ไปเจอมาอีก เรื่องความเพียรจ้ะ
หลักๆ เกี่ยวกับการนอน
(ซึ่งเป็นคนชอบหาข้ออ้างเพื่อนอนมากๆ ) อ่านแล้วโดน
*---------------------------*
เพื่อนในลานธรรมท่านหนึ่ง บอกผมว่าไม่ค่อยสบาย ทำให้ผมนึกถึงพระสูตร
ได้สูตรหนึ่ง เพื่อนท่านนั้นแนะว่าให้ผมมาเขียนไว้ในลานธรรม ก็คือสูตรข้างล่างนี้
กุสีตวัตถุสูตร
http://larndham.net/cgi-bin/stshow.pl?book=23&lstart=7089&lend=7127อารัพภวัตถุสูตร
http://larndham.net/cgi-bin/stshow.pl?book=23&lstart=7128&lend=7170พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 15
อังคุตตรนิกาย > อัฏฐกนิบาต > วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ > ยมกวรรค
กุสีตวัตถุสูตร
[๑๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุสีตวัตถุ ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องทำการงาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราจักต้องทำการงาน ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ กายจักลำบาก ผิฉะนั้น เราจะนอน
เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่
บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๑ ฯ
(คิดว่าเดี๋ยวทำงานแล้วลำบาก เลยนอน)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำการงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราแล
ทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ กายลำบากแล้ว ผิฉะนั้น เราจะนอน เธอ
นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๒ ฯ
(คิดว่าทำงานเสร็จลำบากแล้ว เลยนอน)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้อง
เดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ กายจักลำบาก ผิฉะนั้น เราจะนอน เธอนอนเสีย
ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงทางที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุทางที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้
แจ้งทางที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๓ ฯ
(คิดว่าเดี๋ยวเดินทางแล้วลำบาก เลยนอน)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดิน
ทางแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ กายลำบากแล้ว ผิฉะนั้น เราจะนอน เธอนอนเสีย
ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงทางที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุทางที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้
แจ้งทางที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๔ ฯ
(คิดว่าเดินทางเสร็จลำบากแล้ว เลยนอน)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะอัน
เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวเดิน
บิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความ
ต้องการ กายของเรานั้นลำบากแล้ว ไม่ควรแก่การงาน ผิฉะนั้น เราจะนอน เธอ
นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๕ ฯ
(บิณฑบาตได้ไม่พอ ลำบากแล้ว เลยนอน)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะ
เศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา
เที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความ
ต้องการแล้ว กายของเรานั้นหนัก ไม่ควรแก่การงาน เหมือนถั่วชุ่มด้วยน้ำ
ผิฉะนั้นเราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุ
ประการที่ ๖ ฯ
(บิณฑบาตได้พอ อิ่มไปแล้ว เลยนอน)
อีกประการหนึ่ง อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
อาพาธเล็กน้อยนี้เกิดแก่เราแล้ว มีข้ออ้างเพื่อจะนอน ผิฉะนั้นเราจะนอน เธอ
นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๗ ฯ
(ป่วยนิดหน่อย มีข้ออ้างแล้ว เลยนอน)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน เธอมี
ความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน กายของเรายังอ่อน
เพลีย ไม่ควรแก่การงาน ผิฉะนั้นเราจักนอนเสียก่อน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภ
ความเพียร เพื่อถึงการงานที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุการงานที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง
การงานที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๘ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กุสีตวัตถุ ๘ ประการนี้แล ฯ
(เพิ่งหายป่วย ยังเพลีย นอนก่อนดีกว่า)
พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 15
อังคุตตรนิกาย > อัฏฐกนิบาต > วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ > ยมกวรรค
อารัพภวัตถุสูตร
[๑๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อารัพภวัตถุ ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องทำการงาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราจักต้องทำการงานแล ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่พึงทำมนสิการคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ง่าย ผิฉะนั้น เราจะรีบปรารภความเพียรเสียก่อน เพื่อถึง
ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เธอปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๑ ฯ
(คิดว่าเดี๋ยวทำงาน แล้วจะปฏิบัติธรรมยาก จึงเพียรก่อน)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำการงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้
ทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่สามารถมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธ-
เจ้าทั้งหลายได้ ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ
ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่
ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๒ ฯ
(เสร็จงาน คิดว่าตอนทำงานปฏิบัติธรรมยาก เลยเพียรชดเชย)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้อง
เดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ไม่พึงกระทำมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายได้ง่าย ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัพภวัตถุ
ประการที่ ๓ ฯ
(คิดว่าเดี๋ยวเดินทาง แล้วจะปฏิบัติธรรมยาก เลยเพียรก่อน)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้
เดินทางแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ไม่สามารถมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายได้ ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๔ ฯ
(เสร็จเดินทาง คิดว่าตอนเดินทางปฏิบัติธรรมยาก เลยเพียรชดเชย)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะ
เศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยว
บิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความ
ต้องการ กายของเรานั้นเบาควรแก่การงาน ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ
นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๖ ฯ
(บิณฑบาตได้ไม่พอ กายเบาก็ดี เลยเพียร)
(ตรงนี้ดูเหมือนพระไตรปิฎกออนไลน์ ตกไปหนึ่งย่อหน้า จากที่เคยอ่านจำได้คือว่า
ถ้าบิณฑบาตได้พอ อิ่มแล้ว ก็เหมาะควรแก่การภาวนา เลยเพียร)
อีกประการหนึ่ง อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
อาพาธเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแก่เรา การที่อาพาธของเราจะพึงกลับกำเริบนั้น เป็นฐานะ
ที่จะมีได้ ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๗ ฯ
(ป่วยนิดหน่อย คิดว่าอาจจะกลับป่วยมากขึ้นก็ได้ เลยเพียรก่อน)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน เธอมี
ความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน การที่อาพาธของเรา
จะพึงกลับกำเริบนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ผิฉะนั้น จะรีบปรารภความเพียรเสียก่อน
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรม
ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง
ไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๘
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อารัพภวัตถุ ๘ ประการนี้แล ฯ
(เพิ่งหายป่วย คิดว่าอาจจะกลับไปป่วยใหม่ก็ได้ เลยเพียรก่อน)
อ่านพระสูตรคู่นี้ (ยมกวรรค - มาเป็นคู่) จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าท่านสอน
ให้เห็นอย่างชัดเจน ถึงวิธีคิดที่ฉลาด และไม่ฉลาด คือถ้าคิดแบบกิเลส
นำไป ก็จะนำไปให้ขี้เกียจ ให้อยากนอน ต่อให้สถานการณ์แบบไหน ก็
มีเหตุผล มีข้ออ้างให้นอนได้ทั้งนั้น ในขณะที่การคิดอย่างแยบคาย
(โยนิโสมนสิการ) คือ คิดแล้วเกิดประโยชน์ต่อตน ได้เพียรภาวนาก่อน
ให้บรรลุถึงธรรมะที่ยังไม่ได้ ไม่คิดเข้าข้างกิเลส แต่เข้าข้างธรรมอันนำ
ไปสู่ความก้าวหน้านั่นเองขอบคุณ
http://larndham.net/index.php?showtopic=11759