เครือข่ายพลังบวกด้วย โอ้ น่าสนุก
เคยไปดูงานนรกพลังบวกของ อ.ประชา สุวีรานนท์ไหมครับ
ที่จัดไม่กี่เดือนก่อน ผมว่านั่นคือการจำกัดความที่ผมรู้สึกต่อ
วิธีการจำกัดความความดี บนวิธีคิดของเครือข่ายพลังบวกได้ชัดมาก
(คืออ.ประชาแกทำเป็นการเสียดสีนั่นแหละ)
คำถามนี้มันกว้างแะลไกลมาก เราสามารถคุยกันได้หลายร้อยประเด็น
แต่ถ้าสำหรับการทำงานและมีอาจารย์คอยตรวจทีสีสแบบนี้
ก็ต้องมาดูว่าตัวองค์กรที่เราทำให้นั้น จำกัดความคำว่าความดีในลักษณะไหน จะได้แคบลง
เครือข่ายพลังบวกนี่ จำกัดความง่ายมาก คือความดีเฉพาะหน้า
ความดีที่ผูกกับระดับจริยธรรมพื้นฐานที่มองเห็นได้ด้วยตาทั่วๆไป
แล้วจริงๆ งานออกแบบก็มักจะนำเสนอได้แค่มิติตื้นเท่านี้แหละ
เช่น ตอนที่มีวิกฤติการเมือง ก็เสนอประเด็นว่าเราต่างทำร้ายกันและกัน
เพราะงั้นให้หันมาตั้งคำถามว่า เราทำร้ายกันไปทำไม ประเด็นคือ "ตั้งสติ หันมามองตนเอง หยุดความรุนแรงตรงหน้า"
และเปลี่ยนความรุนแรง ความเศร้า ความเกลียดชังทุกอย่างให้เป็น"พลังบวก-มองโลกในแง่ดี"
เพื่อเอาพลังมาทำสิ่งดีๆแก่สังคม
มองนรกในแง่ดี
Bright Sided Hell: A Positive Thinking Guide
หลายปีที่ผ่านมา “มองโลกในแง่ดี” กลายเป็นแนวคิดที่นักพูดในทีวี นักเทศน์บนเฟซบุ๊ก และนักเขียนหนังสือ self-help พากันสดุดีราวกับเป็นธรรมะหรือทางไปสู่นิพพานของสังคมไทย มันสามารถเอาชนะทุกอย่าง ไม่ว่าจะเรื่องการลดความอ้วน คบหาเพื่อนฝูง หาทางร่ำรวย การเผชิญหน้ากับโรคร้าย ความแก่ชรา รวมทั้งวาระสุดท้ายของชีวิต
หลักการข้อแรกคือ ปัญหาต่างๆ แก้ไขได้ด้วยการเปลี่ยนทัศนคติ หรือเชื่อว่า “สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ” ยกตัวอย่างเช่น มะเร็งเป็นโรคที่รักษาได้ถ้าตั้งใจจะรักษา ข้อที่สอง การเปลี่ยนทัศนคติที่ว่านี้ เป็นเรื่องของทักษะที่ฝึกปรือกันได้เหมือนหัดตีปิงปอง ข้อที่สามคือ สิ่งที่เราอยากได้อยากมีจะมาถึงเอง ถ้าฟูมฟักความเชื่อนี้อย่างจริงจังและอดทน เช่นเขียนชื่อสิ่งที่ต้องการปะไว้บนเพดาน ตรรกะวิปริตของลัทธินี้คือ ถ้าอยากแก้ไขเปลี่ยนแปลง จงพอใจในสิ่งที่ตนมี เมื่อหยั่งรากลงไปในสังคมไทย แนวคิดนี้ก็กลายเป็นระบบศีลธรรมที่โยนบาปกลับไปให้ผู้เป็นเหยื่อ และถูกใช้เพื่อกำหราบการแข็งข้อ หยุดยั้งการเปลี่ยนแปลง และกระทั่งสกัดกั้นการตั้งคำถาม
แนวคิดนี้ช่วยกลบเกลื่อนและกดดันความขุ่นข้องหมองใจในสังคม ปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าวยากหมากแพง ความขัดแย้งการเมือง หรือสถาบันในสังคมล่มสลาย เกิดขึ้นและลุกลามไปเพราะเราไม่ปรับปรุงทัศนคติของตนเอง เพียงแค่คิดหรือไม่ยอมก้มหน้าก้มตารับกรรมต่อไป ก็ผิดแล้ว “มองโลกในแง่ดี” จึงหมายถึงสังคมของคนที่ไม่มีปากเสียง เด็กที่ยอมทนกับการปกครองที่กดขี่ ลูกจ้างที่ยอมรับค่าแรงถูกๆ และจำเลยที่ยอมรับคำพิพากษาของสังคมอย่างไม่มีเงื่อนไข
รัฐประหาร 2549 ซึ่งตามมาด้วยวิกฤติการเมือง ทำให้ “มองโลกในแง่ดี” เบ่งบาน แม้แต่การเรียกร้องความเสมอภาคและความยุติธรรมในทางการเมืองก็กลายเป็นการมองโลกในแง่ร้าย มีฐานะเป็นภัยสังคมชนิดที่รัฐต้องกำจัด ยิ่งไปกว่านั้น หลังการปราบปรามผู้ชุมนุมในปี 2553 แนวคิดนี้ก้าวมาถึงจุดที่เป็นข้ออ้างในการทำสงครามและกำหราบปราบปรามฝ่ายตรงข้าม ด้วยการจับมือกันของรัฐบาล ทหารและกูรูแห่งลัทธิ “มองโลกในแง่ดี” จำนวนมาก สื่อ ศิลปะและโครงการรณรงค์ต่างๆภายใต้ชื่อใหม่ว่า “พลังบวก”บ้าง “ฝันถึงสันติภาพ”บ้าง “ไทยเข้มแข็ง” บ้าง ถูกผลิตขึ้นมาอย่างรีบด่วน ทุกชิ้นล้วนปกคลุมด้วยอุดมการณ์เก่าๆ เช่น ชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์ และความสามัคคีของคนในชาติ ด้านหนึ่งปลอบใจชนชั้นกลางไม่ให้รู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมในอาชญากรรมของรัฐ อีกด้านหนึ่งก็เพื่อไม่ให้ตื่นตระหนกกับวิกฤตินั้น
ในมุมมองของผู้เขียน “มองโลกในแง่ดี” จึงคล้ายกับคำสอนในไตรภูมิ ซึ่งว่ากันว่าเป็น “สิ่งที่ใช้ควบคุมทางสังคม เพราะสามารถเข้าถึงจิตใจทุกคนได้โดยมิต้องมีออกกฎบังคับกัน ภาพวาดชั้นเลิศจากสมุดภาพไตรภูมิ ในฐานะที่เป็นต้นแบบของนรกถูกอัญเชิญมาเพื่อถ่ายทอดความคิดของผู้ที่ต้องการพิสูจน์ว่า แม้ในขุมนรกการมองแต่แง่ดีย่อมช่วยแก้ปัญหาได้เสมอ
หรือสิ่งที่คนตั้งคำถามกับกรอบความดีลักษณะนี้ ก็อย่างเช่น
ปกนิตยสารเวย์ฉบับนี้
เริ่มงงใช่ไหมครับ ตกลงว่าที่กลุ่มพลังบวกชวนนคนมองโลกในแง่ดี ทำความดี
แล้วไหงมันกลายเป็นเรื่องที่มีคนแขวะได้ยังงี้ ยังงี้ไม่สามารถเอาไปช่วยเหลือต่อเติมแนวคิดในการทำทีสีสได้แน่นอน
แต่เอาเป็นว่าช่วยเสริมมุมมองในการตีความ เผื่อจะช่วยได้