จริงๆเวลาเราพูดคำว่ารสนิยม กับคนอื่นๆทั่วๆไป
คำนี้มันบรรจุความหมายในแง่ลบ ในแง่ของการดูถูกไว้ด้วย
แต่พูดกันในการเรียนออกแบบ ถ้าจะต้องให้คะแนนกันเนี่ย
ต้องถกกันยาวเลยนะครับ เพราะมันเป็นประเด็นที่ไม่มีคำตอบตายตัว เป็นค่าสัมพัทธ์ เป็นภวะวิสัย
ไม่มีใครรู้แน่ว่าอันไหนถูกต้องที่สุด แต่บังเอิญว่า มันก็มีค่าเฉลี่ยพอให้อ้างอิงอยู่บ้าง
มีงานระดับมาสเตอร์พีซที่เป็นที่ยอมรับพอให้เป็นหลักเกี่ยวอยู่บ้าง
แล้วพอทำงานจริงๆเยอะๆ ก็จะยิ่งรู้ว่า มันวัดกันที่ตรงนี้จริงๆ
เรื่องของเรื่องคือ เรื่องคอมโพส สี กริด ไทโป ทุกอย่างเราเรียนรู้ได้หมด
แต่ไอ้รสนิยมนี่ล่ะ ไอ้ของยังงี้มันเรียนกันแทบไม่ได้ ไม่มีใครสอนกันได้
มันมาจากสิ่งที่เราเสพมาตลอดชีวิต เราคือผลลัพธ์ของเพลงที่เข้าหูเราทุกวัน
ของหนังที่เราดู ของงานกราฟิกแบบที่เราชอบ หญิงแบบที่เราปิ๊ง มันอยู่ในของพวกนั้น
ของพวกนั้นมันมาฟอร์มและกล่อมเกลารสนิยมเรา แล้วทีนี้ ตั้งแต่เกิดจนโต เราจะไปควบคุมมันได้ไหมล่ะ
หรือเราจะรู้ตัวไหมล่ะ ว่าต้องเอามันมาประกอบอาชีพตอนโต ถ้ารู้ตั้งแต่เด็ก
ป่านนี้ฟังแมนิคส์สตรีทพรีชเชอร์ตั้งแต่ ม.1 แล้ว
ถึงจะมีหลายคนที่สุดท้ายมาประกอบสร้างมันได้
อย่างตอนเรียนของผม ก็มีหลายคนมากที่ตอนเข้ามายังคอมโพสแบบงานประกวดภาพวาดประจำจังหวัดอยู่เลย
แต่จบออกมาด้วยรสนิยมที่ดี และปัจจุบันก็ทำงานรีทัชแบรนด์ยักษ์ๆ
ด้วยสังคมที่ข้นคลั่กหล่อหลอม พูดให้เห็นภาพง่ายกว่านั้นคือ ตอนเรียนมันโดนล้อจนเสียหมา
เรื่องที่มันเปิดเพลงเจมส์ฟัง (อันนี้พูดแบบไม่สนใจว่าใครจะเป็นแฟนเพลงเลยนะ)
ก็ทำนองนี้ล่ะครับ ของมันหล่อหลอมกันได้ เอาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมทางสุทรียศาสตร์แบบไหน
เราก็กลายเป็นคนแบบนั้นล่ะ ตอนนี้โตแล้ว เราควบคุมมันเองได้ เรียนรู้มันเองได้
แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนแปลงแบบนั้นล่ะก็ ก็บ๊ายบายเลยครับ
เพราะผมแทบไม่เคยเห็นใครที่เกิดมาเป็นยังไงแล้วมาเปลี่ยนรสนิยมความชอบกันตอนโตได้จริงเลย
คนที่ทำอะไรเชยๆก็จะทำอยู่ยังงั้น เพื่อนในห้องคนที่มันไม่ได้สนใจสังคม
ทำอะไรเชยๆมาแต่แรก จนจบ จนทำงาน ก็ยังทำเชยมาจนทุกวันนี้
ออกจะเป็นเรื่องยุ่งยากอยู่ แต่พอตอนเราประเมินคุณค่างาน
มันใช้เวลาน้อยที่สุดแล้วครับ ที่จะบอกว่างานไหนเชยชิบหาย กับงานไหนล้ำสุดๆ
เป็นสิ่งที่โคตรจะคอมม่อนเซนส์จนไม่ต้องการคำอธิบายอะไรเสริมเลย
ช่วยเรื่องทำปกซีดีได้มั่งไหมเนี่ย
