โครงการไออุ่น…จากพี่ให้น้อง ครั้งที่ 3
1 พฤศจิกายน- 10 ธันวาคม 2551
ณ โรงเรียนบ้านดงนา ตำบลหนามแท่ง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
ดำเนินโดย คณะทำงานไออุ่นจากพี่ให้น้อง
มูลนิธิรักษ์ไทย ชมลมชมไทย และอาสาสมัคร แพทย์ บุคคลากร ศิริราชพยาบาล
มูลนิธิรักษ์ไทย องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้าน อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการศึกษา พัฒนากลุ่มอาชีพ และงานด้านสุขอนามัย มากว่า 28 ปี ได้จัดทำโครงการพัฒนาชุมชนร่วมกับ ชมลม ชมไทย
www.chomthailand.com กลุ่ม คนที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และอนุรักษ์ธรรมชาติตลอดจนศิลป วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชน และอาสาสมัคร แพทย์ พยาบาล บุคคลากร ศิริราชพยาบาล ในโครงการไออุ่น จากพี่ให้น้อง ด้วยการจัดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ในตัวเยาวชน และสร้างแหล่งเรียนรู้สำหรับชุมชน ตลอดจนกิจกรรมแพทย์อาสาสมัครตรวจสุขภาพเยาวชน และชุมชนท้องถิ่น เพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐานด้านสุขภาพในชุมชนที่ทุรกันดารและขาดแคลน
โครงการ ไออุ่นจากพี่ให้น้อง ได้ดำเนินงานมาเป็นปีที่ 3 แล้ว ซึ่งยังคงยึดหลักการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในชุมชนที่ห่างไกลและทุรกันดาร อันเป็นปัจจัยสำคัญที่เราจะพัฒนาชุมชนได้อย่างมั่นคงและยั่งยื่น และในปี 2551 นี้ ทางมูลนิธิรักษ์ไทยและชมลมชมไทย ได้สำรวจพื้นที่ โรงเรียนบ้านดงนา ตำบลหนามแท่ง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ในเขตการทำงานของมูลนิธิรักษ์ไทย ซึ่งหมู่บ้านดังกล่าว อยู่ในถิ่นทุรกันดาร และเข้าถึงยาก กลุ่มเยาวชนขาดโอกาสในการเรียนรู้ อีกทั้งเป็นโรงเรียนชายแดน ทำให้มีเกิดปัญหาเรื่องของสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง
วัตถุประสงค์ของโครงการ1. เพื่อสร้างสื่อการเรียนรู้ในชุมชนด้วยตัวบุคคล เปิดโลกการเรียนรู้ของเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ด้วยสื่อและนิทรรศการ
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเยาวชนด้วย กิจกรรมเสริมสร้างปัญญา และภาวะผู้นำ
3. เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต ในการดำรงอยู่ของเยาวชนด้วยสื่อการเรียนการสอนอันเป็นประโยชน์
4. เพื่อตรวจรักษาสุขภาพเบื้องต้นแก่เยาวชนและชาวบ้าน ตลอดจนการสำรวจข้อมูลด้านสุขภาพของชุมชนดังกล่าว
5. เพื่อเสริมสร้างสุขอนามัยที่ดีแก่ชุมชนในถิ่นทุรกันดาร และห่างไกล
6. เรียนรู้และเข้าใจในวิถีของกลุ่มคนชายขอบ (ไทย-ลาว) ทั้งการดำรงชีวิตวัฒนธรรม และภูปัญญาที่มาจากบรรพบุรุษ
7. สร้าง ความสัมพันธ์อันดี ด้วยการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม กิจกรรมพัฒนาชุมชน ของกลุ่มนักศึกษา สมาชิกชมรม นักเรียน ชาวบ้าน และบุคคลทั่วไป
กลุ่มเป้าหมาย1. กลุ่มนักเรียนจากโรงเรียนบ้านดงนา จำนวน 100 คน
2. กลุ่มนักเรียนจากโรงเรียนบ้านโหง่นขาม จำนวน 100 คน
3. กลุ่มนักศึกษา และเจ้าหน้าที่ จากคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล จำนวน 50 คน
4. กลุ่มสมาชิกชมรมชมไทย 50 คน
5. กลุ่มอาสาสมัคร และบุคคลทั่วไปที่สนใจงานพัฒนาชุมชน 50 คน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ1. กลุ่มเยาวชนบ้านดงนา และบ้านโหง่นขาม มีโอกาสเปิดโลกทรรศกับสื่อการเรียนการสอนที่ง่ายต่อการเรียนรู้
2. กลุ่มเยาวชนบ้านดงนา และบ้านโหง่นขาม สามารถเป็นแกนนำในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนืองกับเครือข่าย
หรือองค์กรอิสระต่างๆ
3. กลุ่มเยาวชนบ้านดงนา และบ้านโหง่นขาม สามารถพัฒนาทักษะในการดำเนินชีวิตโดยภูมิปัญญาชาวบ้านด้วยตนเอง
4. สามารถเก็บข้อมูลด้านสุขภาวะของชุมชน ตลอดการสุขภาพรักษาเบื้องต้น แก่กลุ่มเยาวชน และชาวบ้านได้
ตัวชี้วัดโครงการ1. นัก เรียนโรงเรียนบ้านดงนา 100 คน และโรงเรียนบ้านโหง่นขาม 100 คน มีโอกาสเปิดโลกทรรศกับสื่อการเรียนการสอนที่ง่ายต่อการเรียนรู้ของเด็กเอง ส่งผลให้เด็กเข้าใจความรู้ใหม่ๆ ที่ได้จากสื่อและวิธีการสอนในกิจกรรมครูอาสา อาทิ สนุกกับวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ภาษาอังกฤษ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิศาสตร์บ้านเรา ตลอดจนการอบรมเรื่อง จริยธรรมและการทำความดี การห่างไกลยาเสพติด
2. สามารถสร้างสื่อการเรียนรู้ในชุมชนด้วยตัวบุคคล โดยสร้างกลุ่มเยาวชนที่สามารถเป็นแกนนำในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนืองกับเครือ ข่าย หรือองค์กรอิสระต่างๆ ที่ทำไปทำกิจกรรมในชุมชน เพราะเท่าที่สำรวจข้อมูลมาแล้ว ปรากฏว่า แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ยังมีไม่เพียงพอ ทั้งที่เป็นชุมชนที่มีความน่าสนใจในเรื่อง ชนเผ่า อาชีพ การท่องเที่ยว แต่ไม่สามารถอธิบายถึงที่มาที่ไปได้ ของชุมชนได้ เนื่องจากไม่มีกลุ่มบุคคล หรือแหล่งเรียนรู้ที่ดีได้
3. สามารถเสริม สร้างทักษะชีวิต ในการดำรงอยู่ของเยาวชนด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยไม่พึงพาวัตถุจากภายนอก อาทิ การทำเกษตรแบบพอเพียงที่มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านนี้มายาวนาน แต่ไม่มีการรวบรวมหรือเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้ แต่ทางโครงการจะเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ โดยให้เยาวชนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ เพื่อที่จะใช้ดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคตได้
4. เพิ่มศักยภาพการข้อมูลสุขภาพพื้นฐานในชุมชน โดยการเก็บข้อมูลหลังจากที่ทีมแพทย์อาสา ได้เข้าไปตรวจสุขภาพเบื้องต้นแล้วนำข้อมูลทางสุขภาพ สรุปส่งรายงานผลให้อนามัยประจำหมู่บ้าน และสาธารณะสุขจังหวัดเพื่อเป็นข้อมูลสุขภาพของหมูบ้านดงนา
รูปแบบการดำเนินงานโครงการดังกล่าวจะแบ่งเป็น 2 ช่วงได้แก่
1. กิจกรรมครูอาสา “ไออุ่นพี่สอนน้อง” (ตลอดเดือนพฤศจิกายน)• กิจกรรม จัดหลักสูตรการเรียน การสอนสำหรับกลุ่มเยาวชน ในรูปแบบครูอาสา ด้วยการจัดให้นักศึกษา และสมาชิกชมรมชมไทย คิดหลักสูตรการเรียนการสอนในช่วงเวลาพิเศษ เสาร์ อาทิตย์ โดยมีหลักสูตรดังต่อไปนี้
- 1. วันที่ 1-2 พ.ย. 2551 หลักสูตรภาษาพาสนุก
- 2. วันที่ 8-9 พ.ย. 2551 หลักสูตรภาษาพาสนุก และหลักสูตรสุขภาพดี เริ่มต้นที่ตัวเอง
- 3. วันที่ 15-16 พ.ย. 2551 หลักสูตรภาษาพาสนุก และกิจกรรมเก็บข้อมูลแหล่งเรียนรู้ชุมชน โดยเยาวชน
- 4. วันที่ 22-23 พ.ย. 2551 หลักสูตรหลักสูตรจริยธรรม คุณธรรมสำหรับเยาวชน
- 5. วันที่ 29-30 พ.ย. 2551 หลักสูตรใกล้ความดี ไกลอบายมุข และกิจกรรมทักษะชีวิตเพื่ออนาคต
โดยแต่ละหลักสูตรจะมีการพัฒนาและคัด เลือกผู้สอน จากคณาจารย์ของสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มนักศึกษาศิริราชพยาบาล สมาชิกชมรมชมไทย และบุคคลผู้สนใจ เดินทางไป อาทิตย์ละ 10-15 คน เพื่อจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
2. กิจกรรมโครงการ “ไออุ่นจากพี่ให้น้อง” ระหว่างวันที่ 5-7 ธันวาคม 25512.1 กิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่ “รถลุงฮูก” ของมูลนิธิรักษ์ไทย
• เป็น การจัดสื่อการเรียนการสอนที่เป็นประโยชน์การเยาวชน มาออกแสดงให้กลุ่มเยาวชนได้เรียนรู้กับสื่อทีทันสมัย และง่ายต่อการเข้าใจ อาทิ ฐานร่างกายมนุษย์ที่จะนำเอาโมเดลร่างกาย และอวัยวะมนุษย์มาให้เด็กๆ ได้ศึกษาและเรียนรู้ ฐานหุ่นละครมือ ที่แสดงละครเรื่องการอยู่ร่วมกันของสังคม ความสมัครคีในชุมชนเพื่อยกระดับจิตใจของเยาวชนให้ มีความสามัคคีและรักกัน
2.2 กิจกรรมแพทย์อาสา “สุขภาพดีพี่ให้น้อง” เป็นการสำรวจและตรวจรักษาสุขภาพของเยาวชนและชาวบ้านชาวบ้านกว่า 200 ครัวเรือน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากกลุ่มนักศึกษา และคณาจารย์จาก คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ในการเป็นอาสาสมัครลงพื้นที่ ตั้งบานตรวจและรักษาสุขภาพเบื้องต้นของเยาวชนและชาวบ้านในละแวกใก้ลเคียง
2.3 โครงการศูนย์การเรียนรู้ชุมชน “เปิดโลกแห่งการเรียนรู้” เป็นกิจกรรมพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าในโรงเรียน ให้เป็นห้องสมุคชุมชน ด้วยการจัดสรรอุปกรณ์การเรียนรู้รูปแบบใหม่ และสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย ให้เยาวชน และชุมชนได้เข้ามาหาความรู้เพิ่มเติม ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เกิดการเรียนรู้และพัฒนาที่ดีได้
2.4 กิจกรรมสันทนาการ เกมสร้างทักษะและปัญญา
2.5 กิจกรรมการพัฒนาชุมชน ปรับปรุงสาธารณประโยชน์ภายในหมู่บ้าน อาทิ ห้องน้ำ โรงอาหาร
ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ประสานงานโครงการ1. มูลนิธิรักษ์ไทย ฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ผู้ประสานงาน คุณชูชาติ ตรีรัถยานนท์ โทรศัพท์ 02-265-6833 มือถือ 089-143-0917
E-mail:
choochat@raksthai.org,
treerattayanon_c@hotmail.com,
raksthai.pr@gmail.com2. ชมลมชมไทย ผู้ประสานงาน คุณเอกราช มบขุนทดโทรศัพท์ 089-780-1770 E-mail:
chomthailand@yahoo.com3. กลุ่มบุคลลากร แพทย์ พยาบาล จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ผู้ประสานงาน คุณพรรธิภา มีโภคา โทรศัพท์ 086-621 8041 เบอร์ที่ทำงาน 02-419-7000 ต่อ 6585 E-mail:
psycho-miw@hotmail.comหรือ ติดต่ออีเมลล์ส่วนกลางโครงการไออุ่นฯ ที่ E-mail:
info@chomthailand.com ร่วมบริจาคและสนับสนุโครงการโดยโอนเงินผ่าน ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยสี่แยกเกษตร เลขที่บัญชี 778-2-02536-2
ชื่อบัญชี นายเอกราช มบขุนทด และนายชูชาติ ตรีรัถยานนท์
ติดต่อสอบถามการบริจาคนส.นุชชรีย์ ไทยรักษา ( คุณนุช ตาโต )
เบอร์โทรติดต่อ
081-452-6478 หรือ 081-928-3574
เบอร์ที่ทำงาน 02-861-3333
เบอร์แฟกซ์ 02-439-4546-7
ขอโครงการไปนำเสนอเพื่อทำหนังสือถึงหน่วยงานติดต่อได้ที่ มูลนิธิรักษ์ไทย ฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ผู้ประสานงาน คุณชูชาติ ตรีรัถยานนท์ มอร์ - โทรศัพท์ 02-265-6833 มือถือ 089-143-0917
E-mail:
choocaht@raksthai.org,
treerattayanon_c@hotmail.com,
raksthai.pr@gmail.com