หน้า: [1] 2
 
ผู้เขียน หัวข้อ: คู่มือ(การจ้าง)นักออกแบบ  (อ่าน 16330 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้


งานออกแบบกราฟิกหรือเรขนิเทศศิลป์ (Graphic Design) คือ กระบวนการออกแบบเพื่อการสื่อสาร
ที่ผสานศิลปะเข้ากับเทคโนโลยี ผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ ส่งผลให้การส่งสารดังกล่าวไปถึงผู้รับสารได้
อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด องค์ประกอบที่ใช้ในการทำงานกราฟิกจะประกอบ
ไปด้วยภาพและ/หรือตัวอักษรเป็นสำคัญ

ปัจจุบันงานออกแบบกราฟิกจัดเป็นงานบริการประเภทหนึ่งที่นักออกแบบให้บริการผ่านการให้คำแนะนำ
หรือการรับจ้างผลิตงานออกแบบ โดยอาศัยทักษะ ทฤษฎี หลักการ และกระบวนการคิดในการออกแบบ
มาช่วยแก้ปัญหาด้านการสื่อสารและการรับรู้ เช่น การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ รายงานประจำปี ตราสัญลักษณ์
สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ รวมถึงวีดิทัศน์ เว็ปไซต์ บรรจุภัณฑ์ และสื่อผสมทางอิเล็คโทรนิกส์อื่นๆ


ในภาวะที่ธุรกิจแข่งขันกันรุนแรงดังเช่นทุกวันนี้ การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามได้
หนึ่งในผู้ที่สามารถแสดงบทบาทช่วยให้องค์กรและตราสินค้าทำการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย
ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ “นักออกแบบกราฟิก” นั่นเอง



ประโยชน์ของการใช้งานนักออกแบบกราฟิก สามารถสรุปได้โดยสังเขปดังนี้

1. ช่วยวางกรอบและเงื่อนไขของการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร นักออกแบบกราฟิก
จะพิจารณาเลือกวิธีการสื่อสารและเลือกใช้สื่อที่เหมาะสม เพื่อให้การสื่อสารทั้งหมดดำเนินไปใน
ทิศทางเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ช่วยส่งเสริมการขายและการตลาด งานออกแบบกราฟิกที่ดีช่วยสร้าง/ปรับปรุงภาพลักษณ์ให้กับองค์กร
สร้างความเชื่อมั่น และกระตุ้นพฤติกรรมการใช้ของผู้บริโภคได้ โดยผ่านการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ กัน อาทิ
การออกแบบเว็บไซต์ บรรจุภัณฑ์ สั่งพิมพ์โฆษณา ฯลฯ

3. มีส่วนช่วยในการตัดสินใจหรือให้ความคิดเห็นแก่ผู้ประกอบการ ในกรณีที่โครงงานมีทิศทางหรือแนว
ปฏิบัติที่หลากหลายและไม่สามารถหาข้อสรุปได้โดยง่าย

ขั้นตอนในการคัดเลือกและว่าจ้างนักออกแบบกราฟิก

1. ค้นหารายชื่อนักออกแบบหรือบริษัทออกแบบ พร้อมทั้งศึกษาลักษณะการให้บริการเบื้องต้น
อาจเริ่มต้นจากที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กรมส่งเสริมการส่งออก สมาคมนักออกแบบ
หรือถามจากผู้ประกอบการที่เคยใช้บริการประเภทดังกล่าวมาก่อน

2. เตรียมข้อมูลความต้องการ และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับโครงงานให้พร้อม เพื่อเป็นโจทย์ตั้งต้นให้กับนักออกแบบ

3. เชิญนักออกแบบหรือบริษัทออกแบบที่สนใจเข้ามาแนะนำตัว โดยให้คำนึงถึงผลงานและประสบการณ์เป็นสำคัญ
(อาจรวมถึงขนาด ศักยภาพ และความพร้อมในการทำงานด้วย)

4. นำเสนอข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจ และให้กรอบการพิจารณาคัดเลือกที่ชัดเจนแก่นักออกแบบ
โดยข้อมูลที่ผู้ประกอบการและนักออกแบบควรทำความเข้าใจร่วมกัน ณ จุดนี้คือ

- รายละเอียดของสินค้าหรือบริการ รวมทั้งลักษณะเฉพาะของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
- วิสัยทัศน์และขนาดของธุรกิจ
- คู่แข่งที่ชัดเจนทั้งทางตรงและทางอ้อม
- สาเหตุที่ธุรกิจต้องการความช่วยเหลือจากงานออกแบบ
- สิ่งที่คาดหวังว่าจะได้รับจากการใช้นักออกแบบ
- แรงบันดาลใจอื่นๆ5. จากนั้นจึงแจกแจงรายละเอียดโครงงานให้กับนักออกแบบ (ฺหรือที่เรียกว่า Brief)

การให้ Brief เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะนักออกแบบจำเป็นต้องใช้ข้อมูลและเงื่อนไขต่างๆ
ใน Brief นี้เพื่อวางแผนและกลยุทธ์ในการทำงาน หาก Brief มีข้อผิดพลาดหรือขาดความชัดเจนแล้ว
โอกาสที่ผลงานออกแบบจะออกมาดีตามคาดก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

Brief ที่ดีควรมีองค์ประกอบหลักๆ ดังนี้

- ประวัติ ที่มา และลักษณะการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการโดยคร่าว
- ที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการ
- เงื่อนไข ขอบเขต รวมถึงข้อจำกัดในการออกแบบ
- แนวคิดเบื้องต้นที่ต้องการจากงานออกแบบ
- เงื่อนไขหรือขอบเขตในลิขสิทธิ์ของงานออกแบบ
- รายละเอียดในการส่งมอบงาน
- งบประมาณ

6. เชิญนักออกแบบเข้ามานำเสนอโครงงานออกแบบ (ที่เรียกว่า Design Proposal)

7. พิจารณาเอกสารการนำเสนอโครงงานอย่างเป็นธรรม และคัดเลือกนักออกแบบโดยยึดกรอบการพิจารณาที่เคยให้ไว้

8. ทำความเข้าใจเป็นลายลักษณ์อักษรถึงข้อตกลง เงื่อนไขการทำงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ
กับนักออกแบบหรือบริษัทออกแบบที่เลือกใช้

9. ทำสัญญาจ้างงาน


การคิดค่าบริการในงานออกแบบกราฟิก

อัตราค่าบริการสำหรับงานออกแบบกราฟิกนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง อาทิ ความสามารถ ชื่อเสียง
ประสบการณ์ของนักออกแบบ ความยากง่าย และคุณค่าของงาน ฯลฯ โดยการประเมินราคาส่วนมากจะ
คำนวณจากองค์ประกอบหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่

1. ค่าออกแบบ ซึ่งประเมินจากขั้นตอนการทำงาน รายละเอียด และความยากง่ายของตัวงานเป็นหลัก
การประเมินราคาในส่วนนี้ทางนักออกแบบอาจนำเสนอเป็นราคาเดียวเพื่อความสะดวก หรือบางแห่งอาจทำ
ราคาแยกให้เห็นเป็นขั้นๆ ก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่ระบบการจัดการของฝ่ายผู้ว่าจ้างและนักออกแบบด้วย

2. ค่าดูแลการผลิต ในบางกรณีนักออกแบบสามารถคิดค่าดูแลการผลิตเพิ่มเติมจากค่าออกแบบได้
ทั้งนี้เพราะมาตรฐานการผลิตระดับสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบงานพิมพ์นั้น เป็นเรื่องที่ต้องการความเชี่ยวชาญ
และมีรายเอียดที่ซับซ้อน นักออกแบบกราฟิกส่วนมากจำเป็นต้องให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่ผู้ผลิตหรือโรงพิมพ์
เพื่อให้ทำการผลิตได้ตรงตามความต้องการอย่างแท้จริง รวมทั้งต้องเข้าไปดูแลงานผลิตที่บางครั้งอาจใช้เวลา
เป็นวันหรือเป็นสัปดาห์ และอาจต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นด้วย

3.ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ค่าเดินทาง ค่าส่งเอกสาร ค่าที่พัก ค่าตรวจพิสูจน์อักษร (ถ้ามี)

4.ค่าลิขสิทธิ์ในงานออกแบบ (Loyalty Fee) นักออกแบบหรือบริษัทออกแบบบางแห่ง อาจคิดค่าบริการเพิ่มเติม
เป็นเปอร์เซนต์จากสิทธิหรือปริมาณการใช้งานออกแบบนั้นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนการผลิต เงื่อนไข ประเภท
และข้อตกลงอันเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย



4 ขั้นตอนการทำงานของนักออกแบบกราฟิกที่ดี

1. Discover : ค้นและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแนวโน้มความเป็นไปได้ นักออกแบบจะเริ่มต้นหาแรงบันดาลใจจาก
ข้อมูลเบื้องต้นใน brief รวมทั้งศึกษาตลาดการแข่งขัน สังเกตแนวโน้มความเปลี่ยนแปลง ทำความเข้าใจกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย
ศึกษากรณีอ้างอิงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเชิงการตลาด สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการออกแบบ เพื่อพัฒนาแนวคิดในขั้นต่อไป

2. Define : ประมวลผลและพัฒนาแผนการทำงาน
ขั้นตอนนี้นักออกแบบจะเข้าสู่กระบวนการกลั่นกรองความคิด หาคำตอบในวัตถุประสงค์ทางธุรกิจของลูกค้า
รวมถึงวางแผนการทำงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมทั้งทำความเข้าใจในแผนงานกับลูกค้าจนเป็นที่ยอมรับตรงกัน
เช่น แนวคิดและแนวทางการออกแบบ (Mood & Tone) การบริหารจัดการเรื่องเวลา ทรัพยากรและการดำเนินงาน

3. Develop : พัฒนางานออกแบบ
นักออกแบบกราฟิกเริ่มลงมือทำงานเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดให้กับโจทย์ของลูกค้า โดยผ่านกระบวนการดังต่อไปนี้
- เสนอแนวคิดต่างๆ ในการออกแบบ เช่น Mood, Tone, Format, Techniques
- เริ่มต้นออกแบบ เช่น การจัดหน้า Layout, การเลือกภาพ ตกแต่งภาพ จัดวางภาพ การเลือกและจัดวางตัวอักษร
- นำเสนอตัวอย่างเสมือนจริง (หรือ Mock-up) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของงาน
- เตรียมทำอาร์ตเวิร์ค (Artwork) สำหรับใช้ในกระบวนการพิมพ์
- ตรวจแบบและส่งมอบอาร์ตเวิร์ค เพื่อเตรียมเข้าสู่กระบวนการพิมพ์และผลิตต่อไป

4. Deliver : ผลิตงานออกแบบ
นำงานออกแบบที่พัฒนาขึ้นแล้วเข้าสู่กระบวนการพิมพ์และผลิตจริง นักออกแบบต้องช่วยตรวจสอบคุณภาพความถูกต้อง
ประสานงานให้กระบวนการผลิตดำเนินไปอย่างราบรื่น และส่งมอบงานให้กับลูกค้า เช่น ช่วยดูแลการเลือกกระดาษพิมพ์
ดูความถูกต้องของสีหมึกพิมพ์ รวมไปถึงดูแลเรื่องสถานที่ส่งของด้วย

เครดิค : http://www.tcdcconnect.com/content/blog/?p=4036

เครดิตข้อมูล : กรมส่งเสริมการส่งออก

เครดิตภาพ :
www.jeerapit.blogspot.com/
www.mitshit.com/tag/design/page/2/
http://www.tocommunication.be/images/work/stationary.jpg

----------------------------------------------------------------------------------

ผมคิดว่านี่เป็นบทความที่ดีอันหนึ่งทีเดียวเลย เป็นการให้คนธรรมดาทั่วไปตระหนักถึงหน้าที่
ความสำคัญของนักออกแบบ(รวมทั้งตัวนักออกแบบเองด้วย) และเข้าใจถึงขั้นตอนการออกแบบ
ทำให้มีความเข้าใจผิดกับลูกค้ามีน้อยลง อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นบรรทัดฐานที่นักออกแบบพิงจะมี
ถ้าอย่างน้อยทำได้ตามนี้ ผมคิดว่าสังคมออกแบบจะดีขึ้น ก้าวหน้าขึ้น ไม่เพียงสังคมออกแบบเท่านั้น
สังคมทั่วไปที่เราอยู่ก็จะดีขึ้นด้วย

แต่ก็อย่าลืมว่านักออกแบบ หรือกราฟฟิกดีไซน์ เป็นเพียงแค่หนึ่งฟันเฟืองเล็กๆ ที่จะขับเคลื่อนสังคม
ที่เราอยู่นั้นให้เป็นไปในทางดีขึ้น แค่การออกแบบไม่สามารถทำได้ หากแต่ต้องให้ทุกคนในสังคมร่วมมือกัน
ผลักดันไปในทางที่ดีขึ้น

ปล.เสียวจะละโว้จัง อู้ย..

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ส.ค. 2009, 21:13 น. โดย VeryHappy » บันทึกการเข้า
 ยิ้มมีเลศนัย




อะ ล้อเล่ง + ให้ อ๊าง~

แต่ตูไม่เคยเห็นนี่วัดอะไรไม่ได้นะชื่น น้องดำ
บันทึกการเข้า

<a href="http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf" target="_blank">http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf</a>
เจ๋ง หวังว่ากูเกิ้ลจะทำให้คนมาเจอ แล้วช่วยทำให้การสื่อสารระหว่างดีไซเนอร์ และผู้ว่าจ้างง่ายขึ้น เจ๋ง
บันทึกการเข้า

<a href="http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf" target="_blank">http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf</a>

A Long Patience: Wish Us Luck (and Happy Anniversary)
โห ดูมันเป็นทฤษฎีในอุดมคติจังเลย ฮ่าๆ ฮือๆ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
โห ดูมันเป็นทฤษฎีในอุดมคติจังเลย ฮ่าๆ ฮือๆ
ลืมนึกถึงเรื่องนั้นไปเลย ฮ่าๆ ฮือๆ
บันทึกการเข้า

<a href="http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf" target="_blank">http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf</a>

A Long Patience: Wish Us Luck (and Happy Anniversary)
นั่นน่ะซิครับ ฮ่าๆ ฮือๆ
บันทึกการเข้า
เท่าที่เจอลูกค้าที่มีปัญหาก็มักเป็นเรื่อง Brief นี่แหล่ะ  กร๊าก

Brief ที่ดีควรมีองค์ประกอบหลักๆ ดังนี้

- ประวัติ ที่มา และลักษณะการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการโดยคร่าว (ถ้าลูกค้ามีมานี่ดีใจมากครับ แต่โดยมาก โลโก้ยังต้องเอามาดร๊าฟเองเลย)
- ที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการ (เหมือนข้อแรก ถ้ามีก็ทำงานง่ายขึ้น)
- เงื่อนไข ขอบเขต รวมถึงข้อจำกัดในการออกแบบ (ต้องทำตามใจลูกค้า ถ้าเขาคิดเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด)
- แนวคิดเบื้องต้นที่ต้องการจากงานออกแบบ (ลูกค้าเอางานคนอื่นให้ดู แล้วบอกว่าอยากได้แบบนี้เด๊ะๆ)
- เงื่อนไขหรือขอบเขตในลิขสิทธิ์ของงานออกแบบ
(สมมุติบางครั้งทำภาพประกอบโบรชัวร์ไป ดันเอา Source ไปใช้ทำอย่างอื่นต่อ เช่นเอาไปทำ Ad บางครั้งเอาไปตกแต่งออฟฟิศ)
- รายละเอียดในการส่งมอบงาน (เดทไลน์ไม่เป็นเดทไลน์ งานจบแล้วยังต้องแก้งาน เพิ่มโน่นเพิ่มนี่ตามใจลูกค้า อีกหลายครั้ง)
- งบประมาณ (พี่ขอถูกที่สุดนะ)
บันทึกการเข้า
ที่พี่ฉึ่้งพูดมาไม่ใช่แค่งานกราฟฟิกหรอกครับ ฮ่าๆ ฮือๆ
บันทึกการเข้า

<a href="http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf" target="_blank">http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf</a>

A Long Patience: Wish Us Luck (and Happy Anniversary)
หนึ่งในบทความเกี่ยวกับการออกแบบที่ผมชื่นชมที่สุด
เอามาแปะบ้าง

บทความที่ชื่อว่า First thing Fist
เขียนขึ้นเมื่อ 35 ปีที่แล้ว พิมพ์ในนิตยสารของอังกฤษก่อนมั้ง
โยนคำถามที่ท้าทายสู่นักออกแบบทั่วโลกว่า อาชีพของเรา
ที่เราภูมิใจนักหนา(ในหลายแง่มุม เราเรียกตัวเองว่าศิลปินด้วยซ้ำ)
ที่แท้แล้ว คืออาชีพขี้ข้าคนรวย เราถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับใช้องค์กรธุรกิจเท่านั้นหรือเปล่า?

แอบอ้าง
We, the undersigned, are graphic designers, art directors and visual communicators who have been raised in a world in which the techniques and apparatus of advertising have persistently been presented to us as the most lucrative, effective and desirable use of our talents. Many design teachers and mentors promote this belief; the market rewards it; a tide of books and publications reinforces it.

Encouraged in this direction, designers then apply their skill and imagination to sell dog biscuits, designer coffee, diamonds, detergents, hair gel, cigarettes, credit cards, sneakers, butt toners, light beer and heavy-duty recreational vehicles. Commercial work has always paid the bills, but many graphic designers have now let it become, in large measure, what graphic designers do. This, in turn, is how the world perceives design. The profession's time and energy is used up manufacturing demand for things that are inessential at best.

Many of us have grown increasingly uncomfortable with this view of design. Designers who devote their efforts primarily to advertising, marketing and brand development are supporting, and implicitly endorsing, a mental environment so saturated with commercial messages that it is changing the very way citizen-consumers speak, think, feel, respond and interact. To some extent we are all helping draft a reductive and immeasurably harmful code of public discourse.

There are pursuits more worthy of our problem-solving skills. Unprecedented environmental, social and cultural crises demand our attention. Many cultural interventions, social marketing campaigns, books, magazines, exhibitions, educational tools, television programs, films, charitable causes and other information design projects urgently require our expertise and help.

We propose a reversal of priorities in favor of more useful, lasting and democratic forms of communication - a mindshift away from product marketing and toward the exploration and production of a new kind of meaning. The scope of debate is shrinking; it must expand. Consumerism is running uncontested; it must be challenged by other perspectives expressed, in part, through the visual languages and resources of design.

In 1964, 22 visual communicators signed the original call for our skills to be put to worthwhile use. With the explosive growth of global commercial culture, their message has only grown more urgent. Today, we renew their manifesto in expectation that no more decades will pass before it is taken to heart.
 

หลังจากบทความนี้พิมพ์ออกมา เรียกว่าเกิดกระแสการถกเถียง
ครั้งรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การออกแบบสมัยใหม่ของโลกเลย
สนใจอ่านต่อ กูเกิ้ลเลยครับ เป็นเหตุการณ์ที่อ่านแล้วบันเทิงมาก

บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
First thing Fist

คนละอันกับ

First thing First

ใช่ป่ะพี่เก้อ

ปล.เห็นภาษาอังกฤษเต็มพรืดแล้วละเหี่ยใจ ฮือๆ~
บันทึกการเข้า
ใช่ครับ คนละอัน
ของผมคือ First thing Fist - กำปั้นแรก หมีโหด~
บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
กูเกิ้ลทานสเลดเล้ย
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
อ่านรู้มั่งไม่รู้มั่ง แต่คนเขียนแกเขียนได้กัดๆแสบๆดีนะ  น้องดำ
ปัจจุบันวงการในอังกฤษหรือทางตะวันตกมันก็น่าจะพัฒนาไปมากกว่ายุคที่เขียนแล้วนะ
ตอนนี้งานออกแบบมันออกจะเป็น finearts สาขาใหม่ด้วยซ้ำไป
ส่วนในไทยปัจจุบัน ค่อนข้างจะคล้ายไอ้บทความนี้เด๊ะๆ

พูดเรื่องนี้นึกไปถึงยุคเรอนาซองค์ ที่พวกขุนนาง คนรวยเงินเหลือ ชอบเลี้ยงศิลปินเอาไว้ในสังกัด
ไม่รู้ทำไมนึกไปแบบนั้น
บันทึกการเข้า
เท่าที่เจอลูกค้าที่มีปัญหาก็มักเป็นเรื่อง Brief นี่แหล่ะ  กร๊าก

Brief ที่ดีควรมีองค์ประกอบหลักๆ ดังนี้

- ประวัติ ที่มา และลักษณะการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการโดยคร่าว (ถ้าลูกค้ามีมานี่ดีใจมากครับ แต่โดยมาก โลโก้ยังต้องเอามาดร๊าฟเองเลย)
- ที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการ (เหมือนข้อแรก ถ้ามีก็ทำงานง่ายขึ้น)
- เงื่อนไข ขอบเขต รวมถึงข้อจำกัดในการออกแบบ (ต้องทำตามใจลูกค้า ถ้าเขาคิดเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด)
- แนวคิดเบื้องต้นที่ต้องการจากงานออกแบบ (ลูกค้าเอางานคนอื่นให้ดู แล้วบอกว่าอยากได้แบบนี้เด๊ะๆ)
- เงื่อนไขหรือขอบเขตในลิขสิทธิ์ของงานออกแบบ
(สมมุติบางครั้งทำภาพประกอบโบรชัวร์ไป ดันเอา Source ไปใช้ทำอย่างอื่นต่อ เช่นเอาไปทำ Ad บางครั้งเอาไปตกแต่งออฟฟิศ)

- รายละเอียดในการส่งมอบงาน (เดทไลน์ไม่เป็นเดทไลน์ งานจบแล้วยังต้องแก้งาน เพิ่มโน่นเพิ่มนี่ตามใจลูกค้า อีกหลายครั้ง)
- งบประมาณ (พี่ขอถูกที่สุดนะ)


นี่มัน  ฮือๆๆ
บันทึกการเข้า
 ฮ่าๆ ฮือๆ กรี้ด
บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!