หน้า: [1] 2
 
ผู้เขียน หัวข้อ: "ผมแค่รู้สึกเจ็บปวดว่า..."  (อ่าน 8421 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
"ผมแค่รู้สึกเจ็บปวดว่าฟอนต์ไม่สร้างสรรค์พอ"

ปริญญา โรจน์อารยานนท์ ผู้พัฒนาฟอนต์ดีบี หนึ่งในฟอนต์ยอดนิยม เผยความรู้สึกที่มีต่อการตีความเกี่ยวกับฟอนต์....


คลิก

ลองอ่านดูจ๊ะ...ไม่รู้เคยอ่านกันมาบ้างหรือยัง ?..

/แก้ไขบั๊กหัวเรื่อง โดย ซ.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 พ.ค. 2006, 07:32 น. โดย アオイルナ » บันทึกการเข้า

NP Freedom
i am a slow walker, but i never walk backwards.
Abraham lincoln
สรุปหน่อย ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 พ.ค. 2006, 07:32 น. โดย アオイルナ » บันทึกการเข้า

สะพรึบสะพรั่ง ณหน้าและหลัง ณซ้ายและขวา ละหมู่ละหมวด ก็ตรวจก็ตรา ประมวลกะมา สิมากประมาณ
"ฟอนต์เป็นงานศิลปกรรม"

"ผมอยากให้ฟอนต์ที่พัฒนาขึ้น มีอายุการใช้ฟอนต์ยาวนานกว่าชีวิตผม"

ชอบ  2 ประโยคนี้แฮะ   เจ๋ง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 พ.ค. 2006, 07:33 น. โดย アオイルナ » บันทึกการเข้า

โฮ๊ะ  โฮ๊ะ  โฮ๊ะ  โฮ๊ะ
อ่านแล้วไม่เห็นมีอะไรเลย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 พ.ค. 2006, 07:34 น. โดย アオイルナ » บันทึกการเข้า

สะพรึบสะพรั่ง ณหน้าและหลัง ณซ้ายและขวา ละหมู่ละหมวด ก็ตรวจก็ตรา ประมวลกะมา สิมากประมาณ
อ่านแล้วไม่เห็นมีอะไรเลย

    คิดว่ามี มันก็จะมี

    คิดว่าไม่มี มันก็จะไม่มี

(สุภาษิตกะเหรี่ยง)

 หน้ามึน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 พ.ค. 2006, 07:34 น. โดย アオイルナ » บันทึกการเข้า

NP Freedom
i am a slow walker, but i never walk backwards.
Abraham lincoln
ผมเป็นคนนึงที่ชอบใช้ฟอนต์ DB Pradit มาก
ขอบคุณนายพลมากครับ  เจ๋ง

ปล.เคน มึง...

เอ้อ.. กูขี้เกียจพิมพ์และ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 พ.ค. 2006, 07:35 น. โดย アオイルナ » บันทึกการเข้า
ขอบคุณครับ
ขอ Quote มาหน่อยนะครับ





แอบอ้าง
หมวดหมู่       ข่าวไอที
  กระทู้      IT27
  วันที่      30 ธันวาคม 2545
  หัวเรื่อง      'ปริญญา โรจน์อารยานนท์' ผู้สร้างสรรค์งาน font
  เนื้อเรื่อง    
   
'ปริญญา โรจน์อารยานนท์' ผู้สร้างสรรค์งานฟอนต์

"ผมแค่รู้สึกเจ็บปวดว่าฟอนต์ไม่สร้างสรรค์พอ"

ปริญญา โรจน์อารยานนท์ ผู้พัฒนาฟอนต์ดีบี หนึ่งในฟอนต์ยอดนิยม เผยความรู้สึกที่มีต่อการตีความเกี่ยวกับฟอนต์ว่า ไม่ใช่งานสร้างสรรค์เพียงพอต่อการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2534

อย่างไรก็ตาม งานสร้างสรรค์ฟอนต์ จำเป็นต้องอาศัยความสามารถเฉพาะตัวพอสมควร และ ณ ปัจจุบัน มีเหลือผู้สร้างฟอนต์อยู่ไม่มากรายนัก

'ปริญญา' คือ ผู้ออกแบบฟอนต์ ที่ชื่นชอบงานออกแบบกราฟฟิก ในฐานะ "กราฟฟิก ดีไซเนอร์" ที่เรียนรู้ความต้องการของตัวเอง เมื่อครั้งเรียนหนังสืออยู่ที่คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และถือเป็นจุดหักเหชีวิตอันสำคัญ ซึ่งนอกจากฟอนต์ดีบีแล้ว ปัจจุบันยังมีผลงาน "กดไทย" สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย

"ขณะเรียนอยู่นั้นได้ค้นพบตัวเองว่า ไม่ได้ชอบงานด้านสถาปัตยกรรม สิ่งสนใจมากที่สุดคือ งานด้านกราฟฟิก ดีไซน์เท่านั้น จึงทิ้งชีวิตการออกแบบบ้านทั้งหลัง ผันตัวเองมาสร้างธุรกิจของตัวเอง คือ "ดีบี ดีไซน์" ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและออกแบบสื่อเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์" ปริญญา เล่าความเป็นมา

โดยสิ่งหนึ่งที่เขาไม่เคยลืมเลยตั้งแต่สมัยเรียน คือหลักการ "Design Follows Function" ทำให้งานด้าน Communication Art ของเขา มุ่งที่การสื่อสารสัมฤทธิผลเป็นหลัก ในเวลาที่เครียดจากงาน คิดงานไม่ออก "ดนตรี" การเล่น Accordion หรือหีบเพลงเยอรมนี ทำให้ผ่อนคลายและช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ทั้งหมดเป็นวิถีของเขา

เริ่มต้นจากกราฟฟิกดีไซน์ หลังจากเรียนรู้กระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์ที่เข้าไปเป็นลูกจ้างชั่วคราวในนิตยสารได้ระยะหนึ่ง เมื่อเพื่อนๆ ที่จุฬาฯ รวมตัวกันตั้งบริษัท เดียร์บุ๊ค เพื่อให้บริการด้านกราฟฟิกดีไซน์ สมัยซึ่งในไทยยังไม่ค่อยรู้จักงานด้านนี้นัก บริษัทจึงอาศัยจุดแตกต่างจากคู่แข่งที่นอกจากงานด้านออกแบบกราฟฟิกแล้ว ยังรวมถึงแบบตัวพิมพ์ไทย "ฟอนต์ไทย" ทั้งในเนื้อความ หรือพาดหัวให้กับลูกค้าด้วย

"จำได้ว่างานชิ้นแรกรายงานประจำปีของปูนซิเมนต์ไทย ที่มีการใช้ Desktop Publishing จากเครื่องแมคอินทอช และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ หรือทูลส์เข้ามาช่วยทำฟอนต์ ทำให้เกิด "ฟอนต์ ดีบี" เฉพาะแค่การทำรายงานประจำปี ปฏิทิน สมัยนั้นก็อยู่ได้แล้ว" ปริญญา ทวนความหลัง

ฟอนต์ดีบี เป็นฟอนต์ที่เกิดจากนักออกแบบเป็นครั้งแรก จากยุคแรกของการใช้ฟอนต์ไทยนั้น เริ่มจากบริษัท สหวิริยา โอเอ จำกัด (สมัยนั้น) ใช้วิศวกรออกแบบ และทำฟอนต์ไทยขึ้นมาเป็นจุดเริ่มต้น

ภายหลังคนเริ่มนิยมฟอนต์ดีบี บริษัท ดีบี ดีไซน์ จำกัด จึงทำเป็นเซอร์วิส บรูโร ใครต้องการใช้ฟอนต์ ก็ให้มาออกฟิล์มกับบริษัท แต่ก็เกิดการนำไปใช้แพร่หลายยังโรงพิมพ์ต่างๆ ในวงกว้าง นอกเหนือจากลูกค้าของบริษัท

ฟอนต์เป็นงานศิลปกรรม

ในการออกแบบฟอนต์นั้น ประเด็นหลักไม่ใช่อยู่ที่ฟอนต์ เป็น "โปรแกรมคอมพิวเตอร์" หรือไม่ แต่อยู่ที่ฟอนต์ เป็นงาน "ศิลปกรรม" ที่ต้องใช้ความสามารถเชิงสร้างสรรค์และรูปลักษณะเชิงสุนทรีย์ ตัวอย่าง บางฟอนต์ใช้เพื่อการพิมพ์สื่อสารเนื้อความ (TEXT) และในบางฟอนต์มีการให้น้ำหนักอักษร ที่แตกต่างกันไป ก็อาจจะสร้างอารมณ์ให้ผู้อ่านรู้สึก โหด ฮา หรือเป็นทางการได้

การออกแบบฟอนต์ เป็นการออกแบบรูปอักษร (Glyph) มีเส้นรอบ และกำหนดช่องไฟ (Space) น้ำหนักตัวอักษรทั้งความหนา ความสูง ซึ่งต้องใช้ศาสตร์ศิลปะสร้างภาพลวงตา เพื่อให้อ่านง่าย (Legibility) และดูสวยงามกลมกลืน

อายุฟอนต์ยืนยาวกว่าชีวิต

ทั้งนี้ 'ปริญญา' เห็นว่า การออกแบบฟอนต์ เป็นการสร้างงานชิ้นใหม่ ที่ต้องมีแก้ไขปัญหาอยู่เสมอ ต้องใช้ความอุตสาหะ เอาใจใส่ และละเอียดกับมัน สำหรับนักออกแบบฟอนต์แล้ว หากไม่ได้นึกถึงงานเชิงพาณิชย์แล้วเป้าหมายของการออกแบบยังมี "ผมอยากให้ฟอนต์ที่พัฒนาขึ้น มีอายุการใช้ฟอนต์ยาวนานกว่าชีวิตผม" ส่วนการสร้างสรรค์ที่เพียงพอหรือไม่นั้น ผู้ใช้น่าจะเป็นผู้ตัดสิน

พัฒนา "กดไทย"

จากการพัฒนาฟอนต์ มีเพื่อนที่จุดประกายความคิดและให้แรงบันดาลใจ ว่า น่าจะสามารถพัฒนาการทำเอสเอ็มเอสภาษาไทยได้ ทำให้พัฒนา "กดไทย" (Gotthai) ที่ได้จดสิทธิบัตรตั้งแต่กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

หลักการจัดกลุ่มตัวอักษรแบ่งตามหน้าที่การใช้งาน (ฟังก์ชั่น) เลือกเฉพาะตัวที่ใช้งานมากซึ่งมักจะเขียนง่าย มาเป็นตัวหลัก ประจำแป้นละไม่เกิน 4 ตัว ตัวที่เขียนยากกว่า จะคล้ายกับตัวหลัก ให้หาได้จากตัวหลัก (จะมีแป้นอักษรคล้าย หรือใช้การกดค้างที่ตัวหลักก็ได้)

การวางแป้นสระแต่ละประเภทรวมทั้งแป้นวรรณยุกต์นั้น เน้นให้ตรงกับธรรมชาติการเขียนภาษาไทยแต่เปลี่ยนจากเขียนมาเป็นการ "กดไทย" ช่วยให้ผู้ใช้งานไม่ต้องจำ

หวังมีแป้นแห่งชาติ

ปัจจุบันการใช้งานเอสเอ็มเอสภาษาไทย เป็นไปแบบต่างคนต่างทำ ทั้งค่ายของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือโอเปอเรเตอร์ และผู้ผลิตเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เอง ทำให้ผู้ใช้งานต้องเรียนรู้การใช้งานตามแต่ที่โอเปอเรเตอร์ และผู้ผลิตจะออกแบบมา โดยเห็นว่า น่าจะผลักดันให้มีการพัฒนา "แป้นแห่งชาติ" คล้ายการทำแป้นพิมพ์ดีด เป็นมาตรฐานกลางสำหรับผู้ใช้งานเอสเอ็มเอสไทยได้ ซึ่งอาจให้ผู้ใช้เป็นผู้เลือกหรือตัดสินทดลองใช้งานได้ว่าแป้นแบบใดที่ใช้งานได้ง่ายและสะดวกที่สุด




 เจ๋ง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 พ.ค. 2006, 07:36 น. โดย アオイルナ » บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ขอบคุณฮะ ลันล้า
ปล.อ่านไปครึ่งเดียว ปวดตา ไว้ว่างๆจากเก็บดาวจะมาอ่านต่อ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 พ.ค. 2006, 07:37 น. โดย アオイルナ » บันทึกการเข้า

โอ้วววววว
บันทึกการเข้า
ยังหลับอยู่
รอให้ตื่นแล้วจะมาอ่านต่อ  หน้ามึน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 พ.ค. 2006, 07:37 น. โดย アオイルナ » บันทึกการเข้า
กำลังสนุกเลยค่ะ เล่าต่อสิคะ  หมีโหดดดด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 พ.ค. 2006, 07:38 น. โดย アオイルナ » บันทึกการเข้า

ตามหารักแท้ค่ะ โฮกกก
ขี้เกียจอ่าน ช่วยทำเป็นเป็น wma ที ฮี่ๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 พ.ค. 2006, 07:38 น. โดย アオイルナ » บันทึกการเข้า

วาว วาว เสียงรถไฟแล่นไปฤทัยครื้นเครง
ไม่เห็นมีอะไรเลย
บันทึกการเข้า

สะพรึบสะพรั่ง ณหน้าและหลัง ณซ้ายและขวา ละหมู่ละหมวด ก็ตรวจก็ตรา ประมวลกะมา สิมากประมาณ
ไอ้เคน.....





คดีนี้จบลงตรง
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
อ๋อ
บันทึกการเข้า

สะพรึบสะพรั่ง ณหน้าและหลัง ณซ้ายและขวา ละหมู่ละหมวด ก็ตรวจก็ตรา ประมวลกะมา สิมากประมาณ
หน้า: [1] 2
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!