หน้า: [1] 2
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ตอบข้อสงสัย: ลิขสิทธิ์ฟอนต์ DB  (อ่าน 92278 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
พอดีมีคนเมลมาถามเยอะเลยครับ
เกี่ยวกับข้อตกลงในการใช้งานฟอนต์ DB ว่าตกลงอะไรได้ อะไรไม่ได้
เพราะ(บอกตามตรงว่า)ในเว็บเขาเขียนออกมาค่อนข้างกำกวมครับ
ก็เลยเมลไปถามเขามา และได้คำตอบที่เคลียร์
จึงขอเอามาแปะเผยแพร่ให้รู้ทั่วๆ กันครับ


อันนี้ที่ตูถามไป
แอบอ้าง
       สวัสดีครับ

        ผมอุดหนุนฟอนต์ของ DB ไปได้พักนึงละครับ :D
        ทีนี้ตัวเองก็ทำเว็บเกี่ยวกับฟอนต์อยู่ด้วย
        และมีคนถามถึงลักษณะการอนุญาตใช้งานฟอนต์ของ DB อยู่บ่อยๆ
        ก็เลยจะขอรบกวนนำมาถามเป็นกรณีศึกษาครับ

        1.
        ถ้าคนที่เปิดร้านรับทำป้าย    ซื้อฟอนต์ไปใช้แล้วลูกค้าที่มาจ้างทำ ป้ายร้าน หรือเมนูอาหาร ขอใช้ฟอนต์  DB นี้ สามารถใช้ได้เลยไหมครับ (ซื้อใน license 5,350 บาท)    แล้วลูกค้าต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ด้วยรึเปล่า

        2.
        กรณีที่ผมเองทำเว็บไซต์และมีการเขียนบทความ มีภาพกราฟิกประกอบบทความที่ใช้ฟอนต์ DB จะสามารถใช้ได้เลยโดยไม่ผิดเงื่อนไขใช่ไหมครับ แล้วถ้าเป็นแบนเนอร์โฆษณาล่ะ อันนี้ครอบคลุมไหมครับ

        ผมจะนำคำตอบที่ได้ไว้เป็นกรณีศึกษาเผื่อมีคนมาซักถามในเว็บครับ
        (มีมาบ่อยๆ และผมก็ส่งลิงก์ของ DB ไปให้บ่อยๆ ครับ)


        ขอบคุณครับ
        แอน

และทาง DB ก็ตอบมาดังนี้

แอบอ้าง

2010/9/8 DB designs Co.,Ltd. <dbdesign@ksc.th.com>

    เรียน คุณแอน

    ก่อนอื่นขอขอบคุณสำหรับการสนับสนุนฟอนท์ดีบี
    และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับโอกาสต่อๆไปค่ะ
    สำหรับกรณีที่สอบถามมานั้น ขอเรียนดังนี้

    สำหรับผู้ประกอบการรับจ้างออกแบบสื่อ
    (ไม่ว่าจะเป็น Agency, Design Firm, Web design, Freelance, ร้านป้าย ฯลฯ)
    ที่ซื้อฟอนต์ในราคา 5 พันกว่าบาท/5เครื่อง
    (ซื้อตามศักยภาพองค์กรโดยใช้จำนวนเครื่องสะท้อนขนาดองค์กร)
    สามารถรับงานออกแบบสื่อต่างๆ ให้กับลูกค้าได้ทันที
    โดยลูกค้าไม่ต้องชำระค่าลิขสิทธิ์เพิ่มแต่อย่างใด

    ยกเว้นกรณีดังนี้ที่ต้องแจ้งให้ลูกค้ารับทราบก่อนที่จะเริ่มงาน

    - ออกแบบนิตยสาร, วารสารที่มีรอบการเผยแพร่ประจำ (เช่น
    แมกกาซีน/วารสาร/Newsletter รายเดือน, รายปักษ์, รายสัปดาห์)
    ต้องชำระค่าลิขสิทธิ์ ตามข้อ 2.1 ที่ประกาศไว้บนเว็บไซต์

    - ออกแบบและเลือกใช้ฟอนท์ใดฟอนต์หนึ่ง เป็นประจำให้กับลูกค้ารายใดรายหนึ่ง
    เพื่อสร้างเอกลักษณ์จดจำ ต้องชำระค่าลิขสิทธิ์ ตามข้อ 2.2 ที่ประกาศไว้บนเว็บไซต์

    ดังนั้นตามที่คุณแอนสอบถามมาทั้ง 2 กรณี
    สามารถใช้ออกแบบได้ โดยลูกค้าไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์อีก
    (เพราะงานจบเป็นอาร์ตเวิร์ค create outline แล้ว
    แต่ถ้าหากลูกค้าต้องการแก้ไขงานเองโดยใช้ฟอนต์เดิม
    ลูกค้าต้องซื้อลิขสิทธิ์เองค่ะ)


โดยเฉพาะย่อหน้าสุดท้ายเป็นคำตอบที่หลายๆ คนอยากรู้ครับ
ขอบคุณ DB จ้ะ เจ๋ง
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
แล้วถ้าในอนาคต เราสามารถใช้ font-face css3 ได้ เราจะต้องเสียค่าลิขสิทธิ์เพิ่มตามข้อไหนอีกหรือเปล่าครับ?
บันทึกการเข้า
อันนี้ตอบให้เลยครับว่าถ้าเป็นของ DB เนี่ย "ไม่ได้"
เพราะฟอนต์ที่ embed ไปมันติดไฟล์ฟอนต์ไปด้วย
ไม่ใช่เกิดจากการแปลงเป็น vector outline
ที่หมดคุณสมบัติการเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์แล้วครับ

แต่ถ้าฟอนต์ของฟอนต์.คอมนี่เอาไปเหอะ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
งั้นแสดงว่า ถ้าผมแปลงเป็น svg ซะหรือ export เป็น ttf ที่ใช้ได้เฉพาะ web only ก็ไม่มีปัญหา ถูกต้องหรือเปล่าครับ?

อ้างอิงตาม เว็บนี้เลย http://www.fontsquirrel.com/fontface/generator

(กด expert ก่อนนะ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 ก.ย. 2010, 13:32 น. โดย mp3wizard » บันทึกการเข้า
อันนี้น่าจะเข้าข่ายว่ามันยังมีคุณสมบัติการเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์นะครับ
ไอ้คำว่า ปกคพตฟ เนี่ย คือ มันยังเอามาจับโยกย้ายถ่ายเทผสมคำได้ มีเส้นโค้ง มีช่องไฟอยู่
ซึ่งต่างจาก vector outline ตรงที่มันเอาไว้พรินต์อย่างเดียว

ในกรณีนี้คงต้องสอบถามทาง DB เพิ่มครับว่าถ้าจะเอามาใช้เพื่อการนี้เนี่ย กี่บาท!

แต่เรื่องจำนวนเครื่องคอมสะท้อนความใหญ่ของบริษัทเนี่ย
อย่างตอนนี้ที่ตูทำงานอยู่ก็เคยโทรไปจะขอซื้อลิขสิทธิ์มาทำงานเหมือนกัน
ปรากฏว่า DB เรียกมา 50000(+7%) อู้ย..

ก็นะ องค์กรใหญ่ ง่ะ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ที่มาถาม เพราะช่วงนี้เริ่มใช้ font-face เยอะมาก จะได้เตรียมใจถูก 555+ แต่ก็พยายาม export เป็น format web-only ไว้ก่อน

งานนี้สงสัยจะ rate เดียวกับทำสิ่งพิมพ์แน่ๆเลย  หน้าแตก
บันทึกการเข้า
กร๊าก
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
บ. ตูมี 2 คนทำไมเรียกตั้งแสนกว่าละ  อู้ย..
บันทึกการเข้า
ลองถามเขาดูว่ามีเกณฑ์พิจารณายังไงนะพี่เจน
เพราะตูเคยโทรถามเขาเลย ทางเขาก็ตอบเคลียร์นะ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
พี่พัชร (@iPattt) เคยเล่าให้อ่านเรื่องการทำเว็บให้รัฐบาล
แล้วทาง DB เมลมาตรวจสอบเรื่องลิขสิทธิ์ครับ

ลองอ่านดู
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
อยากทราบว่าถ้าผมใช้ NP Naipol Template แล้ว ในช่อง Font info ผมต้องกรอกข้อความยังไงครับ โดยเฉพาะในช่องที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บันทึกการเข้า
อยากทราบว่าถ้าผมใช้ NP Naipol Template แล้ว ในช่อง Font info ผมต้องกรอกข้อความยังไงครับ โดยเฉพาะในช่องที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์  (ผมใช้แต่ template ส่วน design ผมออกแแบบเอง)

ป.ล. ขอโทษนะครับ คำถามที่โพสท์ไปครั้งแรก ยังพิมพ์รายละเอียดไม่ครบ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ก.ค. 2013, 11:05 น. โดย sertsiri » บันทึกการเข้า
ให้คงเครดิตคนสร้างเทมเพลตขึ้นมาไว้ครับ
ส่วนชื่อของคุณก็ใส่เพิ่มเข้าไปได้เลยในฐานะดีไซเนอร์จ้ะ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ขอบคุณมากครับ :)
บันทึกการเข้า

ฟอนต์ไทย สมบัติของใครกันแน่ ?


เรื่องลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเรื่องที่พูดกันมานาน โดยพื้นฐานแล้วก็นับว่า เป็นแนวคิดที่ถูกต้อง และเหมาะสม แต่ทว่ายังมีคนบางคน หรือบางกลุ่มที่นอกจากจะไม่เห็นด้วย แล้วยังฉวยโอกาสมาคิดหาประโยชน์ใส่ตัว และในครั้งนี้ผมจะมาว่าด้วยเรื่องลิขสิทธิ์ที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา รวมไปถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสังคมในอนาคต



เป็นข่าวคราวที่สร้างความฮือฮากันพอสมควรสำหรับช่วงนี้ เกี่ยวกับข่าวการเก็บลิขสิทธิ์ฟอนต์ภาษาไทย PSL Smart letter หลังจากที่มีการไล่ล่าเก็บค่าลิขสิทธิ์กันแบบเลือดกระฉูดกันไปหลายต่อหลายยกแล้ว วันนี้ก็มาถึงบทพิสูจน์ถึงความถูกต้องกันแล้วละครับ

ผมจะขอสรุปคร่าวๆ ให้คนที่ยังไม่ทราบที่มาที่ไปของเรื่องนี้ได้ทราบก่อน ก็คือ ฟอนต์ภาษาไทยในชื่อว่า PSL Smart Letter นั้นได้มีการคิดค้นดัดแปลงทำฟอนต์ภาษาไทยขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2541 โน่นแล้ว และฟอนต์ที่ว่านี้ได้รับความนิยมในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในงานสิ่งพิมพ์ สำหรับการออกแบบตัวอักษรภาษาไทยให้ดูเลิศหรูวิจิตรขึ้นมา อะไรประมาณนั้น

เท่าที่ทราบมาก็คือ เขาทำขายออกมาในแบบแพ็กเกจ ในราคาหลายพันบาท หลายคนฟังแล้วอาจจะรู้สึกสะดุ้ง หรืออาจจะมีคำถามตามมา (ในใจ) ว่า เขาเอาต้นทุนอะไรมาคิดขายในราคาแพงระดับนั้น เพราะโดยปกติแล้วถ้าเป็นเรื่องของฟอนต์ เขาจะไม่มีการคิดเงินกันด้วยซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเอามารวมกับวินโดวส์ เพราะถือว่านั่นเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับซอฟต์แวร์ แม้แต่ฟรีแวร์ที่ต้องใช้ความคิดและระบบโปรแกรมการออกแบบดีๆ จำนวนมากเขายังให้ดาวน์โหลดกันฟรีๆ อะไรประมาณนี้

เอาละครับ ใครจะคิดตังค์อย่างไรก็ไม่ว่ากัน เพราะคนที่อยากทำธุรกิจด้วยการนำภาษาไทยมาดัดแปลง เพื่อนำออกขายนั้นก็ถือเป็นสิทธิ์ที่ใครๆ ก็ทำได้

แต่ก็มีเรื่องตามมา คือหลังจากเวลาผ่านไปหลายปี ก็เริ่มมีคนใช้กันหลากหลาย สื่อสิ่งพิมพ์ทั้งเล็กและใหญ่จำนวนมาก ได้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะคิดว่าต้องการช่วยเหลือคนไทยด้วยกัน ประกอบกับเป็นช่วงที่ตอนนั้นปัญหาลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญากำลังได้รับความสนใจและมีการพูดถึงกันมาก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเพลง ซอฟต์แวร์ หรือเกมต่างๆ ทาง PSL ก็เลยถือโอกาสช่วงนั้นดำเนินการเรื่องลิขสิทธิ์ขึ้นมา

PSL เริ่มต้นด้วยการพยายามเข้าไปขอจดลิขสิทธิ์กับทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาหลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ เพราะเขาถือว่า การจะนำตัวอักษรภาษาไทยไปจดทะเบียนเป็นของใครคนใดคนหนึ่งนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรอย่างยิ่ง เนื่องจากตัวอักษรไทยเป็นทรัพย์สินของชาติ ที่เริ่มต้นบัญญัติมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และคนไทยได้ใช้กันมาหลายต่อหลายรุ่นจนถึงทุกวันนี้ เว้นเสียแต่ว่า คุณจะนำตัวอักษรที่เป็นภาษาไทยเหล่านั้นมาร้อยเรียงเขียนเป็นบทกลอน หรือว่าแต่งเป็นหนังสือให้อ่านกัน อันนี้ถึงจะสามารถจดลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญาได้

ก็ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร ที่ทำให้ทาง PSL ยังอ้างสิทธิ์ที่ว่านั้น หรืออาจจะคิดว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ หรือเปล่า ? แถมยังตั้งทีมทนาย เข้าไปดำเนินการเก็บลิขสิทธิ์ฟอนต์ PSL กันอย่างชนิดที่ไม่เกรงกลัวใคร บางคนก็ต้องพลอยโดนหางเลข เพราะไม่รู้ว่าเครื่องพีซีที่ซื้อไปเขาติดตั้งฟอนต์นี้มาให้ฟรี ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นคนต่างจังหวัดซะด้วย ก็เป็นที่น่าเห็นใจสำหรับคนที่ต้องมาเป็นเสียรู้ไป




แต่โชคก็ไม่ได้เข้าข้างคนประเภทนี้เสมอไป เมื่อวันหนึ่งบังเอิญไปในร้านเกมที่เจ้าของกิจการที่มีความรู้ทางกฎหมายอยู่บ้าง และรู้ว่าเรื่องนี้ที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร ก็เลยนำเรื่องนี้ขึ้นร้องเรียนต่อกระทรวงพาณิชย์ และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ว่าด้วยรายละเอียดของการเก็บค่าลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้น

ล่าสุด ผลก็ปรากฏออกมาว่า ทาง PSL ไม่มีสิทธิ์ทำเช่นนั้น เพราะตัวอักษรไทยเป็นทรัพย์สินของประเทศชาติ ไม่มีใครมีสิทธิ์เป็นเจ้าของโดยส่วนตัวได้ ดังที่ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาเคยได้ประกาศไปแล้ว พร้อมกับมีข่าวดีมาบอกอีกว่า ใครที่โดนเก็บเงินค่าลิขสิทธิ์ไปแล้ว ขอให้ไปเรียกร้องเอาคืนทางกฎหมายได้ ซึ่งก็น่าดีใจที่รูปการณ์เปลี่ยนไปในทางที่คุ้มครองผู้บริโภคมากขึ้น ก็นับว่าเป็นการยุติเรื่องฟอนต์ PSL อันวุ่นวายได้อย่างสวยงามทีเดียว
เหตุการณ์นี้บอกอะไรได้มากมาย
ต้องบอกว่าเรื่องนี้กระทรวงพาณิชย์ และกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้รับคะแนนนิยมขึ้นมาอย่างมาก เพราะถ้าเรื่องนี้ปล่อยผ่านไปให้ผู้ใช้ถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างที่ผ่านๆ มา ต่อไปปัญหาการเก็บค่าลิขสิทธิ์ในเมืองไทย จะเป็นในลักษณะที่จับฉ่ายอย่างแน่นอน

ทำนองเดียวกันกับที่เราเอาภาษาอังกฤษเขามาใช้ ทั้งพยัญชนะและสระ ถ้าเกิดสมมติว่า คนที่คิดค้นภาษาอังกฤษนั้นเขาเก็บค่าลิขสิทธิ์กันอย่างทุกกระเบียดนิ้วอย่างนี้ เราก็คงไม่รู้จักภาษาต่างด้าวนี้ ไม่รู้จักเพลงฝรั่ง หรือวัฒนธรรมของพวกเขากันเลยสิครับ นี่ยังไม่นับถึงเครื่องมือสำหรับเขียนซอฟต์แวร์ ภาษาต่างๆ หรือว่าภาษาคอมพิวเตอร์ที่เป็นรากเหง้าของการเขียนโปรแกรมทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Pascal หรือว่าภาษา C ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็คงไม่ใครนำมาพัฒนากันต่อเป็นแน่ เพราะติดเรื่องปัญหาลิขสิทธิ์ แล้วอย่างนี้โลกของการพัฒนาเทคโนโลยีคงหยุดชะงักไป

บางคนอาจจะกำลังนึกถึงไมโครซอฟท์ ว่าจะเข้าข่ายนี้บ้างหรือเปล่า ?

แต่หากพิจารณาดีๆ จะเห็นว่าไมโครซอฟท์เขาก็เป็นการนำมาพัฒนา คิดสร้างสรรค์ และทำซอฟต์แวร์ในลักษณะที่ว่าให้ใช้งานได้จริง เรียกว่าเกิดจากรากเหง้าทางความคิดของการเขียนโปรแกรมจริงๆ เป็นการนำเอาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านตรรกทางคอมพิวเตอร์มาทำเป็นซอฟต์แวร์ จึงทำให้เขาสามารถจดลิขสิทธิ์และสามารถนำออกมาขายในตลาดโลกได้

สำหรับความคิดเห็นส่วนตัวของผมแล้ว ผมว่าถ้าทาง PSL ต้องการเก็บลิขสิทธิ์จริงๆ ทางเจ้าของ PSL ก็ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ทั้งหมดให้กับ Tool ware หรือซอฟต์แวร์เครื่องมือที่ทางคุณพัลลภนำมาใช้สำหรับเขียนโปรแกรมสร้างตัวอักษร แปรรูปตัวอักษรทั้งหมดด้วยเช่นกัน



ทุกวันนี้ประเทศทางเอเชียค่อนข้างจะมีการละเมิดลิขสิทธิ์กันเยอะ แม้แต่ฝรั่งเองยังต้องทำใจยอมรับกับมัน เพราะเขาหวังในเรื่องฐานผู้ใช้ในเอเชีย ซึ่งเป็นดัชนีตัวหนึ่งที่บอกความสำเร็จของซอฟต์แวร์ในด้านการขายของตลาดยุโรปหรือในทวีปอื่นๆ มันก็เหมือนกับซอฟต์แวร์เกมที่ระบาดไปทั่วโลก แต่ว่าเจ้าของเครื่องคอนโซลชั้นนำ อย่างโซนี่ นินเทนโด หรือแม้แต่ไมโครซอฟท์ เขาก็ไม่แคร์อะไร เพราะคิดว่ายังไงเขาก็ขายเครื่องได้ และก๊อบปี้ตัวเครื่องไม่ได้อีกต่างหาก แล้วก็ออกเครื่องรุ่นใหม่ออกมาเรื่อยๆ ควบคู่กับอุปกรณ์ต่อพ่วง นั่นคือเป้าหมายที่แท้จริงของการทำธุรกิจที่ยักษ์ใหญ่เหล่านั้นต้องการ

แต่เผอิญว่าทาง PSL ใช้แนวทางในการเก็บลิขสิทธิ์อย่างผิดพลาดไปหน่อย คือเน้นใช้ความรุนแรงนำหน้า แทนที่จะเริ่มต้นจากการตักเตือน หรือแจ้งเป็นจดหมายบอกกล่าวกันก่อน อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาถึงผลกระทบในระยะยาว ย่อมไม่เป็นผลดีต่อเจ้าของ PSL เลย เพราะต่อไปผลิตสินค้าอะไรออกมา ก็คงไม่มีใครกล้าใช้กันอีก เพราะเกรงว่าประวัติศาสตร์อาจจะซ้ำรอยได้
ทางออกของเรื่องนี้คืออะไร
บทเรียนจากเรื่องของ PSL ในครั้งนี้ ทำให้เรารู้สึกว่า สังคมไทยยังพอจะมีความถูกต้องยุติธรรมหลงเหลืออยู่บ้าง เรียกว่าก็ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่ใครบางคนกำลังคิด และผมเชื่อว่าตราบใดที่คนเราถูกบีบถูกต้อนเข้ามุมอับมากๆ เมื่อถึงเวลานั้น พลังก็ย่อมเกิดขึ้น และในที่สุด ความจริงจะปรากฏออกมา

ตามความเป็นจริงแล้ว คำว่าลิขสิทธิ์ ที่หมายถึงกรรมสิทธิ์ทางวรรณกรรมและศิลปกรรมนั้น เขาบัญญัติขึ้นมาเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ที่คิดค้นอะไรขึ้นมาสักอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่เป็นการลอกเลียนแบบใคร สามารถนำมาเป็นจดลิขสิทธิ์ของตนเองได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งประเทศไทยเรานั้นยังมีจุดที่เป็นช่องโหว่อย่างมากในเรื่องนี้ เรียกว่ายังต้องมีการปรับปรุงพัฒนากันต่อไปอีกพอสมควร แต่ถ้ามองในแง่ดีก็ต้องบอกว่า เป็นการเริ่มต้นในทางที่ถูกที่ควรแล้วละครับ



ไม่เพียงแค่นั้น ผลกระทบของ PSL ยังทำให้วงการซอฟต์แวร์ฟอนต์ไทยปั่นป่วนยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเจ้าของซอฟต์แวร์ฟอนต์รายอื่นๆ ก็ขายลำบากยิ่งขึ้น เพราะผู้ใช้เริ่มกลัวกันมากขึ้นจนแทบจะไม่มีใครกล้าใช้ซอฟต์แวร์ Made in Thailand กันอีก

ผมอยากถามว่าใครเคยเห็นราคาซอฟต์แวร์ฟอนต์ราคา 5 พันบาทไหมล่ะ? ถือว่าแพงกว่าโปรแกรมวินโดวส์ของไมโครซอฟท์ซะอีก นี่ถ้าฝรั่งรู้มันคงหัวเราะเพราะไม่เชื่อว่าคนไทยเราจะก้าวไปไกลขนาดนี้

ถ้าถามความคิดเห็นผมกับการหาทางออกปัญหานี้ก็คือ ผมคิดว่า เรื่องนี้ควรจะมีหน่วยงานกลางเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องของการจับกุมผู้ละเมิดทั้งหมดตามกรอบของกฎหมาย ไม่ต้องให้ทางเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้กำหนดเงื่อนไขการจับกุมด้วยตัวเอง หรือตั้งศาลเตี้ยกันเอง ที่สำคัญ ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการละเมิดลิขสิทธิ์เอาไว้ให้ชัดเจนด้วย เช่น สินค้า A ที่ผลิตออกมาสู่ท้องตลาด จะต้องมีการกำหนดออกมาเลยว่า มีเงื่อนไขอะไรบ้างที่หมายถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยยกออกมาเป็นข้อๆ อย่างชัดเจน ไม่ใช่บอกแต่เพียงว่าจดลิขสิทธิ์เท่านั้น แต่อะไรคือการละเมิดก็ไม่รู้ รวมไปถึงต้องมีการกำหนดเงื่อนไขของการจับปรับด้วยว่า ผิดแค่ไหนถึงจะถูกปรับ และถ้าถูกปรับก็ต้องมีระดับของการปรับด้วย ว่าจะต้องประมาณไหนถึงจะเหมาะสม

อีกทางหนึ่ง เพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น ทางกรมฯ จะต้องให้ผู้เสียหาย และผู้ถูกกล่าวหาไปรับการปรับ และถูกปรับกันที่หน่วยงานกลาง มีพยานรับรู้ มีการทำบันทึกหลักฐานอย่างถูกต้อง แบบนี้จะเป็นที่สบายใจทั้งสองฝ่าย แถมยังโปร่งใสไร้มลทินอีกด้วย และผมคิดว่าทางกระทรวงพาณิชย์ต้องรีบดำเนินการอย่างรีบด่วนด้วย เพราะยิ่งปล่อยไว้นาน ผู้เสียหายจะยิ่งมาก

สำหรับทางผู้ผลิตสินค้าซอฟต์แวร์ ต่อไปก็ควรจะมีการจดลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย จะได้ไม่มีปัญหาตามมา พร้อมกับให้มีการระบุเงื่อนไขของการกระทำที่ผิดกฎหมายของการละเมิดลิขสิทธิ์ติดเอาไว้กับสินค้าอย่างละเอียดทุกชิ้น ตามข้อกำหนดของกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้ผู้บริโภคจะได้เข้าใจในสินค้าลิขสิทธิ์มากยิ่งขึ้น

ผมว่าจริงๆ แล้วเรื่องแบบนี้มันไม่ได้ยากเกินที่จะทำ ถึงแม้ว่าอาจจะใช้เวลาไปบ้าง แต่ถ้ารีบจัดการแก้ไขอย่างจริงจังกันเสียที กรณีศึกษาอย่าง PSL ก็คงจะไม่เกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!