จริงๆ ก็อยูที่ลักษณะการใช้งานนะครับ
ถ้าเราคอนโทรลคนให้ "เหมือนกัน" ทุกประการ ได้ทั้งสามแชะที่ชัตเตอร์ทำงาน
มันก็จะทำให้ภาพออกมาเนียนแล้วล่ะ
ซึ่งวิธีนึงที่เขาทำกันเมื่อถ่ายคน ก็คือถ่้ายภาพมาเป็น RAW (แบบอู๋)
แล้วมาปรับเป็น jpg ที่มืดกว่าปกติจึ๊กนึง ธรรมดาจึ๊กนึง แล้วก็สว่างกว่าปกติจึ๊กนึง
ความเจ๋งของ RAW ก็อยู่ที่ตรงนี้แหละครับ มันเก็บรายละเอียดของแสงสีได้เยอะหน่อย
แต่ถ้าเทียบกับการกดชัตเตอร์สามที ให้แสงธรรมชาติมันส่งมาถึงกล้องทั้งสว่าวง กลาง มืดเลย
อันนี้ก็จะเท่และดูจริงกว่า
แหม ตูไม่ชอบอธิบายเรื่องการถ่ายภาพแบบเป็นฮาวทูเลยแฮะ ดูไม่ค่อยมั่วอย่างที่ชอบอ้ะ
แต่ไหนๆ ก็ไหนๆ เรามาลองมั่วด้วยกันดีกว่าเนาะ
ลองดูภาพตัวอย่างสักเก้าภาพนะครับ
ประเภทแรกที่ลองทำ คือแบบฟ้าเข้ม
เมฆผุดเป็นก้อนๆ หรือฟ้าออกมาอลังการเกินจริง
ภาพแบบเซอเรียลฯ นี้มันดูเพ้อเจ้อดี ไม่ได้เจอในชีวิตปกติแน่ๆ
เอาไว้โชว์ความบ้าพลังได้ครับ แต่เอาไปใช้จริงจังก็ยังนึกไม่ออก
แบบที่สองก็คือ แก้ปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นเพราะข้อจำกัดของอุปกรณ์ถ่ายภาพ
อย่างเลนส์เราหรือกล้องเราไม่ได้มีระบบที่อ่านแสงออกแล้วแยกความมืดความสว่างได้
แต่เราต้องการเอาภาพนี้ไปใช้ทำงานจริงๆ จังๆ (แปลว่า ห้ามเวอร์เกินจริงแบบภาพแรก)
ก็ใช้ HDR แก้ปัญหาได้ ดังนั้นลองสังเกตดูว่าตูพยายามปรับค่า Tone Map ให้มันเนียนๆ หน่อย
แต่เห็นรายละเอียดทั้งความสดใสของท้องฟ้า ทั้งรายละเอียดในส่วนพื้นดินหรือตัวอาคาร สว่างพอดีทั้งภาพ
(มีบั๊กนิดหน่อยในภาพที่สอง ให้ดูตรงผืนธงที่ 2 และ 3 มันมีซ้อนกันอยู่หน่อย ถ้าขยันก็เอามาปรับใน ฟตช เอา
แบบที่สาม อันนี้ไม่รู้จะเรียกว่าอะไรดี
ถ้าเราต้องการลวดลายบนผนังแต่แสงไม่เป็นใจ
คือมันดันรบกวน จนมาลบลายที่ว่าจนกลายเป็นสีขาวไปน่ะ
ตูใช้เทคนิค HDR มาเกลี่ยให้มันสว่างเท่าๆ กัน
ได้รายละเอียดก็จริง แต่แต่เสียอรรถรสเนอะ
แบบสุดท้ายที่ลองเล่นดู
คือภาพถ่ายธรรมดาๆ นี่แหละ แต่ลองถ่ายคร่อมดู
แล้วพอปรับไปปรับมา มันออกมาเป็นภาพที่แนวๆ สีน้ำจริงๆ ด้วย
ก็เลยชอบ ได้ไอเดียอะไรเอาไปเล่นต่ออีกเยอะแยะเลย
ป.ล.ทั้งหมดนี่ตูยืนถ่ายเอา เดี๋ยวว่างๆ จะลองถ่ายแบบขาตั้งกล้องดูมั่ง ท่าจะสนุก