ทั้งหมดนี้ มันมีเสียงที่ ถูก
อันนี้ไม่เห็นด้วย (จากเหตุผลที่อ้างจากราชบัณฑิตยสถาน)
เราจะบอกว่าคนภาคเหนือออกเสียงผิด
ขณะที่คนภาคกลางออกเสียงถูก?
note: ผมคนภาคกลางนะ
แต่ได้รับการยอมรับหรือนิยมในประเทศ/วัฒนธรรมทางภาษาไหน นั่นก็อีกเรื่อง
อันนี้เห็นด้วย
คำว่าถูกที่เน้นตัวหนาในกรณีนี้
นี่ก็เป็นคำเดียวกับที่อ้างถึงราชบัณฑิตยสถานครับ
เขามีหลักการทับศัพท์ที่ถูกต้อง - แต่ทับช้าไปรึเปล่าในบางครั้ง
ช้าเกินกว่าที่คนที่ไมไ่ด้ถือตำรามาทับเอาเอง
จนท้องและแตกลูกออกหลานไปเยอะแยะแล้วรึเปล่า
(ฟอนท์ เวป อัพเดท บราวเซอร์ ซูนามิ เอเปค โอเปค ออฟฟิศ ออฟฟิต! โปลิศ อะโด๊บ เอซัส ไมโครซอฟท์ ฯลฯ)
สำหรับผม(ส่วนตัว)
ไม่เห็นด้วยที่จะยึดใครเป็นหลักการ แต่ถ้ายึดใครเป็นแนวทางก็ ok (แน่ ไทยคำ english คำ
แย่แล้วเรา)
ทำได้แค่ยึดเป็น
แนวทางเท่านั้น
เพราะฉะนั้น(ส่วนตัว)ผมไม่ค่อยเห็นด้วยที่บอกว่าอันไหนถูกอันไหนผิด
ืnote:
1.ราชบัณฑิตยสถาน มักจะถูกอ้างในการเขียนราชการ(ถ้าใครอย่างถูกแบบราชการยึดไว้ก่อน)
2.ส่วนตัวผมรู้จักราชบัณฑิตยสถานบางท่าน หัวดื้อใช้ได้ ฉันถูก ฉันเก่ง ฉันแน่..ถ้าเธอไม่ตามฉัน ฉันจะเปลี่ยนให้ดู(ฉันมี power)
3.ส่วนตัวก็รู้จักราชบัณฑิตยสถานบางท่าน ที่มีความหวังดี คิดดี แต่ก็โดนด่า เช่น แท่งหรรษา (คนกำหนดเคยอยู่หน่วยงานเดียวกับผม) แต่หลายคำผมก็นำมาล้อเล่นเช่น ละมุนภัณท์ คณิตกร ..ฯลฯ
4. ผมคนหนึ่งที่ขอแค่ยึดเป็นแนวทาง ไม่ได้เป็นตัวกำหนด
ลองอ่านคำนี้ดูครับ router (เหมือนตัวอย่างที่คุณณตยกมา-ผมยังออกเสียงชื่อไม่ถูกเลย)
ที่ถูกควรอ่านว่า....?
คำเฉลย:
http://dictionary.reference.com/browse/router กดรูปลำโพงอันที่ 1 เทียบกับอันที่ 2 ดูครับ (เขาเลยมีเลยเรื่องเล่าว่าคนของโยธาคุยกับคนไอทีไม่รู้เรื่อง)
จริงๆผมว่าส่วนมากเพราะคนกำหนดมาจากไหนมากที่สุดมากกว่า(ซึ่งคนไทยที่เข้าไปกำหนดส่วนมากมาจากอเมริกา)
ืnote: เรื่องนี้รวมเรื่อง ท กับ ต ด้วย
เหมือนน้ำเกลือ Saline
หมอจุฬา รามา อ่าน เซลีน
หมอศิริราชอ่านเซลาย
ครูบางคนอ่าน ไซน์ไลน์
เด็กวัยรุ่นอ่านซา-ลี-เนะ
เห็นด้วย
แล้วจะชกกันเพื่อหาคนที่พูดถูกไหม?
เพื่อใครชกชนะ ผมจะได้ไปฟังเขาพูด
อย่างคำว่า แฝ็กซ์
นี่ ถ้าจะถามว่ามัน "ถูก" ไหม
มองแบบไม้บรรทัดมันก็ถูกกว่า แฟกซ์ แหละครับ
แต่ให้ใช้ไหม ตูก็ไม่เอา -- ขอมองแบบยางลบดีกว่า นิ่มดี
เห็นด้วย .. ฮา
เรื่องรากของภาษานี่สนุกครับ
แค่ลองหยิบมาคำนึง แล้วนั่งเคี้ยวกันนานๆ ให้ยุ่ย
มันก็มีจักรวาลอยู่ในคำคำนั้นแล้วแหละครับ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ยิ่งผมรู้ที่มาของคำว่า ok (all correct) ยิ่งสนุก(ใช้ผิดจนกลายเป็นที่นิยมไป)
note:
1.เรื่องนี้ทำให้ผมนึกคำว่า "ทักทาย" จะเขียนเป็นภาษาอังกฤษอย่างไร
(ผมว่าให้หลายๆคนเขียนก็คงเขียนไม่เหมือนกัน พอเขียนเสร็จเอาไปให้ฝรั่งอ่านคงได้ฮากันดี)
2.ผมเคยเห็นบทความวิจารณ์ wiki thai,I18N ของการเขียนภาษาไทยเป็นอังกฤษบ่อยๆ จริงๆน่าจะมาจากการกำหนดภาษาไทยของ วทท(NECTEC) ผมเขียนโปรแกรมก็ยึดตามนั้น แม้ว่าบางคำก็ไม่เห็นด้วย
3. เรื่องวิจารร์การกำหนดศัพท์บน wiki ไทย
เช่น
http://itshee.exteen.com/20080315/entry ภาษาไทยมี ; ? , ... ฯลฯ (แต่ผมคนหนึ่งแหละที่ติด ?)
http://itshee.exteen.com/20080313/entry ใครมันใหญ่ในวิกิพีเดียไทย
http://www.isriya.com/node/1405/funny-wikipedia-translation Funny Wikipedia Translation
ส่วนราชบัณฑิตยสถานไม่ขอวิจารณ์....(ไม่ได้หา)
4. เรื่อง อังกฤษเขียนไทย ไทยเขียนอังกฤษ ผมว่าอย่า serious เลยครับ(ยกเว้นจะอยู่ราชการ) เรามาเน้นการ
อนุรักษ์ภาษาไทยกันเถอะครับ ซึ่งน่าเป็นห่วงยิ่ง ขอแนะนำเวป
รักษ์ไทย5. มีการถกเถียงเรื่อง อังกฤษเขียนไทย ไทยเขียนอังกฤษ อ่านเอาความรู้ดีกว่าเอาข้อกำหนดนะ เช่น
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/12/K4977887/K4977887.html6. คำไทยบางอันยังดิ้นได้ เช่น ตำรวจ ก็มีคนบอกว่าจะอ่าน ตำ-หรวจ หรือ ตำ-รวจ แต่มีคนบอกที่มาว่ามาจาก ตรวจ ก็ทำให้เราคลายตำอ่านไปได้(หรือปล่าว)?