หน้า: 1 2 3 [4]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: หาค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำ  (อ่าน 26699 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
ตั้งแต่ผมเรียนแผนกวิทย์มา 3 ปี
เพิ่งจะรู้วันนี้ครับ ว่าโรงเรียนมีเครื่องชั่งดิจิตอล เครื่องเขย่าสาร  pH meterอย่างละเอียด ก็ยังมี

ซึ่งผมตื่นเต้นมากว่าอาจารย์เอาไปซ่อนไว้ตรงไหนพวกผมถึงคุ้ยไม่เจอ (ล่าสุดเรารู้ที่ซ่อนชุดทดลองโคบอลท์ 60 ด้วย)


สำหรับการทดลองที่เพิ่งเล่นกันไป
แม้จะเหม็นไปหน่อย เพราะบางคนทุ่มเทเอาน้ำส้วมมาทดลอง แต่ก็สนุกครับ
สนุกเป็นบ้าเลยจริงๆ นานๆ จะได้เล่นอุปกรณ์และสารเคมีเยอะขนาดนี้

http://www.youtube.com/watch?v=hsfmnyFqDZQ

สลายตะกอนด้วย กรดซัลฟิวริก (H2SO4) ครับ
ผมชอบขั้นตอนนี้มากเพราะมันดูตื่นตาตื่นเต้นมากเวลาที่เราหยดลงไปแล้วตะกอนก็ ซูมมม !!!
ตรงก้นขวดก็จะค่อยๆ ใส ตะกอนก็พุ่งขึ้นมาเหมือนภูเขาไประเบิด

เสียดายผมไม่ได้เล่น เพราะ อ.กำชับว่าคนที่จะเล่นซัลฟิวริกได้ต้องถูกอบรมโดย อ.ก่อนเท่านั้น
ผมจึงมาเล่นอันนี้แทนครับ

http://www.youtube.com/watch?v=O7legb2Jzw4
ทุกคนเห็นว่าผมชอบอีหลอดนี้มาก จึงยกให้ผมไทเทรตให้ทุกกลุ่มเลย
กลุ่มแรกๆ จะซวยไปครับ เพราะผมไขพลาดไปเยอะ แต่หลังๆ ความแม่นยำจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นด้วยอัตราก้าวหน้าเรขาคณิต
เวลาไขต้องใจเย็นๆ ครับ มาทีละหยด  บางตัวอย่างนานมากกว่าจะเปลี่ยน  สำหรับอันนี้ไวมากๆ ใช้แค่ประมาณ 2 cc ก็ใสแล้ว
(คนที่ทำเสียงตื่นเต้นนั่นเพื่อนผมนะครับ)

ไทเทรตโซเดียมไธโอซัลเฟต (Na2S2O3)
หลอดที่เราใช้ทำการไทเทรตนี้เรียกว่า บิวเรต ครับ (ผมชอบเรียก หลอดไทเทรต)

เวลาใช้ก็ต้องใช้ให้ถูกต้องนะครับ ห้ามให้ปากบิวเรตล่วงล้ำเข้ามาในภาชนะ เพราะเขย่าแล้วอาจจะไปกระแทกกันได้

ขั้นตอนไทเทรตก็ง่ายๆ ครับ ดูว่าขีดบ่งชี้ปริมาตรอยู่ที่เท่าไหร่ เช่น 10 cc ก็จดไว้ฮะ
จากนั้นเราก็เอาตัวอย่างน้ำที่ผ่านกระบวนการทั้งหมด สลายตะกอนไปแล้วมาไทเทรตให้น้ำสีเหลืองมีสีจางลงก่อน
จากนั้นหยดน้ำแป้งลงไปพอให้มันเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน (ประมาณ 10 หยด) แล้วไทเทรตต่อ ให้น้ำใส
(มีอีกวิธีบอกว่าให้ใส่น้ำแป้งเลย แล้วไทเทรตทีเดียว ซึ่งผมก็ทำๆ สลับๆ กันไปตามศรัทธา)

ปริมาตรของโซเดียมไธโอซัลเฟตที่ใช้ ก็จะถูกนำไปใช้คำนวณเพื่อหาค่า DO ในสมการครับ




ความสุขอย่างเดียวของการเรียนแผนกวิทย์ก็คือการได้ทดลองครับ
มันเป็นสิ่งที่เราได้เห็นได้ทำจริงๆ แล้วก็จะเจอปัญหาอื่นๆ ด้วย เช่น
ทำไมน้ำแก้งส้ม น้ำผิวส้ม ไม่เปลี่ยนสีเมื่อหยดน้ำแป้ง นั่นก็เพราะความเป็นกรดมีมากเกินไป ต้องใช้น้ำแป้งเยอะมากๆ
หรือ  น้ำส้วมก็ไม่เปลี่ยน เพราะมันมี NH+ (รึเปล่า ผมต้องไปหาข้อมูลเพิ่ม)
และเป็นที่ตกใจกันว่า "แอร๊ย ทำไมน้ำกูเปลี่ยนสีวะ ยังไม่ได้หยดน้ำแป้งเลย" แต่จริงๆ แล้วตัวอย่างนั้นคือน้ำเศษอาหาร ซึ่งมีข้าว (คาร์โบไฮเดรต) อยู่แล้วครับ

ผมอ่านหนังสืออัตชีวประวัติของ Richard Feyman คนที่ได้โนเบลฟิสิกส์น่ะครับ
แกบอกเลยว่านักศึกษาจำนวนมาก (รวมถึงผู้ช่วยของไอน์สไตน์) ตอบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังศึกษาไม่ได้ในโลกของความเป็นจริง
เพราะเรียนกันอยู่แต่ทฤษฎ๊ และการหาคำตอบเป็ฯตัวเลขกันอยู่นั่นเอง

ซึ่งผมเห็นด้วยมาก
เพราะผมจะไม่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์ในเรื่องที่ผมไม่เข้าใจเลยว่า ทำไมมันถึงเป็นอย่างนั้น
เราไม่ได้อยากได้แค่สูตร กับวิธีประยุกต์เพื่อหาคำตอบ แตในฐานะนักเรียนมัธยมผมก็อยากได้อะไรที่มันเข้าท่ากว่านั้นนะ
เป็นเหตุผลที่วันนี้ผมสนุกมาก เพราะทดลองแล้วเหมือนจะเข้าใจอะไรมากขึ้น มีประสบการณ์เพิ่มขึ้น และฉลาดขึ้นนิดนึง  ลันล้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 ม.ค. 2009, 23:26 น. โดย หม่อมเต่า » บันทึกการเข้า
ตอนเรียนแลบอะไรเคมีๆ เทือกนี้
ดูผลเพื่อนแล้วเมคประจำเลยแฮะ
แรกๆ ก็สนุกๆ หลังๆ มาในห้องแลบร้อนรึเกิน
เลยนั่งมองสาวหน้าห้องซะมากกว่า


บวกให้กับความสนุกในการทดลองครับ
บันทึกการเข้า

ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้






สนุกดีนะ (แจ๋ว แจ๋ว)


เดี๋ยวนี้ตามกลุ่มโรงเรียนยังมีจัดเข้าค่ายวิทยาศาสตร์อยู่หรือเปล่า


บันทึกการเข้า

งบน้อย
หน้า: 1 2 3 [4]
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!