรฐานเพื่อการใช้งานสะดวกน่ะครับ ซึ่งที่จริงไม่ดีนะ แต่ยุคนั้นถือว่าโอเค กร๊าก)
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
จริงๆ เราควรแก้กันแล้วล่ะครับ เพราะผมเจอปัญหาเยอะมากก กร๊าก

แล้วก็เวลาเขียนโค้ดจริงๆ เราควรใช้รหัสเพื่อความสั้นและง่าย แต่ว่านายพลดั้งเดิมมาเป็น kokai khokai แก้โค้ดกันทีหากันอ้วกเลย ง่ะ
บันทึกการเข้า

perfectionist
เดี๋ยวขอแตกหน่อมาคุยเรื่องมาตรฐานของตัวเทมเพลตฟอนต์นะครับ (แตกไปที่ ว.เทคนิค) ไหว้
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ตอนแรกผมก็นึกงงๆ อยู่ว่าเอ๊ะ ฟอนต์แบบนี้ทำไมมันดูแปลกๆ เหมือนลอกของฟอนต์อะไรมาอยู่ โวย แต่พออ่านก็เข้าใจแล้วครับว่าทำไมแปลกๆ ก็ถือว่าโอเคครับ เพราะส่วนตัวเวลาเห็นป้าย Tahoma แล้วอยากจะขาดใจตายครับ
ที่ผมเห็นเมื่อกี้คือ หัวตัวอักษรดูเล็กไปหน่อยเวลาตัวมันย่อสเกล เส้นบางม๊าก โห แต่ก็ยังเห็นพอไหวครับ โดยรวมดูมีมาตรฐานครับ (แจ๋ว แจ๋ว)
บันทึกการเข้า
ครับผม คุณ rootEnginear
เกิดจากแนวคิดที่ต้องการทำขึ้นมา "ทดแทน" กัน พอทำแล้วก็เลยอุทิศให้เอาไปต่อยอดได้เต็มที่ แต่ถ้าทำไม่ถูกต้องยังไง รบกวนทักท้วงด้วยนะครับ
เดี๋ยวจะลองปรับหัวให้โตขึ้นอีกนิดดูนะครับ

ถามท่านผู้รู้หน่อยครับ จำเป็นต้องทำ Type 1 Hinting ไหมครับ เพราะพอทำปุ๊บ เส้นฟ้อนต์ที่วาดไว้อย่างเนียบกริบ ยับเยินไม่เป็นท่าเลย  อี๋~

คุณiannnnn, จารย์ าาา๐ และ Sungsit
เป็นฤกษ์ดีมาเลยครับ ถ้ามีการยกร่องTemplateให้เป็น Unicode เต็มรูปแบบ ขอเฮด้วยคนครับ
บันทึกการเข้า
พูดตามความเข้าใจของผมเองนะครับ (อาจจะมีบางส่วนที่ผมเข้าใจผิด) Font Hinting เป็นศาสตร์ลึกลับ ผมเคยพยายามศึกษาแต่ก็ยอมแพ้เพราะมันสิ้นเปลืองเวลามากที่จะทำ manual hint คือมันต้องเข้าใจทั้งความสามารถในการเรนเดอร์ตัวอักษรในแต่ละ OS และฮาร์ดแวร์แสดงผล ถ้าไม่เข้าใจว่ามันจัดการ outline font ให้เป็น pixel ยังไงแทนที่จะออกมาดีก็กลายเป็นแย่ครับ (bitmap/console font แบบเมื่อก่อนที่ทำเฉพาะสำหรับแต่ละขนาดพิกเซลคือตัวอย่างที่ดีสำหรับศึกษา grid fitting ในจอแสดงผลครับ) แต่ผมคิดว่าไม่คุ้มกับเวลา นอกจากคุณจะตั้งใจทำฟอนต์ไทยให้ดูดีที่สุดสำหรับ Windows โดยเฉพาะ ฟอนต์ที่ Hint ขั้นเทพเพื่อให้ใช้งานขนาดเล็กบนจอความละเอียดต่ำได้ดีสุดน่าจะเป็น Georgia อันนั้นเขาเสียเวลาทำได้ตั้งแต่ 9px-18px เพราะ Microsoft จ้างไง (ถ้าผมจำไม่ผิดนะ) ในความเห็นของผมถ้าเป็นฟอนต์ตัวอ่านบนจอที่ทำให้ใช้ฟรี Auto Hint ก็น่าจะพอยอมรับได้ครับ เพราะ OS สมัยนี้คงเปิด Anti-aliasing แบบ sub-pixel ไว้ให้แทบจะทุกตัวแล้ว (สำหรับจอ LCD) ผมไม่แน่ใจว่า ClearType ใน Windows มันเป็นค่าตั้งต้นเลยรึเปล่าแต่ผู้ใช้สามารถเปิด-ปิดเองได้ ใน Linux ผู้ใช้เลือกได้ด้วยซ้ำว่าจะใช้ Font Instructions จากตัวฟอนต์หรือให้ OS จัดการเอง ส่วนใน Mac ไม่เอาจากตัวฟอนต์มาใช้เลยด้วยซ้ำ (ยิ่งกว่านั้นเว็บบราวเซอร์หลายตัวตอนนี้มี Text Engine ของตัวเองเลยด้วยซ้ำเพราะคนใช้ web font กันมากขึ้น)

บางคนตัดสินคุณภาพฟอนต์จาก Hinting ซึ่งผมไม่เห็นด้วย มันคือความล้าหลังทางเทคโนโลยีของฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการบางตัวเท่านั้น (แต่คนใช้งานเยอะกว่าตัวอื่น) อย่างจอสมาร์ทโฟนสมัยใหม่ละเอียดกว่าจอ CRT รุ่นโบราณมาก (จอเล็กกว่า แต่ DPI สูงกว่า ฟอนต์จึงคมชัดกว่า) ถ้าโลกนี้มีแต่จอแบบ Retina display การทำ Hint ก็คงสูญพันธุ์ ผมคิดว่าเรียกร้องให้ผู้ผลิตจอแสดงผลทำจอความละเอียดสูงให้ราคาถูกลง ยัง make sense กว่าเรียกร้องให้คนทำฟอนต์ต้องทำ hint ครับ

อีกอย่าง มีแค่คนทำฟอนต์เท่านั้นแหละครับที่จะมองตัวอักษรทีละตัว คนอ่านทั่วไปจะอ่านหรือจดจำรูปร่างของคำที่คุ้นตาแล้วสมองจะส่งความหมายมาให้เอง ด้วยเหตุนี้ถึงแม้ "ไม้ไต่คู้" จะดูแย่ยังไงแต่ถ้าใช้พร้อมกับตัวอักษรอื่นเราก็ยังรู้ว่ามันคือไม้ไต่คู้
บันทึกการเข้า

เทมเพลตฟอนต์ไทย FontUni https://github.com/fontuni/fontuni/releases
หน้า: [1] 2 3
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!