หน้า: [1] 2
 
ผู้เขียน หัวข้อ: แรงใจให้ชีวิต  (อ่าน 5821 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
เคยไหม ที่รู้สึกเบื่อหน่าย รู้สึกท้อ ไม่อยากทำอะไร
เคยไหมที่รู้สึกว่าตัวเองขี้เกียจ ไม่มีกำลังใจ ไม่อยากลุกไปไหน
เซ็งๆ เบื่อๆ ท้อใจ อ่อนล้า เหนื่อยกับสิ่งที่ต้องเผชิญ
บุ๋มเคยหาหนังสืออ่าน เวลาคิดอะไรไม่ออก สมองมันตื้อ
บางทีก็หาทางออกโดยการไปเที่ยวกับเพื่อน ซึ่ง มันเปลืองตังค์  แป่ว

อยากมีกำลังใจ อยากขยันๆ อยากไม่ขี้เกียจ อยากตื่นเช้า อยากทำอะไรดีๆ
แต่พอถึงตอนจะทำ ก็  เอือม
เอือมกับตัวเองเหมือนกัน

จุดประสงค์ของจู๋นี้ อยากให้เป็นที่รวบรวมบทความดีๆ ที่เติมไฟให้ชีวิตมีพลัง
เก็บไว้อ่านฉุดตัวเองให้ถีบความขี้เกียจออกไป จากชีวิต
มีกำลังใจทำสิ่งดีๆให้ตัวเอง และคนรอบข้างบ้าง
มันก็น่าจะลั๊นลาได้อีกนะ   ลันล้า


นี่เพิ่งไปเจอมา ไม่รู้ละโว้ไหม แต่ชอบจัง
เป็นฟอเวิร์ดเมลล์ของพี่สาวที่ออฟฟิศส่งมาให้ค่ะ
อ่านแล้วลองทำดู  แจ่ม  เจ๋ง

*-----------------------------------------*
บันได 5 ขั้น สู่ชีวิตใหม่ ที่มีค่าและเป็นสุข   

บันไดขั้นที่ 1 มองตัวเองว่าดีและมีค่าทุกวัน ในแต่ละวันให้นึกถึงความดี และความโชคดีของตนเอง เริ่มต้นด้วยการ……..
1. ตื่นนอนตอนเช้า ให้ยิ้มกับตัวเอง และนึกว่าโชคดีที่ได้ตื่นขึ้นมาแล้ว
2. ให้นึกถึงความดีของตนเอง ที่เคยทำมาแล้วในอดีต (ที่สามารถนึกได้ง่ายๆ) เช่น เคยทำบุญ เคยช่วยคนที่อ่อนแอกว่า เคยสงเคราะห์สัตว์ ฯลฯ คิดว่าตัวเองดี และมีคุณค่าที่ได้เคยทำสิ่งดีๆ และให้นึกซ้ำๆ จะได้เกิดความเชื่อตามที่นึกนั้น คุณก็จะเกิดความอิ่มเอิบใจ และเชื่อว่าตัวเองมีความดี ความเก่ง ตามความเป็นจริงในขณะนั้นด้วย คุณจะเกิดความอยากมีชีวิตอยู่ และ! สร้างสิ่งที่ดีๆ ให้กับชีวิตต่อไป และ
3.ต้องอวยพรตัวเองเสมอๆ อย่าแช่ง หรือตำหนิตัวเอง และอย่ารอให้คนอื่นมาชื่นชมคุณ ซึ่งมักจะไม่ได้ดั่งใจ หรือได้มาก็ไม่สมใจ


บันไดขั้นที่ 2 มองคนอื่นดี มองโลกในแง่ดี ขั้นนี้คุณจะต้องมองว่า…..
1. ทุกๆ คน มีขีดจำกัดของความสามารถ ความดี ความเก่งกันทุกคน ตามความเป็นจริงของเขา ซึ่งไม่เท่ากัน และไม่เหมือนกันเลย
2. ส่วนความไม่ดี หรือไม่เก่งของเขา (ซึ่งมีกันทุกคน) ปล่อยให้เป็นเรื่องของเขาไป ให้มองเฉพาะส่วนที่ดีของเขาเท่านั้น ถ้าคุณทำได้เช่นนี้ คุณก็จะเป็นคนที่มองอนาคต และชีวิตดี มีความหวังที่ดีในชีวิตตลอดเวลา สองสิ่งนี้ ถ้าคุณทำเป็นนิสัย คุณจะพบว่า โลกนี้มีสิ่งที่ดีๆ และไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคต่างๆ และท้ายที่สุดก็จะกลายเป็นสุขนิยมทั้งชีวิต !

 
บันไดขั้นที่ 3 ทำวันนี้ให้ดีที่สุด คือ…..
1.การอยู่กับปัจจุบัน ทำกิจกรรมในวันนี้และเวลานี้ให้ดีที่สุด ทำได้แค่ไหนเอาแค่นั้น ไม่! ทุกข์ร้อน หรือคาดหวังกับผลลัพธ์ของมัน ไม่ว่าจะสมใจ หรือไม่สมใจก็ตาม
2.จงชื่นชมในความตั้งใจ ทำเต็มความสามารถของตนเอง และคิดต่อว่า ในอนาคตจะต้องทำให้ดีกว่านี้ นอกจากนั้น
3. คุณต้องเลิกจดจำ หรือนึกถึงเรื่องที่ไม่ดีที่เกิดกับคุณในอดีต เพราะการจดจำเรื่องราวที่ไม่ดีในอดีต เท่ากับคุณไปสะกิดแผลในใจ และจะทำให้คุณเจ็บปวดมากยิ่งขึ้น จนส่งผลให้ปัจจุบันคุณไม่มีความสุข และกลัวว่าอนาคตจะเกิดสิ่งที่ไม่ดีซ้ำๆ อีก


บันไดขั้นที่ 4 มีความหวังและเชื่อว่าอนาคตจะดีเสมอ ความหวัง ความเชื่อ เกิดจากความคิดถึงบ่อยๆ หรือได้ยินบ่อยๆ
 1. จงนึกและบอกกับตัวเองเสมอว่า อนาคตจะดีขึ้นอีกเรื่อยๆ จะส่งผลให้เกิดกำลังใจมากขึ้น อยากพบเห็นสิ่งต่างๆ ที่จะเข้ามาในชีวิตโดยไม่กลัว
2. มีอารมณ์ขัน และไม่จริงจังกับชีวิตมากนัก แต่จะมีความหวังที่ดีๆ (Good Hope) อยู่เสมอ แต่อย่ามีความคาดหวัง ( Expectation) กับชีวิต เพราะถ้าคาดหวังกับชีวิต เรามักจะกลัว หรือกังวลว่าจะไม่ได้ผลลัพธ์ดังความคาดหวัง หรือเมื่อได้มาแล้วก็มักไม่พอใจ จึงอาจทำให้เกิดทุกข์ได้

 

บันได้ขั้นที่ 5 ปรับปรุงตัวเองเสมอ โดยปรับปรุง 4 ส่วนที่มีความสำคัญต่อชีวิต คือ
   1.  การงาน ให้มีความขยัน อดทน หมั่นหาความรู้ใส่ตัว และกล้าลงมือปฏิบัติในสิ่งที่ควรทำ จะทำให้มีการลงมือทำสิ่งใหม่ๆ ในชีวิตได้เรื่อยๆ และปรากฏเป็นผลงานที่ชัดเจน 
   2. ครอบครัว จะต้องยึดหลักที่เป็นมงคลต่อกันคือ ไม่อิจฉา ไม่ระแวง ไม่แข่งขัน ไม่นอกใจ รู้จักการให้และการอภัย มีน้ำใจ และรู้จักเกรงใจกัน 
   3.  สังคม หมั่นสร้างมิตรเสมอ มีการให้ความสำคัญกัน ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และพูดจากันแบบปิยะวาจา 
   4. ตนเอง ต้องมีการพัฒนาตนเองเสมอ มีความภูมิใจตนเองตามความเป็นจริง สามารถให้กำลังใจตัวเองได้ และมีกำลังใจที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีขึ้น


*--------------------------------*


ใครมีบทความดีๆหรือเจอที่ไหน ที่อ่านแล้วทำให้ใจมีพลัง มีกำลังใจ เพื่อใต่ไปถึงฝัน

เอามาฝากกันบ้างนะคะ  ยิ้มน่ารัก
บันทึกการเข้า
 ยิ้มน่ารัก
บันทึกการเข้า

ความหลงใหลในภาพลวงตา ที่ได้มาใช่ความสุข
บอกตามตรง...

เห็นจู๋นี้แล้วนึกถึง ประโยคนึง ที่เคยเขียนไว้ในบทความสั้นๆของตัวเอง ที่ว่า...

"เวลาเราได้อ่านผลงานอะไรดีๆที่มีแง่คิดดีๆ ก็ทำให้เรามีความคิดดีๆตามไปด้วย"

เพราะมันมักจะเป็นตัวจุดประกาย ของความคิดดีๆในตัวเราได้อย่างน่าประหลาดเสมอๆ


 ปลื้ม
บันทึกการเข้า

You Want Me To Believe?, Then Sworn Through Swords...
ใช่ๆ  ปลื้ม
บันทึกการเข้า
มองมุมกว้างง  ยิ้มน่ารัก

แอบอ้าง
1. จงนึกและบอกกับตัวเองเสมอว่า อนาคตจะดีขึ้นอีกเรื่อยๆ จะส่งผลให้เกิดกำลังใจมากขึ้น อยากพบเห็นสิ่งต่างๆ ที่จะเข้ามาในชีวิตโดยไม่กลัว
บันทึกการเข้า

★ .・。゜ïzY ™ ﺕ ❤ Loveable ☂
 ` Mode : รักเธอ *
T&I
 หยี
บันทึกการเข้า

ที่สุดถ้ามันจะไม่คุ้ม
แต่มันก็ดีที่อย่างน้อยได้จดจำ
ว่าครั้งนึงเคยก้าวไป...
ไม่ีใครให้กำลังใจได้ดีเท่าให้ตัวเอง แป๊ะยิ้ม
บันทึกการเข้า
เค้าว่าไม่เสมอไปนะ
อย่างน้อยเวลาที่หมดกำลังใจที่สุด
คนที่คอยอยู่ข้างๆ เป็นตัวแปรสำคัญเลยล่ะ
ว่าจะทำให้เราลุกขึ้นมาอีกได้มั้ย
บันทึกการเข้า

ที่สุดถ้ามันจะไม่คุ้ม
แต่มันก็ดีที่อย่างน้อยได้จดจำ
ว่าครั้งนึงเคยก้าวไป...
ไปเจอมาอีก เรื่องความเพียรจ้ะ ยิ้มน่ารัก

หลักๆ เกี่ยวกับการนอน   กร๊าก  (ซึ่งเป็นคนชอบหาข้ออ้างเพื่อนอนมากๆ ) อ่านแล้วโดน  กร๊าก

*---------------------------*
เพื่อนในลานธรรมท่านหนึ่ง บอกผมว่าไม่ค่อยสบาย  ทำให้ผมนึกถึงพระสูตร
ได้สูตรหนึ่ง  เพื่อนท่านนั้นแนะว่าให้ผมมาเขียนไว้ในลานธรรม  ก็คือสูตรข้างล่างนี้

กุสีตวัตถุสูตร
http://larndham.net/cgi-bin/stshow.pl?book=23&lstart=7089&lend=7127
อารัพภวัตถุสูตร
http://larndham.net/cgi-bin/stshow.pl?book=23&lstart=7128&lend=7170


พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 15
อังคุตตรนิกาย > อัฏฐกนิบาต > วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ > ยมกวรรค
กุสีตวัตถุสูตร

      [๑๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุสีตวัตถุ ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน
 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องทำการงาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
 เราจักต้องทำการงาน ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ กายจักลำบาก ผิฉะนั้น เราจะนอน
 เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่
 บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๑ ฯ

(คิดว่าเดี๋ยวทำงานแล้วลำบาก เลยนอน)

      อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำการงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราแล
 ทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ กายลำบากแล้ว ผิฉะนั้น เราจะนอน เธอ
 นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
 เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๒ ฯ

(คิดว่าทำงานเสร็จลำบากแล้ว เลยนอน)

      อีกประการหนึ่ง ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้อง
 เดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ กายจักลำบาก ผิฉะนั้น เราจะนอน เธอนอนเสีย
 ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงทางที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุทางที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้
 แจ้งทางที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๓ ฯ

(คิดว่าเดี๋ยวเดินทางแล้วลำบาก เลยนอน)

      อีกประการหนึ่ง ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดิน
 ทางแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ กายลำบากแล้ว ผิฉะนั้น เราจะนอน เธอนอนเสีย
 ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงทางที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุทางที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้
 แจ้งทางที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๔ ฯ

(คิดว่าเดินทางเสร็จลำบากแล้ว เลยนอน)

      อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะอัน
 เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวเดิน
 บิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความ
 ต้องการ กายของเรานั้นลำบากแล้ว ไม่ควรแก่การงาน ผิฉะนั้น เราจะนอน เธอ
 นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๕ ฯ

(บิณฑบาตได้ไม่พอ ลำบากแล้ว เลยนอน)

      อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะ
 เศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา
 เที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความ
 ต้องการแล้ว กายของเรานั้นหนัก ไม่ควรแก่การงาน เหมือนถั่วชุ่มด้วยน้ำ
 ผิฉะนั้นเราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุ
 ประการที่ ๖ ฯ

(บิณฑบาตได้พอ อิ่มไปแล้ว เลยนอน)

      อีกประการหนึ่ง อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
 อาพาธเล็กน้อยนี้เกิดแก่เราแล้ว มีข้ออ้างเพื่อจะนอน ผิฉะนั้นเราจะนอน เธอ
 นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๗ ฯ

(ป่วยนิดหน่อย มีข้ออ้างแล้ว เลยนอน)

      อีกประการหนึ่ง ภิกษุหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน เธอมี
 ความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน กายของเรายังอ่อน
 เพลีย ไม่ควรแก่การงาน ผิฉะนั้นเราจักนอนเสียก่อน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภ
 ความเพียร เพื่อถึงการงานที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุการงานที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง
 การงานที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๘ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
 กุสีตวัตถุ ๘ ประการนี้แล ฯ

(เพิ่งหายป่วย ยังเพลีย นอนก่อนดีกว่า)


พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 15
อังคุตตรนิกาย > อัฏฐกนิบาต > วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ > ยมกวรรค
อารัพภวัตถุสูตร

      [๑๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อารัพภวัตถุ ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน
 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องทำการงาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
 เราจักต้องทำการงานแล ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่พึงทำมนสิการคำสั่งสอนของ
 พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ง่าย ผิฉะนั้น เราจะรีบปรารภความเพียรเสียก่อน เพื่อถึง
 ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
 เธอปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อ
 ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๑ ฯ

(คิดว่าเดี๋ยวทำงาน แล้วจะปฏิบัติธรรมยาก จึงเพียรก่อน)

     อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำการงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้
 ทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่สามารถมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธ-
 เจ้าทั้งหลายได้ ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ
 ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียร
 เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่
 ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๒ ฯ

(เสร็จงาน คิดว่าตอนทำงานปฏิบัติธรรมยาก เลยเพียรชดเชย)

      อีกประการหนึ่ง ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้อง
 เดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ไม่พึงกระทำมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
 ทั้งหลายได้ง่าย ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัพภวัตถุ
 ประการที่ ๓ ฯ

(คิดว่าเดี๋ยวเดินทาง แล้วจะปฏิบัติธรรมยาก เลยเพียรก่อน)

      อีกประการหนึ่ง ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้
 เดินทางแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ไม่สามารถมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
 ทั้งหลายได้ ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๔ ฯ

(เสร็จเดินทาง คิดว่าตอนเดินทางปฏิบัติธรรมยาก เลยเพียรชดเชย)

      อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะ
 เศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยว
 บิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความ
 ต้องการ กายของเรานั้นเบาควรแก่การงาน ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ
 นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๖ ฯ

(บิณฑบาตได้ไม่พอ กายเบาก็ดี เลยเพียร)
(ตรงนี้ดูเหมือนพระไตรปิฎกออนไลน์ ตกไปหนึ่งย่อหน้า  จากที่เคยอ่านจำได้คือว่า
 ถ้าบิณฑบาตได้พอ อิ่มแล้ว ก็เหมาะควรแก่การภาวนา เลยเพียร)

      อีกประการหนึ่ง อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
 อาพาธเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแก่เรา การที่อาพาธของเราจะพึงกลับกำเริบนั้น เป็นฐานะ
 ที่จะมีได้ ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๗ ฯ

(ป่วยนิดหน่อย คิดว่าอาจจะกลับป่วยมากขึ้นก็ได้ เลยเพียรก่อน)

      อีกประการหนึ่ง ภิกษุหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน เธอมี
 ความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน การที่อาพาธของเรา
 จะพึงกลับกำเริบนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ผิฉะนั้น จะรีบปรารภความเพียรเสียก่อน
 เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรม
 ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง
 ไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๘
 ดูกรภิกษุทั้งหลาย อารัพภวัตถุ ๘ ประการนี้แล ฯ

(เพิ่งหายป่วย คิดว่าอาจจะกลับไปป่วยใหม่ก็ได้ เลยเพียรก่อน)

อ่านพระสูตรคู่นี้ (ยมกวรรค - มาเป็นคู่)  จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าท่านสอน
ให้เห็นอย่างชัดเจน ถึงวิธีคิดที่ฉลาด และไม่ฉลาด  คือถ้าคิดแบบกิเลส
นำไป ก็จะนำไปให้ขี้เกียจ  ให้อยากนอน  ต่อให้สถานการณ์แบบไหน ก็
มีเหตุผล มีข้ออ้างให้นอนได้ทั้งนั้น   ในขณะที่การคิดอย่างแยบคาย
(โยนิโสมนสิการ) คือ คิดแล้วเกิดประโยชน์ต่อตน ได้เพียรภาวนาก่อน
ให้บรรลุถึงธรรมะที่ยังไม่ได้  ไม่คิดเข้าข้างกิเลส แต่เข้าข้างธรรมอันนำ
ไปสู่ความก้าวหน้านั่นเอง



ขอบคุณ  http://larndham.net/index.php?showtopic=11759

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 ก.ย. 2008, 02:11 น. โดย เดอะบุ๋ม » บันทึกการเข้า
ไม่ต้องใส่เป็นลิงก์แห้งก็ได้ครับถ้ามันเป็นเรื่องดีๆ เจ๋ง
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ทราบแล้วเปลี่ยนค่ะ   ยิ้มน่ารัก


*-----------------------*


แอบอ้าง
บางทีก็รู้สึกแค่ว่าไม่มีเวลา
หลวงพ่อชาบอกว่าแล้วโยมมีเวลาหายใจไม๊
ถ้ามีเวลาหายใจ ก็มีเวลาภาวนา

ในลิ้งนั้นมีอะไรดีๆ เยอะเลยค่ะ  ยิ้มน่ารัก




เพิ่งได้อ่านเรื่องที่เดือนเอาไปแปะในยุบสภา
ชอบที่ว่า "ช่างทำ ไม่ได้เป็นคนช่างคิด"

 เจ๋ง



บันทึกการเข้า
เรื่องความเป็นปัจจุบัน

เคยดูโทรทัศน์
พระท่านเค้าพูดถึงเรื่องนาฬิกาข้อมือที่ได้มาจากเพื่อน

บนหน้าปัดนั้นไม่มีตัวเลขเลย มีแต่เข็มสามเข็ม ยาว, สั้น, วินาที ตามลำดับ

แทนที่จะเป็นเลข กลับเป็นคำว่า "now" ทั้งสิบสองแห่ง

ก็หมายความว่า ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปอย่างไร
เราก็ควรคำนึงถึงปัจจุบันมากกว่าสิ่งอื่นใด

ทำปัจจุบันให้ดีที่สุดครับ  อืมมมมห์
บันทึกการเข้า

ตัวคนเดียว :]
แต่ละแรง แต่ละคำ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
สะดุดเมื่อไร ถ้ามีสติ มันก็จะสะกิดให้จำ
ผมอยู่ผาชนะได ริมชายแดน
หลวงพ่อท่านเขียนไว้สั้น ๆ
"ตั้งใจได้ ตั้งตัวได้"
เหมาะกับวัยทำงาน



ส่วนวัยปูนผมนี่ มักจะหาแรงบันดาลใจจากใต้ฝาโค้กมั่ง ฝาชักโครกมั่ง ไปตามเรื่อง
คำมันปรากฎอยู่ทุกที่ เราไม่ได้โชคดีที่ได้อ่าน ถ้าจะให้โชคดี ก็ต้องแปลงทุกคำที่ได้อ่าน ให้เป็นแรงใจ



หิวก็กิน ง่วงก็นอน
ทำเรื่องง่ายๆ ให้สำเร็จบ่อยๆ
เรื่องยาก เก็บไว้ทำข้อสุดท้าย ถ้าไม่ทันก็ว่างไว้
ชีวิตไม่ยากนัก ไม่ต้องทำมันทุกข้อก็ได้ ชาตินี้มีเวลาไม่เคยจะพอ :}
บันทึกการเข้า

อยู่บ้านไร่ ไร้เน็ต พี่จะกางมอสกิโต้เน็ต เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง เดินตามสายรุ้ง ทิ้งเมืองกรุงไว้กับเธอ ..
ขอติดตาม และตามติดด้วยคนค่ะ  กรี๊ดดดดด

ตอนนี้ต้องการแรงใจอย่างแรง! อ๊าง~

แล้วจะคุ้ยมาแปะบ้างค่ะ
บันทึกการเข้า
ค่ะพี่เดียร์   ยิ้มน่ารัก

เก็บมาฝากกันอีก  ยิ้มน่ารัก
*---------------------------*

อยู่กับความขัดแย้งการเมืองอย่างไร....ไม่ให้ทุกข์


มีผู้กล่าวไว้ว่า หากอยากรักษาไมตรีกับใคร ก็อย่าคุยเรื่องการเมือง เพราะลักษณะของการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มักจะทำให้เกิด “คู่” ความขัดแย้ง ที่เห็นแตกต่างกันคนละขั้วอยู่เสมอนำไปสู่การแยกเขา-แยกเรา ความเครียด ความโกรธ เกลียด อยากเอาชนะ ฯลฯ เกิดความไม่สบายใจ

ซึ่งหากไม่รู้จักวิธีการผ่อนและคลายก็จะสะสมกลายเป็นความทุกข์ก่อผลร้ายแก่ร่างกายและจิตใจ ข่าวจากการทำโพลระบุว่า คนไทยไม่น้อยกำลังเครียด และทุกข์จากวิกฤตการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ไม่ว่าในที่ทำงาน ที่บ้าน ฯลฯ

วิธีการต่อไปนี้สามารถช่วยให้เรามีสภาพจิตใจและร่างกาย ที่ไปพ้นจากความเครียดความทุกข์ ที่เกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองได้ หากทดลองปฏิบัติกันดู คือ



๑. เปิดใจกว้างไม่มองผู้ที่เห็นต่างจากเราเป็นศัตรู
คนเรานั้นเห็นต่างกันได้ จึงเป็นธรรมดาที่มีบางคนหรือหลายคนยังนิยมชมชื่นคนที่เราไม่ชอบ การที่เขาเห็นต่างจากเราเพราะได้รับข้อมูลต่างจากเรา หรือเพราะมีเกณฑ์วัดความดีหรือความสำเร็จไม่เหมือนเรา ฯลฯ จะเป็นเพราะเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ข้อสำคัญก็คือคนที่เห็นต่างจากเราไม่ใช่คนเลว คนดีก็มีสิทธิเห็นต่างจากเราได้ ดังนั้นจึงไม่ควรเห็นเขาเป็นศัตรู ขอให้ระลึกว่า เขาอาจเห็นต่างจากเราในเรื่องนี้ แต่เรื่องอื่นอาจเห็นเหมือนกับเรา และเรื่องที่เห็นเหมือนกันนั้นอาจมีมากกว่าเรื่องที่เห็นต่างกันก็ได้

๒. มองให้ไกล แล้วช่องว่างจะลดลง แม้สองฟากถนนจะห่างกัน แต่เมื่อมองไกลสุดสายตา ทั้งหมดก็ไปบรรจบที่จุดเดียวกัน ฉันใดก็ฉันนั้น วันนี้เรากับเขาอาจอยู่คนละมุม แต่พรุ่งนี้เรากับเขาอาจร่วมมือร่วมใจกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้ (ปรากฏการณ์ที่เห็นชัดที่สุดคือ ตอนที่คนไทยร่วมใจกู้ภัยสึนามิ) เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งทะเลาะกันจนมองหน้าไม่ติด วันพรุ่งนี้ยังรอให้เรามาจับมือกันทำงานใหญ่ก็ได้ อย่าลืมว่าถึงอย่างไรเขาก็เป็นคนไทยเช่นเดียวกับเรา มิหนำซ้ำบางคนก็เป็นคู่รักและผู้มีพระคุณกับเรา บุคคลที่เป็นชนวนให้เกิดความเห็นแตกต่างกันอย่างเอาเป็นเอาตายนั้น ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องไป (จะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่) แต่เราทุกคนที่เหลือยังจะต้องอยู่ร่วมกันบนผืนแผ่นดินนี้ และบางคนก็ยังต้องอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน ร่วมสำนักงานเดียวกัน ในเมื่อเราทุกคนยังจะต้องอยู่ร่วมกันไปอีกนาน ดังนั้นจะทะเลาะวิวาทกันไปทำไม อย่าให้ใครคนเดียว มาเป็นเหตุให้เราต้องเหินห่างหมางเมินกับคู่รัก พ่อแม่พี่น้อง หรือมิตรสหายเลย สายสัมพันธ์ของเรามีค่ากว่านั้นมาก


๓. เอาคู่ตรงข้ามออกจากใจบ้างอย่าให้คู่ตรงข้ามที่เราไม่ชอบ ไม่เห็นด้วย ยึดครองจิตใจของเรา จนไม่มีที่ว่างให้กับเรื่องอื่นๆ ที่สำคัญเลย ชีวิตเรายังมีอีกหลายเรื่องที่สำคัญ เอาเขาออกไปจากใจของเราเสียบ้าง จิตใจของเราจะได้โปร่งโล่งหายอึดอัดกลัดกลุ้ม อย่างน้อยเวลากิน เวลานอน ก็อย่าไปหมกมุ่นครุ่นคิดว่า ใครจะอยู่หรือไป ใครแพ้ใครชนะ เวลาทำงานก็ตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ อย่าเอาเขามาเป็นอารมณ์จนไม่เป็นอันทำงานหรือเสียสมาธิ ข่าวสารการเมืองจากหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์ เป็นสิ่งที่เราควรสนใจก็จริงอยู่ แต่อย่าเสียเวลากับข่าวเหล่านั้น จนไม่เป็นอันทำอย่างอื่น อย่าลืมว่าการเมืองไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิตเรา หากเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตเท่านั้น ชีวิตเรายังมีอีกหลายเรื่องที่ควรใส่ใจ

๔. แผ่เมตตาให้คู่ตรงข้ามบ้าง ความโกรธเกลียดไม่เป็นผลดีแก่จิตใจของเรา ทุกครั้งที่เรารู้สึกโกรธเกลียด มีจิตปรารถนาร้ายต่อใคร คนแรกที่ถูกทำร้ายคือเรา ความโกรธเกลียดนั้นทำร้ายเราก่อนที่จะไปทำร้ายคนอื่นเสียอีก เพียงแค่คิดถึงเขาก่อนนอน ก็อาจทำให้เรานอนไม่หลับ เกิดความเครียด ความดันโลหิตขึ้น อย่าปล่อยให้ความโกรธเกลียดบั่นทอนจิตใจของเรา ขับไล่ความโกรธเกลียดไปด้วยการแผ่เมตตา ทุกคืนก่อนนอน ลองแผ่เมตตาให้คู่ตรงข้ามกับความคิดของเรา อธิษฐานด้วยความปรารถนาดี ขอให้เขาหลุดพ้นจากวังวนแห่งความทุกข์ ขอให้ความโลภ โกรธ หลงอย่าได้เกาะกุมจิตใจเขาเลย ขอให้เขามีสัมมาทิฏฐิ และมีโอกาสเข้าถึงความสงบสุขที่ลึกซึ้งในชีวิตด้วยเทอญ เวลาอ่านหนังสือพิมพ์ ฟังวิทยุ หรือดูโทรทัศน์พบเห็นภาพของคู่ตรงข้ามที่เราไม่ชอบใจ ก็แผ่เมตตาทำนองนี้ให้เขาด้วยก็ดี อย่างน้อยใจเราจะได้ไม่เร่าร้อนหรือถูกเผาลนด้วยความโกรธเกลียด



๕. ผ่อนคลายด้วยลมหายใจ เมื่อมีความเครียดหรือรู้สึกโกรธเกลียด ลองดับความเร่าร้อนด้วยลมหายใจดูบ้าง โดยหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ หายใจออกยาวๆ ช้าๆ
น้อมใจมาอยู่ที่ลมหายใจทั้งเข้าและออก ให้ใจอิงแอบอยู่กับลมหายใจอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง พร้อมกับนับทุกครั้งที่หายใจออก เริ่มจาก ๑ ไปถึง ๑๐ จะทำกี่รอบก็ได้ ยิ่งนานยิ่งดี บางครั้งใจจะเผลอแวบไปนึกเรื่องอื่น รู้ตัวเมื่อไร ก็ดึงจิตกลับมาที่ลมหายใจ
ถ้าจำไม่ได้ว่านับไปถึงไหนแล้ว ก็ให้เริ่มนับ ๑ ใหม่
วิธีนี้ทำได้ทุกที่ ระหว่างชุมนุมก็ได้ ดูทีวี หรือระหว่างนั่งรถก็ได้ หรือระหว่างที่กำลังฟังคนที่เห็นต่างจากเราก็ได้ วิธีนี้นอกจากจะช่วยให้จิตใจผ่อนคลาย หายเร่าร้อนแล้ว ยังทำให้เกิดความสงบภายใน และช่วยให้สมองปลอดโปร่ง คิดอะไรได้ดีขึ้น

๖. พักผ่อนให้เต็มที่ อย่าให้การเมืองแย่งเวลาของการพักผ่อนและนอนหลับอย่างเต็มที่ การอดนอนอย่างสะสมจะทำให้สมองตื้อและเครียด หงุดหงิดฉุนเฉียวได้ง่าย เรื่องเล็กอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ ดังนั้นควรหาเวลาพักผ่อน ไม่จดจ่อแต่การเมือง การอยากเอาชนะ การจัดเวลาจึงมีความสำคัญ นอกจากการพักกายแล้ว ก็ควรพักใจด้วย โดยการปล่อยวางจากเรื่องที่เคร่งเครียดบ้าง หรือถอนตัวออกจากเหตุการณ์ที่วุ่นวายสักระยะหนึ่ง จะใช้ลมหายใจช่วยด้วยก็ได้ เมื่อจิตใจปลอดโปร่ง ตั้งหลักให้สบายคลายเครียดแล้ว ค่อยมาติดตามต่อไป หากทำได้อย่างนี้ ก็จะอยู่อย่างไม่ทุกข์ หรือทุกข์น้อย ทุกข์ไม่นาน กับสถานการณ์ความขัดแย้งในวิกฤตการณ์ปัจจุบัน และยังอาจมีพลังของการสร้างสรรค์สิ่งดีงามได้อีกด้วย

คัดลอกจาก

http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=11413
 
บุ๋มเอามาจาก http://larndham.net/index.php?showtopic=32940    ยิ้มน่ารัก


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!