หน้า: [1] 2
 
ผู้เขียน หัวข้อ: กระเบื้องเคลือบเฮ็ดมาจากอิหยังคับ  (อ่าน 10735 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
ผมเฮ็ดการบ้านวิชาเคมีอยู่ครับ
แล้วมันก็ถามว่า

เมื่อเอาน้ำยาล้างห้องน้ำที่มีสวนผสมของกรดไฮโรคลอริก
ไปราดกระเบื้องเคลือบพื้นห้องน้ำ สิเกิดอิหยังขึ้น

ผมก็บ่ฮู้ว่ากระเบื้องเคลือบนี่มันเฮ็ดมาจากอิหยังคับ
อีกูเกิ้ลก็พึ่งบ่ได้ โทรถามโรงงานผลิตแล้วก็บ่ฮู้น่อ
เลยลองมาถามเผื่อมีไผเรียนเซรามิก แมททีเรียล หรืออิหยังที่พอจะซ่อยผมได้

ขอบคุณอีหลีครับ
บันทึกการเข้า
เคลือบช็อกโกแล็ต หรือเคลือบน้ำตาลครับ

ปล. ไม่รู้แต่มาตลกกลบเกลื่อน (รออ่านเหมือนกันนะ)
บันทึกการเข้า

<a href="http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf" target="_blank">http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf</a>

A Long Patience: Wish Us Luck (and Happy Anniversary)
• เซรามิก
คอลัมน์ รู้ไปโม้ด
โดย น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com

สวัสดี ค่ะน้าชาติ หนูอยากทราบเรื่องประเภทของเซรามิกมากเลยค่ะ รบกวนน้าชาติสละเวลาตอบหนูหน่อยนะคะ เผื่อหนูประกอบอาชีพยามตกงาน ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ /น้ำฝน

ตอบ รากศัพท์ภาษากรีก KERAMOS แปลว่าไฟหรือความร้อน ก่อเกิดคำ "เซรามิก"ผลิตภัณฑ์ที่นำเอาวัตถุดิบหลักมาผ่านกระบวนการขึ้นรูป เช่น ปั้น หล่อ หรืออัดเป็นแผ่น แล้วทำให้แข็งแรงโดยผ่านความร้อนที่อุณหภูมิสูงหลายร้อยถึงกว่าพันองศา เซลเซียส

เซรามิกมีส่วนผสมของดิน แร่ควอร์ตซ์หรือทราย และแร่ฟันม้า...ดินคือดินขาวหรือเกาลิน (kaolin) เช่น ดินขาวลำปาง เมื่อเผาที่อุณหภูมิประมาณ 1,200 องศาเซลเซียส จะมีสีขาว แต่ไม่ค่อยเหนียว ต้องผสมดินเหนียวช่วยในการขึ้นรูป ดินเหนียวหรือบอลเคลย์ (ball clay) สีดำ ละเอียด ความเหนียวสูง แหล่งสำคัญคือสุราษฎร์ธานี

แร่ควอร์ตซ์เป็นสารซิลิกา (Sio2) ผสมเพื่อให้เนื้อผลิตภัณฑ์แข็งแรงและคงทน ช่วยในการหดตัวของดิน แหล่งแร่ควอร์ตซ์พบที่ราชบุรี วัตถุดิบที่ 3 คือแร่ฟันม้า เป็นสารประกอบของอัลคาไลน์อะลูมิเนียมซิลิเกต ผสมเพื่อเป็นตัวลดอุณหภูมิการสุกตัวของผลิตภัณฑ์ ช่วยให้มันวาวและหลอมเป็นเนื้อแก้วได้ดี

ประเภทของเซรามิก จำแนกตามคุณภาพเนื้อของผลิตภัณฑ์ออกเป็น "พอร์ซเลน" (Porcelain) เซรามิกเนื้อสีขาว เคลือบผิวมัน โปร่งแสง แข็งแกร่งเหมือนแก้ว ไม่ดูดซึมน้ำ เคาะมีเสียงดังกังวาน "โบนไชน่า"(Bone China) เครื่องปั้นดินเผาชั้นดี มีความขาวและเคลือบเป็นมันวาวมาก เนื้อละเอียด บางเบา โปร่งแสงมาก ความแข็งแกร่งดีมาก ตัวอย่างคือเครื่องถ้วยชาม

"เอิร์ธเทนแวร์" (Earthenware) เซรามิกเคลือบผิวทึบแสง มีความพรุน ดูดซึมน้ำได้ เนื้อละเอียดสีไม่ขาวมาก ตัวอย่างก็คนโท กระถางต้นไม้ กระเบื้องมุงหลังคา "สโตนแวร์"(Stoneware) เซรามิกเคลือบผิว มีความพรุนตัวต่ำ ทึบแสง เนื้อแข็งแกร่งและหนา...เครื่องสังคโลกกับโอ่งมังกร นั่นน่ะใช่เลย

"เทอรา คอตตา" (Terra Cotta) ผิวดินเผาแล้วมักมีสีแดง เนื้อไม่แกร่ง มีความพรุนตัวสูง มักไม่เคลือบผิวแต่เคลือบสีต่างๆ แทน ส่วนมากผลิตเป็นวัสดุก่อสร้าง"แก้ว" (Glass) เซรามิกที่โปร่งแสง บางชนิดขุ่น เช่น หลอดไฟ แก้วน้ำ "วัสดุทนไฟ" (Refractories) เป็นวัสดุประเภทอนินทรีย์พวกดิน หิน แร่ธาตุ ที่หลอมตัวได้ยากในอุณหภูมิสูง ต้องทนอุณหภูมิได้อย่างน้อย 1,600 องศาเซลเซียส ตัวอย่างคืออิฐทนไฟ

ยังมีการพัฒนาเซรามิกไปอีกมาก เช่น อิเล็กโตรเซรามิกใช้งานด้านอิเล็กทรอนิกส์อย่างวงจรไฟฟ้า ไบโอเซรามิกใช้งานด้านชีวภาพอย่างกระดูกเทียม...สวย ทน ใช้ดี นี่ละเซรามิก อ้อ! โปรดระวังของแตก

ที่มา  http://info.matichon.co.th/youth/youth.php?tagsub=031108&tag950=03you04121246&show=1
บันทึกการเข้า

ดื่มเหล้า เข้าผับ จับผู้ชาย ถ่ายคลิป  zip แล้วส่งต่อ
คงน่าจะหมายถึงยาแนวที่อุดตามร่องกระเบื้องเคลือบมั้งครับ
ถ้าเป็นยาแนว จะมีส่วนประกอบของ CaCO3

เพราะเป็นกระเบื้องเคลือบนี่ แค่กรด ไม่สะเทือนหรอก ไม่งั้น กระเบื้องคงทะลุกันหมดแล้วล่ะ จริงไหมครับ  เจ๋ง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ก.พ. 2008, 17:03 น. โดย Pond » บันทึกการเข้า
มีเหตุผลครับ เพราตามห้องทดลองเขาก็ใช้อ่างกระเบื้อง พื้นกระเบื้องก็มีหนิ? ใช่ป่าวหว่า?

CaCO3 ไม่รู้จัก รู้จักแต่ H2CO3 ไว้ผสมกับ C2H5OH 35% ได้รสอร่อยซ่าบาดคอ อืมมมมห์
บันทึกการเข้า

<a href="http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf" target="_blank">http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf</a>

A Long Patience: Wish Us Luck (and Happy Anniversary)
แต่มันเน้นว่า กระเบื้องเคลือบ เลยอ่ะครับ

ผมโทรไปถามโรงงานผลิตกระเบื้องมา
เค้าก็ว่า มันต้องโดนน้ำยาเคลือบกระเบื้องก่อน (ที่นี้มันก็มีหลายประเภทมาก)

รู้งี้ถ่ายเอกสารคีย์มาลอกก็ดี  ฮือๆ~




C2H5OH นี่ต้องกลั่นก่อนป่ะครับ  กร๊าก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ก.พ. 2008, 17:26 น. โดย คุณเต่า » บันทึกการเข้า
เพิ่งเห็น พอดีเข้าแต่แตกฟอง กร๊าก

(เดา)
ที่อาจารย์เค้ากำหนดให้เป็นกระเบื้องเคลือบเนี่ยเพราะว่าจะได้เจาะจงไปเลยมั้งว่าเป็นปฏิกิริยาระหว่างกรดกะเคลือบ(ซิลิกา)
ถ้าเป็นกระเบื้องที่ไม่เคลือบ(พวกกระเบื้องแนวย้อนยุค สีส้มๆ)จะเป็นปฏิกิริยากับตัวอื่นได้
เพราะดินที่เอามาทำกระเบื้องส้มๆเนี่ย มันต้องเป็นดินที่มีเหล็ก ไม่มีเหล็ก สีไม่ส้ม คนไม่ซื้อ

แต่ว่า HCl มันกัดผิวเคลือบไม่ได้นี่หว่า
ต้องเป็น HF หรือ H2SO4 ถึงจะทำให้ผิวเคลือบขรุขระไม่แวววาว

งั้นตอบว่าไม่เกิดอะไรขึ้น นอกจากกัดมือคนล้าง หมีโหด~





สาระ
ส่วนประกอบในเคลือบนะ

ตะกั่ว(ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้) ทำให้จุดหลอมเหลวของเคลือบต่ำลง
บอแรกซ์ หน้าที่เหมือนตะกั่ว  แต่ไม่ควรเอาไปใช้กะอาหาร
เพราะแค่น้ำส้มสายชูหรือน้ำมะนาวก็กัดเคลือบได้แล้ว เดี๋ยวบอแรกซ์อยู่ในต้มจืด แล้วหมูจะเด้ง
ซิงค์ออกไซด์ ทำให้จุดหลอมเหลวของเคลือบต่ำลง
แมกนีเซียมออกไซด์ ทำให้เคลือบทนไฟมากขึ้น
ลิเทียมออกไซด์ เหมือนข้างบน แต่มีสีสันสดใส
สตรอนเซียมออกไซด์ เหมือนบนๆ
แบเรียมคาร์บอเนต เหมือนข้างบน
แคลเซียมคาร์บอเนต ก็เหมือนข้างบน
(ที่ว่ามาเนี่ย มันปริมาณน้อยมากๆ แล้วไม่ได้ใส่หมดเน้อ เลือกแค่บางตัว)

หลักจริงๆ
-เฟลด์สปาร์ เป็นสารพวกอลูมิโนซิลิเกต
ิ-ซิลิกา (จากควอตซ์ ทราย ซิลิกา)
-อลูมิน่าออกไซด์ (จากดินขาว เกาลิน)

ตัวอย่างส่วนผสมเคลือบ (เปอร์เซนต์)
feldspar         41
Quartz                  23
CaCO3                18
ZnO                   4
Kaolin                 14
บันทึกการเข้า
เฮ้ย ดาพูดเรื่องอื่นนอกจากของกิน ละครเกาหลี กับน้ำหนักตัวได้ด้วยเหรอ โวย
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ได้สิคะ ละครไทยดาก็พูด ลันล้า


ปล. ทำไมจู๋นี้อยู่ห้องศิลป์อะ
ปล.2 เหมือนดาไม่ได้ช่วยให้กระจ่างขึ้นเลย  กร๊าก
ปล.3 เทอมที่แล้วทำแล็บเรื่องสูตรเคลือบ แล้วตอนทดสอบความทนกรดทนด่าง
กรด HF มันหมด เลยใช้ตัวอื่นแทนซึ่งมันกัดผิวเคลือบไม่ได้
เลยสรุปผลไปว่า สูตรเคลือบที่คิดค้นขึ้นมาใหม่เนี่ย ทนกรดทนด่างได้ดีมาก กร๊าก
บันทึกการเข้า
เออ ทำไมจู๋นี้อยู่ห้องศิลป์อ้ะเต่า ไอ้มืดหมี
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ก็วันนั้นพี่แอนบอกมาตั้งห้องศิลป์ก็เชื่ออ๊ะ  ฮือๆ~




พี่ดาช่วยได้เยอะเลย +  จ๊วบ
ตอบแบบนี้แหละ

"กัดมือคนล้าง"

555
บันทึกการเข้า
คิดลึกเกินไปครับ จะพาลปวดหัวเอาเสียเปล่าๆ

ตอบ น้ายาล้างห้องน้ำจะมีส่วนประกอบคือHCl แล้วมันจะไปทำ ปฏิกิริยากับสารพวกหินปูน CaCO3
แล้วจะเิกิดฟองก๊าซ เป็นก๊าซ CO2 แค่นี้แหละครับ

ถ้าไปคิดว่ามันจะต้องโดนสารเคลือบ มันออกนอกขอบเขตเกินไป ถามว่าถูกไหม มันก็ถูก แต่มันเกินจุดประสงค์การเรียนรู้หนะครับ
เวลาตอบในข้อสอบ ตอบถูกแต่ไม่ได้คะแนนครับ

เหมือนกับคำนวนความเร็วความเร่ง ถ้าไปคิดลึกๆ ว่ามันต้องมีแรงต้านอากาศ แรงเสียดทานฯลฯ มันก็จะออกนอกระบบไปครับ

เคยมีข้อสอบของเด็ก ม ต้น เค้าถามว่า เด็กชายเต่าทำน้ำมะนาวหกลงบนโต๊ะม้าหินอ่อนจนทำให้เกิด เป็นรอยด่าง แล้วเกิดฟองก๊าซขึ้น ก๊าซนั้นคือก๊าซอะไร
แว้บแรกคือ...โอ้โห น้ำมะนาวนี่โคตรเข้มข้นเลยเหรอ กัดโต๊ะม้าหินได้เลยเหรอ (ซึ่งมันเกินจริงครับ)


กลับเข้ามาเรื่องกระเบื้อง : ตอบไปสองแบบเลย คือโดนที่เป็นสารเคลือบ บลาๆๆ แล้วก็โดน สารพวกหินปูน ดักไว้ก่อนก็ดี เจ๋ง
บันทึกการเข้า

กินรอบวง
คุยไรกันเนี่ย ไม่รู้เรื่อง ฮือๆ~
บันทึกการเข้า

บล็อกในมุมมืด
because we always.....expecting


ตอบเหมือนตั้งครับ แต่เขียนด้วยลายมือสวยๆ
บันทึกการเข้า

เราจะต้องการอะไรมากมายไปกว่า อะไรมากมาย
+ พี่ตั้ง
น่ารักที่สุด  จ๊วบ

ตกลงตอบงี้
CaCO3 (aq) + 2HCl (aq)  ---->  CaCl2 (aq)  + H2O (aq)  + CO2 (g)




ปล. +พี่เอ 0.25   ชิ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!