หน้า: 1 ... 11 12 13 14 15 16 17 [18] 19 20 21 22 23 24 25 ... 37
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ (แตกหน่อ)  (อ่าน 193243 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
sorry that I cannot type Thai now
but the message from rajun
make me realize about my dreams
many.. and I threw them away.
It seem to be that I must look them back.
thanks rajun and here..F0NT
both... could inspire my dream again.
 เจ๋ง
บันทึกการเข้า

Vanat
ส้มอยากทำงานกับนักธุรกิจทุนหนา ที่เห็นค่าการตลาดมานานแล้ว

แผนการจะได้ใช้ได้จริงๆ ไม่ใช่เขียนออกมาแล้วเอาไว้บูชา

ขอบคุณน้องตูนนะคะ กรี๊ดดดดด  เดี๋ยวได้เรื่องอะไรยังไงจะเอามาเล่าสู่กันฟังนะคะพี่โอ๋

มันสนุกตรงที่เป็นการตลาดระหว่างประเทศนี่แหละ เจ๋ง



// ส้มทำแผนการตลาดใหญ่ได้ แต่อธิบายออกมาให้ดูเป็นทางการไม่เป็น นี่แหละที่มาตกม้าตาย เลยต้องวานขอข้อมูลจากตูน กร๊าก

เมื่อก่อนปาล์มคิดเหมือนเจ๊เลย  อยากเขียนแผนตลาดที่จะเอาไปใช้จริง ไม่ใช่เขียนออกมาแล้วเอาไปบูชา

ตอนนี้ปาล์มลงมือทำงานจริงกับธุรกิจครอบครัว
ปาล์มมีแผนตลาดไว้ในหัว ไม่ได้เขียนออกมา
ปรับแก้แผนไปตามสถานการณ์

มีสิ่งนึงที่ปาล์มย้อนคิดกลับไป "ทำไมก่อนหน้านี้แผนตลาดตูถึงไปอยู่บนหิ้ง ไม่ได้หยิบมาใช้จริง"
คำตอบที่ได้คือ "เพราะมันนำมาใช้จริงไม่ได้"
แผนการตลาดที่ดีไม่ได้อยู่ที่นายทุนที่ดีมีเงินหนา
แต่แผนตลาดที่ดีคือแผนที่นำไปใช้ได้จริง ทำได้จริง และผลที่ออกมาได้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

ความคิดเจ๊ ตูเข้าใจดีเลยล่ะ  ถ้ามีนายทุนใจดีมีเงินหนา สามารถดึงความคิดที่เราวาดฝันไว้ออกมาทำจริงได้ คงสนุกน่าดู
แต่จะมีซักกี่รายที่ยอมเอาเงินทุนมหาศาลมาละลายกับเรา  ตัวปาล์มเองก็เป็น รู้นะว่าเงินมีเท่าไร แต่ทำไมเราต้องเอามาใช้จ่ายเยอะแยะล่ะ?
ในเมื่อยังมีวิธีการอื่นที่ใช้จ่ายไม่มาก แต่ได้ผลเหมือนกัน  ดังนั้นตูเลือกทำการตลาดแบบใช้งบประมาณให้น้อยที่สุด โดยที่ได้ผลตอบแทนกลับมามากที่สุด



การตลาดระหว่างประเทศ น่าสนุก ตูเองก็ฝันอยากทำเหมือนกัน รู้สึกท้าทายความสามารถดี

เพื่อนตูหลายคนถามตูว่าทำไมไม่กลับไทย  กลับมาสิมีตำแหน่งนั่นนู่นนี่ว่าง มาสมัครเลย รับรองได้อยู่แล้ว
หลายคนถามตูว่าไม่เสียดายวิชาความรู้หรอ  อยากให้กลับมาใช้วิชาความรู้พัฒนาประเทศ(ฟังดูยิ่งใหญ่จัง)
คำตอบของตูคือ "ไม่เสียดาย เพราะวิชาความรู้ที่ตูเรียนมาก็ยังอยู่ในหัวตู เมื่อถึงเวลาตูก็หยิบมาใช้ ทุกวันนี้ก็ได้ใช้นะ ใช้กับธุรกิจตัวเองนี่แหละ แถมยังได้ช่วยประเทศด้วย ดูดเงินต่างชาติเข้าประเทศไง แล้วก็ยังช่วยการส่งออกของไทยด้วยนะเออ (ฟังดูเท่มั้ย) ....ไม่แน่นะ ต่อไปอาจจะเห็นร้านอาหารตูไปโลดแล่นแข่งกับMc KFC Pizza ก็ได้นะ"
บันทึกการเข้า
มามะ ปาล์ม มากอดที  ฮือๆ~




ของตูที่เจอ คือ ลูกค้าไม่เห็นคุณค่าการตลาดไง

จะทำทั้งที เสือกทำไม่สุด มันก็เลยเป็นเรื่องการเอาเงินไปละลายในแม่น้ำ
บันทึกการเข้า

หนังเย็บมือ Homemade www.facebook.com/oxhour
เดินตามความฝัน .. ของกลิ่นกาแฟ

กลิ่นหอม ๆ ของกาแฟที่ลอยมา มันทำให้เรามีความฝันตั้งแต่เด็ก
ตอนนั้น ยังกินกาแฟไม่ได้ แต่รู้สึกดีทุกครั้งที่เดินผ่านร้านกาแฟ
ได้กลิ่นกาแฟ มันหอมจังเลย ..

ความผูกพันกับ ขนมเบเกอรี่ อีกอย่างนึง
แม่ชอบทำขนมเค้ก คุ๊กกี้ พายต่าง ๆ ให้ลูกทาน
คัพเค้ก ถ้วยเล็ก ๆ ที่ได้ทานตอนออกจากเตาร้อน ๆ
มันหอม ผิวข้างนอกกรอบ ๆ นิด ๆ ข้างในนุ่ม ๆ ร้อน ๆ

เคยคุยกับแม่ตั้งแต่ตอนนั้นว่า หนูอยากทำร้านกาแฟ
แล้วแม่ทำขนมเค้กนะ เปิดร้านกาแฟเล็ก ๆ กัน
ตั้งแต่ตอนนั้น ที่ร้านกาแฟสดยังไม่บูมแบบนี้

แต่ความฝันนั้นก็ยังมีอยู่นะ อยากมีร้านเล็ก ๆ จัดร้านแบบน่านั่งสบาย ๆ
อบขนมใหม่ ๆ ร้อน ๆ ให้ลูกค้าทาน มีอาหารเบา ๆ สำหรับมื้อเที่ยง
แม่คงมีความสุข .. ที่ได้มีร้านแบบนี้สักร้าน

ความฝันนี้ .. เป็นอีกฝัน ที่จะทำ
เป็นฝันที่ .. มีความสุขเมื่อนึกถึง
ทุก ๆ ครั้งที่ได้ไปนั่งจิบกาแฟในร้านที่เราชอบ
ก็ทำให้นึกถึงฝันนี้ .. ทุกครั้งเลย
บันทึกการเข้า

+ ทุกท่าน
รอดู ปาล์มโกอินเตอร์ ทั่วโลกเลยดีกว่า  เจ๋ง
บันทึกการเข้า

โรงเรียนสอนศิลปะทอศิลป์
มีบล็อก ในโอเคเนชั่น
เขียนถึงคุณ ตัน โออิชิ ไว้
น่าสนใจ และมีประโยชน์มาก
สำหรับผู้ริเริ่มกิจการ และทุกท่าน

เขาจั่วโปรยบล็อกไว้แบบนี้

 สะกิดต่อมคิดซีอีโอ

คนเป็น"ซีอีโอ" เขา คิด และ ทำ กันอย่างไร
จึงทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
"กรุงเทพธุรกิจ" 360 * พาไปเกาะติดวิถีคิดซีอีโอ

.........................................

"ตัน โออิชิ" ซีอีโอนักชิม

แม้จะไม่ เคยแจกลายเซ็นเพื่อการันตีรสชาติอาหาร
ให้กับร้านใดมาก่อน แต่ในแวดวงธุรกิจอาหาร
รวมถึงคนรอบข้างจะรู้จัก “ตัน ภาสกรนที” ในอีกฉายา "ซีอีโอนักชิม"

แน่นอน "ตัน" ไม่ใช่การกินแบบธรรมดา

แต่เขา "ชิม" เพื่อเรียนรู้ว่า คนอื่นๆ กินอย่างไร แบบไหน

เรียกว่าเป็นโฟกัส กรุ๊ป เฉพาะตัว ทำให้ตันเข้าใจพฤติกรรม
ตัวตนของกลุ่มเป้าหมายได้ถูกต้อง

"แม่น" ยิ่งกว่ารีเสิร์ชฉบับไหนๆ

การ เป็นนักชิม บวกกับนิสัยช่างสังเกต ทำให้ ตัน ภาสกรนที
สามารถผันตัวจากแผงร้านหนังสือ ขายเทป เวดดิ้ง สตูดิโอ
กระโดดมาสู่ธุรกิจอาหารญี่ปุ่นได้และประสบความสำเร็จ

ทั้งๆ ที่ทำอาหารไม่เป็นและไม่มีประสบการณ์ทำร้านอาหารมาก่อน

เหตุ ที่เลือกธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น หลักๆ ตัน บอกว่ามาจากการสังเกต
เห็นพฤติกรรมของคนในยามที่เขาสวมวิญญาณนักชิม
 และบางครั้งก็ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกับลูกค้าในร้านนั้นๆ

"ทุก วันนี้คนส่วนใหญ่มีเงิน มีการศึกษา แต่สิ่งที่กำลังมองหา
 คือ อาหารที่กินแล้วดีต่อสุขภาพ ดูเท่ห์ อินเทรนด์ มีรสนิยม
และได้มูลค่าเพิ่ม ซึ่งอาหารญี่ปุ่นสามารถตอบโจทย์ได้ทั้งหมด"
ตันสรุปจากข้อสังเกตของเขา

เขาจึงกำหนดอนาคตการทำธุรกิจในทิศทางนี้

จากร้าน อาหารบุฟเฟ่ต์โออิชิ มาถึงร้านชาบูชิ ร้านโออิชิราเม็ง และทำชาเขียว
กระทั่งกลายเป็นเจ้าพ่อของวงการนี้อย่างที่เห็นๆ ในปัจจุบัน

“จริงๆ เป็นคนเรียนน้อย จบแค่ม.3 แต่จำประโยคหนึ่งของท่าน เหมาเจ๋อตุง
ที่เคยกล่าวไว้ว่า แมวสีอะไรก็จับหนูได้ นั่นหมายถึง ทุกความคิดสามารถสำเร็จได้

ในความคิดผมแล้ว ทุกคนทำได้ทุกอาชีพ ขึ้นอยู่กับการเห็นโอกาส
แล้วกล้าคิด กล้าลงมือและทำอย่างต่อเนื่องหรือไม่”

เห็นโอกาสก่อนใคร แล้วกล้าลงมือทำ เป็นองค์ประกอบให้ประสบความสำเร็จตันย้ำ

ขณะเดียวกันก็ต้อง "เร็ว" ด้วย เพราะยุคนี้แข่งกันที่เวลาและความรวดเร็ว

กรณี ที่ถือว่า  "ความเร็วในการตัดสินใจ" มีส่วนช่วยให้ประสบความสำเร็จคือ
การกระโดดลงมาทำชาเขียวของตัน ภายใต้แบรนด์ โออิชิเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา

ยุคนั้นแม้คนในวงการเครื่องดื่มจะเห็นกระแสว่า เทรนด์ชาเขียวกำลังมา แต่ไม่กล้าลงทุน

ด้วยมองว่า ยังไม่ถึงเวลาและแจ้งเกิดในตลาดยาก
เนื่องจากตลาดเครื่องดื่มขณะนั้นมีทั้งน้ำดำ น้ำสี และน้ำผลไม้ วางอยู่แน่นตลาด

แต่ไม่ใช่ตันซึ่งเฝ้าสังเกต "โฟกัส กรุ๊ป" ของเขท นั่นคือ
พฤติกรรมลูกค้าคนกินอย่างใกล้ชิด

“ผม ไปญี่ปุ่นเห็นว่า คนญี่ปุ่นดื่มชาเขียวมานานแล้ว 30 ปี
ในฐานะที่ทำร้านอาหารญี่ปุ่นเลยเอามาใส่ไว้เป็นเครื่องดื่มในร้านให้ลูกค้า กินฟรี
และค้นพบจากการสังเกตว่า ลูกค้าทุกคนทุกโต๊ะกินชาเขียว
และซื้อกลับบ้านเยอะมาก ช่วยจุดประกายให้เห็นว่า
สิ่งที่ให้กินอยู่ใช่ และกำลังจะมาแรง จึงตัดสินใจทำ”

เมื่อเห็นว่า ใช่แล้ว มั่นใจแล้ว ตันก็ตัดสินใจลุยเต็มสปีด
ด้วยการลงทุนในหลักร้อยล้าน เพื่อสร้างโรงงานผลิตชาเขียว
โดยใช้เวลาปีเดียวสั่งเครื่องจักรมาเต็มโรงงาน

เรียกว่า สั่งเครื่องชุดที่หนึ่งยังไม่ติดตั้ง ก็สั่งชุดที่สองและชุดที่สามเข้ามาทันที

จน โรงงานมีกำลังผลิตชาเขียวแบบขวด 50 ล้านขวดต่อเดือน
แบบกล่อง 20 ล้านกล่องต่อเดือน เป็นประเด็นให้โออิชิชาเขียวใช้เวลาเพียง 1 ปี
 ก็สามารถครองมาร์เก็ตแชร์ในตลาดได้ 54%
ขึ้นเป็นผู้นำเบอร์หนึ่งของตลาดชาเขียว แม้จะเป็นแบรนด์ที่หกที่เข้าสู่ตลาด

แต่ซีอีโอโออิชิย้ำว่า ไม่ได้แนะนำให้ใครกล้าคิด กล้าทำ และกล้าลุยเหมือนตน
หากไม่มั่นใจในเรื่องมุมมอง โอกาส และประสบการณ์
หรือต้องลงทุนที่ใช้เงินมากแบบสุดตัว เพราะนั่นหมายถึง ความเสี่ยงที่มากกว่าปกติ


"เราต้องค้นพบว่า จุดแข็งของตัวเองอยู่ที่ไหน
เป็นประเด็นสำคัญมากเวลาตัดสินใจ และการทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน
 ผมไม่กลัวการไม่ประสบความสำเร็จ เพราะผมรู้ว่าจุดแข็งของผมอยู่ตรงไหน”


การ กล้าคิด กล้าทำ กล้าลุย ในสไตล์ตัน
ใช่จะนำมาเฉพาะความสำเร็จเท่านั้น
เห็นได้จากการไม่เข้าเป้าของยอดขายของสองโปรดักท์
ได้แก่ อะมิโนโอเค และน้ำส้มเซกิ เหตุเพราะอะมิโนโอเค
เป็นโปรดักท์ที่มาเร็วเกินไปสำหรับคนไทย
 ขณะที่เซกิเกิดจากการเดาใจและวางตำแหน่งทางการตลาดผิด

ตันเอง ยอมรับถึงข้อผิดพลาดนี้และไม่รู้สึกขายหน้าหรืออับอาย
เพราะตามความคิดของเขาแล้ว เบื้องหลังความสำเร็จต้องมีความล้มเหลวอยู่ด้วยเสมอ
และตัวเองก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จไปทุกเรื่อง

 อย่างที่เขาเคยบอกว่าทำมาหลายธุรกิจ
บางธุรกิจทำให้เป็นหนี้สินนับร้อยๆ ล้านมาแล้ว

“ผม ไม่ใช่คนเก่งตลอด ต้องถูกทุกครั้ง แม่นทุกครั้ง
ทำสิบครั้งถูกหนึ่งครั้งผมก็ไปได้รอดแล้ว ขอให้โดนเถอะ
โดนอย่างโออิชิ โดนอย่างบุฟเฟ่ต์ โดนอย่างชาบูชิ

สิ่งที่ควรจำ คือ หากทำแล้วไม่ใช่ ไม่โดน
ก็เข้าตำราว่า อย่าดันทุรัง ควรหยุดไว้ก่อน
ไม่ใช่ทุ่มไปอีกเพราะกลัวเสียหน้าแบบขอสู้ตาย แล้วสุดท้ายก็ตายจริง”


ถ้า ทำอะไรแล้ว ลงไป "คลุกวงใน" ศึกษางานอย่างใกล้ชิด
โดยเฉพาะการพูดคุยในภาคสนามซึ่งจะทำให้รู้ข้อมูลว่า
จะประสบความสำเร็จอย่างไร อะไรดี ไม่ดี
และอะไรจะทำให้เสียหายหรือมีความเสี่ยงได้

จะทำให้โอกาสประสบความสำเร็จเป็นไปได้สูง

วันนี้ หากถามถึงความสำเร็จทางธุรกิจจากการบริหารงาน ตันบอกว่า
ยังไม่ได้พาโออิชิมาถึงจุดสูงสุด เพราะเมื่อเทียบกับแบรนด์อื่น
ที่มีอายุยาวนานเป็นร้อยปีแล้ว โออิชิที่มีอายุ 10 ปี อยู่ในช่วงเริ่มต้นเหมือนวัยรุ่น
ต้องรอให้ก้าวสู่ปีที่ 50 หรือปีที่ 100 ก่อนถึงจะพอพูดได้
ซึ่งหนทางข้างหน้าก็เต็มไปด้วยปัญหาและอุปสรรค ที่รอให้เขา
"กล้าคิด กล้าทำ และกล้าลุย" อีกมาก


จากบล็อก
http://www.oknation.net/blog/bizweektoyou/2008/08/01/entry-1

บันทึกการเข้า

โรงเรียนสอนศิลปะทอศิลป์
สิ่งที่ควรจำ คือ หากทำแล้วไม่ใช่ ไม่โดน
ก็เข้าตำราว่า อย่าดันทุรัง ควรหยุดไว้ก่อน
ไม่ใช่ทุ่มไปอีกเพราะกลัวเสียหน้าแบบขอสู้ตาย แล้วสุดท้ายก็ตายจริง”


ตูนชอบคำพูดนี้นะพี่โอ๋ บทความนี้เคยอ่านแล้ว
และเป็น Case study ตอนเรียน ป.ตรีด้วย
ว่า ทำไมเจ้าแห่งชา อย่าง Lipton ที่ครองตลาดชามานาน
ทำไมถึงปล่อยให้โออิชิมาครองตลาดได้ ทั้ง ๆ ตัวเองตัวเองเป็นเจ้าแห่งชา

เรื่องชาเขียวเป็น Case Study ที่สนุกที่สุดอีก Case นึงตอนเรียน
ผู้บรรยายตอนนั้นชื่อ อ.Fat เป็นผู้บริหารระดับสูงของหลาย ๆ บริษัท
แต่มาเป็นผู้บรรยายพิเศษให้เด็กปี4 ที่ พ.พ.

วันที่คุยเรื่องชาเขียว แกไปเหมาชาเขียวมาจากชั้นวางในห้าง
มีกี่ยี่ห้อ กี่รูปแบบ กี่ package แกซื้อเหมามาหมด
ตอนนั้นจำได้ว่า เอาชั้นวางของมาใส่ได้เต็มชั้นเลย หลายยี่ห้อมาก
แล้วก็ถกกันทีละยี่ห้อ ว่า มันเป็นยังไง ทำไมถึงเจ๊ง ทำไมถึงบูม
แต่ละยี่ห้อ วางตำแหน่งของตัวเองยังไง จับลูกค้ากลุ่มไหน

ตอนนั้นสนิทกับอาจารย์คนนี้มาก + สนุกกับการบรรยายของแกมาก
แต่แกไม่แ่บ่งชาเขียวให้กลับบ้านสักกล่องเดียว  ฮือๆ~
บันทึกการเข้า

โออิชิ กระชาก ยูนีฟ กรีนที ลงมาจากเบอร์ 1
แบบรวดเร็วมาก เหมือนเบอร์ 1 นั่งลอยชายแล้ว
โออิชิกระชาก จริงๆ คือตกไปเลยไม่มาอีก
บันทึกการเข้า

โรงเรียนสอนศิลปะทอศิลป์
แอบปลื้มคุณ ตัน มานานแล้วครับ

 ไหว้ พี่โอ๋

เคยดูรายการนึง แกพูดถึงเรื่อง oishi บุฟเฟต์ ครับ เรื่อง ปลาแซลมอน ที่แพงเหลือเกิน
ปัญหาคือลูกค้าจ้องแต่จะตักปลาแซลมอนเพื่อตุนเอาไว้เพราะกลัวของทางร้านจะหมด (กินหมดไม่หมดว่ากันอีกเรื่อง) 
สุดท้ายก็ทานไม่หมด เสียของ เปลือง

คุณตันแก้ปัญหาด้วยการวางปลาแซลมอนให้มากกว่าปกติ มากจนลูกค้าดูว่า ยังไงๆปลาแซลมอนก็จะไม่หมด จะมาตักตอนไหนก็ได้
มีรอไว้อย่างเหลือเฟือ ลูกค้าก็จะตักแต่พอทาน เพราะสามารถเดินมาตักได้อีก เพราะยังไงก็ยังมีเหลือเฟือ

ชอบความคิดง่ายๆของแก  แต่แก้ปัญหาได้ตรงจุดมากเลยครับ  (แจ๋ว แจ๋ว)
บันทึกการเข้า
ยินดีที่ชอบและอ่าน เนอะ
ผมว่า การได้เรียนรู้จากคนที่เก่งมากๆ
มีประโยชน์มากๆ   เจ๋ง
บันทึกการเข้า

โรงเรียนสอนศิลปะทอศิลป์
คุณตัน เป็น 1 ในต้นแบบที่มีคนนำแนวคิดมาใช้
หรือเป็นต้นแบบในการดำเนินธุรกิจ
มีบทสัมภาษณ์ แนวคิดของผู้ชายคนนี้ที่น่าสนใจอีกมาก


เผย 9 เคล็ดวิชา จากประสบการณ์ความสำเร็จของตัน โออิชิ !


ถ้าในมุมมองของตูน เปรียบเทียบการบริหารงานของคุณตัน
เหมือนกับการรณรงค์ของ ชีวิตพอเพียง ที่ให้คนปลูกพืชเชิงผสมผสาน
ไม่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว เป็นการบริหารความเสี่ยงในการลงทุน
แล้วแต่ละธุรกิจ ก็เอื้อต่อกัน เหมือนกับปลูกต้นไม้ใหญ่
แล้วเอาร่มเงา ปลูกต้นไม้เล็ก ๆ ถ้าต้นไม้เล็ก ๆ นั้นสามารถเจริญเติบโต
และให้ดอก ออกผลดี ก็นำไปขยาย ปลูกเพาะ ขยายพันธุ์ ออกไป

เปรียบเทียบได้กับ ร้านอาหารโออิชิเป็นต้นไม้ใหญ่ แล้วมีชาเขียว
สินค้าที่ขายในร้าน เมื่อได้รับการตอบรับ คนชอบ ก็ขยับขยาย
จากเดิมที่เป็นน้ำดื่มในร้าน ก็เริ่มใส่ขวด ซื้อกลับบ้าน
ขยับขยายจนเป็นสินค้าหน้าร้าน เมื่อได้รับการตอบรับสูง
จึงเริ่มลงทุน เปิดโรงงาน ผลิตน้ำดื่มชาเขียวออกสู่ตลาดในรูปแบบ UHT

นี่คือการเดินทางของน้ำดื่มชาเขียว
ซึ่งหากมองให้ดี ๆ คุณตัน กล้าที่จะลงทุน
โดยที่ไม่ใช่การลงทุนแบบคิดที่จะทำแล้วทำเต็มสูบ โดยไม่มีพื้นฐานมาก่อน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ส.ค. 2008, 09:45 น. โดย ❤ ตูน ❤ » บันทึกการเข้า

ตัด 9 เคล็ดวิชา ตัน
มาแปะในนี้เลยได้ไหม ตูน
เผื่อลิงค์เขาตายไป
คนอื่นมาอ่านอีก จะได้รู้ๆ กันทั่ว
บันทึกการเข้า

โรงเรียนสอนศิลปะทอศิลป์
 ยิ้มน่ารัก ได้ค่ะพี่โอ๋ พอดีเห็นว่ามันยาว
...............................................

‘ตัน ภาสกรนที’ เริ่มจากศูนย์ในการทำธุรกิจ สร้างแบรนด์โออิชิจนเป็นผู้นำตลาด
เขาเพิ่งขายหุ้น 55% ให้กลุ่มเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้เงินมากว่า 3 พันล้านบาท


ความสำเร็จในการสร้างธุรกิจ
มาจากหลักพื้นฐานอะไร?

เผย 9 เคล็ดวิชา จากประสบการณ์ความสำเร็จ
ของตัน โออิชิ
!


เห็นตัวอย่างการสร้างธุรกิจ “โออิชิ” จนโด่งดังมีมูลค่าเพิ่มขึ้นห่างไกล
ตอนเริ่มต้นเป็นพันเท่าแบบนี้ อาจมีคนอยากถามหลายๆ คำถามกับ ตัน ภาสกรนที

มีสูตรสำเร็จพอจะบอกเล่ากันได้ไหม? จะสร้างงานสร้างเงินในยุคนี้ให้ประสบความสำเร็จ
 มันยังพอมีโอกาสอยู่หรือเปล่า?

แน่นอน...ตันมีคำตอบ “ผมว่าการหาเงินมันไม่ยากหรอกถ้ามีวิธีการที่ดี
แต่การจะมีวิธีการที่ดีนั่นแหละ ยากที่สุด”

คำตอบของตัน ย่อมทำให้ผู้ฟังอยากคุ้ยแคะต่อไปอยู่ดีว่า
จะหาวิธีการที่ดีอย่างที่บอกได้อย่างไร?

ตันบอกว่า เราสามารถจะได้จากการมีประสบการณ์การทำธุรกิจ!

“ถ้าไม่เคยล้มเหลว ก็ยากที่จะรู้ว่าการจะประสบความสำเร็จ
เขาทำกันอย่างไร” เขาบอก

ถึงจะเรียนไม่สูง แต่ตันก็สามารถริเริ่มสร้างธุรกิจแนวใหม่ได้อย่างน่าสนใจ
ตั้งแต่ร้านถ่ายรูปสำหรับคู่แต่งงาน ร้านอาหารญี่ปุ่น
และชาเขียวโออิชิ ที่เข้ามาสู่ตลาดในฐานะผู้เล่นรายใหม่
ทว่าไม่นานก็สามารถโค่นผู้นำตลาดในเวลานั้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ
แล้วยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสินค้าตัวใหม่ๆ ให้ได้รับความนิยม

แต่อย่าได้ด่วนสรุปว่า เด็กรุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องเรียนสูง
ก็สามารถประสบความสำเร็จเหมือน “ตัน โออิชิ”

เรียกได้ว่ามันเป็นความสามารถเฉพาะตัวที่ใครๆ อยากเลียนแบบ

ตันตั้งใจส่งให้ลูกๆให้เรียนหนังสือให้สูงที่สุด
โดยไม่ตามใจลูก หรือกลัวว่าลูกจะลำบาก

แม้ว่าตันจะเชื่อว่าการไปสู่เส้นชัยของชีวิตจะไปได้ทั้งด้วยการเรียนให้มาก
หรือการทำงานด้วยความทุ่มเท

แต่ถ้าถามเฉพาะตัวเขาเอง ด้วยประสบการณ์มหาวิทยาลัยชีวิต
และผลที่เกิดขึ้นแล้ว เขาบอกว่าการให้เวลากับการทำงานได้ผลดีกว่า

วันนี้ตันยอมลดสัดส่วนการเป็นเจ้าของหุ้นโออิชิของตัวเอง
และคนใกล้ชิดลงเหลือเพียง 10% หรือเป็นมูลค่าประมาณ 700 ล้านบาท
เขาบอกว่าอย่าไปมองแค่สัดส่วนที่น้อยลง แต่ดูที่มูลค่าแล้วเงินจำนวนนี้เมื่อเทียบกับอดีต
ยังมากกว่าวันที่เขาถือหุ้นก่อนจะเข้าระดมเงินในตลาดหลักทรัพย์เสียอีก
เพราะตอนนี้มีประมาณ 300 ล้านบาท และการจะทำให้เงินจำนวนนี้
กลับมาผลิตเงินมาให้เขาอีกเป็นพันๆ ล้าน

เขาบอกว่าไม่ยาก!
“ก็อย่างที่ผมบอกไง ถ้ามีวิธีการหาเงินที่ดี จะหาเงิน...ง่ายนิดเดียว!”

ผู้ประกอบการหน้าใหม่อย่าท้อ
ปัญหาที่ผู้ประกอบการหน้าใหม่เจอ ก็คือระยะแรกที่ต้องฟันฝ่า
ทั้งอุปสรรคด้านทุน ด้านการผลิต และการตลาด ก็อย่าท้อ

โดยเฉพาะเงินรายได้ บาทแรกๆ จะเหนื่อยมาก
อย่างเขาเองที่เห็นผล 5 ปีท้ายนี้ เป็นการสั่งสมของความทุ่มเทจาก 10 ปีก่อนหน้า

"ความสำเร็จไม่ได้หล่นจากฟ้า"
เพียงแต่ช่วงที่การทำงานให้ผลมาก
จะเป็นช่วงท้ายตอนที่เอาประสบการณ์ไปพลิกเป็นผลงาน

หลักพื้นฐานสำหรับผู้สร้างธุรกิจ

1.เชื่อว่าสิ่งที่ดีที่สุดยังไม่เกิด และสิ่งที่ดีกว่ามีโอกาสเกิดได้

ในการรับเชิญไปบรรยายให้นักศึกษาฟัง ตันมักลองถามคนฟังว่า
โทรทัศน์ตอนนี้ยี่ห้อไหนดีที่สุด

นักศึกษาหลายคนตอบว่า Sony แต่ตันบอกว่า
“ผิดครับ เพราะยี่ห้อที่ดีที่สุดยังไม่ออก”
เช่นเดียวกับที่เขาเชื่อว่านักธูรกิจที่ประสบความสำเร็จสูงสุดยังไม่มา
และธุรกิจที่ดีที่สุดยังไม่ถือกำเนิด

คิดได้เช่นนี้แสดงว่าโอกาสยังเปิดให้สำหรับคนที่มีความมั่นใจ
ที่จะทำในสิ่งที่แตกต่างและโดดเด่นกว่าด้วยความคิดสร้างสรรค์

กรณีศึกษาในการผลิตชาเขียว “โออิชิ” ช่วงแรกเปิดตัวด้วยรสต้นตำรับ
และสามารถทำการตลาดจนขายดี ทว่าเมื่อมีการค้นคิดออกรุ่นต่อมา
“รสน้ำผึ้งผสมมะนาว” ปรากฏว่าขายดีกว่ารสต้นตำรับเสียอีก
จนมีคนยกย่องว่าสูตรใหม่ “สุดยอด” และให้ยึดรสชาตนี้ไว้เป็นหลัก
แต่ตันกลับไม่ได้ยอมรับว่ารสนี้จะดีที่สุดแล้ว จึงมีการพัฒนาออกรสชาติที่ 3
“รสข้าวญี่ปุ่น” ส่งไปขายในตลาด ปรากฏว่าขายดีกว่าทุกรสที่เคยมีมา

2. กล้าเสี่ยง
ความสำเร็จทางธุรกิจของตันส่วนหนึ่งมาจากการริเริ่มสิ่งใหม่
เขาจะไม่ยอมให้ความเชื่อว่า “เป็นไปไม่ได้” มากักขังความทะเยอทะยานของเขา

บางคนเกิดมาในครอบครัวที่ทำโรงกลึง แม้จะไม่ชอบงานนั้น
แต่ก็ไม่กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ๆ เพราะไม่เชื่อว่าจะสามารถทำอย่างอื่นได้
เพราะเกิดมาก็ทำธุรกิจโรงกลึงนี้อยู่อย่างเดียว

หลังจากเริ่มงานแรกเป็นพนักงานขาย ตันลาออกไปเปิดแผงหนังสือ
ร้านกิฟท์ช็อป ร้านเบเกอรี่ ร้านเสริมสวย กระทั่งเริ่มธุรกิจที่ยังไม่มีใครรับประกัน
ได้ว่าจะประสบความสำเร็จอย่างธุรกิจถ่ายภาพแต่งงาน เขาก็ยังกล้าที่จะทำมัน

เขาไม่ได้กล้าอย่างบ้าบิ่น ทว่าเมื่อเห็นโอกาส เขาก็ค่อยๆ เก็บข้อมูลถามจากผู้รู้
และในวันนี้ ตันก็มักบอกใครต่อใครว่า ที่เขาสามารถทำธุรกิจได้ตั้งหลายอย่าง
ไม่ได้เป็นเพราะเขามีความรู้มากมาย

เขารู้เพียงอย่างเดียวคือ เวลาจะขายของคน ต้องขายอย่างไร

เมื่อการเตรียมพร้อม ผนวกเข้ากับความกล้าเมื่อโอกาสมาถึง
ความสำเร็จก็ไม่ไกลเกินจะคว้า

3.กล้าล้มเหลว
หลักการสำคัญที่ตันยึดถือไว้เสมอคือ “ไม่มีอะไรเป็นไปอย่างที่เราคิด”

แผนธุรกิจที่เราเขียน จะเขียนให้เลิศหรูเสียอย่างไรก็ได้
แต่ทันทีที่เดินออกจากห้องเขียนแผน เราอาจจะพบว่าไม่มีอะไรที่เหมือนที่เขียนไว้เลยก็ได้

ทุกครั้งที่เราผจญกับอุปสรรค และเรามุ่งมั่นฝ่าฝันมัน
 มันจะมอบสิ่งตอบแทนอันล้ำค่ากับเราคือ ประสบการณ์

ปัญหาทำให้คนแข็งแกร่งขึ้น
และจงจำไว้ว่า “ขาดทุนคือกำไร”
ตันบอกว่าเขาจะไม่มีทางประสบความสำเร็จได้เลย
 หากที่ผ่านมาเขาไม่เคยล้มเหลวมาก่อน

9 เคล็ดวิชาของตันจากประสบการณ์

1.เลือกธุรกิจอนาคต

คำถามที่เขามักถามตัวเองก่อนริเริ่มธุรกิจใหม่ๆ ว่า
“นี่มันเป็นธุรกิจแฟชั่นหรือธุรกิจอนาคต?”
ตันชอบทำธุรกิจอนาคต เขาไม่ชอบธุรกิจที่วูบวาบตามกระแสแฟชั่น
แต่สำหรับคำตอบ ใช่ว่าจะนั่งคิดนั่งตอบเอาเอง
ตันใช้วิธีการหาข้อมูลจากความเป็นจริงทุกครั้ง
ตันคิดใหญ่ เขาจึงเลือกธุรกิจอนาคต
และนักธุรกิจที่ดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมองธุรกิจของตัวเองให้ทะลุ
แม้ตลอดระยะเวลา 30 ปี ที่ผ่านการทำธุรกิจหลากหลายชนิด
ตันไม่ได้เขียนแผนธุรกิจตามแบบฉบับที่หลักสูตรบริหารธุรกิจเรียนกัน
แต่เขามีความคิด มีแผนในหัวที่ต้องมองให้ทะลุ
ทั้งการเลือกทำเล การผลิต การตลาด โดยไม่ได้เขียนออกมาอย่างคนที่เรียนมาหรอก
จากประสบการณ์ของตัน เขาเคยเห็นบางคนมัวแต่วางแผน
แล้วทุกอย่างก็อยู่ในกระดาษ แต่ไม่ได้ทำจริงสักที

2. ทำเลที่ดีเหมือนมีชีวิต
ประสบการณ์เมื่อตอนที่ตัดสินใจลาออกจากการเป็นพนักงานขายสินค้า
ไปเช่าที่หน้าตึกแถวในสถานีขนส่งของจังหวัดชลบุรี
 เพื่อไปเปิดแผงขายหนังสือและนิตยสาร
ทำเลแบบนั้นคือ “ทำเลเป็น”
รถโดยสารจะเข้ามารับและส่งผู้โดยสารตลอดทั้งวันตั้งแต่เช้ามืด
ต่อเนื่องจนถึงหลังเที่ยงคืน บริเวณใกล้เคียงยังมีห้องอาหาร
และสถนบริการอาบอบนวด จึงมีผู้คนหมุนเวียนมิได้ขาด
ผิดกับสภาพทำเลแบบร้านที่อยู่ใต้ตึกห้องเช่าซึ่งมีคนพักอาศัย
จำนวนเท่าเดิมตายตัว ซึ่งก็คือ “ทำเลตาย”
จากการมองเห็นทำเลทอง และเข้าไปติดต่อของเช่าในราคาเพียงเดือนละพันบาท
ผลก็คือ แค่ 6 เดือน จากเคยเป็นผู้เช่า ตันก็ยกระดับซื้อตึกที่เช่าอยู่ได้ทั้งตึก

3. ใฝ่รู้ – ทุ่มเท – อดทน
ตันย้ำเสมอว่าเขาโชคดีที่ไม่ได้เกิดมาในครอบครัวร่ำรวย
นั่นจึงทำให้เขามีในสิ่งที่คนรวยไม่สามารถมีเท่าเขาได้คือ
ความอดทนต่อการทำงานหนัก
แต่อดทนอย่างเดียวไม่พอ
ตันเชื่อว่าต้องอดทนอย่างใฝ่รู้ด้วย
และการหาความรู้ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่รู้จักถามผู้รู้
เพราะทุกครั้งที่เราถาม เราจะได้กำไร
ฉะนั้นหากใครมีโอกาสพบคนอย่างตัน
ก็จงถาม เพราะ ณ วันนี้ ตันคงมีเรื่องราวให้เรียนรู้มากมาย
และเมื่อถามถึงปรัชญาที่ตันใช้ในการดำเนินธุรกิจ
ให้ประสบความสำเร็จ คืออะไร เขาตอบว่า...
“คิดดี – ลงมือทำ
ทำแล้วทำต่อเนื่อง
เจออุปสรรคไม่ทิ้ง
ได้ดีแล้วอย่าลืมตัว”


4. สร้างความประทับใจลูกค้า

ตันรู้จักการทำ CRM ตั้งแต่ยังไม่เคยได้ยินคำนี้ด้วยซ้ำ
แม้จะไม่ได้เรียนถึงขึ้น MBA แต่ตันก็ตระหนักดีว่าสิ่งนี้
 คือสิ่งที่จะนำพาเขาไปสู่ความสำเร็จ
การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า
หรือ Customer Relationship Management
คือหัวใจในการทำธุรกิจประการหนึ่ง
นับตั้งแต่การลงหลักปักฐาน ธุรกิจแรกในชีวิตด้วยการ
เช่าที่ทำแผงหนังสือ ตันก็ชนะใจลูกค้าของเขาเสียอยู่หมัด
ประสบการณ์จากการเป็นเซลล์ทำให้เขาเรียนรู้ว่า
ต้องจำคนให้เก่ง และที่สำคัญคือต้อง
จำให้ได้ว่าลูกค้ามีพฤติกรรมการซื้ออย่างไร
ทั้งๆ ที่แผงหนังสือของเขา ไม่ใช่แผงเดียวในย่านนั้น
ทว่ายอดขายของร้านเขากลับชนะแผงคู่แข่งอย่างถล่มทลาย
เพราะแค่ลูกล้าเดินมายังไม่ถึงร้านของเขา
เขาก็เตรียมหนังสือที่ลูกค้าต้องการใส่ถุง เตรียมเงินทอนไว้เรียบร้อย
เขาจำได้ดีว่าใครชอบอ่านหนังสือเล่มไหน
นอกจากนั้น เขามักจะเป็นคนที่หอบหนังสือพิมพ์ขึ้นไปขายบนรถทัวร์
โดยสังเกตตั้งแต่ตอนซื้อตั๋วว่าใครยังไม่ได้ซื้อหนังสือ
นี่ถือเป็นหลักการเชิงรุก ที่แม้ลูกค้าไม่เดินมาหา
เขาก็จะเดินขึ้นไปหาลูกค้าเอง

5. ใช้ประสบการณ์ให้เป็นประโยชน์

ย้อนกลับไปมองการทำธุรกิจของตันเมื่อหลายปีก่อน
แทบจะทุกธุรกิจเขาไม่ได้ประสบความสำเร็จตั้งแต่วันแรก
บนเส้นทางความสำเร็จเต็มไปด้วยอุปสรรค
แต่พอผ่านมันไปได้ ก็ไม่กลัวปัญหาแล้ว ปัญหากลายเป็นเพื่อนสนิทเสียอีก
ให้เพื่อนสนิทเป็นผู้แนะนำไปสู่ทางแห่งความสำเร็จ
“บทเรียนจากความล้มเหลวสำคัญมาก แต่ก็ไม่ได้อยากให้คุณล้มเหลวทุกครั้งนะครับ
ผมล้มเหลวมาหลายครั้ง แต่ไม่ใช่เพราะความล้มเหลวอย่างเดียว
ที่ทำให้ผมสำเร็จ แต่ผมรู้จักเรียนรู้ และพูดคุยจากคนอื่นเพิ่มขึ้นต่างหาก”

6. ตอนเล็กๆ ต้องคิดใหญ่ ตอนใหญ่ๆ ต้องคิดเล็ก

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น!
เพราะตอนที่เรายังมีทุนน้อย ถึงเราจะคิดใหญ่ มันก็ไม่ใหญ่เท่าไรหรอก
แถมยังไม่มีใครให้กู้เงินได้มากมาย หากจะคิดใหญ่ก็ยังสามารถทำได้
 เพราะความเสียหายมันมีข้อจำกัด ในเมื่อมีทุนอยู่เพียงเท่านี้จะต้องไปกลัวอะไร
“แต่สมมติวันที่โออิชิมี 6-7 พันล้าน ถ้าผมไปคิดเป็นหมื่นๆ ล้าน
แล้วพลาดมันจะเป็นยังไงรู้ไหม...เละ!” ตันย้ำ
ดังนั้นเขาเชื่อว่าเมื่อองค์กรเติมใหญ่กลับต้องคิดเล็ก
คิดว่าจะทำอย่างไรให้ปลอดภัยมั่นคง แล้วเราจะเอาประสบการณ์
ที่เราเคยประสบในครั้งที่เราล้มเหลวในตอนเล็กๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์
หรือ ณ วันนี้ มีเงินในมือ 300 กว่าล้านบาท ตันบอกว่า
"ถ้าผมโลภมาก อยากหาเงินเป็นหมื่นล้านมาขยายธูรกิจ ก็ไม่ยากเลย
เพราะตอนนี้ทั้งเครดิต ชื่อเสียง จะขอเงินกู้จากธนาคารก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่สมควรไหม
เขาจึงเลือกยุทธศาสตร์ที่จะเข้าร่วมกับค่ายธุรกิจยักษ์ใหญ่อย่างกลุ่มเจริญ สิริวัฒนภักดี
เพื่อความมั่นคง และยังได้เครือข่ายทั้งการตลาด และโรงงานผลิตที่จะช่วยลดต้นทุนได้ดี

7. การสร้างแบรนด์

ต้องมีการสื่อสารการตลาดและกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับของตลาด
เพราะเมื่อแบรนด์เป็นที่นิยมยอมรับ จะเป็นสินทรัพย์
อันมีค่าที่สามารถออกผลิตภัณฑ์เป็นมูลค่าต่อเนื่องไม่รู้จบ

8. ใช้แบรนด์สร้างเงิน

ในระยะแรกของการทำธุรกิจ ตันบอกว่าคนเราจะต้องเอาเหงื่อไปแลกเงิน
จากนั้นเมื่อมีเงินแล้ว ก็สามารถเอาเงินไปและเงินที่มากขึ้นได้
ทว่าในวันนี้ของตัน เขาอยู่ในห้วงเวลาที่สามารถเอาแบรนด์ไปสร้างเงินได้

9. ไม่ยึดติดในกรอบความคิดเก่าๆ
นับเป็นแนวคิดที่นักการตลาดพยายามกระตุ้น
เพื่อให้เกิดนวัตกรรมโดยใช้คำว่า "การคิดนอกกรอบ"
ตันบอกว่าการคิดนอกกรอบที่มีการพูดถึงหลายวงการ
"ดูเหมือนยาก แต่ก็ง่าย ดูเหมือนง่าย แต่ก็ยาก"
ความสำคัญอยู่ที่ต้องเข้าใจตลาด เข้าใจผู้บริโภค
และด้วยจุดยืนในการทำธุรกิจของตันที่ต้องการทำเงิน
 ขณะที่ต้องการทำสิ่งท้าทายด้วย
ดังนั้นเขาจึงใฝ่ใจศึกษาหาสิ่งใหม่ๆ และก็กล้าริเริ่มสร้างสรรค์
"ผมเป็นคนไม่เชื่อว่าชาเขียวต้องใช้กล่องสีเขียว"
เพราะตอนที่ตันออกชาเขียวนั้น ในตลาดมีคนครองตลาดแล้ว 5 ราย
ความพยายามสร้างความแตกต่างตั้งแต่การศึกษาหาแบบกล่องบรรจุ
และทดลองไปวางในร้ายสะดวกซื้อ เพื่อทดสอบความสนใจ
ของผู้บริโภค ก็ทำมาแล้วจนสำเร็จ

ยุทธศาสตร์ของตัน
แม้วันนี้กลุ่มของเจริญ ได้เข้าถือหุ้นใหญ่ของโออิชิ
เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้าที่มุ่งไปสู่กลุ่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
ตันยืนยันว่า "โออิชิ" ไม่เปลี่ยนแนวทางธุรกิจ
ตามที่เขากำหนดวิสัยทัศน์ธุรกิจไว้ว่า
"เราจะมุ่งมั่นทำธุรกิจที่เกี่ยวกับร้านอาหารญี่ปุ่น
และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่เกิดประโยชน์กับสังคมเท่านั้น"
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่ครั้งนี้ จึงเท่ากับกลุ่มเจริญ
ได้ทั้งความเป็นขุนพลใหญ่มืออาชีพของตัน และได้แบรนด์ตลาดโออิชิไปด้วย

- - -- - - - -- - - - - - - - - - -- - - - -
ข่าวจาก : ผู้จัดการออนไลน์ 21 กุมภาพันธ์ 2549



ผมช่วยตัดให้ อ่านง่ายนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ส.ค. 2008, 09:55 น. โดย rajun » บันทึกการเข้า

+ให้ ขอบคุณครับที่ช่วยแปะให้

ประโยชน์ทั้งนั้น  ไหว้
บันทึกการเข้า

นี่ น้องๆ รู้จักร็อคแอนด์โรลอ๊ะป่าว
ขอบคุณมากค่ะพี่โอ๋  ยิ้มน่ารัก
บันทึกการเข้า

หน้า: 1 ... 11 12 13 14 15 16 17 [18] 19 20 21 22 23 24 25 ... 37
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!