แต่ในที่นี้ เรามองฟอนต์เป็นซอฟต์แวร์นี่ครับ
จากอันนี้
๑. ฟอนต์มีลิขสิทธิ์ไหม?
เนื่องจากเราเกิดมาในประเทศที่ของแท้หาซื้อยากกว่าของปลอม
และการฟ้องร้อง คดีความ มักไม่ได้ใหญ่โต เอิกเกริกเป็นข่าวพาดหัวเหมือนกับฝรั่งเขา
เหตุการณ์เมื่อหลายปีก่อนที่บริษัทพีเอสแอล สมาร์ทเล็ตเตอร์
ได้ยื่นฟ้องและต่อสู้เรื่องลิขสิทธิ์ของฟอนต์ตลอดมา จึงจางหายเลือนลางไปกับกาลเวลา
มีเพียงประโยคทองของนักการเมือง(ท่าน?)นึง ที่เป็นใหญ่ในกระทรวงที่เกี่ยวข้องในสมัยนั้นซะด้วยสิ
ที่บอกว่า "โอ๊ย ฟอนต์น่ะเรอะ ไม่มีลิขสิทธ์หรอก เพราะมันเป็นสมบัติของชาติ"
เราหลายคนโดยเฉพาะกลุ่มที่หูเบาหน่อย อ่านอะไรจากในเน็ตก็เชื่อซะ เลยเข้าใจว่ามันจริงตามนั้น
ดังนั้นข้อสงสัยเกี่ยวกับความมีอยู่ของลิขสิทธิ์ฟอนต์จึงดูเลือนรางลงไป
ดังนั้นเมื่อผมมีสื่อเกี่ยวกะฟอนต์โดยตรงในมือ ที่มีจุดแข็งคือเวลาเขียนอะไรทีนึงก็จะผ่านสายตาคนดูจำนวนมาก
จึงขอประกาศไว้ตรงนี้เลยครับ ตั้งใจอ่านนะครับ ..
"ฟอนต์มีลิขสิทธิ์" นะจ๊ะที่รัก
ไอ้ที่เราทำแจกฟรีกันอยู่นี่ หรือฟอนต์ยี่ห้ออื่นที่คุณดาวน์โหลดฟรีจากเว็บอื่น
หรือแม้แต่แผ่นเถื่อนที่คุณเจอที่ประตูน้ำ โหลดจากเว็บบิตเถื่อน ฯลฯ นั้น
ขอให้ตระหนักไว้ด้วยว่า มันไม่ได้เกิดมาเองจากโคนต้นขนุน หรือใช้โปรแกรมไปนานๆ มันจะงอกขึ้นมาเองนะครับ
จากผลการพิจารณาคดีที่ผมได้กล่าวมาข้างต้นนั้น (หลังจากคำประกาศพล่อยๆ นั่น) ทำให้เราเข้าใจตรงกันแล้วนะครับ
ว่า ฟอนต์ เป็นผลงานสร้างสรรค์อันมีลิขสิทธิ์ตั้งแต่เสี้ยววินาทีแรกที่คลอดออกมาจากมือหมอเลยแหละ
คำว่าลิขสิทธิ์นั้น ใช่ว่าผู้สร้างสรรค์จะต้องไปทำเรื่องขึ้นทะเบียนหรือจดสิทธิบัตรก่อนนะครับ
ในสามัญสำนึกของคนเราต้องปรับความเข้าใจว่า ทุกอย่างที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์นั้นเป็นสิทธิ์ของเจ้าของทั้งหมด
แม้แต่เด็กสองขวบเอาไม้เขี่ยทรายเป็นเส้นตรง เด็กอีกคนก็จะมาอ้างไม่ได้ว่าเป็นเจ้าของเส้นตรงนั้น
แต่ในการนี้ก็ต้องเข้าใจด้วยว่าเด็กคนแรกเป็นเจ้าของผลงานเส้นนั้นและวิธีการเขียน แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของทราย
ฉันใดก็ฉันนั้น
ฟอนต์ หรือชุดอักษรที่เราเห็นๆ กันในคอมพิวเตอร์นี้ ได้ถูกพิจารณาให้ว่าเป็นซอฟต์แวร์
ชุดคำสั่งต่างๆ ที่เกิดจากการใช้โปรแกรมสร้างเส้นโค้ง เส้นตรง การดัด การงอต่างๆ การจัดระยะช่องไฟ
การเรียงตำแหน่ง ชุดตารางแม่แบบ ทุกอย่างเกิดจากโปรแกรมสำเร็จรูปหรือไม่สำเร็จรูปโปรแกรมใดก็ตาม
ทำให้เกิดผลลัพธ์เป็นไฟล์ที่คอมพิวเตอร์รู้จักว่าไอ้นี่แหละ ตูจะใช้แสดงผลให้มนุษย์โลกเห็น ในนามของ ฟอนต์
พอมันรู้ตัวว่าตัวเองเป็นซอฟต์แวร์ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ปี ๒๕๓๗ จึงวิ่งมากางบาเรียคุ้มครองฟอนต์ทันที!!
ใครว่างๆ ก่อนออนเอ็ม ก็ลองไปหาอ่านพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ในหมวดคอมพิวเตอร์ดูนะครับ
แล้วจะเข้าใจว่าการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญานั้น ถ้าคนทำเขาฟ้องขึ้นมา คุณจะโดนอะไรยังไงบ้าง
จะได้ไม่ต้องมาโวยวายว่าโดน PSL ไล่จับ --- อ้าว ก็คุณไปขโมยของเขามาใช้เองนี่หว่า
ทีนี้เคลียร์แล้วนะ หนึ่งเรื่อง
สรุปสั้นๆ ว่าฟอนต์มีลิขสิทธิ์ชัวร์ๆ และฟอนต์ถูกจัดให้เป็นซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง
และอันนี้
อย่างที่ผมบอกน่ะครับ อักษรไทย เป็นสมบัติของชาติ ใครก็สามารถนำไปใช้งานได้ครับ แต่ในกรณีที่มีการประยุกต์ให้มีความโดดเด่น และนำไปจดลิขสิทธิ์ไว้ตามกฎหมาย เราก็จะได้รับสิทธิ์คุ้มครองตามกฎหมายครับ แต่ไม่ใช่ว่ามีการโฆษณาแล้วถือว่าจะได้รับสิทธิ์ เพราะฟอนต์เป็นแค่ตัวอักษร ไม่ใช่งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ครับ สมมุติว่ามีผู้ไม่ประสงค์ดีแอบนำไปจดก็ถือว่าเค้าได้รับสิทธิ์ไปเลย ..... ถาม-ตอบ เรื้องกฎหมายได้ครับ
สรุปว่ายังไงล่ะครับ