เอาตัวอักษรในข้อความไปหารหัส glyph ที่ใช้ก่อน จากนั้นจะเอารายการรหัส glyph ที่เรียง ๆ กันไปเรียกฟีเจอร์ ccmp (compose/decompose หรือการประกอบ/แยกส่วน) เพื่อที่จะเปลี่ยน glyph บางตัวให้อยู่ในรูปที่ถูกต้อง (สิ่งที่เจ้า ccmp ทำอย่างนึงก็คือการทำ Ligature) สุดท้ายก็จะเอา glyph ที่ได้หลังจากการทำ ccmp ไปจัดวางตำแหน่ง
ถ้าเว้ากันซื่อ ๆ
อันนี้มันก็คือหลักการทำงานของพวกภาษาอาหรับรึเปล่าฮะ ?
ที่พิมพ์เป็นตัว ๆ ไป แต่พอครบคำ ก็จะรวมมาเป็นตัวอีกแบบหนึ่ง
หรือพวกภาษาเกาหลี แบบที่เห็นในซีรีย์ ..พิมพ์ไปสามสี่ตัว แล้วรวมกันออกมาเป็นหนึ่งตัว
(อธิบายบ้าน ๆ ได้แค่นี้อ่ะ เคยทำงานภาษาอาหรับ
แล้วคุ้น ๆ ว่าต้องใช้ world ready script ใน indesign เพื่อเปลี่ยนหน้าตาให้ถูกต้อง
..ถ้างง ๆ ก็อภัยนะฮะ เพราะผมเองก็งง ๆ

)
อีกเรื่องที่จะสอบถามยืนยันคือ
glyph ทางเลือกที่เราจะสร้างขึ้นมา เช่น xxx.alt xxx.small ไรพวกนี้
สามารถสร้างได้ไม่จำกัดใช่ไหมฮะ ?
ตราบใดที่เราไม่ไป assign รหัส unicode ลงไปให้มัน แล้วอาจจะไปทับช่วง unicode ของภาษาอื่น
(คือมีแต่ชื่อ glyph แล้วทิ้งรหัสว่างไว้)
ปล. ตัวลาติน smallcap นี่ ตามมาตรฐานมีช่วงรหัส unicode หรือเปล่าฮะ
ผมลองหาจาก unicode.org ไม่ยักกะเจอ
ขอบคุณฮะ