พอดีข้าพเจ้ามีชื่อว่าปลานะค่ะ ตอนนี้กำลังเรียนอยู่กำลังจะขึ้น ปวช สาม ค่ะ
แล้วปลาเองก็ได้ไปฝึกงานที่โรงพิมแห่งหนึ่ง
(เป็นเด็กศิลป์)แต่ดันโดนโยกย้ายไปอยู่แผนกงานโต๊ะเสียอย่างนั้น
แต่ก็ไม่ได้คิดอะไรมากมายหรอกค่ะเพราะคิดว่าตัวเองชอบการทำงานจำพวกนี้อยู่แล้วด้วย
เลยคิดว่าไหนๆก็ไหนๆแล้วถ้าทำได้ก็อยากจะกวาดความรู้ทุกแผนกมาใส่หัวเสียเลยดีไหม (ไหนๆก็ไม่ตรงกับแผนกที่เรียน)
แต่เนื่องจากระยะเวลาที่สั้นและความเกรงใจด้วย(กลัวไปกวนเวลาเขาทำงาน)ก็เลยไม่ได้ความรู้เท่าที่ควร
ปลาไปถามวิธีการฉายแสงค่ะ วิธีการคร่าวๆก็พอจะทราบมาบ้างแล้วว่าทำอย่างไร
แต่ยังมีข้อสงสัยว่า เพลทที่เขาใช้ฉายแสงมันจะมีด้านหนึ่งที่เคลือนสารไวแสงชิดหนึ่ง ไม่ทราบว่าพอจะรู้ไหมค่ะว่าคือสารชนิดหนึ่ง
มันเหมือนกับสารไวแสงที่ใช้ในวิชาสกรีนไหมคะหรือคนละตัวกัน(สารไวแสงในวิชาสกรีนจะให้โดนแสงไม่ได้เลย แต่ปลาเห็นเขาเอาเพลทออกมาวัดออกมาโดนแสงภายยนอกตั้งนานแล้วมันไม่เป็นอะไรเหรอคะ) หรือว่าเป็นสารชนิดพิเศษที่จะทำปฏิกริยากับแสงบางชนิดเท่านั้นอย่างนี้หรือป่าวคะ
แล้วพอฉายแสงเสร็จแล้วเขาจะนำมาล้างกับน้ำยาชนิดหนึ่ง(ในอัดตราสัดส่วน 1 ต่อ 6 ของน้ำเปล่า)เพื่อให้สารไวแสงที่เคลือบเพลทหลุดออกมาเหลือแต่บริเวณที่ฉายแสง ส่วนที่ไม่โดนแสงก็จะไม่หลุดออกมา
น้ำยาล้างนี้เป็นน้ำยาอะไรเหรอคะ ใช่คลอรีนหรือป่าว พอหลังจากที่ล้างเพลทเสร็จแล้วเขาจะนำมาเคลือบด้วยน้ำยาอีกตัวหนึ่งเป็นน้ำยาเคลือบเพลทเพื่อป้องกันการหลุดลอกของแม่พิมในเวลาพิม มีใครพอจะทราบไหมค่ะว่า
น้ำยาชนิดนี้เรียกว่าอะไรเหรอคะเพราะถามเขาแล้ว เขาก็ไม่รู้เหมือนกับ เขาเรียกแต่ เพลท เรียกน้ำยาล้างเพลด หรือกาวทาเพลดอะไรประมาณนี้คะ
ไม่รู้ว่ามันพอจะมีชื่อของมันไหมค่ะ
ป.ล.เคยเห็นกระทู้โรงพิมแวบๆข้างบน ก็เลยอยากลองเสี่ยงถามดูค่ะ เผื่อมีใครพอจะทราบค่ะ

หวังว่าคงไม่ตั้งกระทู้ผิดหมวดนะคะ
