เซลล์ของหัวใจ ซับซ้อนกว่ากระเพาะปัสสาวะมากครับ ดังนั้นการสร้างเลียนแบบจึงต้องมีอะไรที่มากกว่าการเพาะเลี้ยงขึ้นมา
เพราะเจ้ากระเพาะปัสสาวะ เอาไว้เก็บปัสสาวะเป็นหลัก ไม่ได้หดตัวมาก หรือถ้าจะหด ก็ไม่ต้องมีการหดที่จำเพาะ
แต่หัวใจ ต้องการการหดตัวที่จำเพาะและเป็นขั้นตอนมากกว่า
ต่อให้สามารถข้ามข้อจำกัดทางEthic ไปได้ เอาตัวอ่อนมนุษย์มาใช้ได้เต็มที่ ความฝันเรื่องนี้ก็ยังยากอยู่
เพราะขั้นตอนในการบังคับให้Stem cell ไม่ว่าจะเป็นในระดับ Embryonic / Pluripotent / multipotent ให้กลายไปเป็น cardiac muscle ก็ยังไม่มีเทคนิก
ที่ร้ายไปกว่านั้น ปัจจุบัน ผมว่าส่วนใหญ่เราก็ยังไม่แน่ใจว่าตกลงแล้ว Cardiac Muscle เป็นเซลล์ที่เจริญมาจาก Linage ไหนของ Stem cell ด้วยซ้า
ดังนั้น
ขอออกตัวไว้ก่อนว่าผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้นะครับ แค่สนใจแบบงูๆปลาๆ ยังไงขอให้คุณหมอแมวและเพื่อนๆ คนอื่นๆ ช่วยแนะนำด้วยนะครับ
จากที่อ่านผ่านๆ สรุปแล้วเขาไม่ได้ใช้สเต็มเซลล์ครับ แต่ใช้ neonatal cardiomyocyte มา perfuse ในตอนแรก แล้วใช้ endothelial มาไหลต่ออีกที ซึ่งทั้งคู่ differentiate ไปแล้วทั้งคู่ ดูเหมือนว่าจะใช้วิธีการคล้ายๆ กับงานของคุณหมอแอนโทนี่ อตาลา ที่โรงเรียนแพทย์ป่าตื่นเลยครับ แต่ตอนแรกที่ผมเดาว่าอาจจะใช้สเต็มเซลล์ก็เพราะว่าเขามี extracellular matrix เหลืออยู่ ซึ่งอาจจะเป็น perfect niche ที่มี signal ที่จะกระตุ้นให้สเต็มเซลล์พัฒนาไปได้อย่างถูกต้องจนกลายเป็นหัวใจได้ (แต่ก็ขึ้นกับว่า signal จะแรงแค่ไหน แล้ว signal ที่ว่าจะเหลืออยู่หลังการล้างเสียจนสะอาดด้วย SDS (เขาล้างแบบเล่นรุนแรงมากครับ ตอนดูรูปในเปเปอร์ เห็นว่าล้างด้วย TritonX ผมก็ยังคิดอยู่ว่าโหด แต่ยังพอทน แต่รู้สึกว่า tritonX จะล้างได้ไม่เกลี้ยง ตอนหลัง เขาเลยเล่น SDS เลยครับ ซึ่งตามความรู้สึกผมแล้ว ผมว่าเป็นการล้างที่แรงมาก แต่ผมยังไม่ได้เช็คความเข้มข้น SDS ว่าเขาใช้เท่าไร แต่อย่างว่าแหละ เล่น SDS เชียว โปรตีนจะเสียสภาพไปมากแค่ไหนก็ไม่รู้ ดูจากรูปคอลลาเจนกับไฟโบรเนคตินท่าทางจะน่วมอยู่ แต่เขาไม่ได้บอก exposure time เลยเปรียบเทียบลำบากอ่ะครับ)
จะสำเร็จหรือเปล่า ผมว่าน่าสนใจ มีลุ้นครับ อาจจะยังอีกหลายปีกว่าจะพัฒนาไปถึงขนาดเอามาใช้งานได้ แต่ถ้าถามผม ผมว่าไม่น่าเกินยี่สิบปี อย่างไรก็ตามตอนนี้ก็ต้องรอดูต่อไปครับ เพราะงานทางด้านนี้ไปเร็วมาก อ้อ! เขาทำกับหัวใจหมูด้วยครับ ตอนที่โดนคุณหมอแย้ง ผมก็งงเหมือนกัน เพราะว่าผมว่าผมฟังมากับหู แหะๆ ลองเช็คข้อมูลดูแล้วครับ เขาบอกไว้ในวีดีโอจริงๆ แล้วก็มีเขียนไว้ในดิสคัสชั่นของเปเปอร์แถมยังมีผลให้ดูใน supplementary ด้วยล่ะครับ
ใกล้คนแล้ว อาจจะเวิร์คก็ได้นะครับ... อิอิ
ส่วนกระบวนการreprogramming เป็นการสร้าง Pleuripotent stem cell จาก เซลล์ที่Differentiatedไปแล้ว ... กระบวนการนี้ก็พอจะย้อนกลับให้เราได้ Pleuripotent stem cell เอามาใช้ทดลองได้ โดยไม่ต้องสละตัวอ่อน
แต่ว่าอย่างที่บอกคือ เราไม่ทราบ Linage ของ Cardiac muscle / เราไม่มีความรู้พอในการใช้สารไปชักนำให้เกิดการสร้างกล้ามเนื้อหัวใจ / และถึงสร้างได้ ก็ไม่รู้วิธีที่จะสร้าง Bundle of His และ Purkinje fiber
ดังนั้นผมเลยว่ายากมากๆครับ
เรื่องนี้ ผมยังมึนๆ งงๆ อยู่เลยครับ
ไม่ชัวร์นะครับ แต่ผมมีความรู้สึก (อีกแล้ว) ว่า reprogramming ไม่น่าจะเป็นแค่การสร้าง pluripotent cell ครับ จริงๆ คำนี้มันนิยามยากมากเลย สำหรับผม reprogramming มันเหมือนกับเป็นกระบวนการย้อนกลับทางพัฒนาการเพื่อให้ได้ cell ที่มี potency สูงกว่าเดิม
อาจจะย้อนจาก differentiated cell > pluripotent หรืออาจจะย้อนไปถึง multipotent หรือแม้แต่ totipotent เลยก็เป็นได้
เท่าที่รู้ หลายๆ คนถือว่า cloning เป็นตัวอย่างหนึ่งของกระบวนการ reprogramming ครับ และเป็นข้อพิสูจน์อย่างนึงว่าปัจจัยหรือบางคนบอกว่าเป็น internal signal ใน cytoplasm นั้นเพียงพอที่จะกระตุ้นให้เซลล์เกิดการ reprogram จนกลับไปเป็น totipotent cell ที่สามารถพัฒนาขึ้นมาเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ได้อีกรอบนึงครับ