สำหรับจิตวิทยาตะวันตก ส่วนมากจะมองว่าวัยที่สำคัญที่สุดสำหรับชีวิตแล้ว
ถ้าโดยภาพรวมทางทฤษฎี เขาให้ความสำคัญกับ 5 ปีแรกของชีวิตว่าสำคัญมาก
เขาให้ความสำคัญมากกับวัยเด็กระยะนี้ เหมือนกับบรรไดแรกแห่งชีวิตก็ว่าได้
ทางพุทธศาสนาเปรียบพ่อแม่ว่าดุจพระพรหมของลูก
ที่กล่าวเช่นนั้นเพราะว่าความเชื่อสมัยนั้นกล่าวว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างโลก
แต่เพื่อปรับความเข้าใจให้ดีที่สุด คำสอนทางพุทธจึงยกให้พ่อแม่ว่าเป็นพรหมของลูก
เพราะโลกทั้งโลกของลูกจะถูกสร้างสรรค์ด้วยความรัก ความใส่ใจ ความห่วงใยและความเกื้อกูลอย่างมีเหตุผลของพ่อแม่
พ่อแม่จะเป็นผู้ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองด้วยความรักความใส่ใจต่อบุตรธิดา
พ่อแม่จึงเป็นผู้กำหนดรู้หน้าที่ตนว่าโลกของลูกควรประกอบด้วยอะไร ควรเป็นอย่างไร วิธีไหนดีที่สุด
สิ่งไหนที่ไม่ดีพ่อแม่จะปกป้องคัดกรองไม่ให้ลูกต้องประสบพบพาลกิดกั้นไว้ด้วยสติปัญญาความสามารถตนสุดกำลัง
สิ่งไหนที่ดีพ่อแม่จะพยายามคัดสรรปลูกปั้นและสร้างสรรค์ขึ้นไว้ด้วยสติปัญญาความสามารถตนสุดความพยายาม
นี่คือความหมายที่กล่าวว่าพ่อแม่คือพรหมของลูก เพราะเป็นผู้มอบโลกทั้งใบให้กับลูกตน
พ่อแม่จึงควรให้คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับการใช้ชีวิตขั้นพื้นฐานในระยะเริ่มแรกของชีวิตลูก
ด้วยการขัดเกลาตามกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม ดังนั้นแน่นอนว่าไม่ใช่ทั้งหมด ทุกเรื่อง
เพราะเมื่อลูกเจริญเติบโตขึ้นเท่าไหร ลูกก็จะเดินห่างไกลออกจกอ้อมอกของพ่อแม่ไปทุกขณะ
ลูกแต่ละคนจะก็ได้เติมเต็มช่องว่างของชีวิตตนให้สมบูรณ์ตามกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม จากการสังเกต เลียนแบบ จดจำและฝึกกระทำตาม
ท้ายที่สุดก็จะค้นพบรูปแบบวิธีการของตนเองในกระทำพฤติกรรมต่าง ๆ
แน่นอนว่าสังคมเพื่อน ย่อมมีปฏิกิริยาต่อโลกของลูกเมื่อก้าวเข้าสู่สังคม พ่อแม่จึงควรให้คำแนะนำในการเลือกคบเพื่อนที่เหมาะสม
รวมไปถึงให้คำแนะนำที่เหมาะสมแก่ลูกเมื่อต้องคบหากับใครเป็นพิเศษ เพราะเพื่อนคือโลกของลูกที่ส่งผ่านทางกระบวนการขัดเกลาทางสังคมอีกใบ
จะเห็นได้ว่าบางครั้งอยู่กับพ่อแม่ลูกมีพฤติกรรมอีกแบบ
แต่เมื่อกลับเข้าสู่สังคมเพื่อนก็เป็นอีกแบบหนึ่งก็มี
บางครั้งพ่อแม่สอนดี แต่ลูกคบเพื่อนไม่ดีก็มี
บางครั้งพ่อแม่สอนไม่ดี ลูกอาจมองเห็นว่าไม่ควรเอาอย่าง เอาเป็นบทเรียนสอนใจทำให้ไม่ผิดซ้ำรอยพ่อแม่ก็มี
ฉะนั้นโลกของคนแต่ละคนบางครั้งไม่ได้ขึ้นกับพ่อแม่ ไม่ได้ขึ้นกับเพื่อน แต่ขึ้นกับตัวเขาเองก็มี
หรือบางรายก็ขึ้นกับกระแสสังคมก็มี ทั้งนี้เกิดจากการเรียนรู้ของเขา
การที่คนจะประจักษ์แจ้งในตนเอง(Self-Actualization) มันจึงขึ้นกับวุฒิภาวะของแต่ละคนด้วย
บางคนเป็นเด็กแต่ความคิดเป็นผู้ใหญ่มาก แต่บางคนเป็นผู้ใหญ่ แต่คิดได้เหมือนเด็กก็มี
ทั้งนี้มันขึ้นกับวุฒิภาวะทางจิตของคนเราด้วย
ส่วนตัวมองว่าอิทธิพลทางสังคมมีส่วนไม่น้อยต่อชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ในสังคม
แต่หากใจคนมันไม่รับก็ยากอยู่ ฉะนั้นการขัดเกลาทางสังคมอย่างเดียวก็ไม่แน่จะรอด
หากควรคำนึงถึงการขัดเกลาทางจิตด้วย
พูดง่าย ๆ ก็คือต้องให้ผ่านกระบวนการขัดเกลาทางจิตสังคมไปด้วยพร้อมกัน
แล้วบุคคลจะบรรลุ Self-Actualization ในตนเองขึ้นมาได้
ดังนั้นที่บอกว่า "สิ่งต่างๆที่เราพบในวัยเด็ก มันอาจมีอิทธิพลหลายๆประการกับเราทุกวันนี้โดยที่เราก็ไม่ได้รู้ตัว
ในหนังฝรั่งเวลามีฉากจิตแพทย์ ถึงได้เป็นการนั่งคุยประวัติชีวิตวัยเด็กซะเป็นส่วนใหญ่
หรือการ์ตูนแบบ 20th Century Boy คือตัวอย่างที่ชัดมากของการเอา
หลักการทางจิตวิทยาอันนี้มาใช้ขยายเป็นเรื่องทั้งเรื่อง "
นั่นถือว่าเข้าใจถูกครับ แต่มันแค่ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น
บางคนดีต้น แต่คบเพื่อนผิดชีวิตก็พินาศ ก็มี หรือหากจิตใจเขาเข้มแข็ง มีปัญญาจำแนกความเหมาะสมได้ก็ยับยั้งจิตใจตนไว้ได้
บางคนต้นร้าย แต่ได้กัลยาณมิตรคอยเตือนสติ ก็อาจทำให้ชีวิตเขาเจริญงอกงาม ขึ้นได้มาได้
บางรายต้นดี ปลายดีก็มี หรือต้นร้ายปลายร้ายก็มี
โอกาสมันเป็นไปได้ครับ ถ้าเป็นไม่ได้คงไม่มีกรณีที่เราเรียกว่า "โจรกลับใจ" จริงมั๊ย
ในหนังฝรั่งนั่นเขาทบทวนประวัติเด็กเป็นส่วนใหญ่ เพราะทำตามกระบวนให้คำปรึกษาทางด้านจิตวิทยา
แต่นั่นเป็นขั้นต้นของกลุ่มจิตวิเคราะห์(Psycho-analysis) ที่เรารู้กัน ความคิดนี้มาจาก ซิกมันด์ ฟรอยด์ นั่นเองครับ
ระยะหลังมีหลายวิธีวิทยาการในการให้คำปรึกษาที่พัฒนาขึ้นมาอีกมากมายหลายวิธี
(ไม่เคยดูการ์ตูน 20th Century Boy เคยดูหนังเรื่องนี้แต่ไม่ได้ดูถึงภาคสาม
)