นับตั้งแต่อดีต คนจำนวนมากก็มองว่าศิลปะเป็นอาญาสิทธิ์อย่างนึงนั่นแหละครับ
คนอย่างเฉลิมชัยก็เป็นคนนึงที่ยึดกุมอาญาสิทธิ์อันนั้นไว้ได้
เพื่อที่จะกำหนดว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรใช่หรือไม่ใช่
ถ้าใช่แล้วทำได้ไหม? ถ้าไม่ใช่แล้วทำได้ไหม?
คำถามนี้ของจักรีน่าสนใจว่าถ้าเรียกมันว่าศิลปะแล้ว แปลว่าทำได้โอเคหรือเปล่า?
คำตอบก็คือใช่ครับ ถ้ามันได้รับการตัดสินจากคนในสังคม
ว่ามันอยู่ในพื้นที่ของศิลปะ มันก็จะไม่มีปัญหา
เพราะถ้าทำแบบนี้ แล้วมันไม่ได้อยู่ในพื้นที่ของศิลปะ
มันก็จะอยู่ในพื้นที่ของอนาจาร มันก็จะไม่โอเคนั่นเอง
แต่ส่วนมากมันก็จะเกี่ยวข้องกันนั่นแหละ คือมันเกิดขึ้น"พร้อมๆกัน"
คนส่วนมากในสังคมไม่ชอบ ไม่ปลื้ม ไม่เหมาะสมก็จะไม่เรียกว่ามันเป็นศิลปะ
ไม่ใช่ว่ากระบวนใดกระบวนการหนึ่งเกิดขึ้นก่อนชัดๆแบบนั้น
สุดท้าย ผลลัพธ์ก็จะเหมือนกันคือ เกิดกระบวนการผลักมันไปอยู่ในพื้นที่อื่น
(ไม่ว่าจะอนาจาร-อยากโชว์-เพี้ยน หรือว่าอะไร)
ส่วนความเหมาะสมต่อสังคม ผมมีคำถามที่สำคัญกว่านั้น
ทุกครั้งที่เราพูดว่า "ไม่เหมาะสมกับสังคมไทย"
ทุกครั้ง ผมก็สงสัยว่าเราตาบอดกันอยู่หรือเปล่า
ในขณะที่คนจำนวนมากบนโลกมองว่าเราคือซ่องโลก
บาร์เต้นเปลือยโชว์นมหาดูง่ายในระดับที่ใครๆก็เดินผ่านไปดูได้
ทุกคนในสังคมไทยเรารู้หมดว่ามันมีและหาง่าย
(ไม่ต้องบอกนะครับว่าฝรั่งก็มี ก็มีทุกที่บนโลกนั่นแหละ อันนี้เทียบในเชิงปริมาณ)
เรามาจะเป็นจะตายกับผู้หญิงคนนึงโชว์นมทาสีใน TGT
แต่ทุกคนชิวๆชินๆเฉยชากับการเป็นซ่องโลกของไทย
ผมว่านี่เป็นศีลธรรมดัดจริตที่เราทุกคนต้องร่วมกัน Perform อ่ะ
เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทางสังคมของเราทุกคนด้วยซ้ำ(เวลาอยู่บนพื้นที่สาธารณะเช่นสื่อ)
ดูเรื่องเด่นเย็นนี้เหมือนกัน สรยุทธ เสี่ยตา เฉลิมชัย
ทุกคนร่วมกัน Perform ศีลธรรมลวงอันนี้ร่วมกันหมดเลย
ผมว่านี่แหละ Performance Art ที่โคตรย้อนแย้งของจริง
