โอ้ว เรื่องนี้ตูนอ่านแล้วอึ้งไปเลยนะ เพราะมันไม่มีในหลักสูตรการเรียนหรอก
ตูนว่ามันขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของคนมากกว่า ไม่ว่าจะในการดูคน และ การจัดการกับคน
ที่ตูนเรียน ในส่วนวิชาของการจัดการ โดยเฉพาะกับคน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน ผู้ถือหุ้น หรือ พนักงาน
จะเป็นแนวนี้มากกว่า เพื่อสร้างแรงจูงใจ วางนโยบายอะไรต่าง ๆ และสร้างความเข้าใจให้ไปในทิศทางเดียวกัน
ส่วนเรื่องของผู้ถือหุ้น / การเลือกผู้ร่วมธุรกิจ / การดำเนินธุรกิจกับผู้ถือหุ้น
ส่วนมากมักจะเป็นคนที่มีความคุ้นเคย มีความสนิทสนมกันอยู่พอสมควร
เมื่อมาทำธุรกิจด้วยกัน เปิดร้านร่วมกัน เปิดบริษัทร่วมกัน
ซึ่งด้วยความสนิทสนม ความเป็นเพื่อนกัน พี่น้องกัน คนรู้จักกัน สนิทกัน
ก็อาจทำให้อะไรนิด ๆ หน่อย ๆ ก็หยวน ๆ กันไป ตั้งแต่แรก ๆ จนมันบานปลาย
ถ้าสังเกต บริษัทใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น พนักงาน ผู้บริหาร
ก็จะดำเนินงาน ทำงานภายใต้กฎระเบียบของบริษัทที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน
โดยเอามาตรฐานสากลต่าง ๆ มาเป็นหลักอ้างอิง ให้ทุกคนปฏิบัติตาม
เพราะหากเราตั้งกฎ ระเบียบขึ้นมาเอง ส่วนมากคนจะ anti
แต่หากมันเป็นหลักสากล ที่เราควรจะต้องทำเพื่อได้รับการยอมรับจากลูกค้า
การทำแบบนี้ เพื่อให้การทำงานทุกอย่างเป็นไปตามกฎ ระเบียบ มีการตรวจสอบ
มีเอกสารในการเบิกจ่าย เป็นไปตาม flow ในการทำงาน
ในการสั่งซื้อ มีการเปรียบเทียบราคา มีข้อมูลที่เปิดเผยในระดับบริหาร
หากการทำงานทุกอย่าง ถูกบังคับด้วยกฎระเบียบมาตรฐานต่าง ๆ
ช่องโหว่ก็จะน้อยลง การขัดแย้ง ก็จะสามารถอ้างอิงเหตุผลเพื่ออธิบายกันได้
มีบทความเกี่ยวกับ ::
ข้อคิดก่อนจะมี “หุ้นส่วนธุรกิจ” มาฝากให้อ่านกันค่ะ