หน้า: 1 2 3 4 [5] 6 7 8 9 10 11 12
 
ผู้เขียน หัวข้อ: กลเม็ดใช้ Typo ให้เป็นผู้ดีมีสกุล  (อ่าน 136185 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
จบบทนี้แล้วผมขออนุญาตนำไปอยู่ในหมวดบทความหน้าเว็บนะครับ
ใส่เครดิตเรียบร้อย กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ของดีแบบนี้ต้องเผยแพร่
 เจ๋ง
บันทึกการเข้า

ยินดีครับ เพื่อพัฒนาวงการไทโป้  เจ๋ง
บันทึกการเข้า

เปลี่ยนแนวคิดเพื่อการใช้ Typography ให้ถูกต้องตามหลักสากล

ALT + 0150 / Option + - (เครื่องแมค)   en dash
ALT + 0151 / Option + _ (เครื่องแมค)  em dash

ส่วน Hyphen / Minus ส่วนมากใช้ร่วมกันได้ครับ ยกเว้นบางฟอนต์ที่ออกแบบมาต่างกัน อย่างที่ผมให้รูปไป
จากเดิมในรหัสแอสกี ยัติภังค์และเครื่องหมายลบใช้สัญลักษณ์ตัวเดียวกันคือ (-) ที่ตำแหน่ง 0x2D แต่สำหรับรหัสยูนิโคด
ได้แยกสองเครื่องหมายนี้ออกจากกัน โดยยัติภังค์อยู่ที่ U+2010 (‐) และเครื่องหมายลบอยู่ที่ U+2212 (−)
แต่ก็ยังคงอักขระตัวเดิมไว้ที่ U+002D เพื่อให้ยังสามารถรองรับและเข้ากันได้กับรหัสแอสกี  (ข้อมูล:Wiki)

ยัติภังค์มันมีเรื่องราวซับซ้อนมากครับ ทั้งยัติภังค์เผื่อเลือก ยัติภังค์แบบไม่ตัดคำ
ซึ่งจะพบในโปรแกรมประเภทจัดหน้าหนังสือครับ


สนใจเรื่องขีดเลยไปค้นมาเพิ่มค่ะ
ใน Windows ใช้ ขีด พิมพ์ได้ตามนี้ค่ะ แล้วมันจะแปลงเป็นเครื่องหมายต่างๆ ให้เอง




  • ขีดขีด ส่วนใหญ่จะได้ออกมาเป็น dash
  • A+วรรค+ขีด+วรรค+B ได้ผลเหมือนกับ A+วรรค+ขีดขีด+วรรค+B ก็คือเป็น A+วรรค+dash+วรรค+B
  • ถ้า A+ขีดขีด+B จะได้ A+em dash+B


ที่มาค่ะ ถ้าเขียนผิดไปฝากชี้แนะด้วยนะคะ กรี๊ดดดดด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 พ.ย. 2010, 13:07 น. โดย 蓝月 (lán yuè) » บันทึกการเข้า

ที่สุดถ้ามันจะไม่คุ้ม
แต่มันก็ดีที่อย่างน้อยได้จดจำ
ว่าครั้งนึงเคยก้าวไป...
18. หันมาพิมพ์ไม้ยมก ๆ และ ไปรยาลน้อย ฯ ติดกับคำหน้า โดยไม่ต้องเคาะ

อันนี้ผมมีข้อสังเกตคือเวลาเราเคาะก่อนใส่เครื่องหมายดังกล่าว เวลาตัดบรรทัดอัตโนมัติ แล้ว
มันชอบถูกแยกออกจากกัน คือ คำที่มีเครื่องหมาย เวลาไปอยู่ท้ายบรรทัด
แล้วเครื่องหมายจะตกไปขึ้นอยู่ที่ต้นบรรทัดใหม่ ซึ่งไม่สวยงาม
หรือบางทีที่จัด Justify แล้วดันอยู่ห่างกันเกินไปอีก ซึ่งไม่สวยงามอีกเช่นกัน

คนที่จะทำฟอนต์ คงต้องเพิ่มช่วงห่างด้านหน้าของตัว ( ๆ ) อีกนิด เพื่อที่จะได้มีระยะที่สวยงาม
และหลังเครื่องหมายให้เว้นวรรคเล็ก 1 ครั้ง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 พ.ย. 2010, 22:30 น. โดย itemsafety » บันทึกการเข้า

เปลี่ยนแนวคิดเพื่อการใช้ Typography ให้ถูกต้องตามหลักสากล
โอ้ นี่เป็นเหตุผลที่ดีเวลามีคนถามว่าทำไมเราไม่พิมพ์เว้น ๆ ตามมาตรฐานของราชบัณฑิตยสถาน
(ซึ่งเอาเข้าจริงไม่มีสนักพิมพ์ที่ไหนใช้เลย) ขอบคุณครับ เจ๋ง
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ราชบัณฑิตย์ฯ ไม่ได้ทำฟอนต์ ไม่ได้วางระบบตัดคำภาษาไทยในคอมพิวเตอร์นี่ครับ
เขาก็วางเกณฑ์ไปแบบคนหัวเก่า 55555+
บันทึกการเข้า

เปลี่ยนแนวคิดเพื่อการใช้ Typography ให้ถูกต้องตามหลักสากล
ราชบัณฑิตย์ฯ ไม่ได้ทำฟอนต์ ไม่ได้วางระบบตัดคำภาษาไทยในคอมพิวเตอร์นี่ครับ
เขาก็วางเกณฑ์ไปแบบคนหัวเก่า 55555+

 * 
บันทึกการเข้า
อ่านอย่างเพลิดเพลิน  กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

เพิ่งเห็นกระจู๋นี้  กรี๊ดดดดด กรี๊ดดดดด

บวกๆ ความรู้ทั้งนั้นเลย ยอมรับว่าบางครั้งก็ทำผิดๆ ไปหลายทีเหมือนกัน
บันทึกการเข้า

อืมมม...
19. ใช้ non-breaking space ระหว่างชื่อและนามสกุล ของบุคคล

เรื่องนี้อาจจะยากไปสำหรับคนสามัญ แต่ก็ขอฝากไว้สักเรื่องละกันครับ
เมื่อพิมพ์ชื่อเสร็จ จะพิมพ์นามสกุล อย่าเพิ่งเคาะสเปซบาร์

Windows ทั่วไป Alt+0160 / Mac -->  Option + Space  
(เฉพาะ Adobe InDesign) ให้เรากดคำสั่ง Alt + Ctrl + x (mac : Option+Command+X) แทน
(เฉพาะ Ms Word) ให้เรากดคำสั่ง Ctrl + Shift + Space

ก็จะมีที่ว่าง ซึ่งเรียกว่า non-breaking space ขึ้นมาครับ จากนั้นพิมพ์นามสกุลต่อเลย
ทีนี้ เวลาเราจัดข้อความแบบ Justify ชื่อ และ นามสกุล จะอยู่ห่างจากกันเท่าเดิมเสมอ คือ 1 ระยะตัวอักษร ไม่แยกจากกันห่างเกินไป



บรรทัดบนเป็นการเคาะสเปซบาร์เฉยๆ
บรรทัดล่างใช้ non-breaking space ครับ

หลักการนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับคำที่จำเป็นต้องเว้นที่ว่างแต่ไม่ต้องการให้อยู่ห่างจากกันมากกว่า 1 Space ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 พ.ย. 2010, 23:44 น. โดย itemsafety » บันทึกการเข้า

เปลี่ยนแนวคิดเพื่อการใช้ Typography ให้ถูกต้องตามหลักสากล
ไอ้ตัวตั้งค่าหน้ากระดาษใน word นั่นแหละที่ตูยังใช้ผิดๆ ถูกๆ ตั้งค่ายังไม่เป็น (เหงื่อแตกพลั่ก)
เพิ่งรู้เรื่องการพิมพ์ชื่อและสกุล กรี๊ดดดดด

ตามอ่านตั้งแต่หน้าแรกแล้ว โวย กรี๊ดดดดด+
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 พ.ย. 2010, 14:52 น. โดย Cancel » บันทึกการเข้า

ต๊กต๋าเปิ้นเป๋นดีไค่หัว ต๊กต๋าตัวเป๋นดีไค่ไห้
20. ปรับ Leading (เลดดิ้ง) ให้เหมาะสม อย่าเชื่อใจ Auto Leading

เลดดิ้งแบบอัตโนมัติ ไม่ได้ถูกตั้งมาเพื่อรองรับกับทุกๆ ฟอนต์เสมอไป
ควรทำการปรับให้เหมาะสมกับฟอนต์ที่ใช้งานเสมอ เพื่อความสบายตาในการอ่าน
บรรทัดไม่ควรแน่นติดกันจนเกินไป แต่ก็ไม่ห่างจนเหลือพื้นที่ว่างมากจนเกินไป





TH Srisakdi ฟอนต์นี้ออกแบบมามีหางตวัดสูงมาก ด้วยบรรทัดปกติ ก็จะทำให้ดูรกรุงรังไปเลย
แต่เมื่อปรับ Leading ก็จะอ่านได้สบายตาขึ้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 ธ.ค. 2010, 00:22 น. โดย itemsafety » บันทึกการเข้า

เปลี่ยนแนวคิดเพื่อการใช้ Typography ให้ถูกต้องตามหลักสากล
เหนื่อยกันมั๊ยจ๊ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 พ.ย. 2010, 13:20 น. โดย itemsafety » บันทึกการเข้า

เปลี่ยนแนวคิดเพื่อการใช้ Typography ให้ถูกต้องตามหลักสากล
ข้าน้อยมิกล้า  ฮือๆ~
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 4 [5] 6 7 8 9 10 11 12
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!