หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 ... 12
 
ผู้เขียน หัวข้อ: กลเม็ดใช้ Typo ให้เป็นผู้ดีมีสกุล  (อ่าน 136169 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
สิ่งเหล่านี้ที่ผมจะกล่าวต่อไป เป็นความรู้ที่ไปเก็บมาจากตำราต่างๆ
เอกสารของเทพ และจากประสบการณ์ จะนำมาแชร์สู่พวกเรากันนะครับ

หลังจากเราเอาแต่ทำฟอนต์ๆๆๆๆๆๆ แต่เราไม่เคยจะสนใจการใช้สิ่งเหล่านี้ให้เกิดประสิทธิภาพ
บางทีเราเคยใส่ใจไหมว่า คนที่เอาฟอนต์เราไป เขาจะใช้มันได้อย่างเข้าใจ
เกิดมูลค่าเพิ่มกับการออกแบบ พัฒนาวงการ Typography และ Graphic Design จริงๆ มั้ย

คำประกาศ
บทความนี้ แต่งขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในวงการออกแบบโดยไม่หวังผลตอบแทน เนื้อหาบางส่วนมีการอ้างอิงแหล่งที่มา
หากผู้ใดที่ต้องการนำเอาข้อมูลไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า หรือเอาเนื้อหาส่วนใดส่วนหนึ่งไปประกอบงานเขียนของตัวเอง
กรุณาให้เครดิทแก่ผู้แต่งอย่างเหมาะสม รวมถึงให้เกียรติแก่เจ้าข้องบทความอ้างอิงทุกบทความ


French, Nigel (2010). InDesign Type: Professional Typography with Adobe InDesign, 2nd Edition,Berkeley, CA: Adobe Press.
Salz, Ina (2009). Typography Essential: 100 design principle for working with type. Beverly, MA: Rockport.
Spiekermann, Erik and E.M. Ginger (2002). Stop Stealing Sheep & Find Out How Type Works. Berkeley, CA: Adobe Press.

เพิ่มเติม:

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ม.ค. 2012, 09:49 น. โดย itemsafety » บันทึกการเข้า

เปลี่ยนแนวคิดเพื่อการใช้ Typography ให้ถูกต้องตามหลักสากล
ปูเสื่อรอชมครับ แถวหน้าซะด้วย  (แจ๋ว แจ๋ว)
บันทึกการเข้า

รอด้วยครับ  แป๊ะยิ้ม
บันทึกการเข้า

นักเขียนการ์ตูนรายปี
1. Hanging Punctuation / Optical Margin (InDesign)

ออพติคัล มาร์จิน คือการลวงตาอย่างหนึ่ง เนื่องจากการจัดคำใน Text box ที่มี
เครื่องหมายวรรคตอน จำพวก อัญประกาศ หรือเครื่องหมายคำพูด ".........."
หรืออักขระบางตัว ที่มีช่วงว่างด้านข้างเยอะ เช่น - (Dash / En Dash / Em Dash)
, (Comma) : ; (Colon / Semi-colon) เมื่อนำมาประกอบหลายๆ บรรทัด
เราจะเห็นช่วงที่มีเครื่องหมายวรรคตอนนี้ (ที่ไปอยู่ต้นบรรทัด/ท้ายบรรทัด) ดูดโหว่ๆ โบ๋ๆ
เว้าแหว่งไป ทำให้ไม่ค่อยสวยงาม ยิ่งถ้าเรา Justify มันก็จะเห็นชัดเจนที่สุด
ลองดูภาพประกอบกันนะครับ

ส่วนนี้เป็นโปรแกรม Adobe Illustrator



ส่วนของ Adobe InDesign



ผลลัพท์ที่ได้ แตกต่างมั้ยครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 ธ.ค. 2010, 00:40 น. โดย itemsafety » บันทึกการเข้า

เปลี่ยนแนวคิดเพื่อการใช้ Typography ให้ถูกต้องตามหลักสากล
กรี๊ดๆๆๆ หยี
(ภาพประกอบยังไม่มา)
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
รอด้วยครับ  แป๊ะยิ้ม
บันทึกการเข้า

่อ่ะ  กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า
2. Decimal Tab การตั้งแท็บให้เลขทศนิยม

ความจริงเป็นวิธีการตั้งแท็บที่มีมาแต่โบราณ เวิร์ด เอ๊กเซล มีฟังก์ชั่นนี้หมด แต่เราไม่เคยสนใจที่จะใช้กันสักเท่าไร
เวลาพิมพ์งานที่มีเรื่องของตัวเลขมากๆ เรามักจะไม่ใส่ใจ แท็บๆ มันไปงั้นแหละ ให้เลข
มันเรียงเป็นแถวตรงแนวก็พอ แต่วันนี้ลองเปลี่ยนมาใช้สิ งานคุณจะมีสกุลรุณชาติทันที เพราะ การแท็บ จะยึด
. เป็นศูนย์กลาง ดังนั้น กี่บรรทัด ก็จะมี . ตรงกันหมด เกิดเป็นระเบียบที่สวยงามเลยทีเดียว
ลองดูเครื่องมือ Tab ใน อิลัสเตรเตอร์ หรือ อินดีไซน์ ก็มีครับ คนที่ทำเมนูอาหารให้ฝรั่ง บ่อยๆ หรือคนที่ทำ
รายงานงบประจำปี ฯลฯ เอาไปปรับใช้ดูนะครับ







« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 พ.ย. 2010, 11:38 น. โดย itemsafety » บันทึกการเข้า

เปลี่ยนแนวคิดเพื่อการใช้ Typography ให้ถูกต้องตามหลักสากล
ไอ๊หย่ะ  กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

นักเขียนการ์ตูนรายปี
โปรแกรมอะไรคะ Indesign  งง
บันทึกการเข้า
แจ่มจ๊อด  กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า
3. เรื่องขีด ใครว่าไม่สำคัญ

เรื่องเล็ก แต่สำคัญมาก เรามักจะใช้กันแบบตามสบาย สไตล์ไทยๆ แต่วันนี้ลองเปลี่ยน
มาศึกษา และใช้ให้ถูกต้องกันเถิด พี่น้อง งานเราจะมีมูลค่าเพิ่มอย่างแรง

เครื่องหมาย ยัติภาค/ยัติภังค์ ทุกวันนี้เราใช้เครื่องหมายแดชกันมั่วมากกกกกก
อะไรที่เป็นขีดๆ เรากดเครื่องหมาย - (ลบ/ยัติภังค์) ไว้ก่อน ทั้งๆ ที่มันใช้งานต่างโอกาสกัน
เครื่องหมายตระกูลขีด มีทั้งหมด หลักๆ ดังนี้



จากในภาพ ฟอนต์นี้จะแยก ยัติภังค์ กับ ลบ ให้ต่างกัน ซึ่งหลายๆ ฟอนต์ จะมีความยาวเท่ากัน หรือ ใกล้เคียง ครับ
จึงอนุโลมใช้ทดแทนกันได้

ฝรั่งจะเคร่งครัดเรื่องเครื่องหมายวรรคตอนค่อนมากมาก แค่เรื่อง ขีดๆ ก็ทำเป็นเรื่องใหญ่

สำหรับพี่ไทย คงใช้เครื่องหมาย ยัติภังค์ ในการตัดคำเพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ (ยัติภังค์เผื่อเลือก Soft-hyphenation)

เช่น
       ทุกๆ คน ที่มาร่วมในงานบรร-
       ชาสามเณรภาคฤดูร้อนต่าง…

คงสังเกตกันในหนังสือพิมพ์นะครับ  
ด้วยคอลัมน์หน้าที่เยอะเลยต้องตัดไปพิมพ์บรรทัดต่อไป
และใช้กับการแบ่งพยางค์ (เขียนคำอ่าน) เช่น โส-เพ-นี
ใช้กับการผสมคำ เช่น state-of-the-art เป็นต้น

ส่วนเครื่องหมายตระกูลยัติภาค (Dash) มีดังนี้
    ขีดสั้น (En Dash) {ความยาวขีดเท่ากับ N} – ก็ใช้เหมือนกับฝรั่งครับ เช่น เดือนตุลาคม–ธันวาคม  ฟุตบอลคู่อิตาลี–เยอรมนี
                      ก่อนและหลังเครื่องหมายเครื่องหมายยัติภาค ตามกฏของราชบัณฑิตฯ ไม่มีการเว้นวรรคครับ
    ขีดยาว (Em Dash) {ความยาวขีดเท่ากับ M} — บ้านเราไม่ได้มีใช้เหมือนเขา ก็ข้ามไป แต่ในภาษาอังกฤษใช้สำหรับเน้นย้ำประโยคหน้า

วิธีการพิมพ์ en dash / em dash
ALT + 0150 / Option + - (เครื่องแมค)   en dash
ALT + 0151 / Option + _ (เครื่องแมค)  em dash
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 ธ.ค. 2010, 00:52 น. โดย itemsafety » บันทึกการเข้า

เปลี่ยนแนวคิดเพื่อการใช้ Typography ให้ถูกต้องตามหลักสากล
มาขอความรู้ด้วยคนค่ะ ไหว้
บันทึกการเข้า

สนใจท่ออุตสาหกรรม​ เลือก DragonFlex นะจ้ะ​จุ๊บๆ​
เสร็จบทความนี้จะขออัญเชิญไปในหน้าบทความครับ กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
อู้ว สี่ขีดนี้ กดยังไงถึงจะโผล่ครับ ผมกดลบที่ num key ตลอดเลย  กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

นักเขียนการ์ตูนรายปี
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 ... 12
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!