อ่านคำตอบผมในกระจู๋ทำไมต้องเรียนออกแบบครับ

ตอบจริงจังสักหน่อย
แน่นอนว่าของทุกอย่างในโลกคือสิ่งสมมุติ
ความงาม ความอร่อย ความไพเราะ ทั้งหลายคือค่าสมมุติ
แต่ก็เช่นเดียวกับทุกเรื่อง ที่กระดาษแผ่นสีเทา สีม่วง สีแดง
มันมีมูลค่าในการจับจ่ายซื้อขายแลกเปลี่ยนก็คือการสมมุติ
รวมถึงวัตถุสีเลืองอร่ามที่เราเรียกว่าทอง ที่ใช้เป็นฐาน
ในระบบการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐศาสตร์ เป็นฐานในการคำนวนค่าเงิน
ความร่ำรวย นำมาใช้จัดระบบเศรษฐกิจของโลก...นี่ก็เป็นการสมมุติ
แต่เป็นการสมมุติจากการที่มนุษย์ทั้งหลายในโลก
เห็นว่าไอ้ทองเนี่ย มันสวยงาม และมันหาไม่ได้ง่าย
ค่าของมันจึงเกิด มนุษย์เรามีค่าสมมุติร่วมกันว่าทองมันงาม
ระบบการเงินโลกจึงใช้มันมาเป็นแกนการจัดระบบ
ไม่ว่าเราจะเห็นว่าทองมันสวยหรือเปล่า แต่โลกถูกหล่อหลอม
โดยความงามของมันมาแล้วนับพันปี ค่าสมมุตินี้ใช้งานและปลูกฝังมาจนปัจจุบัน
(ถึงปัจจุบัน ความงามมันถูกโยงอยู่กับมูลค่าของมันมากกว่า
แต่ก็อนุโลมให้ว่า แรกเริ่มเดิมทีมันมาจากความงามก่อน)
ตอบคำถามครับ ทุกอย่างก็เป็นค่าสมมุติทั้งนั้นในโลกใบนี้
ในการออกแบบ
ค่าสมมุติไหน ที่ทำให้คนส่วนใหญ่เป็นสุข ค่าสมมุติไหนทำให้เราเป็นสุข
หรือแค่คนกลุ่มเด็กแว้นมีความสุข(ก็ใช้สีแปร๋นๆไปเลยดิ๊)
หรือกลุ่มศิลปินด้วยกันมีความสุข(ทำมันนามธรรมสุดๆไปเลย ซิมโบลิคเหี้ยๆ)
หรือนักออกแบบด้วยกันมีความสุข(โชว์คอมโพสจัดๆล้ำๆแม่งซะ)
หรืออาจารย์คนตรวจมีความสุข(อาจารย์แม่งชอบเรียบๆกริดเนี้ยบๆเอางี้มันเลย)
หรือจะเอาให้เราคนเดียวมีความสุข หรือจะเฉลี่ยระหว่างหลายอย่าง-อย่างไหนบ้าง
เรามีหน้าที่เลือกของเราเองครับ
และเราก็ควรทราบผลลัพธ์ของการเลือกนั้น ว่านำไปสู่อะไร
การเลือกเหล่านี้นี่ล่ะครับ ที่จะทำให้เราเก่งขึ้นหรือย่ำอยู่กับที่(อาจจะห่วยลงในบางโอกาส)
หรือที่เรียกว่า พัฒนาฝีมือ นั่นแหละ การมีความสงสัยเหล่านี้นี่แหละ
ที่จะนำไปสู่การเลือกที่ระมัดระวัง ดู คิด พิจารณา ฝึกฝน ลองทำ แล้วเลือก
ถ้าเราตัดสินใจเลือกมันด้วยตัวของเราเองนะครับ
สุดท้ายเราก็จะพัฒนาไปในหนทางที่เราต้องการเองครับ
มันก็มีนะครับ คนที่รอให้คนอื่นเลือกให้อย่างเดียว
หรืออย่างตอนเรียนก็เลือกตามที่อาจารย์ว่าอย่างเดียว
แต่อาจารย์สอนออกแบบที่ดี จะไม่ทำยังงั้นครับ จะไม่มาบอกว่าคุณต้องทำงี้ๆเดินทางนี้เท่านั้น
เขาจะชี้ให้เราเห็นทางเลือก และอธิบายข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือก
อาจจะเชียร์บางทางเลือก แต่สุดท้าย เขาไม่ควรจะยุ่งเกี่ยวกับการตัดสินใจของเราครับ
เขาแค่รอให้เกรดกับการตัดสินใจของเรา
ซึ่งการให้เกรดนั้นก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของงานออกแบบนั้นๆ ซึ่งข้อนี้มันไม่ใช่ค่าสัมบูรณ์
เราสามารถถกเถียงได้ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าความงามสัมบูรณ์-Absolute Beauty ก็จริง
แต่คุณค่า(และการประเมินคุณค่า)ของงานออกแบบ มันไม่ได้อิงอยู่กับความงามอย่างเดียว
ส่วนนึง มันจึงมีความถูกต้องเชิงสัมพัทธ์ คือ ความถูกต้องภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง
(เช่น การอ่านออก ขนาดของฟ็อนต์ การสื่อความหมาย ฯลฯ)ไอ้ค่านี้นี่แหละครับ
ที่เขาเอามาให้เกรดเราครึ่งนึง อีกครึ่งนึงก็คุณค่าความงามอันเป็นค่าสมมุติที่น่าปวดหัวนี่แหละ
เริ่มวนละ จบดีกว่า
ว่าจะตอบนิดเดียว มือมันพาไป
