กระจู๋นี้คุยกันหนุกมาก

คำถามเรื่องความเป็นไทย เป็นประเด็นยอดฮิตตั้งแต่ตอนเรียนจนกระทั่งจบมาทำงาน ต่างกรรมต่างวาระ
เมื่อหลายปีก่อน ตอนนั้นทำนิตยสารประกวดกะเพื่อนๆ (i-mag ธีมคือ รักษ์ไทย) ก็คุยกันวนไปวนมา งานออกมาก็..ฮ่าๆ สุดท้ายด้าน visual มันก็ไปอิงกับลวดลายมรดกบรรพบุรุษน่ะครับ ซึ่งก็ไม่ได้ตอบโจทย์ในใจคนทำสักเท่าไหร่
ส่วนเรื่องเนื้อข้างใน ยิ่งเราคุ้ยลงไปในบุคลิกลักษณะ การกิน การอยู่ เรายิ่งรู้สึกว่ามันพันธ์ผสมนะ เหมือนยิ่งไปเค้น 'สัจจะหนึ่งเดียว' ก็ยิ่งหาไม่เจอ
พักเรื่องไทยๆ ไปก่อน
เมื่อปีสองปีก่อน มีโอกาสได้ไปแบกเป้เที่ยวพม่า แล้วก็พบว่า เอกลักษณ์พม่าที่เรารับรู้กันเช่น ผู้ชายนุ่งโสร่ง ผู้หญิงทาแป้งตะนะคาที่หน้า กินหมาก มันเป็นภาพเหมารวมมากๆ เพราะจริงๆ แล้วพม่าประกอบด้วยชนเผ่าเป็นสิบกลุ่ม แต่ละกุล่มก็มีเอกลักษณ์ต่างๆ กันไป สรุปว่าภาพจำที่เราคิดว่าเป็น 'เอกลักษณ์' นั้นค่อนข้างจะมายา
พอผมมองกลับมาที่ประเทศไทย เมื่อก่อนก็ไม่ได้ฉุกคิดอะไรมาก แต่พอทำงานถึงรู้สึกว่า สังคมไทยมันถ่างห่างออก จนบางทีคุย เข้าใจ กันไปคนละเรื่อง ผมคิดว่างานออกแบบ มันสนองความต้องการตลาดของคนกลุ่มเล็กๆ (ซึ่งมีกำลังซื้อ) นั่นก็คือชนชั้นกลางขึ้นไปในเมือง นักออกแบบร่วมสมัยจากมหาวิทยลัย ก็หล่อหลอมความคิดด้วยหลักสูตรที่อิงจากโลกซีกโน้น (อย่างโรงเรียนผมเอง อาจารย์ก็พูดชัดๆ เลยว่าเรารับก้อนสมองมาจาก bauhaus)
แล้วคนไทยในภาคส่วนอื่นๆ ล่ะ บางทีเราไม่นับพวกเขาในหมวดคำว่า 'ออกแบบ' หรือเปล่าหว่า ถึงต้องมีรายการ สหเฮ็ด (ช่อง TPBS) เอานักออกแบ๊บออกแบบ มานั่งคุยกันในสตูดิโอเก๋ๆ ว่าจะ redesign กระติ๊บใส่ข้าวเหนียวยังไงดี
ผมเองเริ่มงงละครับ

สรุป สิ่งที่คิดในตอนนี้
1 ถ้าตีกรอบงานออกแบบ ในกรอบแบบหนึ่ง ความคิดเรื่องความเป็นไทยในงานออกแบบ ก็จะได้ผลลัพธ์แบบหนึ่ง
2 ผมเริ่มสงสัยนอกกรอบข้อแรกนั่น
ไปดีกว่า
