หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 7
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ศาสตร์แห่งการคิดไปเอง  (อ่าน 44682 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
เหมือนตะก่อน ผมว่า แวนโกะฮ์ มันเก่งตรงไหน ฮาๆๆ

บันทึกการเข้า

อ่านของอาจารย์เต้ยแล้ว เข้าใจกระจ่าง

เข้าใจได้ว่า นักเรียนที่ได้คะแนนไม่ดีน่าจะมี 2 อย่าง
คือขี้เกียจ-โง่ กับพวกขยันแต่เดินผิดทาง
ตอนเรียน อาจารย์ก็คงคิดว่าเราจะมีคำถามพวกนั้นมั้งครับ
ว่าไอ้สิ่งที่เขาอยากให้เรียนรู้วเป็นพื้นฐานพวกเนี้ยสำคัญแค่ไหน
พวกเอ็ง อย่าพึ่งเปรี้ยว ดูนี่ซะก่อน



อันนี้ภาพเขียนของปิกัสโซ่ เด็กประถมก็วาดได้มั้ง


ดูก่อน ท่านผู้เจริญ
ดูอีกภาพ



เออ ดูแล้วก็ตาสว่าง ว่าทำไมเขาต้องให้เราเรียนอะไรๆตั้งเยอะ
ที่ยังไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้ในการออกแบบได้ยังไง

บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
อ้อ ต้องเหลือจู๋ไว้นี่เอง
บันทึกการเข้า

        AH_LuGDeK, AH_LuGDeK_R
จู๋สำคัญกว่าหัวอีกอะคิดดู
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ผมก็สงสัยเหมือนกันครับว่างานออกแบบส่วนมากเค้าดูผลสำเร็จหรือดูวิธีการคิดหรือดูที่ชื่อเสียง? 

สมมุติว่าถ้าโปสเตอร์นี้ไม่มีใครรู้ว่าjohn lennonเป็นคนทำหรือถ้าผมเป็นคนทำโปสเตอร์แบบนี้ไปส่งอาจารย์จะเกิดอะไรขึ้น?
บันทึกการเข้า

สิ่งที่คนเขาดูกันในรูปนี้ ไม่ใช่ความงามของคอมโพส
ไม่ใช่การจัดไทโป ไม่ใช่อะไรทั้งนั้น
เขากำลังดู"ข้อความ"ที่ 2 คนนี้สื่อสาร

ข้อความที่ไม่ได้หมายถึง คำ แต่หมายถึงอุดมคติที่พวกเขาอยากบอกคนทั้งโลก
การประเมินค่าเรื่องความงามจึงแทบไม่มีความหมายครับ

การออกแบบทั้งหลายบนโลก ก็มีไว้เพื่อการสื่อสาร
เราถึงเรียกศาสตร์ด้านนี้ว่า Visual Communications
คือการสื่อสารด้วยการมองเห็น เราใช้หนทางใดไปถึงก็ได้ ถ้าทำให้การสื่อสารนั้นสัมฤทธิ์ผล
วิธีการหนึ่งก็คือการดึงดูดสายตาผู้คนด้วยความงาม
แต่อย่าลืมว่านี่เป็น"วิธีการหนึ่ง" ในอีกร้อยพันวิธี
คิดว่าทุกคนคงเคยเห็นพวกฟอร์เวิร์ดเม็วที่เขียนการ์ตูนหัวไม้ขีด
หาความงามอะไรไม่เจอเลย แต่ก็ฮิตถูกใจคน
เพราะมันมีวิธีการเล่าที่ส่งผลกระทบต่อคนดูมาก
หรือการ์ตูน 4 ช่องของหมอแมวก็เป็นอีกตัวอย่างที่ชัด

เหล่านี้คือวิธีการสื่อสาร เขาไม่ได้มองว่าในภาพนั้นคือโปสเตอร์ดีไซน์
แต่เขามองข้อความที่ทั้งสองส่งมาให้ผู้ชม ซึ่งสิ่งที่ยันอยู่หลังข้อความนั้น
ก็คือ บทเพลงที่เป็นอมตะและอุดมคติของเลนนอน ที่เขาทำมาทั้งชีวิต
บทกวีของโยโกะ วิถีชีวิตที่บริสุทธิ์สัมผัสใจคนของทั้งคู่ กิจกรรมทางสังคมต่อต้านสงคราม
ที่ทั้ง 2 อุทิศเวลาทั้งหมดให้ในช่วงนั้น รวมถึงกิจกรรมประท้วงบนเตียง(นอนบนเตียงไม่ลุกไปไหนเพื่อประท้วงสงคราม)
ทั้งหลายเหล่านี้ ทำให้ข้อความนั้นมันหนักแน่น และส่งผลกระทบใจผู้รับสาร
ยิ่งกว่าองค์ประกอบที่สวยงามหลายเท่าครับ

และนั่นเป็นข้อจำกัดที่ดีไซน์ไม่อาจล่วงล้ำไปถึง และไม่มีวันทำได้
การออกแบบ ไม่ได้มีอุดมคติในตัวของมันเอง ถ้าหากมันจะมี
ก็คือไปรับใช้อุดมคติอื่นเท่านั้นครับ ผมเชื่อยังงั้น


บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
พิมพ์มาตั้งนาน เด้งทีหายหมด ฮือๆ~
เลยลืมเลย




เอาเป็นว่าตูไม่ได้ฟังเพลงฝรั่ง ไม่ได้อินอะไรสักนิดกับเลนนอน (หรือแคนอนเองก็เถอะ)
แต่ให้รู้ไว้ว่าบางทีเราไปตัดสินภาพจากที่ตาเห็นโดยไม่ได้สนใจสารนั้นๆ เลย ไอ้นั่นก็ไม่ถูก
อย่างกรณีของภาพนี้ถ้าไม่ได้รับรู้ว่าทำไมเขาโชว์ป้ายนี้ ทำไมมันดังเหรอ มันสวยยังไงวะ ฯลฯ
เอ๊า อยากรู้ก็ลองหาที่มาที่ไปดูสิครับ แล้วจะเริ่มอึ้ง (อย่างที่ตูก็อึ้งหลังจากได้รู้ผ่านหนังสือ Design+Culture ของคุณประชา สุวีรานนท์)
 
เหมือนกับเห็นเก้าอี้ร้านก๋วยเตี๋ยวว่าเฮ้ย ทำไมต้องใช้เก้าอี้กระจอกๆ นั่งพิงก็ไม่ได้
ไมไม่เอาแบบนวมๆ ล่ะ (พูดเสร็จแล้วก็วิ่งหายไปไม่รอฟังคำตอบ กร๊าก)





อ้ะ ลองดูภาพนี้สิ (ตอนแรกยังไม่ต้องอ่านข้อความประกอบนะ)
แล้วนึกดูว่าตัวเองรู้จักเหตุการณ์นี้ไหม รู้จักดีแค่ไหน (ยิ่งไม่รู้จักยิ่งดี)
แล้วทำไมภาพนี้จึงเป็นตำนาน มันเจ๋งตรงไหนวะ???? เอ๊อออออ



อ้ะ เสร็จแล้วลองอ่านข้อความประกอบ แล้วไปหาอ่านเพิ่มเติมเอาความรู้เรื่อง 14 ตุลา (เอ๊ะหรือ 16 ตุลานะ??)
นั่นแหละๆ แล้วจะเก็ตในศาสตร์แห่งความไม่คิดไปเอง เก็ตในพลังของสารตัวนี้จ้ะ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
 :46:ได้รู้อะไรอีกเยอะเลย
บันทึกการเข้า
 ผมก็อ่านมาจาก Design+Culture แหละครับแต่ที่สงสัยคือถ้าคนๆนึงที่ไม่เป็นที่รู้จักเลยแล้วทำงานออกแบบชิ้นนึงขึ้นมาเพื่อสังคม เพื่ออุดมการณ์ หรือเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า กับคนอีกคนนึงซึ่งมีชื่อเสียงอย่างมากทำออกมาเหมือนกันเลยเพื่อเหตุผลเดียวกันทำไมคนส่วนมากถึงยอมรับและพยายามหาgimmicในงานของคนที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว ส่วนคนที่ไม่มีชื่อเสียงถ้างานก็ก็ว่าสวยแล้วก็ผ่านไปถ้าไม่มีคนที่มีชื่อเสียงมาชมก็ไม่ได้ดูหรือพยายามเข้าใจ สรุปคือคนส่วนมากดูงานนี่ดูชื่อคนสร้างหรือคนวิจารณ์ก่อนดูผลงานหรอครับ?   2คนนี้ไม่ได้งานกันนะครับแค่เอามาแทนที่กันเฉยๆ :08:อธิบายแบบเห็นภาพไม่ได้แฮะ
ยกตัวอย่างคือสัญลักษณ์ของไนหี้ถ้าไนกี้ไม่ได้จะมีคนมานั่งตีความไหมครับว่าเป็นปีกของเทพเป็นเครื่องหมายของชัยชนะ
บันทึกการเข้า

งานดีไซน์มันคือการสื่อสารประเภทนึง ที่เอารสนิยมไปครอบน่ะ

เวลาสื่อสารกับเป้าหมาย เป้าหมายของเราคือใคร
เขาควรรู้ได้แค่ไหน อันนี้ดีไซเนอร์ต้องตระหนักอยู่แล้ว

เรื่องปีกนางฟ้าของไนกี้ ตูเองยังไม่รู้เลย
รู้แต่ไอ้เส้นตวัดๆ นั่นคือไนกี้ ก็มีความสุขดีอยู่แล้ว อืมมมมห์
อ้าวแล้วใครล่ะที่รู้ ก็คนอย่างอิคคิวไง ที่เรียนออกแบบมา
ทีนี้หน้าที่ของคนที่เรียนมา ก็คือสนใจมันละ ว่าเฮ็ย ปีกนางฟ้าได้ไงวะ

สังเกตว่าทุกเคสมันจะเป็นแบบนี้แหละ
ทำสารขึ้นมาชิ้นนึง ดูว่าเป้าหมายของการสื่อสารมีกี่กลุ่ม
แล้วจะให้เขารู้อะไรมั่ง ตื้นลึกแค่ไหน ทำได้สำเร็จไหม ถ้าสำเร็จก็ เย้!


เพลงอินดี้เอย หนังอาร์ตเอย งานศิลป์เอย มันเลยมีหลายระดับไง
หนังพี่เจ้ยที่ว่าดีนักดีหนา มันเลยเป็นความดีสำหรับคนที่เข้าใจสารนั้นไง
ในขณะที่หนังการ์ตูนพิกซาร์ เด็กห้าขวบดูหัวเราะเอิ๊กอ๊าก ในขณะที่คนแก่ดูน้ำตาไหลริน


คนที่จะทำอย่างพิกซาร์ได้เนี่ย แม่งโคตรเจ๋งเลยนะ เจ๋ง
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ผมว่าคำตอบเรื่องนี้ก็คล้ายๆกันกับเรื่องอื่นๆนะครับ

ถ้าเอาคนมีชื่อเสียงมาพูด คนก็ฟังมากกว่า
หนังรถไฟฟ้ามาหานะเธอ เอาคุณณัฐไปเล่น
กับพี่เคนไปเล่นใครจะฟังมากกว่ากัน สมมุติว่าแสดงได้ดีเหมือนกัน
หรือแม้แต่ด้านวิชาการถ้าผมเห็นชื่อ อ.นิธิ สฤณี(คนชายขอบ)
หรือไมเคิล ไรท์ ผมก็จะอ่านก่อนประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์
ถึงแม้เมื่ออ่านเปรียบแล้ว ผมจะรู้ว่าคุณประสงค์ก็เขียนวิเคราะห์อะไรได้ดีก็เถอะ

เวลาเราเห็นแบบอักษรแบบอาลักษณ์ สิ่งที่เราจะนึกถึงก่อนคือ
ความเป็นไทย ราชการ อะไรยังงี้ใช่ไหมครับ ราชการถึงชอบใช้ฟอนต์พวกนี้
ของทุกอย่างมันมีความหมายติดตัวทั้งนั้น แม้แต่กับคนก็เหมือนกัน
ทุกคนพกพาความหมายบางอย่างติดตัว หมอแมวเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์ตอบพวกเกรียน
ผมก็ว่าผมและคนทั่วไปก็ต้องอ่านและเชื่อของหมอแมวมากกว่าอยู่แล้ว
หรือแม้แต่เวลาเราเห็น SS เป็นรูปมิยาบิ เราย่อมกดโหลดก่อนแอบถ่ายใครไม่รู้ ที่เราไม่รู้จัก

ประสบการณ์นั่นเอง ที่ฟอร์มความหมายเหล่านั้นขึ้นมาในใจเรา
และมันก็เป็นแบบนั้นกับทุกเรื่อง แม้แต่กับเราที่ไม่ชอบและตั้งคำถามกับมัน
เราก็เป็นโดยไม่รู้ตัว และเป็นกับแทบทุกเรื่อง ผมว่ามันไม่ใช่ของผิดปกติอะไร
ถ้าในแง่การออกแบบ ผมนับมันเเป็น"ข้อจำกัด"ในการออกแบบ ที่เราจะต้องเอาชนะ
มากกว่าจะเป็นความสงสัยที่ไม่ว่าจะหาคำตอบยังไง มันก็เป็นยังงั้นของมันเหมือนเดิม(และที่สำคัญ เราเองก็เป็น)

ปล.คุ้นๆว่าเคยอ่านบทความ Design+Culture นั้นเมื่อนานมากกกกแล้วในมติสุด
พึ่งนึกออกตอนพี่แอนบอกนี่ล่ะ (แต่จำเนื้อความไม่ได้เลย)

บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
ของเก้อพูดคล้ายๆ ว่า
ที่เราเลือกซื้อของ(โดยเฉพาะเสื้อผ้าเสื้อผ่อน)เนี่ย
เพราะยี่ห้อ เพราะฉลากของมันมากกว่าฟังก์ชันประโยชน์การใช้สอยใช่มะ

นี่ยิ่งตอกย้ำถึงความไร้รสนิยมด้านแฟชั่นของตูยิ่งนัก ฮ่าๆ ฮือๆ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
 กรี๊ดดดดด+ทั้งพี่แอนและพี่เก้อเลยครับ  อย่างงี้งานออกแบบส่วนมากก็เอาแค่ให้ตอบโจทย์ที่ได้รับก็พอหรอครับคือสื่อกะtarget groupรู้เรื่องและสวย(ในสายตาของtarget group)
gimmicหรือทฤษฎี ไม่ต้องสนใจเพราะยังไงคนส่วนมากก็ไม่ได้ดูหรือไม่ได้สนใจที่จะหาความหมายในงานอยู่แล้ว
อย่างตอนปี1ผมเรียนมาว่าไม่ควรใช้สีคู่ตรงข้ามในงาน พอมาปี2จารย์เอางานมาให้ดูบอกดูคนออกแบบคนนี้สิดูเขาใช้สีคู่ตรงข้ามทำให้งานมันคอนทราสน่าสนใจดี หรืออย่างตัวหนังสืองานที่เป็นminimalก็มีควรใช้ตัวหนังสือที่เป็นminimalแต่พอมีศิลปินที่ดังๆใช้ฟอนต์แบบโบราณอาจารย์กลับบอกว่าใช้ฟอนต์ตอบโจทย์กะงานดี




โอว ปั่นกันกระจุย มีคนตัดหน้าคุณตั้ง 2 คนแน่ะ
ปล. Design+Culture มีรวมเล่มออกมา2เล่มด้วยนะครับเล่มแรกหน้าปกสีดำเล่ม2สีขาว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ต.ค. 2009, 01:30 น. โดย อิคคิว » บันทึกการเข้า

ใจเย็นๆ แล้วย้อนกลับขึ้นไปอ่านโพสต์ก่อนๆ หน้าครับ
การที่จะเล่นลีลาลวดลายได้นั้น เราต้องผ่านความเข้าใจในทฤษฎีมาก่อนนะ
ต้องแน่นก่อนนะ สำคัญๆ

มั่นใจว่าแน่นพอปั๊บ ทีนี้อยากแหกทฤษฎีมาทดลองหรืออะไรก็ค่อยว่ากัน (ดีไม่ดีอีกเรื่อง)
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
องทไลลามะกล่าวว่า(ไม่รู้จริงมั้ยนะ)
จงเรียนรู้กฎทุกอย่างให้เข้าใจ เพื่อจะฝ่าฝืนมันได้อย่างเหมาะสม  เกย์ออก
บันทึกการเข้า

<a href="http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf" target="_blank">http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf</a>
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 7
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!